ก.แรงงาน เปิดเวทีรับความเห็นทุกภาคส่วนต่อแผนยุทธศาสตร์ด้านแรงงาน ก.พ.ร.ชี้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วม บางส่วนปรับเป็นองค์การมหาชน ส่วน สปส.มีมติ ครม.เร่งปรับจากส่วนราชการเป็นองค์การมหาชน
วันนี้ (23 มี.ค.) ณ ห้องประชุมสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 3 ชั้น 7 กระทรวงแรงงาน เปิดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนต่อแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากระทรวงแรงงาน (พ.ศ. 2554-พ.ศ. 2556) ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากภาครัฐ เอกชน สภาองค์การนายจ้าง ลูกจ้าง องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ข้าราชการเจ้าหน้าที่ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคแรงงาน
นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ต้องมีการพัฒนาให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 เห็นชอบให้ทุกส่วนราชการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ปรับปรุง ส่วนราชการให้เกิดประสิทธิผลที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม คือ “การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน” กระทรวงแรงงานจึงมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนากระทรวงแรงงาน (พ.ศ.2554-2556) ขึ้น
ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร.กล่าวว่า เดิมส่วนราชการจะปรับปรุงบทบาทและโครงสร้างเป็นชิ้นๆ ไม่เป็นภาพรวมขององค์กร จึงมีการปรับบทบาทของส่วนราชการโดยการใช้แผนยุทธศาสตร์เป็นตัวนำ โดยการถ่ายทอดจากแผนยุทธศาสตร์ชาติลงมา ภาพรวมแผนยุทธศาสตร์ กระทรวงแรงงาน ซึ่งมีผู้ให้ความเห็นว่า มีบางสิ่งหายไป บางสิ่งคงอยู่ บางสิ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งก็คือ การคำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจในขณะนั้น รวมถึงการถ่ายโอนภารกิจบางส่วนไปยังท้องถิ่น หรือภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติ เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่เปิดให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงาน
โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะมีภารกิจเป็นหน่วยงานด้านกำกับมาตรฐาน วิจัย และกำหนดนโยบายต่างๆ รูปแบบภารกิจจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ “การเป็นส่วนราชการ” และ “การเป็นองค์การมหาชน” เช่น สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรืออาจจะเป็นรูปแบบใหม่ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. กำลังพัฒนาขึ้น เรียกว่า SDU คือ ไม่ได้เป็นนิติบุคคลแต่อยู่ภายใต้กรม หรือในรูปแบบอื่นๆ ที่จะมารองรับกับภารกิจในอีก 3 ปีข้างหน้า
สำหรับเรื่องของกรอบอัตรากำลังซึ่งมติคณะรัฐมนตรีมีความเห็นว่าไม่ควรเพิ่ม แต่หากเป็นวาระที่สำคัญๆ เช่น สำนักงานประกันสังคมขอกรอบอัตรากำลังเพิ่ม 470 ตำแหน่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาให้กรอบอัตรา 200 ตำแหน่ง โดยให้ทาง ก.พ.ร.ไปพิจารณาความเหมาะสมในการให้บริการประชาชนต่อสำนักงานประกันสังคมสาขาที่จะเกิดขึ้น ตาม พ.ร.บ. มาตรา 40 ในเรื่องของแรงงานนอกระบบ แต่สิ่งหนึ่งที่สำนักงานประกันสังคมยังไม่ได้ดำเนินการ คือ เรื่องของการพัฒนารูปแบบองค์กรในอนาคตซึ่งคงไม่ใช่รูปแบบของส่วนราชการ โดยจะต้องเป็นรูปแบบขององค์การมหาชน
โดยมติคณะรัฐมนตรีมีความเห็นออกมาแล้วว่า ให้กระทรวงแรงงานกลับไปพิจารณาและเร่งรัดพัฒนารูปแบบของสำนักงานประกันสังคมให้นำไปสู่รูปแบบของการเป็นองค์การมหาชน สำหรับความคิดเห็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากทุกภาคส่วนในครั้งนี้ อาทิ เรื่องของแรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ การเปิดเสรีแรงงานอาเซียน การพัฒนาสถาบันการฝึกอบรมซึ่งจะต้องมีการคำนึงถึงเรื่องภายนอก-ภายใน การแบ่งเขตการให้บริการในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค การพัฒนาในเรื่องของ IT ซึ่งจะต้องพัฒนาในเรื่องของระบบการวิจัยและพัฒนา สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งกระทรวงแรงงานจะต้องรับกลับไปในการพิจารณาให้ครบในทุกรูปแบบ
วันนี้ (23 มี.ค.) ณ ห้องประชุมสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 3 ชั้น 7 กระทรวงแรงงาน เปิดเวทีประชุมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนต่อแผนยุทธศาสตร์การพัฒนากระทรวงแรงงาน (พ.ศ. 2554-พ.ศ. 2556) ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากภาครัฐ เอกชน สภาองค์การนายจ้าง ลูกจ้าง องค์การแรงงานระหว่างประเทศ ข้าราชการเจ้าหน้าที่ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคแรงงาน
นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ต้องมีการพัฒนาให้สอดคล้องต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 เห็นชอบให้ทุกส่วนราชการร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ปรับปรุง ส่วนราชการให้เกิดประสิทธิผลที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม คือ “การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน” กระทรวงแรงงานจึงมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ การพัฒนากระทรวงแรงงาน (พ.ศ.2554-2556) ขึ้น
ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร.กล่าวว่า เดิมส่วนราชการจะปรับปรุงบทบาทและโครงสร้างเป็นชิ้นๆ ไม่เป็นภาพรวมขององค์กร จึงมีการปรับบทบาทของส่วนราชการโดยการใช้แผนยุทธศาสตร์เป็นตัวนำ โดยการถ่ายทอดจากแผนยุทธศาสตร์ชาติลงมา ภาพรวมแผนยุทธศาสตร์ กระทรวงแรงงาน ซึ่งมีผู้ให้ความเห็นว่า มีบางสิ่งหายไป บางสิ่งคงอยู่ บางสิ่งเพิ่มขึ้น ซึ่งก็คือ การคำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจในขณะนั้น รวมถึงการถ่ายโอนภารกิจบางส่วนไปยังท้องถิ่น หรือภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติ เช่น กรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่เปิดให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงาน
โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะมีภารกิจเป็นหน่วยงานด้านกำกับมาตรฐาน วิจัย และกำหนดนโยบายต่างๆ รูปแบบภารกิจจะประกอบด้วย 2 ส่วน คือ “การเป็นส่วนราชการ” และ “การเป็นองค์การมหาชน” เช่น สถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน หรืออาจจะเป็นรูปแบบใหม่ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. กำลังพัฒนาขึ้น เรียกว่า SDU คือ ไม่ได้เป็นนิติบุคคลแต่อยู่ภายใต้กรม หรือในรูปแบบอื่นๆ ที่จะมารองรับกับภารกิจในอีก 3 ปีข้างหน้า
สำหรับเรื่องของกรอบอัตรากำลังซึ่งมติคณะรัฐมนตรีมีความเห็นว่าไม่ควรเพิ่ม แต่หากเป็นวาระที่สำคัญๆ เช่น สำนักงานประกันสังคมขอกรอบอัตรากำลังเพิ่ม 470 ตำแหน่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาให้กรอบอัตรา 200 ตำแหน่ง โดยให้ทาง ก.พ.ร.ไปพิจารณาความเหมาะสมในการให้บริการประชาชนต่อสำนักงานประกันสังคมสาขาที่จะเกิดขึ้น ตาม พ.ร.บ. มาตรา 40 ในเรื่องของแรงงานนอกระบบ แต่สิ่งหนึ่งที่สำนักงานประกันสังคมยังไม่ได้ดำเนินการ คือ เรื่องของการพัฒนารูปแบบองค์กรในอนาคตซึ่งคงไม่ใช่รูปแบบของส่วนราชการ โดยจะต้องเป็นรูปแบบขององค์การมหาชน
โดยมติคณะรัฐมนตรีมีความเห็นออกมาแล้วว่า ให้กระทรวงแรงงานกลับไปพิจารณาและเร่งรัดพัฒนารูปแบบของสำนักงานประกันสังคมให้นำไปสู่รูปแบบของการเป็นองค์การมหาชน สำหรับความคิดเห็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากทุกภาคส่วนในครั้งนี้ อาทิ เรื่องของแรงงานนอกระบบ แรงงานข้ามชาติ การเปิดเสรีแรงงานอาเซียน การพัฒนาสถาบันการฝึกอบรมซึ่งจะต้องมีการคำนึงถึงเรื่องภายนอก-ภายใน การแบ่งเขตการให้บริการในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค การพัฒนาในเรื่องของ IT ซึ่งจะต้องพัฒนาในเรื่องของระบบการวิจัยและพัฒนา สิ่งเหล่านี้จึงเป็นสิ่งกระทรวงแรงงานจะต้องรับกลับไปในการพิจารณาให้ครบในทุกรูปแบบ