บอร์ด สปสช.ถกด่วน 25 ก.พ.นี้ เคาะให้สิทธิบัตรทองคนไร้สถานะ 4.5 แสนคน ใช้งบ 550 ล้านบาท “จุรินทร์” รอชง ครม. เชื่อสามารถแก้ปัญหาได้ ยันไม่เกี่ยวข้องกับการให้สัญชาติไทย อยู่ที่ ก.มหาดไทย สภาความมั่นคงฯ พิสูจน์สถานะ
วันนี้ (15 ก.พ.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริการระดับสูงกระทรวงสาธารณสุขถึงผลสรุปการจัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดบริการสาธารณสุขในพื้นที่ทุรกันดารโดยเฉพาะพื้นที่ชายแดน เพื่อให้เข้าถึงหลักประกันสุขภาพสำหรับประชาชนที่รอพิสูจน์สถานะบุคคลว่า จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อจัดงบดูแลสุขภาพคนกลุ่มดังกล่าวซึ่งรอพิสูจน์สถานะจำนวน 457,409 คน ในพื้นที่ 10 จังหวัด 172 โรงพยาบาล ใช้งบประมาณในช่วงครึ่งปีงบประมาณที่เหลือทั้งสิ้น 550 ล้านบาท
โดยคนกลุ่มดังกล่าวเคยได้รับสิทธิทางสุขภาพในรูปแบบบัตรรักษาพยาบาลสำหรับผู้มีรายได้น้อย (สปร.) และบางส่วนได้รับการรักษาฟรีเพราะเป็นผู้มีรายได้น้อย แต่เมื่อมีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในปี พ.ศ.2545 ก็มีการยกเลิกสิทธิดังกล่าวทั้งหมด ทำให้โรงพยาบาลต้องแบกรักภาระ โดยนำงบประมาณมาใช้ในการรักษาคนกลุ่มดังกล่าว และยังมีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานทั้งถูกกฏหมาย ผิดกฏหมายอีกด้วย
นายจุรินทร์กล่าวว่า จะมีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เป็นวาระพิเศษในวันที่ 25 ก.พ.เพื่อหาแนวทางในการปฏิบัติ และจัดระบบให้เหมาะสม ก่อนจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป สำหรับแนวทางการเยียวยาโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบใน 10 จังหวัด ตนได้ให้ตั้งกองทุนฉุกเฉิน 200 ล้านบาท เพื่อให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วแต่แนวทางการกระจายงบประมาณยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งคณะกรรมการฯจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะมีการจัดแบ่งอย่างไรต่อไป
“เชื่อว่าแนวทางดังกล่าวจะช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นกับโรงพยาบาลในเขตชายแดนให้ทุเลาลงได้ ซึ่งคนไทยกลุ่มนี้อยู่อาศัยในประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้วแต่ติดข้อกฎหมายทำให้ไม่ได้รับสิทธิการรักษาที่เคยได้รับ และไม่เบียดบังงบประมาณสุขภาพที่จัดสรรให้กับคนไทย” นายจุรินทร์กล่าว
ด้าน นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า คณะทำงานด้านวิชาการของ สปสช.ได้สรุปและเสนอให้กลุ่มคนไร้สถานะได้รับอัตราค่าเหมาจ่าย 2,400 บาทต่อประชากร เท่ากับคนไทย ซึ่งถือเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว โดยในปีงบประมาณ 2553 เสนอของบประมาณ 550 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาลทั้งระบบในช่วงครึ่งปีงบประมาณ ตั้งแต่เดือนเมษายน-กันยายน 2553
“การให้สิทธิประกันสุขภาพกับกลุ่มคนไร้สถานะเป็นเรื่องของสุขภาพที่ต้องทำตามกฎหมายพร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ไม่เกี่ยวข้องกับการรับรองความเป็นคนไทยหรือให้สัญชาติไทย ซึ่งคงต้องทำความเข้าใจกับกระทรวงมหาดไทย และสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ต้องมีการพิสูจน์สถานะบุคคลต่อไปตามกระบวนการอยู่แล้ว ดังนั้น คาดว่า การของบประมาณน่าจะผ่านความเห็นชอบ เพราะมีปัญหาเกิดขึ้นชัดเจน ฝ่ายวิชาการมีการศึกษาทำการบ้านมานาน รวมถึงฝ่ายการเมืองก็เข้าใจปัญหาเป็นอย่างดี”นพ.ประทีปกล่าว
สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่รอพิสูจน์สถานะบุคคล 457,409 คน ประกอบด้วย 1.กลุ่มที่ ครม.มีมติรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวร ประมาณ 8-9 หมื่นคน 2.กลุ่มที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราวเพื่อรอกระบวนการพิสูจน์สถานะ เช่น กลุ่มที่ได้รับบัตรสี ชาวเขา เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ประมาณ 3 แสนคน 3.กลุ่มที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิบุคคล เช่น กลุ่มนักเรียนในสถานศึกษาที่ได้รับสวัสดิการจากรัฐบาลด้านการศึกษา กลุ่มคนที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศและกลุ่มคนไร้รากเหง้า ประมาณ 6 หมื่นคน
วันนี้ (15 ก.พ.) นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริการระดับสูงกระทรวงสาธารณสุขถึงผลสรุปการจัดทำแนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดบริการสาธารณสุขในพื้นที่ทุรกันดารโดยเฉพาะพื้นที่ชายแดน เพื่อให้เข้าถึงหลักประกันสุขภาพสำหรับประชาชนที่รอพิสูจน์สถานะบุคคลว่า จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อจัดงบดูแลสุขภาพคนกลุ่มดังกล่าวซึ่งรอพิสูจน์สถานะจำนวน 457,409 คน ในพื้นที่ 10 จังหวัด 172 โรงพยาบาล ใช้งบประมาณในช่วงครึ่งปีงบประมาณที่เหลือทั้งสิ้น 550 ล้านบาท
โดยคนกลุ่มดังกล่าวเคยได้รับสิทธิทางสุขภาพในรูปแบบบัตรรักษาพยาบาลสำหรับผู้มีรายได้น้อย (สปร.) และบางส่วนได้รับการรักษาฟรีเพราะเป็นผู้มีรายได้น้อย แต่เมื่อมีโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในปี พ.ศ.2545 ก็มีการยกเลิกสิทธิดังกล่าวทั้งหมด ทำให้โรงพยาบาลต้องแบกรักภาระ โดยนำงบประมาณมาใช้ในการรักษาคนกลุ่มดังกล่าว และยังมีแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานทั้งถูกกฏหมาย ผิดกฏหมายอีกด้วย
นายจุรินทร์กล่าวว่า จะมีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เป็นวาระพิเศษในวันที่ 25 ก.พ.เพื่อหาแนวทางในการปฏิบัติ และจัดระบบให้เหมาะสม ก่อนจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป สำหรับแนวทางการเยียวยาโรงพยาบาลที่ได้รับผลกระทบใน 10 จังหวัด ตนได้ให้ตั้งกองทุนฉุกเฉิน 200 ล้านบาท เพื่อให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วแต่แนวทางการกระจายงบประมาณยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งคณะกรรมการฯจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะมีการจัดแบ่งอย่างไรต่อไป
“เชื่อว่าแนวทางดังกล่าวจะช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้นกับโรงพยาบาลในเขตชายแดนให้ทุเลาลงได้ ซึ่งคนไทยกลุ่มนี้อยู่อาศัยในประเทศไทยมาเป็นเวลานานแล้วแต่ติดข้อกฎหมายทำให้ไม่ได้รับสิทธิการรักษาที่เคยได้รับ และไม่เบียดบังงบประมาณสุขภาพที่จัดสรรให้กับคนไทย” นายจุรินทร์กล่าว
ด้าน นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า คณะทำงานด้านวิชาการของ สปสช.ได้สรุปและเสนอให้กลุ่มคนไร้สถานะได้รับอัตราค่าเหมาจ่าย 2,400 บาทต่อประชากร เท่ากับคนไทย ซึ่งถือเป็นการแก้ไขปัญหาระยะยาว โดยในปีงบประมาณ 2553 เสนอของบประมาณ 550 ล้านบาท เพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาลทั้งระบบในช่วงครึ่งปีงบประมาณ ตั้งแต่เดือนเมษายน-กันยายน 2553
“การให้สิทธิประกันสุขภาพกับกลุ่มคนไร้สถานะเป็นเรื่องของสุขภาพที่ต้องทำตามกฎหมายพร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ไม่เกี่ยวข้องกับการรับรองความเป็นคนไทยหรือให้สัญชาติไทย ซึ่งคงต้องทำความเข้าใจกับกระทรวงมหาดไทย และสภาความมั่นคงแห่งชาติที่ต้องมีการพิสูจน์สถานะบุคคลต่อไปตามกระบวนการอยู่แล้ว ดังนั้น คาดว่า การของบประมาณน่าจะผ่านความเห็นชอบ เพราะมีปัญหาเกิดขึ้นชัดเจน ฝ่ายวิชาการมีการศึกษาทำการบ้านมานาน รวมถึงฝ่ายการเมืองก็เข้าใจปัญหาเป็นอย่างดี”นพ.ประทีปกล่าว
สำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่รอพิสูจน์สถานะบุคคล 457,409 คน ประกอบด้วย 1.กลุ่มที่ ครม.มีมติรับรองสถานะให้อาศัยอยู่ถาวร ประมาณ 8-9 หมื่นคน 2.กลุ่มที่ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราวเพื่อรอกระบวนการพิสูจน์สถานะ เช่น กลุ่มที่ได้รับบัตรสี ชาวเขา เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ประมาณ 3 แสนคน 3.กลุ่มที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติและบัตรประจำตัวบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียนภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิบุคคล เช่น กลุ่มนักเรียนในสถานศึกษาที่ได้รับสวัสดิการจากรัฐบาลด้านการศึกษา กลุ่มคนที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศและกลุ่มคนไร้รากเหง้า ประมาณ 6 หมื่นคน