คณะอนุ กก.พัฒนาบัญชียาหลัก งัดข้อมูล “ความคุ้มค่า ยากลูโคซามีน” จากสมาคมแพทย์ไขข้อ สหรัฐฯ ประชุมทบทวนอีกรอบ เล็งเสนอให้กรมบัญชีกลางพิจารณาใหม่
ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กล่าวถึงกรณียารักษาข้อเข่าเสื่อม กลูโคซามีน ว่า จากการที่หลายฝ่ายได้ถกเถียงกรณีความคุ้มค่าของยากลูโคซามีนมาบ่อยครั้ง โดยต่างฝ่ายต่างอ้างอิงข้อมูลทางวิชาการที่แตกต่างกัน ฝ่ายคัดค้านพยายามนำข้อมูลสาธารณะมาเผยแพร่ แต่ฝ่ายสนับสนุนพยายามนำข้อมูลของบริษัทยามานำเสนอ ทำให้กรมบัญชีกลางเองก็ต้องพยายามพิจารณาอย่างรอบด้านถึงความคุ้มค่าของยาดังกล่าว กระทั่งกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังได้ออกประกาศให้โรงพยาบาลสามารถเบิกจ่ายยากลูโคซามีนได้อย่าง มีเงื่อนไขตามข้อเสนอของกลุ่มแพทย์แต่ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งมี นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นประธาน ได้มีการประชุมเกี่ยวกับประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนความคุ้มค่าของยาดังกล่าว โดยที่ประชุมได้มีการรวบรวมข้อมูลการศึกษาสมาคมแพทย์ระบบไขข้อ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า จากผลการศึกษาประสิทธิภาพของยาดังกล่าวนั้นมีประโยชน์แค่ 0.003% ซึ่งถือว่าน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีประโยชน์เลย อีกทั้งยังมีราคาแพงมาก ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่า น่าจะต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นกลางจากสมาคมแพทย์ระบบไขข้อจะเหมาะสม และอาจจะมีการหารือเพื่อเสนอต่อกรมบัญชีกลางอีกครั้ง แต่ยังไม่ทราบระยะเวลา
ผู้สื่อข่าวถามว่า แล้วกรณีที่ตัดสินใจลาออกนั้นข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ดร.นพ.ยศ กล่าวว่า ตนเองตัดสินใจลาออกจากคณะทำงานด้านวิชาการทางการแพทย์ ภายใต้คณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กระทรวงการคลังจริง และถือว่า การส่งอีเมลถึงกรรมการในคณะทุกท่าน นั่นถือเป็นการลาออกอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ยังคงทำหน้าที่เป็นกรรมการในคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติอยู่ และจะทำงานด้านวิชาการต่อไป สำหรับเหตุผลที่ลาออกนั้นขอชี้แจงว่า การตัดสินใจของกรมบัญชีกลางเป็นการเอนเอียงไปตามสถานการณ์การเมืองมากเกินไป แทนที่การจัดการยาจะเปลี่ยนแปลงตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งได้จากการศึกษาทางวิชาการ ก็กลับถูกกระแสการเมืองบีบคั้นไปง่ายๆโดยไม่มีหลักฐานที่จริงจัง จึงรับไม่ได้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เชื่อว่า การอ้างอิงข้อมูลจากสมาคมแพทย์ระบบไขข้อน่าจะเป็นกลางที่สุดและไม่สุดโต่ง เหมือนดังข้อมูลที่ผ่านมาอีกแล้ว
ดร.นพ.ยศ ตีระวัฒนานนท์ หัวหน้าโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) กล่าวถึงกรณียารักษาข้อเข่าเสื่อม กลูโคซามีน ว่า จากการที่หลายฝ่ายได้ถกเถียงกรณีความคุ้มค่าของยากลูโคซามีนมาบ่อยครั้ง โดยต่างฝ่ายต่างอ้างอิงข้อมูลทางวิชาการที่แตกต่างกัน ฝ่ายคัดค้านพยายามนำข้อมูลสาธารณะมาเผยแพร่ แต่ฝ่ายสนับสนุนพยายามนำข้อมูลของบริษัทยามานำเสนอ ทำให้กรมบัญชีกลางเองก็ต้องพยายามพิจารณาอย่างรอบด้านถึงความคุ้มค่าของยาดังกล่าว กระทั่งกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังได้ออกประกาศให้โรงพยาบาลสามารถเบิกจ่ายยากลูโคซามีนได้อย่าง มีเงื่อนไขตามข้อเสนอของกลุ่มแพทย์แต่ล่าสุด เมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งมี นพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ เป็นประธาน ได้มีการประชุมเกี่ยวกับประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนความคุ้มค่าของยาดังกล่าว โดยที่ประชุมได้มีการรวบรวมข้อมูลการศึกษาสมาคมแพทย์ระบบไขข้อ ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า จากผลการศึกษาประสิทธิภาพของยาดังกล่าวนั้นมีประโยชน์แค่ 0.003% ซึ่งถือว่าน้อยมาก หรือแทบจะไม่มีประโยชน์เลย อีกทั้งยังมีราคาแพงมาก ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่า น่าจะต้องอาศัยข้อมูลที่เป็นกลางจากสมาคมแพทย์ระบบไขข้อจะเหมาะสม และอาจจะมีการหารือเพื่อเสนอต่อกรมบัญชีกลางอีกครั้ง แต่ยังไม่ทราบระยะเวลา
ผู้สื่อข่าวถามว่า แล้วกรณีที่ตัดสินใจลาออกนั้นข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ดร.นพ.ยศ กล่าวว่า ตนเองตัดสินใจลาออกจากคณะทำงานด้านวิชาการทางการแพทย์ ภายใต้คณะกรรมการบริหารระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ กระทรวงการคลังจริง และถือว่า การส่งอีเมลถึงกรรมการในคณะทุกท่าน นั่นถือเป็นการลาออกอย่างเป็นทางการแล้ว แต่ยังคงทำหน้าที่เป็นกรรมการในคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติอยู่ และจะทำงานด้านวิชาการต่อไป สำหรับเหตุผลที่ลาออกนั้นขอชี้แจงว่า การตัดสินใจของกรมบัญชีกลางเป็นการเอนเอียงไปตามสถานการณ์การเมืองมากเกินไป แทนที่การจัดการยาจะเปลี่ยนแปลงตามหลักฐานเชิงประจักษ์ ซึ่งได้จากการศึกษาทางวิชาการ ก็กลับถูกกระแสการเมืองบีบคั้นไปง่ายๆโดยไม่มีหลักฐานที่จริงจัง จึงรับไม่ได้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เชื่อว่า การอ้างอิงข้อมูลจากสมาคมแพทย์ระบบไขข้อน่าจะเป็นกลางที่สุดและไม่สุดโต่ง เหมือนดังข้อมูลที่ผ่านมาอีกแล้ว