ปลัดแรงงาน รับหนังสือองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย หารือการส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคม ในส่วนค่ารักษาพยาบาล ยอมรับ สปส.มีทั้งส่วนดีและด้อยกว่าบัตรทอง หากนายจ้างไม่จ่ายเงินสมทบ มีโทษทั้งจำคุก 6 เดือน ทั้งปรับ 20,000 บาท
วันนี้ (16 มี.ค.) 7 สภาองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย นำโดย นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือต่อนายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานบอร์ดประกันสังคม ต้องการให้มีการทำหนังสือเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรึกษาหารือกรณีข่าวผู้ประกันตนไม่ต้องการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในส่วน ค่ารักษาพยาบาล โดยปลัดกระทรวงแรงงาน รับไปหารือเลขาธิการประกันสังคมและจะมีการกำหนดวันนัดหารือต่อไป
นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวเรื่องนี้ว่า การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เป็นการให้ทุกคนที่ทำงานและรายได้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมได้ร่วมรับผิดชอบในการดูแลชีวิตตนเอง ซึ่งถือเป็นหลักสากลของโลก ส่วนเรื่องของสิทธิประโยชน์บางส่วนของประกันสังคมก็ดีกว่า แต่ก็ยอมรับว่าบางส่วนของ สปสช.ก็ดีกว่า ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้สิทธิจะได้รับประโยชน์จากระบบประกันสังคมหรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น กรณี “การปลูกถ่ายไขกระดูก” ระบบประกันสังคมครอบคลุมในการใช้สิทธิรักษาพยาบาลในกรณี “การปลูกถ่ายไขกระดูก” แต่ สปสช.ไม่มี
ส่วนเรื่องของการงดจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมนั้น ตามกฎหมายได้กำหนดนายจ้างจะต้องชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนของเงินสมทบที่ยังคงค้างชำระ ส่วนกองทุนประกันสังคม นายจ้างจะต้องชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่ง หรือต้องชำระส่วนที่ขาดอยู่จนครบถ้วน แต่หากนายจ้างยังคงเพิกเฉยต่อการปฏิบัติตามกฎหมายประกันสังคมก็ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งมีบทลงโทษคือ จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายประกันสังคม คือ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ การยื่นหนังสือของ นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และผู้แทนองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย เพื่อให้กระทรวงแรงงานทำหนังสือเชิญชมรมพิทักษ์สิทธิ์ผู้ประกันตน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ผู้แทนสภาองค์การลูกจ้าง ผู้แทนสภาองค์การนายจ้าง ผู้แทนคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรึกษาหารือถึงการที่ผู้ประกันตนไม่ต้องการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมนั้น จะได้หารือกับทางเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมและกำหนดวันนัดหารือต่อไป
วันนี้ (16 มี.ค.) 7 สภาองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย นำโดย นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือต่อนายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ในฐานะประธานบอร์ดประกันสังคม ต้องการให้มีการทำหนังสือเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรึกษาหารือกรณีข่าวผู้ประกันตนไม่ต้องการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในส่วน ค่ารักษาพยาบาล โดยปลัดกระทรวงแรงงาน รับไปหารือเลขาธิการประกันสังคมและจะมีการกำหนดวันนัดหารือต่อไป
นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวเรื่องนี้ว่า การจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เป็นการให้ทุกคนที่ทำงานและรายได้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมได้ร่วมรับผิดชอบในการดูแลชีวิตตนเอง ซึ่งถือเป็นหลักสากลของโลก ส่วนเรื่องของสิทธิประโยชน์บางส่วนของประกันสังคมก็ดีกว่า แต่ก็ยอมรับว่าบางส่วนของ สปสช.ก็ดีกว่า ขึ้นอยู่กับว่าผู้ใช้สิทธิจะได้รับประโยชน์จากระบบประกันสังคมหรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น กรณี “การปลูกถ่ายไขกระดูก” ระบบประกันสังคมครอบคลุมในการใช้สิทธิรักษาพยาบาลในกรณี “การปลูกถ่ายไขกระดูก” แต่ สปสช.ไม่มี
ส่วนเรื่องของการงดจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมนั้น ตามกฎหมายได้กำหนดนายจ้างจะต้องชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 3 ต่อเดือนของเงินสมทบที่ยังคงค้างชำระ ส่วนกองทุนประกันสังคม นายจ้างจะต้องชำระเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนของเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่ง หรือต้องชำระส่วนที่ขาดอยู่จนครบถ้วน แต่หากนายจ้างยังคงเพิกเฉยต่อการปฏิบัติตามกฎหมายประกันสังคมก็ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ซึ่งมีบทลงโทษคือ จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายประกันสังคม คือ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ การยื่นหนังสือของ นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และผู้แทนองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย เพื่อให้กระทรวงแรงงานทำหนังสือเชิญชมรมพิทักษ์สิทธิ์ผู้ประกันตน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ผู้แทนสภาองค์การลูกจ้าง ผู้แทนสภาองค์การนายจ้าง ผู้แทนคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรึกษาหารือถึงการที่ผู้ประกันตนไม่ต้องการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมนั้น จะได้หารือกับทางเลขาธิการสำนักงานประกันสังคมและกำหนดวันนัดหารือต่อไป