สทศ.โร่แจงยันออกสอบ O-NET ไม่เกินหลักสูตร ระบุหลักสูตรปี’51 ไม่แตกต่างหลักสูตรปี 44 เพียงเพิ่มตัวชี้วัดนักเรียนชัดขึ้น ยันข้อสอบสุขศึกษา พลศึกษา ออกตามธรรมชาติวิชา โยน สพฐ.ตามดูโรงเรียนสอนตามหลักสูตรหรือไม่ “อุทุมพร” บ่นน้อยใจข้อสอบมีปัญหายุ่งแค่ 16 ข้อ แต่ที่เหลือดีไม่มีพูดถึงบ้าง
วันนี้ (3 มี.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการ สทศ. กล่าวถึงกรณีที่มีนักเรียนร้องเรียนว่า สทศ. ออกข้อสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ม.6 เกินกว่าหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานว่า สทศ.ได้ออกข้อสอบ O-NET ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ซึ่งมีเนื้อหาที่ไม่แตกต่างจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 เพียงแต่มีการกำหนดตัวชี้วัดที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้อย่างชัดเจนกว่า ดังนั้นการที่นักเรียนระบุว่า ข้อสอบ O-NET ออกเกินกว่าหลักสูตร และโรงเรียนหลายแห่งไม่ได้สอนนั้นจึงไม่เป็นความจริง ในส่วนเรื่องรูปแบบของคำถามนั้น ยืนยันว่าข้อสอบที่ดีไม่ได้มีเฉพาะรูปแบบเดียวคือ ปรนัย 4 ตัวเลือกเท่านั้น แต่ควรเป็นข้อสอบที่ออกตามธรรมชาติของวิชา ฉะนั้น สทศ.จึงพยายามปรับรูปแบบให้ตรงกับธรรมชาติของวิชานั้นๆ โดยเฉพาะใน 3 กลุ่มสาระวิชา คือ สุขศึกษา พลศึกษา ศิลปะ และการงานอาชีพและเทคโนโลยี
“สทศ.ออกข้อสอบเน้นการคิดวิเคราะห์ ซึ่งโรงเรียนเองก็สอนให้เด็กคิดวิเคราะห์ ซึ่งดูได้จากหลักฐาน ปพ.1 หรือสมุดพกของนักเรียน ที่มีระบุชัดเจนถึงคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยหนึ่งในคุณลักษณะได้กำหนดถึงความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ ไว้ด้วย ดังนั้นหากจะบอกว่าออกข้อสอบไม่สอดคล้องกับการเรียนการสอนของโรงเรียนไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ในปีต่อๆ ไป สทศ.จะพยายามระมัดระวังโจทย์ การออกคำถามไม่ให้เกิดปัญหาอีก แต่ยืนยันว่ารูปแบบของข้อสอบยังคงเหมือนเดิม ส่วนที่นักเรียนระบุว่า หลายโรงเรียนยังไม่ได้เรียนในบางเรื่อง จึงเป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในการที่จะชี้แจงในเรื่องเนื้อหาสาระของหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนว่าสอดคล้องกับหลักสูตรที่กำหนดหรือไม่” ผอ.สทศ. กล่าว
ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวอีกว่า ตนยอมรับว่ารู้สึกน้อยใจอยู่บ้าง เพราะข้อสอบ O-NET ม.6 ที่ สทศ.ออกทั้งหมดมี 516 ข้อ ใน 8 กลุ่มสาระวิชา แต่มีข้อสอบที่นักเรียนและสื่อเกิดข้อสงสัยเพียงแค่ 16 ข้อ ใน 3 กลุ่มสาระวิชารอง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 3.10 แต่กลับไม่มีการนำข้อสอบอีกกว่าร้อยละ 96.60 มาพูดถึงว่าเป็นข้อสอบที่ดีหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าเจตนาของ สทศ.นั้น อยากเห็นเด็กไทยคิดวิเคราะห์เป็น ซึ่งเมื่อไปถึงจุดนั้นได้ตนเชื่อว่าปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศจะลดลงได้ แต่ทั้งนี้การศึกษาเป็นเรื่องต้องใช้เวลานานกว่าจะพัฒนาคน แต่หาก สทศ.ไม่ริเริ่มในตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มได้เมื่อไร นอกจากนี้ สทศ.จะให้คะแนนนักเรียนฟรี 1 ข้อ 2 คะแนน ในวิชาศิลปะ ที่ถามเกี่ยวกับสี่ที่ใช้แทนความรัก ซึ่งในอดีตนั้นรู้กันดีว่าเป็นสีแดง แต่ปัจจุบันสีชมพู ขาว และดำ ก็ใช้แทนความรักได้ ดังนั้นข้อนี้ สทศ.จึงยกประโยชน์ให้เพราะวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงได้
ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวด้วยว่า สำหรับกรณีที่พบผู้เข้าสอบพกดินสอที่มีการทำสัญลักษณ์เข้าห้องสอบโดยอ้างว่าเป็นเครื่องลางของขลังนั้นจากการตรวจกระดาษคำตอบพบว่าคะแนนที่ได้ไม่สูงมากนัก โดยคะแนนสูงสุดอยู่ที่วิชาภาษาไทย 67 คะแนน รองลงมาคือ วิชาสุขศึกษา 66 คะแนน คณิตศาสตร์ 62 คะแนน วิทยาศาสตร์ 53 คะแนน เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากการสอบถามพบว่าที่ทำสัญลักษณ์ลงไปในดินสอเพราะมีเวลาว่าง และไม่มีเจตนาทุจริต และยังยืนยันอีกว่าเป็นเครื่องรางของขลัง ทั้งนี้จะได้ให้นักจิตวิทยาเข้ามาพูดคุยถึงรายละเอียดอีกครั้ง
ด้าน นายอำนวย สุนทรโชติ ประธานชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับแนวทางข้อสอบ O-NET ของ สทศ.เพราะมีการพัฒนาขึ้นกว่าการออกข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกซึ่งไม่สามารถวัดศักยภาพที่แท้จริงของนักเรียนได้ อย่างไรก็ตามยอมรับว่าเนื้อหาบางส่วนของข้อสอบ O-NET ครั้งนี้มีปัญหาอยู่บ้าง แต่เชื่อว่าหาก สทศ.มุ่งมั่นปรับปรุงต่อไปก็จะเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งนี้ ที่มีการนำไปวิพากษ์วิจารณ์กันในสื่ออย่างกว้างขวางนั้น เป็นการนำข้อสอบเพียงบางส่วนไปวิจารณ์ หรือจำมาพูดต่อกันไป ซึ่งมีทั้งจริงบ้างไม่จริงบ้าง ไม่ได้มีการนำข้อสอบทั้งหมดไปวิจารณ์
ขณะที่ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า กรณีที่มีการระบุว่าการออกข้อสอบ O-NET ของ สทศ.ออกเกินหลักสูตร เพราะใช้หนังสือหลักสูตร พ.ศ.2551 ในการออกข้อสอบครั้งนี้ ซึ่งที่จริงแล้วหลักสูตรดังกล่าวจะเริ่มใช้ในภาคเรียนที่ 1/2553 ทั้งนี้จากการหารือกับสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) แล้วเห็นว่า สทศ. คงไม่ได้ออกข้อสอบเกินหลักสูตร เพราะหลักสูตร พ.ศ.2544 และหลักสูตร พ.ศ.2551 มีมาตรฐานการเรียนรู้ชุดเดียวกัน แต่การจัดทำรายละเอียด อาทิ ตัวชี้วัด ผลที่คาดหวังในตัวผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันบ้าง ส่วนกรณีที่นักเรียนอาจจะไปยื่นฟ้องศาล เพื่อขอความเป็นธรรมในกรณีดังกล่าวเป็นสิทธิที่จะทำได้
วันนี้ (3 มี.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ศ.ดร.อุทุมพร จามรมาน ผู้อำนวยการ สทศ. กล่าวถึงกรณีที่มีนักเรียนร้องเรียนว่า สทศ. ออกข้อสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน(O-NET) ม.6 เกินกว่าหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานว่า สทศ.ได้ออกข้อสอบ O-NET ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ซึ่งมีเนื้อหาที่ไม่แตกต่างจากหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2544 เพียงแต่มีการกำหนดตัวชี้วัดที่พึงประสงค์ของนักเรียนไว้อย่างชัดเจนกว่า ดังนั้นการที่นักเรียนระบุว่า ข้อสอบ O-NET ออกเกินกว่าหลักสูตร และโรงเรียนหลายแห่งไม่ได้สอนนั้นจึงไม่เป็นความจริง ในส่วนเรื่องรูปแบบของคำถามนั้น ยืนยันว่าข้อสอบที่ดีไม่ได้มีเฉพาะรูปแบบเดียวคือ ปรนัย 4 ตัวเลือกเท่านั้น แต่ควรเป็นข้อสอบที่ออกตามธรรมชาติของวิชา ฉะนั้น สทศ.จึงพยายามปรับรูปแบบให้ตรงกับธรรมชาติของวิชานั้นๆ โดยเฉพาะใน 3 กลุ่มสาระวิชา คือ สุขศึกษา พลศึกษา ศิลปะ และการงานอาชีพและเทคโนโลยี
“สทศ.ออกข้อสอบเน้นการคิดวิเคราะห์ ซึ่งโรงเรียนเองก็สอนให้เด็กคิดวิเคราะห์ ซึ่งดูได้จากหลักฐาน ปพ.1 หรือสมุดพกของนักเรียน ที่มีระบุชัดเจนถึงคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน โดยหนึ่งในคุณลักษณะได้กำหนดถึงความสามารถในการอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ ไว้ด้วย ดังนั้นหากจะบอกว่าออกข้อสอบไม่สอดคล้องกับการเรียนการสอนของโรงเรียนไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ในปีต่อๆ ไป สทศ.จะพยายามระมัดระวังโจทย์ การออกคำถามไม่ให้เกิดปัญหาอีก แต่ยืนยันว่ารูปแบบของข้อสอบยังคงเหมือนเดิม ส่วนที่นักเรียนระบุว่า หลายโรงเรียนยังไม่ได้เรียนในบางเรื่อง จึงเป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในการที่จะชี้แจงในเรื่องเนื้อหาสาระของหลักสูตร และกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนว่าสอดคล้องกับหลักสูตรที่กำหนดหรือไม่” ผอ.สทศ. กล่าว
ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวอีกว่า ตนยอมรับว่ารู้สึกน้อยใจอยู่บ้าง เพราะข้อสอบ O-NET ม.6 ที่ สทศ.ออกทั้งหมดมี 516 ข้อ ใน 8 กลุ่มสาระวิชา แต่มีข้อสอบที่นักเรียนและสื่อเกิดข้อสงสัยเพียงแค่ 16 ข้อ ใน 3 กลุ่มสาระวิชารอง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 3.10 แต่กลับไม่มีการนำข้อสอบอีกกว่าร้อยละ 96.60 มาพูดถึงว่าเป็นข้อสอบที่ดีหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าเจตนาของ สทศ.นั้น อยากเห็นเด็กไทยคิดวิเคราะห์เป็น ซึ่งเมื่อไปถึงจุดนั้นได้ตนเชื่อว่าปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศจะลดลงได้ แต่ทั้งนี้การศึกษาเป็นเรื่องต้องใช้เวลานานกว่าจะพัฒนาคน แต่หาก สทศ.ไม่ริเริ่มในตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าจะเริ่มได้เมื่อไร นอกจากนี้ สทศ.จะให้คะแนนนักเรียนฟรี 1 ข้อ 2 คะแนน ในวิชาศิลปะ ที่ถามเกี่ยวกับสี่ที่ใช้แทนความรัก ซึ่งในอดีตนั้นรู้กันดีว่าเป็นสีแดง แต่ปัจจุบันสีชมพู ขาว และดำ ก็ใช้แทนความรักได้ ดังนั้นข้อนี้ สทศ.จึงยกประโยชน์ให้เพราะวัฒนธรรมเปลี่ยนแปลงได้
ศ.ดร.อุทุมพร กล่าวด้วยว่า สำหรับกรณีที่พบผู้เข้าสอบพกดินสอที่มีการทำสัญลักษณ์เข้าห้องสอบโดยอ้างว่าเป็นเครื่องลางของขลังนั้นจากการตรวจกระดาษคำตอบพบว่าคะแนนที่ได้ไม่สูงมากนัก โดยคะแนนสูงสุดอยู่ที่วิชาภาษาไทย 67 คะแนน รองลงมาคือ วิชาสุขศึกษา 66 คะแนน คณิตศาสตร์ 62 คะแนน วิทยาศาสตร์ 53 คะแนน เป็นต้น อย่างไรก็ตามจากการสอบถามพบว่าที่ทำสัญลักษณ์ลงไปในดินสอเพราะมีเวลาว่าง และไม่มีเจตนาทุจริต และยังยืนยันอีกว่าเป็นเครื่องรางของขลัง ทั้งนี้จะได้ให้นักจิตวิทยาเข้ามาพูดคุยถึงรายละเอียดอีกครั้ง
ด้าน นายอำนวย สุนทรโชติ ประธานชมรมค่านิยมเพื่อสร้างชาติ กล่าวว่า ตนเห็นด้วยกับแนวทางข้อสอบ O-NET ของ สทศ.เพราะมีการพัฒนาขึ้นกว่าการออกข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกซึ่งไม่สามารถวัดศักยภาพที่แท้จริงของนักเรียนได้ อย่างไรก็ตามยอมรับว่าเนื้อหาบางส่วนของข้อสอบ O-NET ครั้งนี้มีปัญหาอยู่บ้าง แต่เชื่อว่าหาก สทศ.มุ่งมั่นปรับปรุงต่อไปก็จะเดินหน้าต่อไปได้ ทั้งนี้ ที่มีการนำไปวิพากษ์วิจารณ์กันในสื่ออย่างกว้างขวางนั้น เป็นการนำข้อสอบเพียงบางส่วนไปวิจารณ์ หรือจำมาพูดต่อกันไป ซึ่งมีทั้งจริงบ้างไม่จริงบ้าง ไม่ได้มีการนำข้อสอบทั้งหมดไปวิจารณ์
ขณะที่ ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า กรณีที่มีการระบุว่าการออกข้อสอบ O-NET ของ สทศ.ออกเกินหลักสูตร เพราะใช้หนังสือหลักสูตร พ.ศ.2551 ในการออกข้อสอบครั้งนี้ ซึ่งที่จริงแล้วหลักสูตรดังกล่าวจะเริ่มใช้ในภาคเรียนที่ 1/2553 ทั้งนี้จากการหารือกับสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา (สวก.) แล้วเห็นว่า สทศ. คงไม่ได้ออกข้อสอบเกินหลักสูตร เพราะหลักสูตร พ.ศ.2544 และหลักสูตร พ.ศ.2551 มีมาตรฐานการเรียนรู้ชุดเดียวกัน แต่การจัดทำรายละเอียด อาทิ ตัวชี้วัด ผลที่คาดหวังในตัวผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันบ้าง ส่วนกรณีที่นักเรียนอาจจะไปยื่นฟ้องศาล เพื่อขอความเป็นธรรมในกรณีดังกล่าวเป็นสิทธิที่จะทำได้