นายกสมาคมพุทธศาสน์ฯ ร้อง กมธ.ให้นำคำว่า “ศาสนาพุทธ” กลับมาใส่ในบัตรประชาชนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธอีกครั้ง เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชาวพุทธ ตรวจสอบจำนวนผู้นับถือได้ ขณะที่ประธาน กมธ.รับทราบ พร้อมส่งเรื่องไปยัง มส.พิจารณา
วันนี้ (7 มี.ค.)นายอดิศักดิ์ วรรณสิน นายกสมาคมพุทธศาสน์สัมพันธ์ เปิดเผยว่า จากการศึกษาว่า ในอดีตเคยมีการระบุคำว่า “ศาสนาพุทธ” ในบัตรประจำตัวประชาชนของชาวพุทธ แต่ต่อมามีการตัดออกไป ตนจึงอยากเรียกร้องให้มีการนำคำว่า “ศาสนาพุทธ” กลับมาใส่ไว้ในบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธอีกครั้ง เพื่อระบุให้ชัดเจนว่า ตนคือชาวพุทธ นับถือศาสนาพุทธ เป็นการบ่งบอกสัญลักษณ์บุคคลและสร้างอัตลักษณ์ให้ชาวพุทธ ที่สำคัญ จะได้มีการสำรวจจำนวนที่ชัดเจนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธในประเทศไทย ว่า มีจำนวนเท่าไหร่ เมื่อเร็วๆ นี้ ทางสมาคมได้ทำหนังสือถึง สมเกียรติ ศรลัมพ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา ในคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เรื่องขอให้ระบุคำว่า “ศาสนาพุทธ” ไว้ในบัตรประจำตัวประชาชน ของพุทธศาสนิกชนทุกๆคน เพื่อเป็นการทำนุบำรุงและสืบทอดพระพุทธศาสนา เป็นสัญลักษณ์ ขวัญและกำลังใจของชาวพุทธตลอดไป
“ขณะนี้ทางสมาคมได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎรรับทราบแล้ว ซึ่งทางนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ได้ทำหนังสือถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของ พศ.คิดว่า ขั้นตอนต่อไปทาง พศ.คงจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ต่อไป สิ่งที่เรียกร้องนี้ในส่วนตัวเห็นว่าควรจะเร่งใส่คำว่า ศาสนาพุทธ ในบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธอย่างเดิม จะเป็นประโยชน์ต่อตัวพุทธศาสนาเอง ส่วนศาสนาอื่นนั้น ผมคงไม่กล้าไปก้าวล่วง” นายกสมาคมพทธศาสน์สัมพันธ์ กล่าว
ขณะที่นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตนได้รับทราบเรื่องร้องเรียนดังกล่าวแล้ว และได้ทำหนังสือถึงนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้พิจารณาเสนอที่ประชุมมหาเถรสมาคม อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา สภาผู้แทนราษฎร เร็วๆ นี้ ได้นำกรณีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ.2554) ออกตามความในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ลงนามโดย นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 16 ก.พ.2554 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 21 ก.พ.2554 เข้าบรรจุเป็นวาระแรกของการประชุม
นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมพิจารณาประกาศกฎกระทรวงดังกล่าว โดยเฉพาะข้อ 5 ที่กำหนดให้มีรายละเอียดของรายการในบัตร ระบุใน (10) รายการศาสนา หรือนิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนาของผู้ถือบัตรโดยจะมีหรือไม่ก็ได้ ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความกลัวของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกกฎกระทรวงที่ไม่กล้าแม้จะระบุให้ชัดเจนลงไปว่า ผู้ถือบัตรนับถือศาสนา นิกาย หรือลัทธิทางความเชื่อใด ซึ่งการระบุว่าใครนับถือศาสนาใดล้วนแต่เป็นประโยชน์ของแต่ละศาสนาทั้งสิ้น โดยเฉพาะสถิติการลดลงหรือเพิ่มขึ้นของศาสนิกชนในแต่ละศาสนา การทำสถิติตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ การที่ทางราชการหรือผู้อื่นจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติของศาสนานั้นๆ ล้วน แต่เป็นผลดีและเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น ดังนั้น การกำหนดให้มีการระบุการนับถือศาสนาหรือไม่ก็ได้เช่นนี้ อาจเปิดทางให้มีการทุจริตเกิดขึ้นหรือไม่
“กฎกระทรวงฉบับนี้จะต้องเกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอน ที่ผ่านมา การจัดสรรงบประมาณอุดหนุนด้านศาสนาของรัฐบาลก็เกิดปัญหาเรื่องการอ้างจำนวนศาสนิกที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง จึงมีการให้งบอุดหนุนที่เลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ศาสนาไหนๆ ก็อ้างได้ว่า จำนวนศาสนิกของตนปัจจุบันมีจำนวนเท่านั้นเท่านี้ ทางคณะสงฆ์ไทยเองก็ยังคำนวณตัวเลขไม่ได้ว่าพระสงฆ์สามเณรปัจจุบันมีจำนวนเท่าใด และผู้นับถือศาสนาพุทธมีจำนวนเท่าใด เพิ่มขึ้นหรือลดลง ถ้าลดลงมากทางคณะสงฆ์ควรจะมีมาตรการรองรับอย่างไร หลังจากได้ข้อยุติจากที่ประชุมแล้ว ผมจะทำเรื่องเสนอต่อมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดทราบว่าสมควรจะต้องแก้กฎกระทรวงฉบับนี้หรือไม่ ถ้าท่านอนุโมทนาเราก็รับ หรือถ้าท่านเห็นว่าข้อกำหนดอย่างนี้ดีแล้วทางเราก็รับได้เช่นกัน”นายสมเกียรติกล่าว
วันนี้ (7 มี.ค.)นายอดิศักดิ์ วรรณสิน นายกสมาคมพุทธศาสน์สัมพันธ์ เปิดเผยว่า จากการศึกษาว่า ในอดีตเคยมีการระบุคำว่า “ศาสนาพุทธ” ในบัตรประจำตัวประชาชนของชาวพุทธ แต่ต่อมามีการตัดออกไป ตนจึงอยากเรียกร้องให้มีการนำคำว่า “ศาสนาพุทธ” กลับมาใส่ไว้ในบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธอีกครั้ง เพื่อระบุให้ชัดเจนว่า ตนคือชาวพุทธ นับถือศาสนาพุทธ เป็นการบ่งบอกสัญลักษณ์บุคคลและสร้างอัตลักษณ์ให้ชาวพุทธ ที่สำคัญ จะได้มีการสำรวจจำนวนที่ชัดเจนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธในประเทศไทย ว่า มีจำนวนเท่าไหร่ เมื่อเร็วๆ นี้ ทางสมาคมได้ทำหนังสือถึง สมเกียรติ ศรลัมพ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา ในคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เรื่องขอให้ระบุคำว่า “ศาสนาพุทธ” ไว้ในบัตรประจำตัวประชาชน ของพุทธศาสนิกชนทุกๆคน เพื่อเป็นการทำนุบำรุงและสืบทอดพระพุทธศาสนา เป็นสัญลักษณ์ ขวัญและกำลังใจของชาวพุทธตลอดไป
“ขณะนี้ทางสมาคมได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎรรับทราบแล้ว ซึ่งทางนายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ได้ทำหนังสือถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของ พศ.คิดว่า ขั้นตอนต่อไปทาง พศ.คงจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมมหาเถรสมาคม (มส.) ต่อไป สิ่งที่เรียกร้องนี้ในส่วนตัวเห็นว่าควรจะเร่งใส่คำว่า ศาสนาพุทธ ในบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่นับถือศาสนาพุทธอย่างเดิม จะเป็นประโยชน์ต่อตัวพุทธศาสนาเอง ส่วนศาสนาอื่นนั้น ผมคงไม่กล้าไปก้าวล่วง” นายกสมาคมพทธศาสน์สัมพันธ์ กล่าว
ขณะที่นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ตนได้รับทราบเรื่องร้องเรียนดังกล่าวแล้ว และได้ทำหนังสือถึงนายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้พิจารณาเสนอที่ประชุมมหาเถรสมาคม อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ที่ประชุมคณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา สภาผู้แทนราษฎร เร็วๆ นี้ ได้นำกรณีการออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 23 (พ.ศ.2554) ออกตามความในพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ.2526 ลงนามโดย นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ณ วันที่ 16 ก.พ.2554 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 21 ก.พ.2554 เข้าบรรจุเป็นวาระแรกของการประชุม
นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า ที่ประชุมพิจารณาประกาศกฎกระทรวงดังกล่าว โดยเฉพาะข้อ 5 ที่กำหนดให้มีรายละเอียดของรายการในบัตร ระบุใน (10) รายการศาสนา หรือนิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนาของผู้ถือบัตรโดยจะมีหรือไม่ก็ได้ ซึ่งข้อกำหนดดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความกลัวของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกกฎกระทรวงที่ไม่กล้าแม้จะระบุให้ชัดเจนลงไปว่า ผู้ถือบัตรนับถือศาสนา นิกาย หรือลัทธิทางความเชื่อใด ซึ่งการระบุว่าใครนับถือศาสนาใดล้วนแต่เป็นประโยชน์ของแต่ละศาสนาทั้งสิ้น โดยเฉพาะสถิติการลดลงหรือเพิ่มขึ้นของศาสนิกชนในแต่ละศาสนา การทำสถิติตัวเลขของสำนักงานสถิติแห่งชาติ การที่ทางราชการหรือผู้อื่นจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติของศาสนานั้นๆ ล้วน แต่เป็นผลดีและเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น ดังนั้น การกำหนดให้มีการระบุการนับถือศาสนาหรือไม่ก็ได้เช่นนี้ อาจเปิดทางให้มีการทุจริตเกิดขึ้นหรือไม่
“กฎกระทรวงฉบับนี้จะต้องเกิดปัญหาตามมาอย่างแน่นอน ที่ผ่านมา การจัดสรรงบประมาณอุดหนุนด้านศาสนาของรัฐบาลก็เกิดปัญหาเรื่องการอ้างจำนวนศาสนิกที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง จึงมีการให้งบอุดหนุนที่เลื่อมล้ำ ไม่เป็นธรรม ศาสนาไหนๆ ก็อ้างได้ว่า จำนวนศาสนิกของตนปัจจุบันมีจำนวนเท่านั้นเท่านี้ ทางคณะสงฆ์ไทยเองก็ยังคำนวณตัวเลขไม่ได้ว่าพระสงฆ์สามเณรปัจจุบันมีจำนวนเท่าใด และผู้นับถือศาสนาพุทธมีจำนวนเท่าใด เพิ่มขึ้นหรือลดลง ถ้าลดลงมากทางคณะสงฆ์ควรจะมีมาตรการรองรับอย่างไร หลังจากได้ข้อยุติจากที่ประชุมแล้ว ผมจะทำเรื่องเสนอต่อมหาเถรสมาคมเพื่อโปรดทราบว่าสมควรจะต้องแก้กฎกระทรวงฉบับนี้หรือไม่ ถ้าท่านอนุโมทนาเราก็รับ หรือถ้าท่านเห็นว่าข้อกำหนดอย่างนี้ดีแล้วทางเราก็รับได้เช่นกัน”นายสมเกียรติกล่าว