ศูนย์วิจัยบุหรี่ ชี้ภาคใต้พบสิงห์อมควันครองแชมป์ ปัตตานี 42.7% สุราษฎร์ 41.4% สตูล 40.8% ยอมรับ 7 มาตรการ แก้ปัญหาไม่คืบ ขณะที่สสส.-ศจย.-วพส. ไวระดมนักวิจัย-นักวิชาการ หาทางออก สอดรับแผนควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ
ดร.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า ภาคใต้มีปัญหาการระบาดของบุหรี่รุนแรงกว่าภาคอื่น การสำรวจความชุกของการบริโภคยาสูบในภาคใต้ ทั้ง 14 จังหวัด ปี 2550 พบว่า เยาวชนชาย 16-20 ปี สูบบุหรี่ 21.8 % และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16.2% ขณะที่การสำรวจในรายจังหวัด เพศชาย อายุ 11 ปีขึ้นไป พบว่า อัตราการสูบบุหรี่สูงสุด ได้แก่ 1.ปัตตานี 42.7% 2.สุราษฎร์ธานี 41.4% 3. สตูล 40.8% 4.ยะลา 28.2% อีกทั้งปัญหาขณะนี้กลุ่มอุตสาหกรรมบุหรี่พยายามขยายตลาดและส่งเสริมการบริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ
ดร.ศิริวรรณ กล่าวว่า เพื่อเฝ้าระวังการระบาด และปรับมาตรการแนวทางในการควบคุมให้ทันต่อเหตุการณ์และการคุกคามจากอุตสาหกรรมบุหรี่ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) จึงร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประชุมนักวิจัยเชิงนโยบายและประเมินผลด้านการควบคุมยาสูบ ขึ้นในวันที่ 22 ธ.ค. 2552 ที่ห้องประชุมเกษมสันต์ โรงแรมโกลเด้นคราวน์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อระดมนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านบุหรี่ในภาคใต้ มาร่วมแลกเปลี่ยนทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาไม่ให้การสูบบุหรี่ลุกลาม
ดร.ศิริวรรณ กล่าวว่า การประเมิลผลการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา 7 เรื่อง ได้แก่ 1.การเฝ้าระวังสถานการณ์ 2.การแก้ปัญหาโดยใช้มาตรการทางภาษีและการรับมือภาวะคุกคามที่มาจากการค้าเสรี 3.รูปแบบการเลิกบุหรี่ในระดับต่างๆ 4.ควบคุมผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ของบุหรี่ 5.งานวิจัยเชิงพฤติกรรม สังคมและการสื่อสาร 6.มาตรการรับมือกับบุหรี่มวนเอง และ 7.การประเมินนโยบายการควบคุมยาสูบ พบว่ายังขาดความรู้การศึกษาวิจัย อาทิ การแก้ปัญหาในระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ดังนั้นการประชุมครั้งนี้จำเป็นที่นักวิชาการ นักวิจัย ต้องร่วมกันศึกษาค้นคว้าเรื่องของบุหรี่อย่างจริงจัง โดย ศจย.พร้อมสนับสนุน และนำข้อมูลที่ได้ผลักดันเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายให้กับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปรับใช้ให้สอดรับแผนควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ พ.ศ.2553-2557 ที่ระบุว่า ภายในปี 2557 ต้องลดจำนวนการสูบบุหรี่ของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ให้ลดลงเหลือ 19.2% นอกจากนี้ ต้องควบคุมไม่ให้จำนวนการสูบบุหรี่ชนิดอื่นเพิ่มขึ้น และลดการได้รับควันบุหรี่มือสองของประชาชนลงเหลือ 30%
ดร.ศิริวรรณ พิทยรังสฤษฏ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า ภาคใต้มีปัญหาการระบาดของบุหรี่รุนแรงกว่าภาคอื่น การสำรวจความชุกของการบริโภคยาสูบในภาคใต้ ทั้ง 14 จังหวัด ปี 2550 พบว่า เยาวชนชาย 16-20 ปี สูบบุหรี่ 21.8 % และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 16.2% ขณะที่การสำรวจในรายจังหวัด เพศชาย อายุ 11 ปีขึ้นไป พบว่า อัตราการสูบบุหรี่สูงสุด ได้แก่ 1.ปัตตานี 42.7% 2.สุราษฎร์ธานี 41.4% 3. สตูล 40.8% 4.ยะลา 28.2% อีกทั้งปัญหาขณะนี้กลุ่มอุตสาหกรรมบุหรี่พยายามขยายตลาดและส่งเสริมการบริโภคมากขึ้นเรื่อยๆ
ดร.ศิริวรรณ กล่าวว่า เพื่อเฝ้าระวังการระบาด และปรับมาตรการแนวทางในการควบคุมให้ทันต่อเหตุการณ์และการคุกคามจากอุตสาหกรรมบุหรี่ ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) จึงร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ (วพส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดประชุมนักวิจัยเชิงนโยบายและประเมินผลด้านการควบคุมยาสูบ ขึ้นในวันที่ 22 ธ.ค. 2552 ที่ห้องประชุมเกษมสันต์ โรงแรมโกลเด้นคราวน์ พลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อระดมนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านบุหรี่ในภาคใต้ มาร่วมแลกเปลี่ยนทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาไม่ให้การสูบบุหรี่ลุกลาม
ดร.ศิริวรรณ กล่าวว่า การประเมิลผลการศึกษาวิจัยที่ผ่านมา 7 เรื่อง ได้แก่ 1.การเฝ้าระวังสถานการณ์ 2.การแก้ปัญหาโดยใช้มาตรการทางภาษีและการรับมือภาวะคุกคามที่มาจากการค้าเสรี 3.รูปแบบการเลิกบุหรี่ในระดับต่างๆ 4.ควบคุมผลิตภัณฑ์รูปแบบต่างๆ ของบุหรี่ 5.งานวิจัยเชิงพฤติกรรม สังคมและการสื่อสาร 6.มาตรการรับมือกับบุหรี่มวนเอง และ 7.การประเมินนโยบายการควบคุมยาสูบ พบว่ายังขาดความรู้การศึกษาวิจัย อาทิ การแก้ปัญหาในระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ดังนั้นการประชุมครั้งนี้จำเป็นที่นักวิชาการ นักวิจัย ต้องร่วมกันศึกษาค้นคว้าเรื่องของบุหรี่อย่างจริงจัง โดย ศจย.พร้อมสนับสนุน และนำข้อมูลที่ได้ผลักดันเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายให้กับรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปปรับใช้ให้สอดรับแผนควบคุมการบริโภคยาสูบแห่งชาติ พ.ศ.2553-2557 ที่ระบุว่า ภายในปี 2557 ต้องลดจำนวนการสูบบุหรี่ของประชาชนอายุ 15 ปีขึ้นไป ให้ลดลงเหลือ 19.2% นอกจากนี้ ต้องควบคุมไม่ให้จำนวนการสูบบุหรี่ชนิดอื่นเพิ่มขึ้น และลดการได้รับควันบุหรี่มือสองของประชาชนลงเหลือ 30%