นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (รมว.วธ.) กล่าวว่า จากการที่คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาศึกษานโยบายและติดตามผลการพัฒนามรดกโลกของไทยเพื่อการท่องเที่ยว ของวุฒิสภา ได้หารือเกี่ยวกับประเด็นปัญหาการอนุรักษ์และพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาใน 4 ประเด็น ได้แก่ นโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกันอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาไม่ชัดเจน การขาดการเสริมสร้างการเรียนรู้ของประชาชนในชาติ ขาดเอกภาพในการบริหารและพัฒนา และการประชาสัมพันธ์น้อยเกินไป โดยขอให้เร่งแก้ไขปัญหาทั้งด้านบริหารการจัดการ งบประมาณ การให้ความรู้ ซึ่งทางกระทรวงวัฒนธรรมเห็นว่า สิ่งที่ต้องแก้ไขในตอนนี้ คือ การสร้างความเข้าใจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละส่วนไม่ว่าจะเป็นของกรมศิลปากร จังหวัด หรือท้องถิ่น ว่ามีขอบเขตหน้าที่และงบประมาณเพียงใด ซึ่งในระดับพื้นที่มีการมอบให้จังหวัดเป็นผู้ที่คอยจัดการ โดยกระทรวงวัฒนธรรม และกรมศิลปากร เป็นเพียงผู้ที่ดูแลในกรอบกฎหมาย การให้ความรู้ การบูรณะโบราณสถาน และงบประมาณในบางส่วนเท่านั้น ดังนั้น จะต้องทำให้จังหวัด ท้องถิ่น และประชาชน มีความเข้าใจที่ถูกต้อง
นายนิพิฏฐ์ กล่าวต่อว่า ที่สำคัญคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้เสนอให้อาคารชิโนโปรตุเกส ในจังหวัดภูเก็ต และพื้นที่รอบบริเวณ ที่เป็นศิลปะแบบจีนผสมกับโปรตุเกสที่โดดเด่นเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ โดยขอให้กระทรวงวัฒนธรรมได้เข้าไปปรับปรุงและพัฒนาให้ไปสู่ความเป็นของแท้ดั้งเดิมแบบสมัยโบราณแรกสร้าง เพื่อเสริมสร้างภูมิทัศน์ให้ดีขึ้น อาทิ สายไฟฟ้า โทรศัพท์ ลงใต้ดิน และเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวและการเป็นมรดกโลกในอนาคต โดยมีแนวคิดที่จะเสนอขึ้นเป็นมรดกโลก โดยใช้ความโดดเด่นเป็นสากลของภูเก็ตร่วมกับมะละกา และเกาะปีนัง โดยขอร่วมมือกับประเทศมาเลเซีย อีกแนวทางหนึ่งคือการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของภูเก็ตเป็นมรดกโลกตามลำพัง โดยใช้ความโดดเด่นทางวัฒนธรรมและธรรมชาติร่วมกัน รวมถึงอ่าวพังงาและกระบี่ด้วย โดยทั้งสองกรณีได้มอบหมายให้กรมศิลปากรไปศึกษารายละเอียดถึงความเป็นไปได้ในการเสนอให้ภูเก็ตเป็นแหล่งมรดกโลกของไทยแห่งใหม่ต่อไป
นายนิพิฏฐ์ กล่าวต่อว่า ที่สำคัญคณะอนุกรรมาธิการฯ ได้เสนอให้อาคารชิโนโปรตุเกส ในจังหวัดภูเก็ต และพื้นที่รอบบริเวณ ที่เป็นศิลปะแบบจีนผสมกับโปรตุเกสที่โดดเด่นเป็นมรดกโลกแห่งใหม่ โดยขอให้กระทรวงวัฒนธรรมได้เข้าไปปรับปรุงและพัฒนาให้ไปสู่ความเป็นของแท้ดั้งเดิมแบบสมัยโบราณแรกสร้าง เพื่อเสริมสร้างภูมิทัศน์ให้ดีขึ้น อาทิ สายไฟฟ้า โทรศัพท์ ลงใต้ดิน และเป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวและการเป็นมรดกโลกในอนาคต โดยมีแนวคิดที่จะเสนอขึ้นเป็นมรดกโลก โดยใช้ความโดดเด่นเป็นสากลของภูเก็ตร่วมกับมะละกา และเกาะปีนัง โดยขอร่วมมือกับประเทศมาเลเซีย อีกแนวทางหนึ่งคือการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของภูเก็ตเป็นมรดกโลกตามลำพัง โดยใช้ความโดดเด่นทางวัฒนธรรมและธรรมชาติร่วมกัน รวมถึงอ่าวพังงาและกระบี่ด้วย โดยทั้งสองกรณีได้มอบหมายให้กรมศิลปากรไปศึกษารายละเอียดถึงความเป็นไปได้ในการเสนอให้ภูเก็ตเป็นแหล่งมรดกโลกของไทยแห่งใหม่ต่อไป