อธิการบดี ม.ธรรมศาสตร์ จ่อยื่นฟ้องอาญา “ผู้ปกครอง-ผู้ให้ยืมรถซีวิค” ฐานความผิดคู่ขนานเพิ่มอีก 2 คดี ชี้ อัยการรับฟ้องแพรวาเพียงคดีเดียวไม่พอ ย้ำ อยากให้เป็นตัวอย่างสังคม
วันนี้ (17 ก.พ.) เวลา 13.30 น.ที่ห้องประชุมวรรณไวทยากร ชั้น 1 ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าคดีสาววัยรุ่นซิ่งรถเก๋งเฉี่ยวชนกับรถตู้โดยสาร บนทางด่วนโทลล์เวย์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย ว่า ทาง ม.ธรรมศาสตร์ ตั้งทีมกฎหมาย 7 คนมาดูแลเรื่องนี้ โดยมีอาจารย์คณะนิติศาสตร์ด้านกฎหมายอาญา 2 ท่าน ทนายความศูนย์นิติศาสตร์ธรรมศาสตร์ 3 ท่าน และนิติกรของธรรมศาสตร์อีก 2 ท่าน ซึ่งขณะนี้ได้มีกำหนดการที่จะเดินทางไปฟ้องคดีอาญาเพิ่มอีก 2 คดี ในฐานความผิดคู่ขนาน ซึ่งเป็นความผิดทางอาญาเช่นเดียวกันกับที่ฟ้อง นางสาวแพรวา (อรชร) เทพหัสดิน ณ อยุธยา โดยฟ้องผู้ปกครองของเด็ก 1 คดีและฟ้องผู้ให้ยืมรถอีก 1 คดี
ศ.ดร.สมคิด กล่าวอีกว่า ทาง มธ.ได้รับเป็นตัวแทนให้ผู้เสียหายทั้งหมด ทั้งผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ โดยการดำเนินการของคดีความนั้น ทางทีมกฎหมายได้ติดต่อประสานงานกับทางตำรวจมาตลอด และได้นำเรื่องนี้ไปพูดคุยในสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงมีข้อเสนอเพิ่มเติมว่าต้องฟ้องผู้ปกครองเด็ก และผู้ให้ยืมรถในความผิดทางอาญาด้วย
“นอกจากจะฟ้องคนที่ขับรถชนแล้ว เราตั้งใจจะขอให้อัยการฟ้องทั้งผู้ปกครองเด็ก และผู้ให้ยืมรถ ซึ่งมีข้อเสนอจากอาจารย์ในสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บางท่าน เช่น ศ.ดร.คณิต ณ นคร เสนอว่า ต้องฟ้องคนที่ให้ยืมรถในทางอาญา ไม่ใช่ทางแพ่ง คือ ทางแพ่งก็ว่าไปอยู่แล้ว แต่ในทางอาญาเราคิดว่าจะทำตามแนวคิดที่ อ. คณิต ให้ไว้ คือ ฟ้องทางอาญาทั้ง 3 ส่วน ทั้งคนชน พ่อแม่ และคนให้ยืมรถ โดยใช้ทฤษฎีการกระทำผิดคู่ขนาน ผิดฐานประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตอนนี้ทาง มธ.ก็รออัยการสรุป ถ้าอัยการฟ้องเฉพาะเด็ก เราก็จะไปฟ้องอีก 2 คดี ถ้าอัยการฟ้องทั้ง 3 คดี ธรรมศาสตร์ก็ไม่มีปัญหา” ศ.ดร.สมคิด กล่าว
ศ.ดร.สมคิด อธิบายเพิ่มเติมว่า ความผิดทางอาญาที่ธรรมศาสตร์ฟ้องไปนั้นมี 2 ฐาน คือ 1. ฐานความผิดคู่ขนาน ฟ้องทั้งพ่อแม่และผู้ให้ยืมรถฐานประมาท ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คือ ฐานความผิดเดียวกับเด็ก เด็กผิดเท่าไหร่ พ่อแม่ และผู้ให้ยืมรถก็ผิดเท่านั้น และ 2.ฐานที่พ่อแม่ไม่ดูแลบุตร ปล่อยให้ทำความผิดทางอาญา เป็นความผิดลหุโทษ ซึ่งเป็นความผิดสถานเบา
“ธรรมศาสตร์อยากให้กฎหมายเป็นกฎหมาย เราอยากเห็นความเป็นธรรม อยากให้ผู้เสียหายได้รับความเป็นธรรม และทฤษฎีเรื่องความผิดคู่ขนานเป็นทฤษฎีที่พูดกันมานานในระบบกฎหมายไทย แต่ไม่เคยถูกนำมาใช้ และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ธรรมศาสตร์จะฟ้องให้เป็นตัวอย่าง ไม่ได้กะจะเอาเป็นเอาตาย ผมขอย้ำอย่างนี้ แต่เพราะเรารู้ว่าคดีชนคนโดยประมาทแล้วถึงความตาย ท้ายที่สุดก็ไม่ถึงโทษจำคุก อย่างเก่งก็จำคุกรอลงอาญา แต่เราต้องการให้เห็นว่า ความยุติธรรมต้องปรากฏ เพราะเป็นเรื่องถูกต้องที่คนทำความผิดต้องได้รับโทษ โดยเฉพาะคนที่ปล่อยปละละเลยลูกหลานในเรื่องนี้ คือ พวกเขาไม่ใช่คนทำผิดโดยตรงหรอก แต่คนที่ละเลย การดูแลบุตรหลานควรจะตระหนักรู้ถึงเรื่องนี้ในสังคมไทย เพราะผมเชื่อว่าไม่เฉพาะครอบครัวนี้ แต่มีครอบครัวอีกมากในสังคมไทยที่ทำแบบนี้ ก็จะได้เป็นตัวอย่างที่ดีให้พ่อแม่ ญาติ หรือคนใกล้ชิดได้ระมัดระวังมากขึ้น” ศ.ดร.สมคิด กล่าว
วันนี้ (17 ก.พ.) เวลา 13.30 น.ที่ห้องประชุมวรรณไวทยากร ชั้น 1 ตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าคดีสาววัยรุ่นซิ่งรถเก๋งเฉี่ยวชนกับรถตู้โดยสาร บนทางด่วนโทลล์เวย์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 9 ราย ว่า ทาง ม.ธรรมศาสตร์ ตั้งทีมกฎหมาย 7 คนมาดูแลเรื่องนี้ โดยมีอาจารย์คณะนิติศาสตร์ด้านกฎหมายอาญา 2 ท่าน ทนายความศูนย์นิติศาสตร์ธรรมศาสตร์ 3 ท่าน และนิติกรของธรรมศาสตร์อีก 2 ท่าน ซึ่งขณะนี้ได้มีกำหนดการที่จะเดินทางไปฟ้องคดีอาญาเพิ่มอีก 2 คดี ในฐานความผิดคู่ขนาน ซึ่งเป็นความผิดทางอาญาเช่นเดียวกันกับที่ฟ้อง นางสาวแพรวา (อรชร) เทพหัสดิน ณ อยุธยา โดยฟ้องผู้ปกครองของเด็ก 1 คดีและฟ้องผู้ให้ยืมรถอีก 1 คดี
ศ.ดร.สมคิด กล่าวอีกว่า ทาง มธ.ได้รับเป็นตัวแทนให้ผู้เสียหายทั้งหมด ทั้งผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บ โดยการดำเนินการของคดีความนั้น ทางทีมกฎหมายได้ติดต่อประสานงานกับทางตำรวจมาตลอด และได้นำเรื่องนี้ไปพูดคุยในสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงมีข้อเสนอเพิ่มเติมว่าต้องฟ้องผู้ปกครองเด็ก และผู้ให้ยืมรถในความผิดทางอาญาด้วย
“นอกจากจะฟ้องคนที่ขับรถชนแล้ว เราตั้งใจจะขอให้อัยการฟ้องทั้งผู้ปกครองเด็ก และผู้ให้ยืมรถ ซึ่งมีข้อเสนอจากอาจารย์ในสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์บางท่าน เช่น ศ.ดร.คณิต ณ นคร เสนอว่า ต้องฟ้องคนที่ให้ยืมรถในทางอาญา ไม่ใช่ทางแพ่ง คือ ทางแพ่งก็ว่าไปอยู่แล้ว แต่ในทางอาญาเราคิดว่าจะทำตามแนวคิดที่ อ. คณิต ให้ไว้ คือ ฟ้องทางอาญาทั้ง 3 ส่วน ทั้งคนชน พ่อแม่ และคนให้ยืมรถ โดยใช้ทฤษฎีการกระทำผิดคู่ขนาน ผิดฐานประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตอนนี้ทาง มธ.ก็รออัยการสรุป ถ้าอัยการฟ้องเฉพาะเด็ก เราก็จะไปฟ้องอีก 2 คดี ถ้าอัยการฟ้องทั้ง 3 คดี ธรรมศาสตร์ก็ไม่มีปัญหา” ศ.ดร.สมคิด กล่าว
ศ.ดร.สมคิด อธิบายเพิ่มเติมว่า ความผิดทางอาญาที่ธรรมศาสตร์ฟ้องไปนั้นมี 2 ฐาน คือ 1. ฐานความผิดคู่ขนาน ฟ้องทั้งพ่อแม่และผู้ให้ยืมรถฐานประมาท ทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คือ ฐานความผิดเดียวกับเด็ก เด็กผิดเท่าไหร่ พ่อแม่ และผู้ให้ยืมรถก็ผิดเท่านั้น และ 2.ฐานที่พ่อแม่ไม่ดูแลบุตร ปล่อยให้ทำความผิดทางอาญา เป็นความผิดลหุโทษ ซึ่งเป็นความผิดสถานเบา
“ธรรมศาสตร์อยากให้กฎหมายเป็นกฎหมาย เราอยากเห็นความเป็นธรรม อยากให้ผู้เสียหายได้รับความเป็นธรรม และทฤษฎีเรื่องความผิดคู่ขนานเป็นทฤษฎีที่พูดกันมานานในระบบกฎหมายไทย แต่ไม่เคยถูกนำมาใช้ และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ธรรมศาสตร์จะฟ้องให้เป็นตัวอย่าง ไม่ได้กะจะเอาเป็นเอาตาย ผมขอย้ำอย่างนี้ แต่เพราะเรารู้ว่าคดีชนคนโดยประมาทแล้วถึงความตาย ท้ายที่สุดก็ไม่ถึงโทษจำคุก อย่างเก่งก็จำคุกรอลงอาญา แต่เราต้องการให้เห็นว่า ความยุติธรรมต้องปรากฏ เพราะเป็นเรื่องถูกต้องที่คนทำความผิดต้องได้รับโทษ โดยเฉพาะคนที่ปล่อยปละละเลยลูกหลานในเรื่องนี้ คือ พวกเขาไม่ใช่คนทำผิดโดยตรงหรอก แต่คนที่ละเลย การดูแลบุตรหลานควรจะตระหนักรู้ถึงเรื่องนี้ในสังคมไทย เพราะผมเชื่อว่าไม่เฉพาะครอบครัวนี้ แต่มีครอบครัวอีกมากในสังคมไทยที่ทำแบบนี้ ก็จะได้เป็นตัวอย่างที่ดีให้พ่อแม่ ญาติ หรือคนใกล้ชิดได้ระมัดระวังมากขึ้น” ศ.ดร.สมคิด กล่าว