รศ.แล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า นโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของแรงงานนั้น สามารถลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและช่วยแก้ปัญหาสังคมได้ แต่ขึ้นอยู่กับแนวทางการแก้ปัญหา และการปฏิบัติของภาครัฐด้วย ซึ่งปัจจุบันแรงงานมีรายได้ไม่เพียงพอกับค่าครองชีพ ซึ่งร้อยละ 80-90 ต้องทำงานล่วงเวลารวมถึงก่อหนี้เพิ่ม อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำไม่ใช่สาเหตุหลักของภาวะเงินเฟ้อ เพราะมีสัดส่วนที่ต่ำหากเทียบกับต้นทุนทั้งหมด
รศ.แล ดิลกวิทยรัตน์ ย้ำอีกว่า ค่าแรงไม่ถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาสินค้าในท้องตลาดปรับขึ้น เนื่องจากค่าแรงไม่เกินร้อยละ 10 ของต้นทุนทั้งหมด นอกจากนี้ ยังเสนอให้รัฐบาลเข้าไปดูแลสินค้าที่จำเป็นกับชีวิตประจำวัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหาเงินเฟ้อด้วย
ด้าน นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า จากการสำรวจใน 2 ปีที่ผ่านมา ค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 421 บาทต่อวัน แต่ขณะนี้เฉลี่ยที่ 215 บาทต่อวัน จึงทำให้คุณภาพชีวิตของแรงงานไม่ค่อยจะดีเท่าไร
รศ.แล ดิลกวิทยรัตน์ ย้ำอีกว่า ค่าแรงไม่ถือเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาสินค้าในท้องตลาดปรับขึ้น เนื่องจากค่าแรงไม่เกินร้อยละ 10 ของต้นทุนทั้งหมด นอกจากนี้ ยังเสนอให้รัฐบาลเข้าไปดูแลสินค้าที่จำเป็นกับชีวิตประจำวัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหาเงินเฟ้อด้วย
ด้าน นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า จากการสำรวจใน 2 ปีที่ผ่านมา ค่าแรงขั้นต่ำที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 421 บาทต่อวัน แต่ขณะนี้เฉลี่ยที่ 215 บาทต่อวัน จึงทำให้คุณภาพชีวิตของแรงงานไม่ค่อยจะดีเท่าไร