สสส.จับมือ 6 องค์กรลงนามตั้ง “โครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย” นำร่อง กทม. - 9 จังหวัด กรมอนามัยเผยสถิติ 12 ปีล่าสุด เด็กไทยมีระดับค่าเฉลี่ยเชาว์ปัญญาเพียง 88 ต่ำกว่าองค์การอนามัยโลกกำหนด 90-100 - ประเทศที่พัฒนาแล้ว 104 สมาคมโภชนาการฯชี้ปัญหาขาดโภชนาการในเด็กกระทบรายได้ประเทศลดลง 2-3% ต้นต่อค่ารักษาโรคอ้วนกว่า 7 หมื่นล้าน
(วันนี้) 15 กุมภาพันธ์ ณ โรงแรมนารายณ์ ถนนสีลม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จับมือสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย” เพื่อช่วยสนับสนุนการสร้างโภชนาการที่ดีในเด็กไทย ตั้งแต่ทารก เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน โดยจะเริ่มดำเนินในกรุงเทพมหาคร และ 9 จังหวัดนำร่อง เพื่อหารูปแบบและผลักดันให้เกิดนโยบายในระดับชุมชนและระดับชาติ
ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์ล่าสุดในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา (ปี 2540-2552) ว่า เด็กไทยมีระดับเชาว์ปัญญา และพัฒนาการสมวัยต่ำลง คือ ค่าเฉลี่ยลดลงจาก 91 เหลือ 88 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 90-110 และยังต่ำกว่าระดับ 104 ซึ่งเป็นระดับเชาว์ปัญญาของเด็กๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยลดลงจากร้อยละ 72 เหลือเพียง ร้อยละ 67 มีเด็กทารกเพียงร้อยละ 30 ได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน เด็กทารกอายุ 6-12 เดือน ร้อยละ 45 ได้รับอาหารไม่เหมาะสมตามวัย โดยอาหารเสริมสำเร็จรูปกลายเป็นอาหารหลักแทนกล้วยบด และข้าวครูด ทั้งนี้ผลวิจัยชี้เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียนติดอาหารรสหวาน มัน เค็ม ในรอบ 3 ปี (พ.ศ. 2547-2550) โดยเด็กไทยกินขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเป็นประจำ เพิ่มขึ้นถึง 1.8 และ 1.5 เท่าตามลำดับ และเด็กวัยเรียนกินผักเพียงวันละ 1.5 ช้อนโต๊ะ ซึ่งควรกินไม่ต่ำกว่าวันละ 12 ช้อนโต๊ะ
“ที่น่าตกใจคือ เด็กไทยซื้อขนมกินเฉลี่ย คนละ 9,800 บาทต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาเพียงคนละ 3,024 บาทต่อปี พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน โดยกรมอนามัยคาดว่าในปี 2558 จะมีเด็กอ้วนสูงถึง 1 ใน 5 ของเด็กวัยก่อนเรียน และ 1 ใน 10 ของเด็กวัยเรียน และเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด” ดร.นพ.สมยศกล่าว
ด้านนพ. ณรงค์ สายวงศ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยชี้แจงว่า ผลการศึกษาพบว่าเด็กที่ขาดสารอาหารมีรูปร่างเตี้ยแคระแกร็น เมื่อโตขึ้นจนถึงอายุ 8-10 ปีจะมีสติปัญญา และผลการเรียนต่ำกว่าเด็กที่ไม่เตี้ยแคระแกร็น เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะมีระดับสติปัญญาต่ำและมีความสามารถในการสร้างรายได้น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารเหมาะสมตามวัย
นอกจากนี้ยังพบว่า ปัญหาทุพโภชนาการในเด็กมีผลให้รายได้ของประเทศลดลงถึงร้อยละ 2-3 โดยผลการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานในสถานพยาบาล 11 แห่ง พบว่าเด็กและวัยรุ่นป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากขึ้น จากร้อยละ 2 ในปี พ.ศ.2542 เพิ่มเป็นร้อยละ 18 ในปี พ.ศ. 2547 ทำให้ประเทศไทยสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนสูงเป็นอันดับต้นๆ โดยในปี พ.ศ. 2548 ค่ารักษาพยาบาลของโรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมกันเพียงสามโรคสูงถึงกว่า 70,000 ล้านบาท
ด้าน ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการสร้างสุขภาวะและลดปัจจัยเสี่ยงรอง สสส.กล่าวว่า การทำบันทึกข้อตกลงนี้จะเป็นการส่งสัญญาณตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น และส่วนกลางในการแก้ปัญหาเด็กไทยที่มีผลกระทบด้านขาดโภชนาการตั้งแต่วัยทารกกระทั่งวัยเรียน โดยเฉพาะโรคอ้วนกับขาดสารอาหาร พร้อมให้ความรู้พ่อแม่ ศูนย์เด็กเล็กในการคจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กทั้งคุณภาพและปริมาณ เพราะปัจจุบันข้อมูลสถิติที่แสดงว่าเด็กเป็นโรคอ้วนมีถึง 15% และขาดสารอาหาร 8-9%
“สสส.จะทำคู่มือเอกสารเพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลเด็ก เพื่อให้พ่อแม่ และศูนย์เด็กเล็กจัดซื้ออาหารและวัตถุดิบได้อย่างมีคุณภาพ เด็กก็จะไม่ประสบปัญหากลายเป็นคนเตี้ย โดยคาดหวังว่าหากทำได้ประมาณ 2 ปี ในกรุงเทพฯ และ9 จังหวัด 120 ตำบล ทั้งโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กกว่า 1,000 แห่ง ทั้งพ่อแม่ ครู องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะมีความรู้ในเรื่องอาหารเพื่อดูแลเด็กตั้งแต่วัยเด็กจนถึงเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป” ทพ.ศิริเกียรติ กล่าว
นายสง่า ดามาพงษ์ ผู้จัดการโครงการพัฒนาระบบและกลไก เพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย ภายใต้การสนับสนุนของสสส.กล่าวว่า จากปัญหาโภชนาการของเด็กไทยที่กล่าวมาแล้วนั้น หากปล่อยไว้ก็จะเกิดผลกระทบต่อประเทศชาติในระยะยาว ฉะนั้นการพัฒนาระบบและกลไกในท้องถิ่นและชุมชนให้มีศักยภาพและสมรรถนะในการส่งเสริมให้เด็กทารกวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียนนั้นก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในอนาคตของประเทศไทย โดยจะมีการดำในเนินงานในชุมชนศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียนได้มีพฤติกรรมการกินอาหารครบถ้วน ซึ่งจะเริ่มดำเนินงานใน 9 จังหวัดนำร่อง เชียงใหม่ ลำปาง อุดรธานี ขอนแก่น เพชรบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี สงขลา ภูเก็ต และกรุงเทพมหานคร เป็นระยะเวลา 3 ปี ในปีแรก เป็นช่วงระยะเวลาเตรียมการและจัดทำนวัตกรรมหรือเครื่องมือการขับเคลื่อนงาน ในปีที่2 จะพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นและนำนวัตกรรมไปใช้ในสถานการณ์จริงพร้อมติดตาม ควบคุมกำกับ และปีที่ 3 จะมีการถอดบทเรียนและกำหนดเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย พร้อมผลักดันนโยบายทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ภาคีเครือข่ายด้านอาหารและโภชนาการ
(วันนี้) 15 กุมภาพันธ์ ณ โรงแรมนารายณ์ ถนนสีลม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จับมือสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการพัฒนาระบบและกลไกเพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย” เพื่อช่วยสนับสนุนการสร้างโภชนาการที่ดีในเด็กไทย ตั้งแต่ทารก เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กวัยเรียน โดยจะเริ่มดำเนินในกรุงเทพมหาคร และ 9 จังหวัดนำร่อง เพื่อหารูปแบบและผลักดันให้เกิดนโยบายในระดับชุมชนและระดับชาติ
ดร.นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์ล่าสุดในรอบ 12 ปีที่ผ่านมา (ปี 2540-2552) ว่า เด็กไทยมีระดับเชาว์ปัญญา และพัฒนาการสมวัยต่ำลง คือ ค่าเฉลี่ยลดลงจาก 91 เหลือ 88 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 90-110 และยังต่ำกว่าระดับ 104 ซึ่งเป็นระดับเชาว์ปัญญาของเด็กๆ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัยลดลงจากร้อยละ 72 เหลือเพียง ร้อยละ 67 มีเด็กทารกเพียงร้อยละ 30 ได้กินนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน เด็กทารกอายุ 6-12 เดือน ร้อยละ 45 ได้รับอาหารไม่เหมาะสมตามวัย โดยอาหารเสริมสำเร็จรูปกลายเป็นอาหารหลักแทนกล้วยบด และข้าวครูด ทั้งนี้ผลวิจัยชี้เด็กวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียนติดอาหารรสหวาน มัน เค็ม ในรอบ 3 ปี (พ.ศ. 2547-2550) โดยเด็กไทยกินขนมกรุบกรอบและน้ำอัดลมเป็นประจำ เพิ่มขึ้นถึง 1.8 และ 1.5 เท่าตามลำดับ และเด็กวัยเรียนกินผักเพียงวันละ 1.5 ช้อนโต๊ะ ซึ่งควรกินไม่ต่ำกว่าวันละ 12 ช้อนโต๊ะ
“ที่น่าตกใจคือ เด็กไทยซื้อขนมกินเฉลี่ย คนละ 9,800 บาทต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาเพียงคนละ 3,024 บาทต่อปี พฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้เด็กไทยมีปัญหาภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน โดยกรมอนามัยคาดว่าในปี 2558 จะมีเด็กอ้วนสูงถึง 1 ใน 5 ของเด็กวัยก่อนเรียน และ 1 ใน 10 ของเด็กวัยเรียน และเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด” ดร.นพ.สมยศกล่าว
ด้านนพ. ณรงค์ สายวงศ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยชี้แจงว่า ผลการศึกษาพบว่าเด็กที่ขาดสารอาหารมีรูปร่างเตี้ยแคระแกร็น เมื่อโตขึ้นจนถึงอายุ 8-10 ปีจะมีสติปัญญา และผลการเรียนต่ำกว่าเด็กที่ไม่เตี้ยแคระแกร็น เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่จะมีระดับสติปัญญาต่ำและมีความสามารถในการสร้างรายได้น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับอาหารเหมาะสมตามวัย
นอกจากนี้ยังพบว่า ปัญหาทุพโภชนาการในเด็กมีผลให้รายได้ของประเทศลดลงถึงร้อยละ 2-3 โดยผลการศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานในสถานพยาบาล 11 แห่ง พบว่าเด็กและวัยรุ่นป่วยเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มากขึ้น จากร้อยละ 2 ในปี พ.ศ.2542 เพิ่มเป็นร้อยละ 18 ในปี พ.ศ. 2547 ทำให้ประเทศไทยสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนสูงเป็นอันดับต้นๆ โดยในปี พ.ศ. 2548 ค่ารักษาพยาบาลของโรคเบาหวาน โรคหัวใจขาดเลือด และโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมกันเพียงสามโรคสูงถึงกว่า 70,000 ล้านบาท
ด้าน ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการสร้างสุขภาวะและลดปัจจัยเสี่ยงรอง สสส.กล่าวว่า การทำบันทึกข้อตกลงนี้จะเป็นการส่งสัญญาณตั้งแต่ระดับชุมชน ท้องถิ่น และส่วนกลางในการแก้ปัญหาเด็กไทยที่มีผลกระทบด้านขาดโภชนาการตั้งแต่วัยทารกกระทั่งวัยเรียน โดยเฉพาะโรคอ้วนกับขาดสารอาหาร พร้อมให้ความรู้พ่อแม่ ศูนย์เด็กเล็กในการคจัดอาหารที่เหมาะสมกับเด็กทั้งคุณภาพและปริมาณ เพราะปัจจุบันข้อมูลสถิติที่แสดงว่าเด็กเป็นโรคอ้วนมีถึง 15% และขาดสารอาหาร 8-9%
“สสส.จะทำคู่มือเอกสารเพื่อเพิ่มทักษะในการดูแลเด็ก เพื่อให้พ่อแม่ และศูนย์เด็กเล็กจัดซื้ออาหารและวัตถุดิบได้อย่างมีคุณภาพ เด็กก็จะไม่ประสบปัญหากลายเป็นคนเตี้ย โดยคาดหวังว่าหากทำได้ประมาณ 2 ปี ในกรุงเทพฯ และ9 จังหวัด 120 ตำบล ทั้งโรงเรียน ศูนย์เด็กเล็กกว่า 1,000 แห่ง ทั้งพ่อแม่ ครู องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จะมีความรู้ในเรื่องอาหารเพื่อดูแลเด็กตั้งแต่วัยเด็กจนถึงเจริญเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป” ทพ.ศิริเกียรติ กล่าว
นายสง่า ดามาพงษ์ ผู้จัดการโครงการพัฒนาระบบและกลไก เพื่อเด็กไทยมีโภชนาการสมวัย ภายใต้การสนับสนุนของสสส.กล่าวว่า จากปัญหาโภชนาการของเด็กไทยที่กล่าวมาแล้วนั้น หากปล่อยไว้ก็จะเกิดผลกระทบต่อประเทศชาติในระยะยาว ฉะนั้นการพัฒนาระบบและกลไกในท้องถิ่นและชุมชนให้มีศักยภาพและสมรรถนะในการส่งเสริมให้เด็กทารกวัยก่อนเรียนและเด็กวัยเรียนนั้นก็จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในอนาคตของประเทศไทย โดยจะมีการดำในเนินงานในชุมชนศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียนได้มีพฤติกรรมการกินอาหารครบถ้วน ซึ่งจะเริ่มดำเนินงานใน 9 จังหวัดนำร่อง เชียงใหม่ ลำปาง อุดรธานี ขอนแก่น เพชรบุรี สมุทรปราการ นนทบุรี สงขลา ภูเก็ต และกรุงเทพมหานคร เป็นระยะเวลา 3 ปี ในปีแรก เป็นช่วงระยะเวลาเตรียมการและจัดทำนวัตกรรมหรือเครื่องมือการขับเคลื่อนงาน ในปีที่2 จะพัฒนาศักยภาพบุคลากรท้องถิ่นและนำนวัตกรรมไปใช้ในสถานการณ์จริงพร้อมติดตาม ควบคุมกำกับ และปีที่ 3 จะมีการถอดบทเรียนและกำหนดเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย พร้อมผลักดันนโยบายทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ภาคีเครือข่ายด้านอาหารและโภชนาการ