สมาคมประมงฯ เสนอใช้เอ็มโอยูนำเข้าต่างด้าวทำงานประมงตามฤดูกาล จัดสรรโควตานำเข้าต่อปี ด้านนายจ้างพร้อมทำสัญญาจ้าง เพื่อลดการค้ามนุษย์ เผย ต้องการแรงงานทั้งไทย-ต่างด้าวกว่า 1.4 แสนคน ขณะนี้มีทำงานอยู่ในระบบเพียง 7 หมื่นคน ต้องการแรงงานเพิ่มอีกครึ่งหนึ่ง ฝ่าย ก.แรงงาน รับลูก พร้อมจัดจนท.ตรวจสภาพการทำงาน พร้อมหารือร่วมกันต่อไป
วันนี้ (21 ก.ค.) นายมงคล สุขเจริญคณา กรรมการสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลประชุมสมาคมฯเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมขอให้สมาคมประมงจังหวัดต่างๆ แจ้งให้ผู้ประกอบการมายื่นจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว รวมทั้งเห็นชอบข้อเสนอแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานโดยใช้วิธีจดทะเบียนทดแทนแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีไปแล้ว โดยใช้เอ็มโอยูที่ไทยทำไว้กับประเทศพม่า กัมพูชา และลาวนำเข้าแรงงานต่างด้าว ซึ่งกรณีแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบมาทำงานในไทยโดยผิดกฎหมายแล้วถูกจับกุมต้องผลักดันกลับประเทศ ก็ขอให้นำกลับเข้ามาในไทยด้วยเอ็มโอยูนี้ โดยขอให้กระทรวงแรงงานจัดสรรโควตานำเข้าแรงงานต่างด้าวด้านประมง อีกทั้งนายจ้างจะต้องทำสัญญาจ้างและจ่ายค่าจ้างโดยให้แรงงานต่างด้าวเซ็นรับเพื่อแก้ปัญหาค้ามนุษย์
“ปัจจุบันภาคประมงมีความต้องการใช้แรงงานโดยภาพรวมประมาณ 1.4 แสนคน แต่ขณะนี้มีแรงงานไทยและต่างด้าวที่ทำงานอยู่ประมาณ 50% จากความต้องการทั้งหมดประมาณ 7 หมื่นคน ทำให้ต้องใช้แรงงานต่างด้าวทั้งที่ถูกและผิดกฎหมาย หากกระทรวงแรงงานและรัฐบาลชุดใหม่รับข้อเสนอของสมาคม เช่น ใช้มาตรา 14 พ.ร.บ.คนทำงานต่างด้าว เพื่อให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในไทยตามฤดูกาลโดยถูกกฎหมายซึ่งสมาคมฯจะเสนอตัวเลขความต้องการแรงงานต่างด้าวด้านประมงในภาพรวมทั้งประเทศแก่กระทรวงแรงงาน เพื่อขอให้จัดสรรโควตานำเข้าในแต่ละปีจะทำให้ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายอีกต่อไป” นายมงคล กล่าว
นายประวิทย์ เคียงผล รองอธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวว่า แรงงานต่างด้าวด้านประมงมีเวลายื่นขอจดทะเบียนได้จนถึงวันที่ 13 สิงหาคมนี้ คาดว่าแรงงานกลุ่มนี้มีประมาณ 1 แสนคน แต่น่าจะมาจดทะเบียนประมาณ 5 หมื่นคน เนื่องจากแรงงานกลุ่มนี้อพยพเคลื่อนย้ายอยู่ตลอด
“ในการประชุมหารือระหว่างผู้บริหารกระทรวงแรงงานกับตัวแทนสมาคมประมงจากจังหวัดต่างๆโดยมี นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้ นั้น กระทรวงแรงงานเห็นด้วยกับการใช้วิธีจดทะเบียนทดแทนโดยใช้เอ็มโอยูนำเข้าแรงงานต่างด้าวซึ่งจะศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรา 14 พ.ร.บ.คนทำงานต่างด้าว และการจัดสรรโควตานำเข้าแรงงานต่างด้าวด้านประมงโดยเป็นไปตามความสมัครใจของแรงงานต่างด้าว มีการทำสัญญาจ้าง จัดอบรมให้เข้าใจลักษณะงาน และดูแลความเป็นอยู่ในเรือซึ่งกกจ.คงจะต้องจัดเจ้าหน้าที่ไปตรวจสภาพเรือประมงที่แรงงานต่างด้าวทำงานอยู่ เพื่อให้จัดที่พักให้เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาค้ามนุษย์ โดยจะต้องหารือในรายละเอียดกับสมาคมฯต่อไป” รองอธิบดี กกจ. กล่าว
วันนี้ (21 ก.ค.) นายมงคล สุขเจริญคณา กรรมการสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย เปิดเผยผลประชุมสมาคมฯเมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมขอให้สมาคมประมงจังหวัดต่างๆ แจ้งให้ผู้ประกอบการมายื่นจดทะเบียนแรงงานต่างด้าว รวมทั้งเห็นชอบข้อเสนอแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานโดยใช้วิธีจดทะเบียนทดแทนแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีไปแล้ว โดยใช้เอ็มโอยูที่ไทยทำไว้กับประเทศพม่า กัมพูชา และลาวนำเข้าแรงงานต่างด้าว ซึ่งกรณีแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบมาทำงานในไทยโดยผิดกฎหมายแล้วถูกจับกุมต้องผลักดันกลับประเทศ ก็ขอให้นำกลับเข้ามาในไทยด้วยเอ็มโอยูนี้ โดยขอให้กระทรวงแรงงานจัดสรรโควตานำเข้าแรงงานต่างด้าวด้านประมง อีกทั้งนายจ้างจะต้องทำสัญญาจ้างและจ่ายค่าจ้างโดยให้แรงงานต่างด้าวเซ็นรับเพื่อแก้ปัญหาค้ามนุษย์
“ปัจจุบันภาคประมงมีความต้องการใช้แรงงานโดยภาพรวมประมาณ 1.4 แสนคน แต่ขณะนี้มีแรงงานไทยและต่างด้าวที่ทำงานอยู่ประมาณ 50% จากความต้องการทั้งหมดประมาณ 7 หมื่นคน ทำให้ต้องใช้แรงงานต่างด้าวทั้งที่ถูกและผิดกฎหมาย หากกระทรวงแรงงานและรัฐบาลชุดใหม่รับข้อเสนอของสมาคม เช่น ใช้มาตรา 14 พ.ร.บ.คนทำงานต่างด้าว เพื่อให้แรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในไทยตามฤดูกาลโดยถูกกฎหมายซึ่งสมาคมฯจะเสนอตัวเลขความต้องการแรงงานต่างด้าวด้านประมงในภาพรวมทั้งประเทศแก่กระทรวงแรงงาน เพื่อขอให้จัดสรรโควตานำเข้าในแต่ละปีจะทำให้ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายอีกต่อไป” นายมงคล กล่าว
นายประวิทย์ เคียงผล รองอธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กล่าวว่า แรงงานต่างด้าวด้านประมงมีเวลายื่นขอจดทะเบียนได้จนถึงวันที่ 13 สิงหาคมนี้ คาดว่าแรงงานกลุ่มนี้มีประมาณ 1 แสนคน แต่น่าจะมาจดทะเบียนประมาณ 5 หมื่นคน เนื่องจากแรงงานกลุ่มนี้อพยพเคลื่อนย้ายอยู่ตลอด
“ในการประชุมหารือระหว่างผู้บริหารกระทรวงแรงงานกับตัวแทนสมาคมประมงจากจังหวัดต่างๆโดยมี นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นประธานเมื่อเร็วๆ นี้ นั้น กระทรวงแรงงานเห็นด้วยกับการใช้วิธีจดทะเบียนทดแทนโดยใช้เอ็มโอยูนำเข้าแรงงานต่างด้าวซึ่งจะศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรา 14 พ.ร.บ.คนทำงานต่างด้าว และการจัดสรรโควตานำเข้าแรงงานต่างด้าวด้านประมงโดยเป็นไปตามความสมัครใจของแรงงานต่างด้าว มีการทำสัญญาจ้าง จัดอบรมให้เข้าใจลักษณะงาน และดูแลความเป็นอยู่ในเรือซึ่งกกจ.คงจะต้องจัดเจ้าหน้าที่ไปตรวจสภาพเรือประมงที่แรงงานต่างด้าวทำงานอยู่ เพื่อให้จัดที่พักให้เหมาะสมเพื่อแก้ปัญหาค้ามนุษย์ โดยจะต้องหารือในรายละเอียดกับสมาคมฯต่อไป” รองอธิบดี กกจ. กล่าว