เครือข่ายผู้เสียหายฯ แอ่นอกพร้อมเป็นจำเลยร่วม หากศาลปกครองรับฟ้อง กรณีกลุ่มหมอ จ้องเอาผิด สธ.และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในเรื่อง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ป่วยฯ
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า แม้ทางชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ (ชพพ.) ยืนยันว่า พร้อมเดินหน้าเพื่อคัดค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ไม่ให้เข้าวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรนั้น ถือว่าเป็นการดำเนินการตามนโยบายที่กลุ่มแพทย์เคยใช้หาเสียงมาแล้ว แต่ในส่วนของเครือข่ายฯเองแม้จะกังวลบ้าง แต่ก็ยังเชื่อในคำของนายกรัฐมนตรีที่มีบัญชาให้นำร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เข้าสภา ในราวเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ดังนั้น เชื่อว่า การรับมือกับแพทย์กลุ่มนี้น่าจะเป็นหน้าที่หลักของรัฐบาลมากกว่า ส่วนเครือข่ายภาคประชาชนจะขอเฝ้าดู เพราะขณะนี้รัฐบาลเป็นความหวังเดียวของคนไข้ในเรื่องของการออกกฎหมายเพื่อความเป็นธรรม
ผู้สื่อข่าวถามว่า แล้วกรณีที่กลุ่มแพทย์ได้ฟ้องศาลปกครองกลางให้เอาผิดกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ทางเครือข่ายคิดเห็นอย่างไร นางปรียนันท์ กล่าวว่า เป็นการใช้สิทธิทางศาลซึ่งทุกคนมีสิทธิ์ใช้หากได้รับผลกระทบ แต่ปกติแล้วศาลปกครองจะรับฟ้องก็ต่อเมื่อเป็นคำสั่งทางปกครอง หรือกฎ หรือข้อบังคับ
“กรณีนี้เราเห็นว่ายังไม่ใช่ทั้งสามอย่างจึงคิดว่าศาลไม่น่าจะรับฟ้อง ถ้ามองในแง่บวกก็เป็นโอกาสดีที่ทางกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาผู้ถูกฟ้องคดีจะได้ชี้แจงข้อเท็จจริงให้สังคมได้รับรู้ เนื่องจากทั้งสองหน่วยงานประกอบด้วยผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เชื่อว่า ท่านสามารถชี้แจงให้สังคมเข้าใจได้ดีกว่าภาคประชาชน” นางปรียนันท์ กล่าว
ประธานเครือข่ายผู้เสียหายฯ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ หากศาลปกครองรับฟ้องเราจะไปขอเป็นจำเลยร่วม เนื่องจากกรณีดังกล่าวกระทบกับเราซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง เรามีสิทธิไปขอสู้อยู่ฝ่ายตรงข้าม (เป็นจำเลย) ซึ่งเราก็ไม่ทราบว่าจะมีผลทำให้การนำร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวเข้าสภาฯ หยุดชะงักหรือไม่ เพราะหากร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เข้าสภาไม่ทันเดือนกุมภาพันธ์ เท่ากับความพยายามที่ผ่านมาของภาคประชาชนนั้นสูญเปล่า ทางสภาก็คงไม่สามารถผ่านร่าง พ.ร.บ.ออกมาเป็นกฎหมายคุ้มครองประชาชนคนไข้ได้ ตอนนี้เราเป็นฝ่ายตั้งรับก็คงต้องสู้ไปตามปัญหาเฉพาะหน้า และยังยืนยันว่า การแก้กฎหมายเพื่อความเป็นธรรมเป็นเพียงเครื่องมือถ่วงเวลา เพราะที่มาของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้นี้มีขั้นตอนครบถ้วน จากความพยามยามทั้งหมดแสดงให้เห็นชัดว่าฝ่ายแพทย์เป็นกลุ่มที่มีปัญหา ไม่ใช่ภาคประชาชน
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า แม้ทางชมรมแพทย์เพื่อวิชาชีพแพทย์ (ชพพ.) ยืนยันว่า พร้อมเดินหน้าเพื่อคัดค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ไม่ให้เข้าวาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรนั้น ถือว่าเป็นการดำเนินการตามนโยบายที่กลุ่มแพทย์เคยใช้หาเสียงมาแล้ว แต่ในส่วนของเครือข่ายฯเองแม้จะกังวลบ้าง แต่ก็ยังเชื่อในคำของนายกรัฐมนตรีที่มีบัญชาให้นำร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เข้าสภา ในราวเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้ ดังนั้น เชื่อว่า การรับมือกับแพทย์กลุ่มนี้น่าจะเป็นหน้าที่หลักของรัฐบาลมากกว่า ส่วนเครือข่ายภาคประชาชนจะขอเฝ้าดู เพราะขณะนี้รัฐบาลเป็นความหวังเดียวของคนไข้ในเรื่องของการออกกฎหมายเพื่อความเป็นธรรม
ผู้สื่อข่าวถามว่า แล้วกรณีที่กลุ่มแพทย์ได้ฟ้องศาลปกครองกลางให้เอาผิดกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ฉบับนี้ ทางเครือข่ายคิดเห็นอย่างไร นางปรียนันท์ กล่าวว่า เป็นการใช้สิทธิทางศาลซึ่งทุกคนมีสิทธิ์ใช้หากได้รับผลกระทบ แต่ปกติแล้วศาลปกครองจะรับฟ้องก็ต่อเมื่อเป็นคำสั่งทางปกครอง หรือกฎ หรือข้อบังคับ
“กรณีนี้เราเห็นว่ายังไม่ใช่ทั้งสามอย่างจึงคิดว่าศาลไม่น่าจะรับฟ้อง ถ้ามองในแง่บวกก็เป็นโอกาสดีที่ทางกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาผู้ถูกฟ้องคดีจะได้ชี้แจงข้อเท็จจริงให้สังคมได้รับรู้ เนื่องจากทั้งสองหน่วยงานประกอบด้วยผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เชื่อว่า ท่านสามารถชี้แจงให้สังคมเข้าใจได้ดีกว่าภาคประชาชน” นางปรียนันท์ กล่าว
ประธานเครือข่ายผู้เสียหายฯ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ หากศาลปกครองรับฟ้องเราจะไปขอเป็นจำเลยร่วม เนื่องจากกรณีดังกล่าวกระทบกับเราซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง เรามีสิทธิไปขอสู้อยู่ฝ่ายตรงข้าม (เป็นจำเลย) ซึ่งเราก็ไม่ทราบว่าจะมีผลทำให้การนำร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวเข้าสภาฯ หยุดชะงักหรือไม่ เพราะหากร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้เข้าสภาไม่ทันเดือนกุมภาพันธ์ เท่ากับความพยายามที่ผ่านมาของภาคประชาชนนั้นสูญเปล่า ทางสภาก็คงไม่สามารถผ่านร่าง พ.ร.บ.ออกมาเป็นกฎหมายคุ้มครองประชาชนคนไข้ได้ ตอนนี้เราเป็นฝ่ายตั้งรับก็คงต้องสู้ไปตามปัญหาเฉพาะหน้า และยังยืนยันว่า การแก้กฎหมายเพื่อความเป็นธรรมเป็นเพียงเครื่องมือถ่วงเวลา เพราะที่มาของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้นี้มีขั้นตอนครบถ้วน จากความพยามยามทั้งหมดแสดงให้เห็นชัดว่าฝ่ายแพทย์เป็นกลุ่มที่มีปัญหา ไม่ใช่ภาคประชาชน