แพทย์ชี้มะเร็งตับ และทางเดินน้ำดี คร่าชีวิตคนไทยอันดับ 1 รองมาเป็นมะเร็งปอด-เต้านม พร้อมเผยวิทยาการรักษายุคโมเดิร์น “ยามุ่งเป้าเซลล์มะเร็ง” ใช้คู่วิธีเคมีบำบัด แต่ผู้ป่วยต้องจ่ายเป็นแสน แจงกำลังหนุนเข้าสู่บัญชียาหลัก แต่ต้องรอผลศึกษาประสิทธิภาพ
วันนี้ (6 ม.ค.) พญ.สุดสวาท เลาหวินิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม และนายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวแถลงข่าว “สรุปสถานการณ์มะเร็ง” ว่า ขณะนี้สถานการณ์มะเร็งยังเป็นปัญหาอันดับ 1 ตามด้วยอุบัติเหตุ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคปอด โดยสถิติการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.2544-2546 ซึ่งมีการรายงานในวารสาร cancer of Thailand ในปี 2553 ที่ผ่านมา พบคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็ง 241,051 ราย หรือ 80,350 รายต่อปี โดยพบในเพศหญิงประมาณ 120 ราย ขณะที่เพศชาย 140 รายต่อประชากร 1 แสนคน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติปี 2541-2543 ส่วนมะเร็งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ มะเร็งตับ และทางเดินน้ำดี ตามด้วยมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และปากมดลูก
พญ.สุดสวาท กล่าวด้วยว่า สำหรับเพศชายพบเป็นมะเร็งตับและทางเดินน้ำดีสูงสุด ส่วนเพศหญิงพบมะเร็งเต้านมมากเป็นอันดับ 1 จากเดิมอยู่ในอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่ได้การรวบรวมในวารสาร cancer of Thailand ระบุว่า จากสถิติจาก รพ.ศิริราช รพ.รามาธิบดี และสถาบันมะเร็งแห่งชาติระหว่างปี 2551-2552 พบว่า มะเร็งเต้านมมาเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ มะเร็งตับ และมะเร็งปอด โดยอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งพบ 56,058 ราย หรือ 88.34 รายต่อแสนประชากร คิดเป็น 4,671 รายต่อเดือน หรือเสียชีวิตวันละ 156 ราย
“อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ถือว่าวิทยาการทางการแพทย์ได้ก้าวไกลขึ้น โดยมีการพัฒนายามุ่งเป้าที่เซลล์มะเร็ง หรือ Targeted Therapy ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการเสริมการรักษาควบคู่กับการบำบัดด้วยรังสีรักษา ซึ่งมีการพัฒนาใช้มานานกว่า 5-6 ปีแล้ว และในทางการแพทย์ยอมรับว่ามีส่วนในการเสริมประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น” พญ.สุดสวาท กล่าว
นายกมะเร็งวิทยา กล่าวเพิ่มว่า ข้อจำกัดของยามุ่งเป้าที่เซลล์มะเร็ง ถูกพัฒนาให้ใช้รักษาในมะเร็งบางชนิด ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งไต มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งเม็ดเลือดบางชนิด ซึ่งใช้ในกรณีที่เคมีบำบัดใช้ไม่ได้ผล หรือได้ผลน้อยก็จะใช้ยาตัวนี้เสริมการรักษา แต่ยาตัวนี้มีราคาแพงมากตกเดือนละ 70,000-100,000 บาท ปัจจุบันมีเฉพาะใน รพ.ขนาดใหญ่เท่านั้น ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะจ่ายเอง เนื่องจากไม่ได้อยู่ในบัญชียาหลัก อีกทั้งการใช้ยาดังกล่าวขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ ทั้งนี้ เคยมีการหารือกันในคณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ ว่า มีแนวโน้มจะบรรจุยาดังกล่าวอยู่ในบัญชียาหลักหรือไม่ ซึ่งต้องมีการศึกษาหาหลักฐานเชิงประจักษ์ ว่า ยาชนิดนี้มีตัวใดบ้างที่มีประสิทธิภาพเพิ่มการมีชีวิตรอด เมื่อเทียบกับการรักษาวิธีอื่น ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป
“ที่ผ่านมา การใช้ยาตัวนี้ในการเสริมการรักษาผู้ป่วยระยะที่ 4 เทียบกับการรักษาด้วยวิธีอื่น โดยพิจารณาถึงความยืนยาวของการมีชีวิตรอด พบว่า มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ซึ่งถือว่ายังน้อยมาก เนื่องจากหากใช้เคมีบำบัดอย่างเดียวจะทำให้อายุยืนยาวขึ้นราว 5 เดือน แต่หากใช้ยาตัวนี้ควบคู่จะเพิ่มขึ้นอีก 1-2 เดือน ดังนั้น เรื่องประสิทธิภาพควรมีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบด้วย” นายกมะเร็งวิทยา กล่าว
วันนี้ (6 ม.ค.) พญ.สุดสวาท เลาหวินิจ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรม และนายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวแถลงข่าว “สรุปสถานการณ์มะเร็ง” ว่า ขณะนี้สถานการณ์มะเร็งยังเป็นปัญหาอันดับ 1 ตามด้วยอุบัติเหตุ โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง และโรคปอด โดยสถิติการสำรวจเมื่อปี พ.ศ.2544-2546 ซึ่งมีการรายงานในวารสาร cancer of Thailand ในปี 2553 ที่ผ่านมา พบคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็ง 241,051 ราย หรือ 80,350 รายต่อปี โดยพบในเพศหญิงประมาณ 120 ราย ขณะที่เพศชาย 140 รายต่อประชากร 1 แสนคน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติปี 2541-2543 ส่วนมะเร็งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 คือ มะเร็งตับ และทางเดินน้ำดี ตามด้วยมะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และปากมดลูก
พญ.สุดสวาท กล่าวด้วยว่า สำหรับเพศชายพบเป็นมะเร็งตับและทางเดินน้ำดีสูงสุด ส่วนเพศหญิงพบมะเร็งเต้านมมากเป็นอันดับ 1 จากเดิมอยู่ในอันดับ 2 รองจากมะเร็งปากมดลูก นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลที่ได้การรวบรวมในวารสาร cancer of Thailand ระบุว่า จากสถิติจาก รพ.ศิริราช รพ.รามาธิบดี และสถาบันมะเร็งแห่งชาติระหว่างปี 2551-2552 พบว่า มะเร็งเต้านมมาเป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ มะเร็งตับ และมะเร็งปอด โดยอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งพบ 56,058 ราย หรือ 88.34 รายต่อแสนประชากร คิดเป็น 4,671 รายต่อเดือน หรือเสียชีวิตวันละ 156 ราย
“อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ถือว่าวิทยาการทางการแพทย์ได้ก้าวไกลขึ้น โดยมีการพัฒนายามุ่งเป้าที่เซลล์มะเร็ง หรือ Targeted Therapy ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการเสริมการรักษาควบคู่กับการบำบัดด้วยรังสีรักษา ซึ่งมีการพัฒนาใช้มานานกว่า 5-6 ปีแล้ว และในทางการแพทย์ยอมรับว่ามีส่วนในการเสริมประสิทธิภาพในการรักษามากขึ้น” พญ.สุดสวาท กล่าว
นายกมะเร็งวิทยา กล่าวเพิ่มว่า ข้อจำกัดของยามุ่งเป้าที่เซลล์มะเร็ง ถูกพัฒนาให้ใช้รักษาในมะเร็งบางชนิด ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งทางเดินอาหาร มะเร็งไต มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งเม็ดเลือดบางชนิด ซึ่งใช้ในกรณีที่เคมีบำบัดใช้ไม่ได้ผล หรือได้ผลน้อยก็จะใช้ยาตัวนี้เสริมการรักษา แต่ยาตัวนี้มีราคาแพงมากตกเดือนละ 70,000-100,000 บาท ปัจจุบันมีเฉพาะใน รพ.ขนาดใหญ่เท่านั้น ซึ่งผู้ป่วยส่วนใหญ่จะจ่ายเอง เนื่องจากไม่ได้อยู่ในบัญชียาหลัก อีกทั้งการใช้ยาดังกล่าวขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแพทย์ ทั้งนี้ เคยมีการหารือกันในคณะกรรมการบัญชียาหลักแห่งชาติ ว่า มีแนวโน้มจะบรรจุยาดังกล่าวอยู่ในบัญชียาหลักหรือไม่ ซึ่งต้องมีการศึกษาหาหลักฐานเชิงประจักษ์ ว่า ยาชนิดนี้มีตัวใดบ้างที่มีประสิทธิภาพเพิ่มการมีชีวิตรอด เมื่อเทียบกับการรักษาวิธีอื่น ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุป
“ที่ผ่านมา การใช้ยาตัวนี้ในการเสริมการรักษาผู้ป่วยระยะที่ 4 เทียบกับการรักษาด้วยวิธีอื่น โดยพิจารณาถึงความยืนยาวของการมีชีวิตรอด พบว่า มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ซึ่งถือว่ายังน้อยมาก เนื่องจากหากใช้เคมีบำบัดอย่างเดียวจะทำให้อายุยืนยาวขึ้นราว 5 เดือน แต่หากใช้ยาตัวนี้ควบคู่จะเพิ่มขึ้นอีก 1-2 เดือน ดังนั้น เรื่องประสิทธิภาพควรมีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบด้วย” นายกมะเร็งวิทยา กล่าว