“อมร” ยัน กรุงเทพธนาคม เป็นวิสาหกิจของกทม.ไม่ใช่เอกชนตามที่นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนอ้าง จึงไม่จำเป็นต้องเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุน
นายอมร กิจเชวงกุล กรรมการผู้อำนวยการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ชี้แจงกรณี นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้ประมวลเหตุผลที่คนกรุงเทพฯ ไม่ควรเอาซูเปอร์สกายวอร์ก 10 เหตุผล โดยเฉพาะในข้อที่ 10 ที่ระบุว่า
“จะทำให้วินัยทางการเงินการคลังของกรุงเทพมหานครเสียหาย เพราะเป็นการเอาเงินในอนาคตของคน กทม.มาใช้พร้อมความเสี่ยง การที่ กทม.เอาสถานะนิติบุคคลของหน่วยงานไปการันตีการกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างๆ ให้กับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทเอกชนทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หาใช่วิสาหกิจของ กทม.ไม่ (ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 88/2541)
อีกทั้งไม่มีผู้บริหารของกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย และไม่มีกฎหมายเฉพาะรองรับเหมือนรัฐวิสาหกิจทั่วไป มีแต่เอกชนพรรคพวกของผู้บริหารของ กทม.หรือพรรคการเมืองของผู้ว่าฯมาเป็นกรรมการ หากบริษัทกรุงเทพธนาคมบริหารงานล้มเหลวผิดพลาด กทม.ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายดังกล่าวโดยตรงด้วย
ดังนั้น การให้บริษัท กรุงเทพธนาคม มาร่วมทุนดำเนินการในครั้งนี้ จึงเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนเท่านั้น”
จากที่ นายศรีสุวรรณ ระบุนั้น เป็นการกล่าวอย่างเลื่อนลอย ขาดการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง ก่อนที่จะนำมากล่าวในที่สาธารณะ ทำให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารเข้าใจบริษัทไปในทางที่ไม่ถูกต้อง จึงขอชี้แจงดังนี้
1.บริษัท กรุงเทพธนาคม เป็นวิสาหกิจเพียงหนึ่งเดียวของกรุงเทพมหานคร โดย กทม.ถือหุ้น 99.98% ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความสถานะของบริษัท กรุงเทพธนาคม เอาไว้ว่า
1.1) บริษัท กรุงเทพธนาคม ไม่เป็นเอกชนตาม พ.ร.บ.การเข้าร่วมการงานของภาครัฐและเอกชน พ.ศ.2535 ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 222/2540
1.2) ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพธนาคม กับ กทม.กรุงเทพธนาคม เป็นหน่วยงานหนึ่งของ กทม.โดยกรุงเทพมหานครได้ออกข้อบัญญัติกทมเรื่อง บริษัทที่กรุงเทพมหานครก่อตั้ง จัดตั้งหรือถือหุ้น (พ.ศ.2552) เพื่อรองรับสถานะของบริษัท
1.3) กทม.แก้ไขระเบียบพัสดุให้กรุงเทพธนาคมสามารถดำเนินการโครงการให้กับกรุงเทพมหานครโดยจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ
เมื่อปี 2552 สภากรุงเทพมหานคร เห็นชอบแก้ไขข้อบัญญัติระเบียบพัสดุ โดยได้เพิ่มเติมนิยามของบริษัทที่ กทม.จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย โดยสามารถว่าจ้างโดยวิธีพิเศษกรณีเป็นผู้ผลิตหรือทำงานจ้างนั้นเองและผู้ว่าฯ กทม.อนุมัติให้ซื้อหรือจ้าง ไม่ต้องวางหลักประกันและมีข้อบัญญัติมารองรับแล้ว ซึ่ง กทม.ถือหุ้น 99.98%
2.การหาเงินลงทุนของบริษัทโดยการกู้กับสถาบันการเงิน กรุงเทพมหานคร ไม่ต้องค้ำประกันใดๆ ทั้งสิ้น เพราะสถาบันการเงินจะพิจารณาให้สัญญาเงินกู้จากสัญญาจ้างงานระหว่างกรุงเทพมหานครและบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัดเป็นสำคัญ โดยสัญญาจ้างดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง การพัสดุ ทุกประการ ไม่ได้เข้าข่ายต้องดำเนินการตามพรบ.ร่วมทุนแต่อย่างใด
3.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้ตัวแทนจากกทม.เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการของบริษัท ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วย นายกฤษฎา กลันทานนท์ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง นายกอบชัย พงษ์เสริม ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย และนางสาวสุทิพย์ ทิพย์สุวรรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
นายอมร กล่าวว่า ดังนั้น บริษัทจึงมีสถานะที่ชัดเจน สามารถดำเนินโครงการร่วมกับ กทม.ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการพัสดุ พ.ศ.2552 โดยไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 และสามารถจัดหาแหล่งเงินลงทุนได้เอง โดยกทม.ไม่ต้องรับภาระความเสี่ยง ทั้งนี้บริษัทยินดีรับฟังข้อคิดเห็นจากสาธารณะ โดยเฉพาะความเห็นที่มีประโยชน์กับประชาชนโดยส่วนรวมและเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง
สำหรับข้อคิดเห็นอื่นของ นายศรีสุวรรณ กทม.และบริษัทได้ชี้แจงอย่างชัดเจนแล้ว จึงไม่ขอกล่าวอีก ทั้งนี้ บริษัทยินดีรับฟังข้อคิดเห็นจากสาธารณะ โดยเฉพาะความเห็นที่มีประโยชน์กับประชาชนโดยส่วนรวมและเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง
นายอมร กิจเชวงกุล กรรมการผู้อำนวยการบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ชี้แจงกรณี นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ได้ประมวลเหตุผลที่คนกรุงเทพฯ ไม่ควรเอาซูเปอร์สกายวอร์ก 10 เหตุผล โดยเฉพาะในข้อที่ 10 ที่ระบุว่า
“จะทำให้วินัยทางการเงินการคลังของกรุงเทพมหานครเสียหาย เพราะเป็นการเอาเงินในอนาคตของคน กทม.มาใช้พร้อมความเสี่ยง การที่ กทม.เอาสถานะนิติบุคคลของหน่วยงานไปการันตีการกู้เงินจากสถาบันการเงินต่างๆ ให้กับบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ซึ่งถือว่าเป็นบริษัทเอกชนทั่วไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หาใช่วิสาหกิจของ กทม.ไม่ (ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่องเสร็จที่ 88/2541)
อีกทั้งไม่มีผู้บริหารของกรุงเทพมหานครเป็นกรรมการรวมอยู่ด้วย และไม่มีกฎหมายเฉพาะรองรับเหมือนรัฐวิสาหกิจทั่วไป มีแต่เอกชนพรรคพวกของผู้บริหารของ กทม.หรือพรรคการเมืองของผู้ว่าฯมาเป็นกรรมการ หากบริษัทกรุงเทพธนาคมบริหารงานล้มเหลวผิดพลาด กทม.ในฐานะผู้ค้ำประกันก็ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายดังกล่าวโดยตรงด้วย
ดังนั้น การให้บริษัท กรุงเทพธนาคม มาร่วมทุนดำเนินการในครั้งนี้ จึงเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 ซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีก่อนเท่านั้น”
จากที่ นายศรีสุวรรณ ระบุนั้น เป็นการกล่าวอย่างเลื่อนลอย ขาดการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้อง ก่อนที่จะนำมากล่าวในที่สาธารณะ ทำให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารเข้าใจบริษัทไปในทางที่ไม่ถูกต้อง จึงขอชี้แจงดังนี้
1.บริษัท กรุงเทพธนาคม เป็นวิสาหกิจเพียงหนึ่งเดียวของกรุงเทพมหานคร โดย กทม.ถือหุ้น 99.98% ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตีความสถานะของบริษัท กรุงเทพธนาคม เอาไว้ว่า
1.1) บริษัท กรุงเทพธนาคม ไม่เป็นเอกชนตาม พ.ร.บ.การเข้าร่วมการงานของภาครัฐและเอกชน พ.ศ.2535 ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่องเสร็จที่ 222/2540
1.2) ความสัมพันธ์ระหว่างกรุงเทพธนาคม กับ กทม.กรุงเทพธนาคม เป็นหน่วยงานหนึ่งของ กทม.โดยกรุงเทพมหานครได้ออกข้อบัญญัติกทมเรื่อง บริษัทที่กรุงเทพมหานครก่อตั้ง จัดตั้งหรือถือหุ้น (พ.ศ.2552) เพื่อรองรับสถานะของบริษัท
1.3) กทม.แก้ไขระเบียบพัสดุให้กรุงเทพธนาคมสามารถดำเนินการโครงการให้กับกรุงเทพมหานครโดยจัดจ้างด้วยวิธีพิเศษ
เมื่อปี 2552 สภากรุงเทพมหานคร เห็นชอบแก้ไขข้อบัญญัติระเบียบพัสดุ โดยได้เพิ่มเติมนิยามของบริษัทที่ กทม.จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย โดยสามารถว่าจ้างโดยวิธีพิเศษกรณีเป็นผู้ผลิตหรือทำงานจ้างนั้นเองและผู้ว่าฯ กทม.อนุมัติให้ซื้อหรือจ้าง ไม่ต้องวางหลักประกันและมีข้อบัญญัติมารองรับแล้ว ซึ่ง กทม.ถือหุ้น 99.98%
2.การหาเงินลงทุนของบริษัทโดยการกู้กับสถาบันการเงิน กรุงเทพมหานคร ไม่ต้องค้ำประกันใดๆ ทั้งสิ้น เพราะสถาบันการเงินจะพิจารณาให้สัญญาเงินกู้จากสัญญาจ้างงานระหว่างกรุงเทพมหานครและบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัดเป็นสำคัญ โดยสัญญาจ้างดังกล่าวเป็นไปอย่างถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง การพัสดุ ทุกประการ ไม่ได้เข้าข่ายต้องดำเนินการตามพรบ.ร่วมทุนแต่อย่างใด
3.ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีฐานะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายให้ตัวแทนจากกทม.เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการของบริษัท ซึ่งปัจจุบันประกอบด้วย นายกฤษฎา กลันทานนท์ ผู้อำนวยการสำนักการคลัง นายกอบชัย พงษ์เสริม ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย และนางสาวสุทิพย์ ทิพย์สุวรรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
นายอมร กล่าวว่า ดังนั้น บริษัทจึงมีสถานะที่ชัดเจน สามารถดำเนินโครงการร่วมกับ กทม.ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการพัสดุ พ.ศ.2552 โดยไม่เข้าข่าย พ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 และสามารถจัดหาแหล่งเงินลงทุนได้เอง โดยกทม.ไม่ต้องรับภาระความเสี่ยง ทั้งนี้บริษัทยินดีรับฟังข้อคิดเห็นจากสาธารณะ โดยเฉพาะความเห็นที่มีประโยชน์กับประชาชนโดยส่วนรวมและเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง
สำหรับข้อคิดเห็นอื่นของ นายศรีสุวรรณ กทม.และบริษัทได้ชี้แจงอย่างชัดเจนแล้ว จึงไม่ขอกล่าวอีก ทั้งนี้ บริษัทยินดีรับฟังข้อคิดเห็นจากสาธารณะ โดยเฉพาะความเห็นที่มีประโยชน์กับประชาชนโดยส่วนรวมและเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง