ก.แรงงาน เร่งแก้ปัญหาค้ามนุษย์ เหตุไทยถูกโจมตีจากต่างชาติ ใช้มาตรการลดค่าบริการหางานใน ตปท.คาดลดได้กว่า 200 ล้านบาท ปรับปรุงศูนย์ทะเบียนคนหางาน-ตัดตอนนายหน้า พัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อยกระดับค่าจ้าง วอนทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือ
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ด้านแรงงาน เพื่อค้นหามาตรการในการป้องกัน ปราบปราม ช่วยเหลือ คุ้มครอง การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
โดยนางจิราภรณ์ เกษรสุจริต รองปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานคณะทำงาน เปิดเผยว่า ประเด็นการค้ามนุษย์เป็นกรณีที่มีการดำเนินการเพื่อป้องกัน และแก้ไขในประเทศไทยมาหลายปีก่อนหน้านี้ แต่เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่กระทรวงแรงงานต้องให้ความสำคัญ ทั้งในแง่ของการศึกษา เพื่อให้เข้าใจอย่างกระจ่างชัดและเพื่อกำหนดแนวทางในการป้องกันและแก้ไขและถือปฏิบัติ
นางจิราภรณ์ กล่าวว่า เนื่องจากประเด็นการค้ามนุษย์ได้ถูกนำมาผูกโยงกับการค้าระหว่างประเทศ โดยเชื่อมโยงกับการใช้แรงงาน ที่มีการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล ดังจะเห็นได้จากสภาพปัญหาต่างๆ ที่ประเทศไทยถูกโจมตี และกดดันทั้งจากประเทศมหาอำนาจและสื่อระหว่างประเทศ
“ในปี 2553 สหรัฐอเมริกาจัดระดับประเทศไทยอยู่ในระดับ 2 ที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) โดยระบุถึงเหตุผลต่างๆ เช่น ประเทศไทยเป็นประเทศต้นทาง ปลายทาง และทางผ่าน สำหรับการค้าผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก โดยเฉพาะเพื่อการบังคับใช้แรงงานและการบังคับค้าประเวณี ซึ่งหากประเทศใดถูกจัดอยู่ใน Tier 3 สหรัฐฯ อาจพิจารณาระงับการให้ความช่วยเหลือที่มิใช่เพื่อมนุษยธรรมและการค้า จากสาเหตุดังกล่าวนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) จึงมอบหมายให้กระทรวงแรงงานเสนอแผนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม เพื่อลดปัญหาการหลอกลวงคนหางานไทยไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาแรงงานต่างด้าว และการใช้แรงงานหญิงและเด็ก รวมถึงให้พิจารณารายละเอียดและขั้นตอนการบริหารจัดการด้านแรงงาน เพื่อไม่ให้เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของการค้ามนุษย์” นางจิราภรณ์ กล่าว
กระทรวงแรงงาน จึงได้กำหนดมาตรการลดค่าบริการและค่าใช้จ่ายของคนหางานที่ไปทำงานต่างประเทศ ด้วยการดึงความร่วมมือจากบริษัทจัดหางาน โดยมีบริษัทจัดหางาน ลงนามให้สัตยาบันต่อ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแล้ว จำนวน 87 แห่งจากจำนวนบริษัทจัดหางานทั้งหมด 218 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 40 โดยบริษัทที่ลงสัตยาบันมีปริมาณการจัดส่งร้อยละ 52.72 ของการยอดการจัดส่ง โดยในช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2553 บริษัทได้จัดส่งแรงงานไปทำงาน 14,144 คน คาดการณ์ว่า สามารถลดค่าบริการและค่าใช้จ่ายได้รายละ 15,000 บาท คิดเป็นเงินประมาณ 212,160,000 บาท
ส่วนกรณีบริษัทจัดหางานรับค่าบริการ หรือค่าใช้จ่ายจากคนหางานแล้วไม่จัดส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศโดยไม่มีเหตุอันควร ให้นายทะเบียนมีอำนาจพักใช้ และเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งมีคำสั่งพักใบอนุญาตแล้ว จำนวน 5 ราย หักหลักประกันบริษัท จำนวน 8 บริษัท เพื่อคืนเงินค่าบริการและค่าใช้จ่ายแก่คนหางาน จำนวน 308 คน เป็นเงินประมาณ 11,887,300 บาท
นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงศูนย์ทะเบียนคนหางาน (Labour Bank) เพื่อดูแลคนหางานโดยตัดระบบสายหรือนายหน้า กำหนดให้คนหางานที่ประสงค์ไปทำงานต่างประเทศมาลงทะเบียนที่ศูนย์ทะเบียนคนหางาน โดยจะจำแนกประเภทคนหางานแบ่งตาม เพศ การศึกษา ความสามารถ รวมทั้งจัดทำข้อมูลคนหางานเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อสะดวกแก่นายจ้างในการคัดเลือก รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลผ่านระบบเว็บไซต์ต่างประเทศ
ทั้งนี้ การพัฒนาฝีมือและทักษะให้กับคนหางานก่อนเดินทาง ไปทำงานต่างประเทศ เพื่อให้แรงงานยกระดับจากไร้ฝีมือ (un skilled) ไปสู่ระดับกึ่งฝีมือ (semi skilled) และต่อไปถึงระดับฝีมือ (skilled) โดยจะพยายามลดจำนวนหรือลดขนาดแรงงานแต่ละประเภทให้น้อยลง ซึ่งจะทำให้คนหางานได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีในต่างประเทศ
“กระทรวงแรงงานเห็นว่าประเด็นการค้ามนุษย์ที่ประเทศไทยถูกโจมตีอยู่ในขณะนี้ เป็นเรื่องที่ทุกหน่วยงานภายในกระทรวงแรงงานต้องร่วมกันสอดส่องดูแล ทั้งนี้ มิใช่เพียงเพราะต้องทำตามภารกิจ หากเป็นเพราะจะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการถูกใช้ประเด็นแรงงานเป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้า ซึ่งจะเป็นผลเสียกับภาคเอกชนไทย แต่สิ่งสำคัญ คือ แรงงานไทยทั้งที่ทำงานในประเทศและไปทำงานต่างประเทศ รวมทั้งแรงงานในภาคต่างๆ ที่เข้ามาอาศัยความเจริญของประเทศไทยในการหาเลี้ยงชีพจะมีสภาพการทำงานที่ดีต่อไป” นางจิราภรณ์ กล่าว
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ด้านแรงงาน เพื่อค้นหามาตรการในการป้องกัน ปราบปราม ช่วยเหลือ คุ้มครอง การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน
โดยนางจิราภรณ์ เกษรสุจริต รองปลัดกระทรวงแรงงาน ประธานคณะทำงาน เปิดเผยว่า ประเด็นการค้ามนุษย์เป็นกรณีที่มีการดำเนินการเพื่อป้องกัน และแก้ไขในประเทศไทยมาหลายปีก่อนหน้านี้ แต่เมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ประเด็นนี้เป็นเรื่องที่กระทรวงแรงงานต้องให้ความสำคัญ ทั้งในแง่ของการศึกษา เพื่อให้เข้าใจอย่างกระจ่างชัดและเพื่อกำหนดแนวทางในการป้องกันและแก้ไขและถือปฏิบัติ
นางจิราภรณ์ กล่าวว่า เนื่องจากประเด็นการค้ามนุษย์ได้ถูกนำมาผูกโยงกับการค้าระหว่างประเทศ โดยเชื่อมโยงกับการใช้แรงงาน ที่มีการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล ดังจะเห็นได้จากสภาพปัญหาต่างๆ ที่ประเทศไทยถูกโจมตี และกดดันทั้งจากประเทศมหาอำนาจและสื่อระหว่างประเทศ
“ในปี 2553 สหรัฐอเมริกาจัดระดับประเทศไทยอยู่ในระดับ 2 ที่ต้องจับตามอง (Tier 2 Watch List) โดยระบุถึงเหตุผลต่างๆ เช่น ประเทศไทยเป็นประเทศต้นทาง ปลายทาง และทางผ่าน สำหรับการค้าผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก โดยเฉพาะเพื่อการบังคับใช้แรงงานและการบังคับค้าประเวณี ซึ่งหากประเทศใดถูกจัดอยู่ใน Tier 3 สหรัฐฯ อาจพิจารณาระงับการให้ความช่วยเหลือที่มิใช่เพื่อมนุษยธรรมและการค้า จากสาเหตุดังกล่าวนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) จึงมอบหมายให้กระทรวงแรงงานเสนอแผนการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม เพื่อลดปัญหาการหลอกลวงคนหางานไทยไปทำงานต่างประเทศ ปัญหาแรงงานต่างด้าว และการใช้แรงงานหญิงและเด็ก รวมถึงให้พิจารณารายละเอียดและขั้นตอนการบริหารจัดการด้านแรงงาน เพื่อไม่ให้เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของการค้ามนุษย์” นางจิราภรณ์ กล่าว
กระทรวงแรงงาน จึงได้กำหนดมาตรการลดค่าบริการและค่าใช้จ่ายของคนหางานที่ไปทำงานต่างประเทศ ด้วยการดึงความร่วมมือจากบริษัทจัดหางาน โดยมีบริษัทจัดหางาน ลงนามให้สัตยาบันต่อ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแล้ว จำนวน 87 แห่งจากจำนวนบริษัทจัดหางานทั้งหมด 218 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 40 โดยบริษัทที่ลงสัตยาบันมีปริมาณการจัดส่งร้อยละ 52.72 ของการยอดการจัดส่ง โดยในช่วงเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2553 บริษัทได้จัดส่งแรงงานไปทำงาน 14,144 คน คาดการณ์ว่า สามารถลดค่าบริการและค่าใช้จ่ายได้รายละ 15,000 บาท คิดเป็นเงินประมาณ 212,160,000 บาท
ส่วนกรณีบริษัทจัดหางานรับค่าบริการ หรือค่าใช้จ่ายจากคนหางานแล้วไม่จัดส่งคนหางานไปทำงานต่างประเทศโดยไม่มีเหตุอันควร ให้นายทะเบียนมีอำนาจพักใช้ และเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งมีคำสั่งพักใบอนุญาตแล้ว จำนวน 5 ราย หักหลักประกันบริษัท จำนวน 8 บริษัท เพื่อคืนเงินค่าบริการและค่าใช้จ่ายแก่คนหางาน จำนวน 308 คน เป็นเงินประมาณ 11,887,300 บาท
นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงศูนย์ทะเบียนคนหางาน (Labour Bank) เพื่อดูแลคนหางานโดยตัดระบบสายหรือนายหน้า กำหนดให้คนหางานที่ประสงค์ไปทำงานต่างประเทศมาลงทะเบียนที่ศูนย์ทะเบียนคนหางาน โดยจะจำแนกประเภทคนหางานแบ่งตาม เพศ การศึกษา ความสามารถ รวมทั้งจัดทำข้อมูลคนหางานเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อสะดวกแก่นายจ้างในการคัดเลือก รวมทั้งเผยแพร่ข้อมูลผ่านระบบเว็บไซต์ต่างประเทศ
ทั้งนี้ การพัฒนาฝีมือและทักษะให้กับคนหางานก่อนเดินทาง ไปทำงานต่างประเทศ เพื่อให้แรงงานยกระดับจากไร้ฝีมือ (un skilled) ไปสู่ระดับกึ่งฝีมือ (semi skilled) และต่อไปถึงระดับฝีมือ (skilled) โดยจะพยายามลดจำนวนหรือลดขนาดแรงงานแต่ละประเภทให้น้อยลง ซึ่งจะทำให้คนหางานได้รับค่าจ้างที่สูงขึ้น มีคุณภาพชีวิตที่ดีในต่างประเทศ
“กระทรวงแรงงานเห็นว่าประเด็นการค้ามนุษย์ที่ประเทศไทยถูกโจมตีอยู่ในขณะนี้ เป็นเรื่องที่ทุกหน่วยงานภายในกระทรวงแรงงานต้องร่วมกันสอดส่องดูแล ทั้งนี้ มิใช่เพียงเพราะต้องทำตามภารกิจ หากเป็นเพราะจะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากการถูกใช้ประเด็นแรงงานเป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้า ซึ่งจะเป็นผลเสียกับภาคเอกชนไทย แต่สิ่งสำคัญ คือ แรงงานไทยทั้งที่ทำงานในประเทศและไปทำงานต่างประเทศ รวมทั้งแรงงานในภาคต่างๆ ที่เข้ามาอาศัยความเจริญของประเทศไทยในการหาเลี้ยงชีพจะมีสภาพการทำงานที่ดีต่อไป” นางจิราภรณ์ กล่าว