เมื่อไม่นานมานี้ มีกระแสของการวิพากษ์วิจารณ์ระบบประกันสังคมอย่างมาก กับกระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่องของความแตกต่างระหว่าง “ระบบประกันสังคม” และ "ระบบรักษาฟรี” โดยจากการศึกษาเปรียบเทียบทั้ง 2 ระบบ ของ นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข พบความแตกต่างที่เป็นความเหลื่อมล้ำของระบบประกันสุขภาพ ระบบประกันสุขภาพในประเทศไทยนั้น มีความเหลื่อมล้ำกันอย่างมาก นอกจากจะมีหน่วยงานบบริหารจัดการที่แตกต่างกัน ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องเดียวกัน ค่าใช้จ่ายรายหัว สิทธิประโยชน์ ก็ยังแตกต่างกันอย่างมาก แสดงให้เห็นถึงปัญหาการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ ที่กลายเป็นความเหลื่อมล้ำของสังคม โดยได้แจกแจงไว้ในรายละเอียดต่อไปนี้

ด้านค่าใช้จ่ายต่อหัว และสิทธิประโยชน์
จากการศึกษาในปี 2554 พบว่า สิทธิประกันสังคมมีค่าใช้จ่ายต่อคนต่ปีเป็นจำนวนเงิน 2,105 บาท ภายใต้การจ่ายเงินของ ผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาล ขณะที่สิทธิรักษาฟรี มี 2,546.48 บาทโดยมีรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว นอกจากนี้เรื่องของการรักษาผู้ป่วยในนั้นยังพบว่า สิทธิประกันสังคมจะต้องจ่ายแบบเหมาจ่าย ส่วนสิทธิรักษาฟรีนั้น จ่ายให้ตามกลุ่มโรค (DRG)ส่วนผู้ประกันตนที่เป็นป่วยนอกก็ต้องจ่ายตามจริง ที่ตนต้องรักษา ขณะที่สิทธิรักษาฟรี รัฐบาลจะจ่ายให้ตามอัตราค่าเหมาจ่ายรายหัว ร่วมกับโครงการพิเศษอื่นๆ
ด้านกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษารายละเอียด พบว่า กฏหมายประกันสังคมมีความล้าหลังอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันสังคมเกิดขึ้นในปี 2533 กว่า 20 ปีมาแล้ว ช่วงนั้นประเทศไทยยังไม่มีระบบหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุม ประกันสังคมถือว่าเป็นนวตกรรมที่ก้าวหน้าของสังคม โดยมีหลักคิดในการสร้างความมั่นคงของสังคม แต่ในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ ปี 2545 ที่ขยายหลักประกันสุขภาพสำหรับคนไทยทุกคน โดยคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่คนไทยทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียม ไม่เพียงเท่านั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 มาตรา 51 ระบุว่า บุคคล ย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุข ที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ สังคมไทยจะต้อง ยกเครื่อง พ.ร.บ.ประกันสังคมปี 2533 ใหม่
ด้านภาระงบประมาณของรัฐบาล
ในปี 2553 ภาระงบประมาณสำหรับค่ารักษาพยาบาลของระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบหลัก รัฐบาลใช้เงินสำหรับสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว 4.9 ล้านคน จำนวน 62,195 ล้านบาท ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 47.7 ล้านคน จำนวน 120,846 ล้านบาท ขณะที่ให้กับระบบประกันสังคมเพียง 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด (22,471.68 ล้านบาท) จำนวน 7,490.62 ล้านบาท เท่านั้น
จากผลการศึกษาครั้งนี้มีผลทำให้ภาคประชาชนบางกลุ่มลุกขึ้นมารวมตัวกันก่อตั้งชุมรมพิทักสิทธิ์ผู้ประกันตน ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์และเดินหน้าเพื่อเคลื่อนไหวทางภาคสังคม นำไปสู่การเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปรงระบบประกันสุขภาพของไทยให้มีความเสมอภาคกันมากขึ้น ซึ่งหลังจากนี้จะต้องติดตามความคืบหน้าต่อไป
ด้านค่าใช้จ่ายต่อหัว และสิทธิประโยชน์
จากการศึกษาในปี 2554 พบว่า สิทธิประกันสังคมมีค่าใช้จ่ายต่อคนต่ปีเป็นจำนวนเงิน 2,105 บาท ภายใต้การจ่ายเงินของ ผู้ประกันตน นายจ้าง และรัฐบาล ขณะที่สิทธิรักษาฟรี มี 2,546.48 บาทโดยมีรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว นอกจากนี้เรื่องของการรักษาผู้ป่วยในนั้นยังพบว่า สิทธิประกันสังคมจะต้องจ่ายแบบเหมาจ่าย ส่วนสิทธิรักษาฟรีนั้น จ่ายให้ตามกลุ่มโรค (DRG)ส่วนผู้ประกันตนที่เป็นป่วยนอกก็ต้องจ่ายตามจริง ที่ตนต้องรักษา ขณะที่สิทธิรักษาฟรี รัฐบาลจะจ่ายให้ตามอัตราค่าเหมาจ่ายรายหัว ร่วมกับโครงการพิเศษอื่นๆ
ด้านกฏหมายที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษารายละเอียด พบว่า กฏหมายประกันสังคมมีความล้าหลังอย่างมาก ซึ่งปัจจุบันพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันสังคมเกิดขึ้นในปี 2533 กว่า 20 ปีมาแล้ว ช่วงนั้นประเทศไทยยังไม่มีระบบหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุม ประกันสังคมถือว่าเป็นนวตกรรมที่ก้าวหน้าของสังคม โดยมีหลักคิดในการสร้างความมั่นคงของสังคม แต่ในปัจจุบันมีพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพ ปี 2545 ที่ขยายหลักประกันสุขภาพสำหรับคนไทยทุกคน โดยคำนึงถึงสิทธิขั้นพื้นฐานที่คนไทยทุกคนควรได้รับอย่างเท่าเทียม ไม่เพียงเท่านั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2550 มาตรา 51 ระบุว่า บุคคล ย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุข ที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน ดังนั้น ถึงเวลาแล้วที่ สังคมไทยจะต้อง ยกเครื่อง พ.ร.บ.ประกันสังคมปี 2533 ใหม่
ด้านภาระงบประมาณของรัฐบาล
ในปี 2553 ภาระงบประมาณสำหรับค่ารักษาพยาบาลของระบบหลักประกันสุขภาพทั้ง 3 ระบบหลัก รัฐบาลใช้เงินสำหรับสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว 4.9 ล้านคน จำนวน 62,195 ล้านบาท ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าจำนวน 47.7 ล้านคน จำนวน 120,846 ล้านบาท ขณะที่ให้กับระบบประกันสังคมเพียง 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด (22,471.68 ล้านบาท) จำนวน 7,490.62 ล้านบาท เท่านั้น
จากผลการศึกษาครั้งนี้มีผลทำให้ภาคประชาชนบางกลุ่มลุกขึ้นมารวมตัวกันก่อตั้งชุมรมพิทักสิทธิ์ผู้ประกันตน ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์และเดินหน้าเพื่อเคลื่อนไหวทางภาคสังคม นำไปสู่การเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปรงระบบประกันสุขภาพของไทยให้มีความเสมอภาคกันมากขึ้น ซึ่งหลังจากนี้จะต้องติดตามความคืบหน้าต่อไป