กมธ.ท่องเที่ยว วุฒิสภา เสนอ วธ.ยกอาคารซิโนโปรตุกีส และจังหวัดภูเก็ต เป็นมรดกโลก ด้าน รมว.วธ เร่งกรมศิลป์ ให้ศึกษาความเป็นไปได้ ศึกษาองค์ประกอบและคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการมรดกโลกกำหนด
วานนี้ (10 ม.ค.) นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยภายหลังหารือกับคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษานโยบายและติดตามผลการพัฒนามรดกโลกของไทย เพื่อการท่องเที่ยว วุฒิสภา (กมธ.การท่องเที่ยว) ว่า ทาง กมธ.การท่องเที่ยว ได้มาหารือเกี่ยวกับปัญหาการอนุรักษ์และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.ปัญหานโยบายรัฐที่เกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาไม่ชัดเจน 2.ปัญหาขาดการเสริมสร้างการเรียนรู้ของประชาชนในชาติ 3.ปัญหาขาดเอกภาพในการบริหารและพัฒนา และ 4.ปัญหาขาดการประชาสัมพันธ์
นายนิพิฏฐ์ กล่าวต่อว่า ตนรับทราบปัญหาดังกล่าว ซึ่งตนเห็นว่า หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ต้องเข้าใจภาระหน้าที่ของตนเอง บางครั้งหลายฝ่ายมองว่าเป็นหน้าที่ของกรมศิลปากร เช่น การปรับภูมิทัศน์ การนำสายไฟลงดิน เป็นต้น ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของกรมศิลปากร ส่วนการบริหารจัดการในพื้นที่มรดกโลก ไม่ว่าจะเป็นการขออนุญาตสร้างอาคารต่างๆ รัฐบาลได้มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ขณะที่การให้ความรู้กรมศิลปากร จะต้องทำหน้าที่ในส่วนนี้ให้มากขึ้น เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลมรดกโลกด้วย
“ที่สำคัญทาง กมธ.การท่องเที่ยว ยังได้เสนอให้อาคารซิโนโปรตุเกส รวมทั้งขอให้จังหวัดภูเก็ตเป็นมรดกโลก เนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญระดับโลก โดยได้เสนอความคิดเห็น ใน 2 ประเด็น โดยเห็นว่า 1.การขึ้นทะเบียนอาคารซิโนโปรตุเกส และจังหวัดภูเก็ต โดยใช้ความโดดเด่นเป็นสากลของภูเก็ต โดยขอขึ้นทะเบียนร่วมกับมะละกา และเกาะปีนัง แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับการยินยอมจากประเทศมาเลเซียก่อน 2.การขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของภูเก็ตเป็นมรดกโลกตามลำพังโดยไม่ใช้พื้นที่ร่วมกับมะละกาและปีนัง แต่ใช้ความโดดเด่นทางวัฒนธรรมและธรรมชาติร่วมกัน รวมกับอ่าวพังงา และกระบี่ด้วย อย่างไรก็ตาม เรื่องการเตรียมขอขึ้นทะเบียนอาคารซิโนโปรตุเกส และจังหวัดภูเก็ตเป็นมรดกโลก ผมได้มอบหมายให้กรมศิลปากร ศึกษาข้อมูลความเป็นไปได้เสนอเป็นมรดกโลก โดยจะต้องมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการมรดกโลกกำหนด” รมว.วัฒนธรรม กล่าว
สำหรับซิโนโปรตุกีส คือ รูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตก ในแหลมมลายูในยุคสมัยแห่งจักรวรรดินิยมของตะวันตก ราว พ.ศ.2054 สามารถพบเห็นได้ในเมืองมะละกา เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ หรือ มาเก๊า รวมไปถึงประเทศไทย
ในประเทศไทยพบสถาปัตยกรรมซิโนโปรตุกีสได้ในจังหวัดภูเก็ต รวมถึงจังหวัดระนอง กระบี่ ตะกั่วป่า พังงา หรือ ตรัง ซึ่งอาคารส่วนใหญ่สร้างในสมัยของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต ในช่วง พ.ศ.2444- 2456 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ภูเก็ตในสมัยนั้นมีความสัมพันธ์ทางด้านการค้ากับปีนัง อาคารแบบซิโนโปรตุกีสได้ถูกสร้างขึ้นโดยนักธุรกิจชาวจีนที่มีความร่ำรวยจากการทำธุรกิจเหมืองแร่ดีบุก
เมื่อ พ.ศ.2537 ทางเทศบาลนครภูเก็ต รวมทั้งหน่วยงานจากภาครัฐและองค์กรเอกชน องค์กรท้องถิ่นในเมืองภูเก็ต ได้ร่วมกันพัฒนาและอนุรักษ์ย่านเมืองเก่าขึ้นมา มีการกำหนดให้พื้นที่ประมาณ 210 ไร่ ซึ่งครอบคลุมถนนรัษฎา ถนนพังงา ถนนเยาวราช ถนนกระบี่ ถนนดีบุก ถนนถลาง ถนนเทพกระษัตรี ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม โดยควบคุมให้พื้นที่อนุรักษ์นี้ ให้มีความสูงอาคารได้ไม่เกิน 12 เมตร และยังได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาอาคารในรูปแบบดั้งเดิมไว้ อย่างเช่น มีการให้เว้นช่องทางเดินด้านหน้า และคงรูปแบบอาคารลักษณะซิโนโปรตุกีสไว้ เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของเมืองภูเก็ต
วานนี้ (10 ม.ค.) นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เปิดเผยภายหลังหารือกับคณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษานโยบายและติดตามผลการพัฒนามรดกโลกของไทย เพื่อการท่องเที่ยว วุฒิสภา (กมธ.การท่องเที่ยว) ว่า ทาง กมธ.การท่องเที่ยว ได้มาหารือเกี่ยวกับปัญหาการอนุรักษ์และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.ปัญหานโยบายรัฐที่เกี่ยวกับอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาไม่ชัดเจน 2.ปัญหาขาดการเสริมสร้างการเรียนรู้ของประชาชนในชาติ 3.ปัญหาขาดเอกภาพในการบริหารและพัฒนา และ 4.ปัญหาขาดการประชาสัมพันธ์
นายนิพิฏฐ์ กล่าวต่อว่า ตนรับทราบปัญหาดังกล่าว ซึ่งตนเห็นว่า หน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่ต้องเข้าใจภาระหน้าที่ของตนเอง บางครั้งหลายฝ่ายมองว่าเป็นหน้าที่ของกรมศิลปากร เช่น การปรับภูมิทัศน์ การนำสายไฟลงดิน เป็นต้น ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของกรมศิลปากร ส่วนการบริหารจัดการในพื้นที่มรดกโลก ไม่ว่าจะเป็นการขออนุญาตสร้างอาคารต่างๆ รัฐบาลได้มอบหมายให้เป็นหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด ขณะที่การให้ความรู้กรมศิลปากร จะต้องทำหน้าที่ในส่วนนี้ให้มากขึ้น เพื่อให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลมรดกโลกด้วย
“ที่สำคัญทาง กมธ.การท่องเที่ยว ยังได้เสนอให้อาคารซิโนโปรตุเกส รวมทั้งขอให้จังหวัดภูเก็ตเป็นมรดกโลก เนื่องจากเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญระดับโลก โดยได้เสนอความคิดเห็น ใน 2 ประเด็น โดยเห็นว่า 1.การขึ้นทะเบียนอาคารซิโนโปรตุเกส และจังหวัดภูเก็ต โดยใช้ความโดดเด่นเป็นสากลของภูเก็ต โดยขอขึ้นทะเบียนร่วมกับมะละกา และเกาะปีนัง แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับการยินยอมจากประเทศมาเลเซียก่อน 2.การขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของภูเก็ตเป็นมรดกโลกตามลำพังโดยไม่ใช้พื้นที่ร่วมกับมะละกาและปีนัง แต่ใช้ความโดดเด่นทางวัฒนธรรมและธรรมชาติร่วมกัน รวมกับอ่าวพังงา และกระบี่ด้วย อย่างไรก็ตาม เรื่องการเตรียมขอขึ้นทะเบียนอาคารซิโนโปรตุเกส และจังหวัดภูเก็ตเป็นมรดกโลก ผมได้มอบหมายให้กรมศิลปากร ศึกษาข้อมูลความเป็นไปได้เสนอเป็นมรดกโลก โดยจะต้องมีคุณสมบัติตามที่คณะกรรมการมรดกโลกกำหนด” รมว.วัฒนธรรม กล่าว
สำหรับซิโนโปรตุกีส คือ รูปแบบของสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันออกและตะวันตก ในแหลมมลายูในยุคสมัยแห่งจักรวรรดินิยมของตะวันตก ราว พ.ศ.2054 สามารถพบเห็นได้ในเมืองมะละกา เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ หรือ มาเก๊า รวมไปถึงประเทศไทย
ในประเทศไทยพบสถาปัตยกรรมซิโนโปรตุกีสได้ในจังหวัดภูเก็ต รวมถึงจังหวัดระนอง กระบี่ ตะกั่วป่า พังงา หรือ ตรัง ซึ่งอาคารส่วนใหญ่สร้างในสมัยของพระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) เป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลภูเก็ต ในช่วง พ.ศ.2444- 2456 ในสมัยรัชกาลที่ 5 ภูเก็ตในสมัยนั้นมีความสัมพันธ์ทางด้านการค้ากับปีนัง อาคารแบบซิโนโปรตุกีสได้ถูกสร้างขึ้นโดยนักธุรกิจชาวจีนที่มีความร่ำรวยจากการทำธุรกิจเหมืองแร่ดีบุก
เมื่อ พ.ศ.2537 ทางเทศบาลนครภูเก็ต รวมทั้งหน่วยงานจากภาครัฐและองค์กรเอกชน องค์กรท้องถิ่นในเมืองภูเก็ต ได้ร่วมกันพัฒนาและอนุรักษ์ย่านเมืองเก่าขึ้นมา มีการกำหนดให้พื้นที่ประมาณ 210 ไร่ ซึ่งครอบคลุมถนนรัษฎา ถนนพังงา ถนนเยาวราช ถนนกระบี่ ถนนดีบุก ถนนถลาง ถนนเทพกระษัตรี ให้เป็นพื้นที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม โดยควบคุมให้พื้นที่อนุรักษ์นี้ ให้มีความสูงอาคารได้ไม่เกิน 12 เมตร และยังได้ส่งเสริมให้มีการพัฒนาอาคารในรูปแบบดั้งเดิมไว้ อย่างเช่น มีการให้เว้นช่องทางเดินด้านหน้า และคงรูปแบบอาคารลักษณะซิโนโปรตุกีสไว้ เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์ของเมืองภูเก็ต