คสรท.บุกร้องกรมสวัสดิ์ ช่วย 3 พนักงาน KFC ถูกเลิกจ้าง เหตุจากการเป็นผู้นำล่ารายชื่อร้องสิทธิสวัสดิการพนักงาน ด้านนายจ้างอ้าง ก่อความไม่สงบ เผย หากไม่มาเจรจา จะไปยื่นหนังสือให้สหภาพแรงงานสากล-ILO-สถานทูตอเมริกา วอนพรรคการเมืองอย่ามุ่งแต่นโยบายค่าจ้าง
วันนี้ (13 มิ.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) นำโดยนายชาลี ลอยสูง ประธาน คสรท.เข้ายื่นหนังสือต่อ นายอิทธิพล แผ่นเงิน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองงาน พร้อมกับหารือกรณีที่บริษัท ยัมเรสเทอรองส์อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการ ผู้บริหาร และผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ร้านอาหารบริการด่วน KFC และ PIZZA HUT ในประเทศไทย ได้ประกาศเลิกจ้างผู้แทนพนักงานจำนวน 3 คน ประกอบด้วย นายกฤษ สรวงอารนันท์ นางสาวศิวพร สมจิตร และนางอภันตรี เจริญศักดิ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
นายชาลี กล่าวว่า การถูกเลิกจ้างครั้งนี้ ทางพนักงานเชื่อว่า สาเหตุมาจากการเป็นผู้นำในการล่ารายชื่อ เพื่อเรียกร้องสวัสดิการให้กับพนักงาน โดยอยากให้นายจ้างยอมรับข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานตามกฎหมาย และการส่งข้อเรียกร้องไปยังคอมพิวเตอร์ของพนักงาน 260 คน นายจ้างอ้างว่า เป็นการสร้างความไม่สงบ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่า การเลิกจ้างเป็นการกลั่นแกล้งไม่เป็นธรรม จึงขอให้กระทรวงแรงงานเจรจานายจ้างให้รับพนักงานทั้ง 3 คน กลับเข้าทำงานเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างยังไม่มาเจรจาตามที่สหภาพเคยได้ยื่นข้อเรียกร้อง จะเดินทางไปยื่นหนังสือให้สหภาพแรงงานในระดับสากล (IUF) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และสถานทูตอเมริกา ขณะเดียวกัน อยากเรียกร้องให้พรรคการเมืองต่างๆ มีนโยบายที่ดูแลสวัสดิภาพและการถูกคุกคามจากนายจ้างให้กับผู้ใช้แรงงาน มากกว่าการมุ่งเน้นการเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพียงอย่างเดียว
วันนี้ (13 มิ.ย.) ที่กระทรวงแรงงาน คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) นำโดยนายชาลี ลอยสูง ประธาน คสรท.เข้ายื่นหนังสือต่อ นายอิทธิพล แผ่นเงิน ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแรงงานสัมพันธ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองงาน พร้อมกับหารือกรณีที่บริษัท ยัมเรสเทอรองส์อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ให้บริการ ผู้บริหาร และผู้ให้สิทธิแฟรนไชส์ร้านอาหารบริการด่วน KFC และ PIZZA HUT ในประเทศไทย ได้ประกาศเลิกจ้างผู้แทนพนักงานจำนวน 3 คน ประกอบด้วย นายกฤษ สรวงอารนันท์ นางสาวศิวพร สมจิตร และนางอภันตรี เจริญศักดิ์ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ที่ผ่านมา
นายชาลี กล่าวว่า การถูกเลิกจ้างครั้งนี้ ทางพนักงานเชื่อว่า สาเหตุมาจากการเป็นผู้นำในการล่ารายชื่อ เพื่อเรียกร้องสวัสดิการให้กับพนักงาน โดยอยากให้นายจ้างยอมรับข้อเรียกร้องของสหภาพแรงงานตามกฎหมาย และการส่งข้อเรียกร้องไปยังคอมพิวเตอร์ของพนักงาน 260 คน นายจ้างอ้างว่า เป็นการสร้างความไม่สงบ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่า การเลิกจ้างเป็นการกลั่นแกล้งไม่เป็นธรรม จึงขอให้กระทรวงแรงงานเจรจานายจ้างให้รับพนักงานทั้ง 3 คน กลับเข้าทำงานเหมือนเดิม
อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างยังไม่มาเจรจาตามที่สหภาพเคยได้ยื่นข้อเรียกร้อง จะเดินทางไปยื่นหนังสือให้สหภาพแรงงานในระดับสากล (IUF) และองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) และสถานทูตอเมริกา ขณะเดียวกัน อยากเรียกร้องให้พรรคการเมืองต่างๆ มีนโยบายที่ดูแลสวัสดิภาพและการถูกคุกคามจากนายจ้างให้กับผู้ใช้แรงงาน มากกว่าการมุ่งเน้นการเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพียงอย่างเดียว