หมอหทัย” อัดหนัง “อวตาร” แอบแทรกฉากสิงห์อมควัน หวั่นเพิ่มอัตราสูบเพิ่ม 2 เท่าของวัยรุ่น จี้ไทยจัดเรตติ้งดูหนังโรง บังคับใช้เข้มงวด ผู้ปกครองสนใจแนะนำบุตรหลาน แก้กฎหมายเพิ่มบุหรี่ เป็นสารเสพติดให้โทษ สอนเด็กให้รู้เท่าทันสื่อ
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่โรงแรมสยามซิตี้ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ(ศจย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริสุขภาพ(สสส.) จัดแถลง “สูบบุหรี่ใน “อวตาร” เพื่อใคร” โดยนพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวว่า กระแสการนำเสนอฉากสูบบุหรี่ในภาพยนตร์ทั้งไทยและเทศมีมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดภาพยนตร์เรื่อง “อวตาร” มีการสอดแทรกฉากการสูบบุหรี่ให้เห็นอย่างโจ่งแจ้ง โดยให้ตัวละครที่มีบทบาทสำคัญเป็นผู้หญิง หน้าตาสวยงาม มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เป็นคนเก่ง ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่สูบบุหรี่จัด ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวลอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นทั้งชายและหญิงที่อาจเลียนแบบบุคลิกของตัวละครนี้
นพ.หทัย กล่าวว่า อันตรายมากหากวัยรุ่นไทยมีความเข้าใจผิดๆ ว่า ถ้าอยากเป็นผู้หญิงเก่ง สวย จะต้องสูบบุหรี่เหมือนอย่างตัวละครในอวตาร โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงไทยที่ผลสำรวจจากสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดพบว่า กลุ่มผู้หญิงมีอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 1.6 เพิ่มเป็นร้อยละ 1.7 ในปี 2552 ขณะที่ภาพรวมการสูบบุหรี่ทั้งเพศชายและหญิง มีอัตราการสูบบุหรี่ลดลงจากร้อยละ 19.5 เหลือร้อยละ 18.1 ในปี 2552 นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับอิทธิพลของการนำเสนอฉากสูบบุหรี่ในภาพยนตร์ ซึ่งกระตุ้นให้วัยรุ่นทดลองสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น
นพ.หทัย กล่าวอีกว่า เห็นได้จากการศึกษาของประเทศเยอรมนีพบว่า วัยรุ่นที่ได้ชมภาพยนตร์ที่มีฉากสูบบุหรี่มีอัตราการทดลองสูบเพิ่มเป็น 2 เท่าของวัยรุ่นที่ไม่เคยเห็นการสูบบุหรี่ในภาพยนตร์มาก่อน ขณะที่งานวิจัยในสหรัฐอเมริกา พบว่าร้อยละ 52 ของนักสูบหน้าใหม่มีอายุระหว่าง 12 – 17 ปี หรือประมาณ 390,000 คนต่อปี เริ่มสูบบุหรี่หลังเห็นฉากสูบบุหรี่ในภาพยนตร์ ขณะที่มีการคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมบุหรี่มีรายได้จากภาพยนตร์ฉายฉากดาราสูบบุหรี่มากถึงปีละ 894 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
น.ส.ภาวรรณ หมอกยา อาจารย์ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา กล่าวว่า ในมุมมองของนักวรรณคดีด้านมนุษยวิทยา มองว่า การให้ตัวละครสูบบุหรี่ เป็นความล้มเหลวของของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ ความไม่สมจริงของตัวละครนักวิทยาศาสตร์จริง ที่ไม่สามารถทำให้เชื่อได้ว่า เป็นคนหยาบที่เป็นคนดี และไม่มีพัฒนาการของตัวละครที่ชัดเจน เป็นจุดที่ทำให้หนักไม่ประสบความสำเร็จในแง่ศิลปะ แม้ว่าจะสามารถโกยเงินได้มหาศาล ขณะที่ธีมของเรื่องก็ไม่มีอะไรใหม่เป็นการนำเรื่องที่ทุกคนทราบอยู่แล้วมาบอกซ้ำเท่านั้น
นายสุภาพ หริมเทพาธิป บรรณาธิการบริหาร นิตยสารไบโอสโคป กล่าวว่า ในต่างประเทศมีการจัดเรตติ้งให้ภาพยนตร์อวตาร เป็นประเภท น.13+ คือ เหมาะสำหรับเยาวชนอายุ 13 ปีขึ้นไป ขณะที่ประเทศไทยจัดให้อยู่ในประเภท ท. หรือทั่วไป อีกทั้งในทางปฏิบัติจริงกลับไม่มีความเข้มแข็ง ซึ่งภาคประชาสังคมจะต้องออกมาจัดการระบบเรตติ้งด้วยตนเอง โดยทางครอบครัว ผู้ปกครองต้องคอยแนะนำแนวทางที่ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์หลายเรื่องที่ผ่านมาก็มีฉากที่ล่อแหลมต่อการผิดกฎหมาย เช่น มีโฆษณาแฝง การดื่มเบียร์ที่ปรากฏยี่ห้อชัดเจน แต่ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่มีการออกมาเคลื่อนไหวเหมือนภาพยนตร์เรื่องนี้
ดร. ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการ ศจย.กล่าวว่า ประเทศไทยมีพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 และมีการออกกฎกระทรวงขึ้นมาบังคับใช้แล้ว โดยจัดเรตติ้งให้ภาพยนตร์อวตาร เป็นประเภททั่วไป แต่ควรจะเป็น น.13+ เหมือนต่างประเทศ เรื่องนี้ควรแก้ไข อีกทั้ง ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ เยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปีขึ้นไป ยังสามารถดูภาพยนตร์ที่มีฉากการสูบบุหรี่ได้ตามปกติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เพราะบุหรี่จัดเป็นยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาทกลุ่มเดียวกับ แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน(โคเคน) ตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้บุหรี่เป็นสารเสพติดเพราะคนที่สูบบุหรี่จะต้องเพิ่มปริมาณหรือจำนวนการเสพมากขึ้นเหมือนกับสารเสพติดชนิดอื่นๆ
ดร.ศิริวรรณ กล่าวอีกว่า เพื่อให้เยาวชนปลอดภัยจากอันตรายจากการนำเสนอภาพที่ไม่เหมาะสมในภาพยนต์ จึงมีข้อเสนอดังนี้ 1.ผู้ปกครองให้คำแนะนำบุตรหลานในการรับชมสื่อต่างๆ 2.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลการจัดอันดับเรตติ้งต้องควบคุมสื่อต่างๆ ให้เป็นไปตามข้อกำหนด 3.ควรมีการแสดงข้อความคำเตือนลงในภาพยนตร์ที่มีฉากที่ไม่เหมาะสม มีอบายมุข สิ่งเพสติด และ4.เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับเยาวชนให้รู้เท่าทันสื่อ
นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ไม่ค่อยเป็นห่วงเรื่องของการเลียนแบบแต่ที่กังวลคือ หากวีซีดี ดีวีดีเรื่องอวตาร ออกมาจะทำให้เข้าถึงเด็กและเยาวชนง่ายขึ้น ดังนั้น ควรมีการติดเรตติ้งบนวีซีดี ดีวีดี ด้วย เพื่อเป็นปราการแรกในการเตือนผู้ปกครองให้ระวัง และคอยชี้แนะว่าสมควรดูหรือไม่ หรือควรแนะนำในการดูภาพยนตร์อย่างไร
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ที่โรงแรมสยามซิตี้ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ(ศจย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริสุขภาพ(สสส.) จัดแถลง “สูบบุหรี่ใน “อวตาร” เพื่อใคร” โดยนพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวว่า กระแสการนำเสนอฉากสูบบุหรี่ในภาพยนตร์ทั้งไทยและเทศมีมาอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ล่าสุดภาพยนตร์เรื่อง “อวตาร” มีการสอดแทรกฉากการสูบบุหรี่ให้เห็นอย่างโจ่งแจ้ง โดยให้ตัวละครที่มีบทบาทสำคัญเป็นผู้หญิง หน้าตาสวยงาม มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เป็นคนเก่ง ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน แต่สูบบุหรี่จัด ซึ่งเป็นเรื่องน่ากังวลอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นทั้งชายและหญิงที่อาจเลียนแบบบุคลิกของตัวละครนี้
นพ.หทัย กล่าวว่า อันตรายมากหากวัยรุ่นไทยมีความเข้าใจผิดๆ ว่า ถ้าอยากเป็นผู้หญิงเก่ง สวย จะต้องสูบบุหรี่เหมือนอย่างตัวละครในอวตาร โดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิงไทยที่ผลสำรวจจากสำนักงานสถิติแห่งชาติล่าสุดพบว่า กลุ่มผู้หญิงมีอัตราการสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 1.6 เพิ่มเป็นร้อยละ 1.7 ในปี 2552 ขณะที่ภาพรวมการสูบบุหรี่ทั้งเพศชายและหญิง มีอัตราการสูบบุหรี่ลดลงจากร้อยละ 19.5 เหลือร้อยละ 18.1 ในปี 2552 นอกจากนี้ ยังมีการวิจัยอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับอิทธิพลของการนำเสนอฉากสูบบุหรี่ในภาพยนตร์ ซึ่งกระตุ้นให้วัยรุ่นทดลองสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น
นพ.หทัย กล่าวอีกว่า เห็นได้จากการศึกษาของประเทศเยอรมนีพบว่า วัยรุ่นที่ได้ชมภาพยนตร์ที่มีฉากสูบบุหรี่มีอัตราการทดลองสูบเพิ่มเป็น 2 เท่าของวัยรุ่นที่ไม่เคยเห็นการสูบบุหรี่ในภาพยนตร์มาก่อน ขณะที่งานวิจัยในสหรัฐอเมริกา พบว่าร้อยละ 52 ของนักสูบหน้าใหม่มีอายุระหว่าง 12 – 17 ปี หรือประมาณ 390,000 คนต่อปี เริ่มสูบบุหรี่หลังเห็นฉากสูบบุหรี่ในภาพยนตร์ ขณะที่มีการคาดการณ์ว่า อุตสาหกรรมบุหรี่มีรายได้จากภาพยนตร์ฉายฉากดาราสูบบุหรี่มากถึงปีละ 894 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
น.ส.ภาวรรณ หมอกยา อาจารย์ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา กล่าวว่า ในมุมมองของนักวรรณคดีด้านมนุษยวิทยา มองว่า การให้ตัวละครสูบบุหรี่ เป็นความล้มเหลวของของภาพยนตร์เรื่องนี้ คือ ความไม่สมจริงของตัวละครนักวิทยาศาสตร์จริง ที่ไม่สามารถทำให้เชื่อได้ว่า เป็นคนหยาบที่เป็นคนดี และไม่มีพัฒนาการของตัวละครที่ชัดเจน เป็นจุดที่ทำให้หนักไม่ประสบความสำเร็จในแง่ศิลปะ แม้ว่าจะสามารถโกยเงินได้มหาศาล ขณะที่ธีมของเรื่องก็ไม่มีอะไรใหม่เป็นการนำเรื่องที่ทุกคนทราบอยู่แล้วมาบอกซ้ำเท่านั้น
นายสุภาพ หริมเทพาธิป บรรณาธิการบริหาร นิตยสารไบโอสโคป กล่าวว่า ในต่างประเทศมีการจัดเรตติ้งให้ภาพยนตร์อวตาร เป็นประเภท น.13+ คือ เหมาะสำหรับเยาวชนอายุ 13 ปีขึ้นไป ขณะที่ประเทศไทยจัดให้อยู่ในประเภท ท. หรือทั่วไป อีกทั้งในทางปฏิบัติจริงกลับไม่มีความเข้มแข็ง ซึ่งภาคประชาสังคมจะต้องออกมาจัดการระบบเรตติ้งด้วยตนเอง โดยทางครอบครัว ผู้ปกครองต้องคอยแนะนำแนวทางที่ถูกต้อง ไม่เช่นนั้นก็ไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ภาพยนตร์หลายเรื่องที่ผ่านมาก็มีฉากที่ล่อแหลมต่อการผิดกฎหมาย เช่น มีโฆษณาแฝง การดื่มเบียร์ที่ปรากฏยี่ห้อชัดเจน แต่ถือเป็นเรื่องปกติ ไม่มีการออกมาเคลื่อนไหวเหมือนภาพยนตร์เรื่องนี้
ดร. ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการ ศจย.กล่าวว่า ประเทศไทยมีพ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 และมีการออกกฎกระทรวงขึ้นมาบังคับใช้แล้ว โดยจัดเรตติ้งให้ภาพยนตร์อวตาร เป็นประเภททั่วไป แต่ควรจะเป็น น.13+ เหมือนต่างประเทศ เรื่องนี้ควรแก้ไข อีกทั้ง ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ เยาวชนอายุต่ำกว่า 13 ปีขึ้นไป ยังสามารถดูภาพยนตร์ที่มีฉากการสูบบุหรี่ได้ตามปกติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม เพราะบุหรี่จัดเป็นยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาทกลุ่มเดียวกับ แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน(โคเคน) ตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้บุหรี่เป็นสารเสพติดเพราะคนที่สูบบุหรี่จะต้องเพิ่มปริมาณหรือจำนวนการเสพมากขึ้นเหมือนกับสารเสพติดชนิดอื่นๆ
ดร.ศิริวรรณ กล่าวอีกว่า เพื่อให้เยาวชนปลอดภัยจากอันตรายจากการนำเสนอภาพที่ไม่เหมาะสมในภาพยนต์ จึงมีข้อเสนอดังนี้ 1.ผู้ปกครองให้คำแนะนำบุตรหลานในการรับชมสื่อต่างๆ 2.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลการจัดอันดับเรตติ้งต้องควบคุมสื่อต่างๆ ให้เป็นไปตามข้อกำหนด 3.ควรมีการแสดงข้อความคำเตือนลงในภาพยนตร์ที่มีฉากที่ไม่เหมาะสม มีอบายมุข สิ่งเพสติด และ4.เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับเยาวชนให้รู้เท่าทันสื่อ
นพ.อรรถพล สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ไม่ค่อยเป็นห่วงเรื่องของการเลียนแบบแต่ที่กังวลคือ หากวีซีดี ดีวีดีเรื่องอวตาร ออกมาจะทำให้เข้าถึงเด็กและเยาวชนง่ายขึ้น ดังนั้น ควรมีการติดเรตติ้งบนวีซีดี ดีวีดี ด้วย เพื่อเป็นปราการแรกในการเตือนผู้ปกครองให้ระวัง และคอยชี้แนะว่าสมควรดูหรือไม่ หรือควรแนะนำในการดูภาพยนตร์อย่างไร