ศจย.-สสส.จับมือกรมสรรพสามิต ร่วมผลักดันความสำเร็จปรับโครงสร้างภาษีบุหรี่ เชื่อ ลดการบริโภคยาสูบ ผู้เชี่ยวชาญ WHO แนะระบบโครงสร้างภาษีไม่ซับซ้อน ลดการเลี่ยงภาษีได้ ชี้ กลุ่มประเทศยุโรปใช้ระบบเก็บภาษีแบบผสม ผู้ชำนาญการด้านควบคุมยาสูบ เชื่อช่วยให้รัฐบาลเลิกเสียเปรียบได้
วันนี้ (22 เม.ย.) ดร.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตยาสูบ ถือเป็นการควบคุมการบริโภคยาสูบทางหนึ่ง เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่ดูแลเรื่องรายได้และสุขภาพ เกิดจากการที่ สสส.ได้ลงนามความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ 4 ด้าน ซึ่งยาสูบเป็นหนึ่งในข้อตกลงนั้น WHO ได้ให้การสนับสนุนด้านวิชาการให้แก่เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง เพื่อทำให้เกิดความรู้ ความเชี่ยวชาญในการปรับโครงสร้างอัตราภาษีให้ได้ผลลัพธ์ คือ ลดการบริโภคยาสูบ โดยที่ยังคงรายได้ภาครัฐไว้ โดยมี ศจย.และ สสส.ร่วมสนับสนุนข้อมูลวิชาการ ซึ่งเชื่อว่าการปรับโครงสร้างภาษีในครั้งนี้จะทำให้บรรลุผลทั้ง 2 ประการ
“ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง เห็นความสำคัญของการลดการบริโภคยาสูบ และนำปัจจัยด้านสุขภาพมาคิดร่วมกับการกำหนดโครงสร้างภาษีครั้งนี้ จากการทำงานร่วมกันมาตลอดในเรื่องการปราบปรามบุหรี่ผิดกฎหมาย ทำให้เกิดความร่วมมืออันดี และความเข้าใจด้านสุขภาพมากขึ้น ซึ่งหลังจากออกพระราชกำหนด ตามที่ ครม.เห็นชอบ ก็สามารถออกประกาศกระทรวงเพื่อปรับการจัดเก็บภาษีเป็นแบบคำนวณจากอัตราการค้าปลีก และคำนวณภาษีตามสภาพได้ทันที” ดร.ศิริวรรณ กล่าว
นพ.ชัย กฤติยาภิชาตกุล ผู้ชำนาญการด้านควบคุมยาสูบ สำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า กรมสรรพสามิต และ สสส.ได้ร่วมกันศึกษาและสนับสนุนแนวทางการปรับแก้โครงสร้างภาษีบุหรี่มาโดยตลอด เพราะเป็นมาตรการที่ช่วยลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวทางการปรับโครงสร้างภาษีที่เหมาะสม คือ ต้องปรับราคาให้สูงขึ้นโดยวิเคราะห์จากราคาของต่างประเทศ เพื่อหาจุดราคาที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยที่ผ่านมารัฐบาลไทยเก็บภาษีบุหรี่ต่ำมาก แต่บริษัทนำไปขายในราคาสูงเพื่อเอากำไร ในการที่กระทรวงการคลังประกาศถึงแนวทางการปรับเปลี่ยนฐานการจัดเก็บภาษีจากราคาหน้าโรงงาน หรือราคาซีไอเอฟ เป็นการจัดเก็บตามราคาขายปลีกนั้น จะช่วยป้องกันปัญหาการแจ้งราคาซีไอเอฟของบริษัทนำเข้าในราคาต่ำกว่ามูลค่าจริง ที่ทำให้ไทยขาดรายได้ภาษีในระยะยาว และควรจัดเก็บตามปริมาณไปด้วย เพื่อป้องกันการลดราคาขายปลีกของบริษัทบุหรี่
ดร.ไอด้า ยูริกลี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ยาสูบขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่าประเทศสมาชิกของ WHO ที่ใช้การเก็บภาษียาสูบระบบผสมมีทั้งสิ้น 48 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบยุโรป ส่วนจัดเก็บภาษีตามมูลค่า 60 ประเทศ และจัดเก็บภาษีตามปริมาณ 55 ประเทศ และไม่มีระบบการจัดเก็บภาษี 19 ประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในแถบอาหรับ โดยเมื่อเทียบในภูมิภาค พบว่า ประเทศศรีลังกา สามารถจัดเก็บภาษีได้มากกว่าประเทศไทย จากประสบการณ์การทำโครงสร้างภาษีในหลายๆ ประเทศ พบว่า การคำนวณโครงสร้างภาษีให้ง่ายและมีความซับซ้อนต่ำ จะช่วยทำให้ป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีได้เป็นอย่างดี
วันนี้ (22 เม.ย.) ดร.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตยาสูบ ถือเป็นการควบคุมการบริโภคยาสูบทางหนึ่ง เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่ดูแลเรื่องรายได้และสุขภาพ เกิดจากการที่ สสส.ได้ลงนามความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก (WHO) เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ 4 ด้าน ซึ่งยาสูบเป็นหนึ่งในข้อตกลงนั้น WHO ได้ให้การสนับสนุนด้านวิชาการให้แก่เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลัง เพื่อทำให้เกิดความรู้ ความเชี่ยวชาญในการปรับโครงสร้างอัตราภาษีให้ได้ผลลัพธ์ คือ ลดการบริโภคยาสูบ โดยที่ยังคงรายได้ภาครัฐไว้ โดยมี ศจย.และ สสส.ร่วมสนับสนุนข้อมูลวิชาการ ซึ่งเชื่อว่าการปรับโครงสร้างภาษีในครั้งนี้จะทำให้บรรลุผลทั้ง 2 ประการ
“ถือเป็นนิมิตหมายที่ดีที่กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง เห็นความสำคัญของการลดการบริโภคยาสูบ และนำปัจจัยด้านสุขภาพมาคิดร่วมกับการกำหนดโครงสร้างภาษีครั้งนี้ จากการทำงานร่วมกันมาตลอดในเรื่องการปราบปรามบุหรี่ผิดกฎหมาย ทำให้เกิดความร่วมมืออันดี และความเข้าใจด้านสุขภาพมากขึ้น ซึ่งหลังจากออกพระราชกำหนด ตามที่ ครม.เห็นชอบ ก็สามารถออกประกาศกระทรวงเพื่อปรับการจัดเก็บภาษีเป็นแบบคำนวณจากอัตราการค้าปลีก และคำนวณภาษีตามสภาพได้ทันที” ดร.ศิริวรรณ กล่าว
นพ.ชัย กฤติยาภิชาตกุล ผู้ชำนาญการด้านควบคุมยาสูบ สำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า กรมสรรพสามิต และ สสส.ได้ร่วมกันศึกษาและสนับสนุนแนวทางการปรับแก้โครงสร้างภาษีบุหรี่มาโดยตลอด เพราะเป็นมาตรการที่ช่วยลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลดลงอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวทางการปรับโครงสร้างภาษีที่เหมาะสม คือ ต้องปรับราคาให้สูงขึ้นโดยวิเคราะห์จากราคาของต่างประเทศ เพื่อหาจุดราคาที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยที่ผ่านมารัฐบาลไทยเก็บภาษีบุหรี่ต่ำมาก แต่บริษัทนำไปขายในราคาสูงเพื่อเอากำไร ในการที่กระทรวงการคลังประกาศถึงแนวทางการปรับเปลี่ยนฐานการจัดเก็บภาษีจากราคาหน้าโรงงาน หรือราคาซีไอเอฟ เป็นการจัดเก็บตามราคาขายปลีกนั้น จะช่วยป้องกันปัญหาการแจ้งราคาซีไอเอฟของบริษัทนำเข้าในราคาต่ำกว่ามูลค่าจริง ที่ทำให้ไทยขาดรายได้ภาษีในระยะยาว และควรจัดเก็บตามปริมาณไปด้วย เพื่อป้องกันการลดราคาขายปลีกของบริษัทบุหรี่
ดร.ไอด้า ยูริกลี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ยาสูบขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่าประเทศสมาชิกของ WHO ที่ใช้การเก็บภาษียาสูบระบบผสมมีทั้งสิ้น 48 ประเทศ ส่วนใหญ่เป็นประเทศในแถบยุโรป ส่วนจัดเก็บภาษีตามมูลค่า 60 ประเทศ และจัดเก็บภาษีตามปริมาณ 55 ประเทศ และไม่มีระบบการจัดเก็บภาษี 19 ประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นประเทศในแถบอาหรับ โดยเมื่อเทียบในภูมิภาค พบว่า ประเทศศรีลังกา สามารถจัดเก็บภาษีได้มากกว่าประเทศไทย จากประสบการณ์การทำโครงสร้างภาษีในหลายๆ ประเทศ พบว่า การคำนวณโครงสร้างภาษีให้ง่ายและมีความซับซ้อนต่ำ จะช่วยทำให้ป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีได้เป็นอย่างดี