คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้ฤกษ์ 23 ธ.ค.นี้ ถกคุมเหล้าปั่น-จัดโซนนิ่งร้านเหล้ารอบสถานศึกษา-ห้ามดื่มเหล้าบนรถสาธารณะ-ติดภาพคำเตือนข้างขวด “มานิต” ชี้ประกาศใช้คุมช่วงปีใหม่ไม่ทันแน่ หวังดันห้ามดื่มบนรถสาธารณะทันเทศกาลสงกรานต์นี้ พร้อมให้กำลังใจ “หมอสมาน” หนุนทำงานเต็มที่
นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ในวันที่ 23 ธันวาคมนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ที่มี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยในการหารือจะมีการนำเสนอ 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1. มาตรการควบคุมเหล้าปั่น 2.การจัดโซนนิ่งร้านค้าที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา 3. การกำหนดสถานที่ หรือบริเวณที่ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนยานพาหนะ และ 4.การติดภาพฉลากคำเตือนที่บรรจุภัณฑ์
นายมานิต กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้มีมติเห็นชอบร่างกฎหมายลูก ตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 อีกหลายฉบับ ได้แก่ 1.ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดวิธีการหรือลักษณะในการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2552 ซึ่งห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรูปแบบของการนำมาผสมในน้ำหวาน น้ำผลไม้ หรือน้ำที่มีกลิ่นผลไม้ หรือสิ่งอื่นใดแล้วนำมาปั่นรวมกัน เช่น เหล้าปั่น โดยยกเว้นให้ขายได้ในสถานบริการที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ว่าด้วยสถานบริการเท่านั้น
ฉบับที่ 2 ร่างประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข เกี่ยวกับการพิมพ์ฉลาก ข้อความเตือน รูปภาพเตือนภัยพิษภัยอันตรายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ พ.ศ.... เช่น ให้พิมพ์ข้อความว่า “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามจำหน่ายแก่บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท” เป็นภาษาไทย ตัวอักษรสีขาวบนแถบสีดำเข้ม ขนาดตัวอักษรใหญ่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ฉลาก อ่านง่ายและมองเห็นชัดเจน รวมถึงกำหนดให้จัดพิมพ์ภาพคำเตือนโทษและพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ที่ฉลากที่ติดข้างภาชนะและหีบห่อที่บรรจุ เป็นรูปภาพ 4 สี โดยมีขนาดข้อความไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกล่องบรรจุทรงสี่เหลี่ยม และไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 กรณีเป็นทรงกลม ทรงกระบอก หรือรูปแบบอื่นๆ ซึ่งยังคงมีการถกเถียงกันว่าภาพคำเตือนที่จะนำมาใช้นั้นน่ากลัวเกินไป
ฉบับที่ 3 ร่างประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่าด้วยข้อความคำเตือนที่ต้องแสดงพร้อมกับภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.... โดยหากเป็นสื่อทางกิจการโทรทัศน์ การฉายภาพ ภาพยนตร์ วีดีทัศน์ การแสดงภาพผ่านเครื่องมือทางอิเลคทรอนิกส์ ต้องแสดงคำเตือนทั้งเสียงและอักษรลอย โดยแสดงเสียงไม่น้อยกว่า 3 วินาที และอักษรลอยสีขาวภายในกรอบที่มีพื้นสีดำเข้ม สูงไม่น้อยกว่า 1 ใน 20 ของความสูงจอภาพ และมีความยาวตลอดตามแนวนอนชิดขอบจอภาพด้านบนสุด หรือล่างสุด ส่วนสื่อสิ่งพิมพ์ ให้แสดงคำเตือนตามแนวนอนด้านบนสุดด้วยตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีดำเข้ม ขนาดไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของพื้นที่คำเตือน และมีพื้นที่คำเตือนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของพื้นที่โฆษณา
ส่วนฉบับที่ 4 เป็นร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การกำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ... เป็นการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรัศมี 500 เมตร จากสถานศึกษา และ 5. ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณที่ห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ... เป็นการกำหนดห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในยานพาหนะทางบกทุกชนิด และห้ามดื่มในสถานที่ หรือหน่วยงานราชการ ยกเว้นบ้านพักส่วนตัว หรือสโมสร ซึ่งยังมีการถกเถียงกันในเรื่องสิทธิส่วนบุคคลเช่นกัน
นายมานิต กล่าวอีกว่า สำหรับการจัดโซนนิ่งจะใช้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นต้นแบบในการดำเนินการ และจะมีการประชุมในวันที่ 21 ธันวาคมนี้ โดยจะเชิญผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าร่วมประชุม เพื่อกำหนดแนวทางการจัดโซนนิ่งร่วมกัน ไม่ใช่เป็นการเหวี่ยงแหครอบคลุมเหมือนกันหมดทุกมหาวิทยาลัย และมีข้อยกเว้นสำหรับร้านที่ปฏิบัติตามกฎหมายไม่ทำผิดกติกาที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม การจัดโซนนิ่งเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนมาก จึงต้องทำอย่างรอบคอบ
“ขั้นตอนต่อจากนี้ หากคณะกรรมการนโยบายฯ เห็นชอบตามร่างประกาศทั้ง 4 ฉบับ จึงจะนำส่งให้นายกรัฐมนตรีลงนาม และมีผลบังคับใช้ ซึ่งแม้ว่าจะไม่ทันนำมาใช้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ แต่คาดหวังว่า มาตรการในการห้ามดื่มบนรถในสถานที่สาธารณะ จะนำมาใช้ทันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในปีหน้า” นายมานิต กล่าว
นายมานิต กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีที่ผู้ประกอบการทำหนังสือร้องเรียนมายังกระทรวงสาธารณสุข ระบุ นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สธ.ว่ามีการกระทำที่เกินกว่าอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานหรือไม่นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับกลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่ผู้ประกอบการร้องเรียนมา อย่างไรก็ตามต้องให้กำลังใจ นพ.สมาน ในการทำงานและสนับสนุนให้ทำตามหน้าที่ตามปกติต่อไป ซึ่งในหลักการไม่ผิด แต่เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายลูกในการควบคุมการโฆษณา ซึ่งมาตรา 32 ตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ครอบจักวาลเกินไป ซึ่งขณะนี้ร่างกฎกระทรวง ว่าด้วยการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ...ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งนพ.สมานยืนยันว่า ทำหน้าที่ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมาย
“นพ.สมานตั้งใจทำงานมากแต่ก็ต้องทำงานที่มีแรงต้านมาก จึงให้ใช้ความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น อะไรที่ผ่อนผันได้ก็ให้ทำ โดยให้ร้านค้าต่างๆ มีเวลาปรับตัวบ้าง เพราะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบกับหลายฝ่าย ขณะที่ผู้ประกอบการเองมียอดขายตกก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นมาตรการที่สธ.ก็ต้องงาน จะให้ทุกอย่างเป็นดังใจทุกคนไม่ได้” รมช.สธ. กล่าว
นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ในวันที่ 23 ธันวาคมนี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ ที่มี พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยในการหารือจะมีการนำเสนอ 4 ประเด็นสำคัญ คือ 1. มาตรการควบคุมเหล้าปั่น 2.การจัดโซนนิ่งร้านค้าที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษา 3. การกำหนดสถานที่ หรือบริเวณที่ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนยานพาหนะ และ 4.การติดภาพฉลากคำเตือนที่บรรจุภัณฑ์
นายมานิต กล่าวต่อว่า ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้มีมติเห็นชอบร่างกฎหมายลูก ตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 อีกหลายฉบับ ได้แก่ 1.ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดวิธีการหรือลักษณะในการห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2552 ซึ่งห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรูปแบบของการนำมาผสมในน้ำหวาน น้ำผลไม้ หรือน้ำที่มีกลิ่นผลไม้ หรือสิ่งอื่นใดแล้วนำมาปั่นรวมกัน เช่น เหล้าปั่น โดยยกเว้นให้ขายได้ในสถานบริการที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ว่าด้วยสถานบริการเท่านั้น
ฉบับที่ 2 ร่างประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข เกี่ยวกับการพิมพ์ฉลาก ข้อความเตือน รูปภาพเตือนภัยพิษภัยอันตรายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตหรือนำเข้าเพื่อจำหน่ายภายในประเทศ พ.ศ.... เช่น ให้พิมพ์ข้อความว่า “เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามจำหน่ายแก่บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ ฝ่าฝืนมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท” เป็นภาษาไทย ตัวอักษรสีขาวบนแถบสีดำเข้ม ขนาดตัวอักษรใหญ่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ฉลาก อ่านง่ายและมองเห็นชัดเจน รวมถึงกำหนดให้จัดพิมพ์ภาพคำเตือนโทษและพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด ที่ฉลากที่ติดข้างภาชนะและหีบห่อที่บรรจุ เป็นรูปภาพ 4 สี โดยมีขนาดข้อความไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของกล่องบรรจุทรงสี่เหลี่ยม และไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 กรณีเป็นทรงกลม ทรงกระบอก หรือรูปแบบอื่นๆ ซึ่งยังคงมีการถกเถียงกันว่าภาพคำเตือนที่จะนำมาใช้นั้นน่ากลัวเกินไป
ฉบับที่ 3 ร่างประกาศคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ว่าด้วยข้อความคำเตือนที่ต้องแสดงพร้อมกับภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือภาพสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.... โดยหากเป็นสื่อทางกิจการโทรทัศน์ การฉายภาพ ภาพยนตร์ วีดีทัศน์ การแสดงภาพผ่านเครื่องมือทางอิเลคทรอนิกส์ ต้องแสดงคำเตือนทั้งเสียงและอักษรลอย โดยแสดงเสียงไม่น้อยกว่า 3 วินาที และอักษรลอยสีขาวภายในกรอบที่มีพื้นสีดำเข้ม สูงไม่น้อยกว่า 1 ใน 20 ของความสูงจอภาพ และมีความยาวตลอดตามแนวนอนชิดขอบจอภาพด้านบนสุด หรือล่างสุด ส่วนสื่อสิ่งพิมพ์ ให้แสดงคำเตือนตามแนวนอนด้านบนสุดด้วยตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีดำเข้ม ขนาดไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของพื้นที่คำเตือน และมีพื้นที่คำเตือนไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ของพื้นที่โฆษณา
ส่วนฉบับที่ 4 เป็นร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย การกำหนดสถานที่หรือบริเวณห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ... เป็นการห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในรัศมี 500 เมตร จากสถานศึกษา และ 5. ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดสถานที่หรือบริเวณที่ห้ามบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ... เป็นการกำหนดห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในยานพาหนะทางบกทุกชนิด และห้ามดื่มในสถานที่ หรือหน่วยงานราชการ ยกเว้นบ้านพักส่วนตัว หรือสโมสร ซึ่งยังมีการถกเถียงกันในเรื่องสิทธิส่วนบุคคลเช่นกัน
นายมานิต กล่าวอีกว่า สำหรับการจัดโซนนิ่งจะใช้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นต้นแบบในการดำเนินการ และจะมีการประชุมในวันที่ 21 ธันวาคมนี้ โดยจะเชิญผู้ประกอบการ และผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเข้าร่วมประชุม เพื่อกำหนดแนวทางการจัดโซนนิ่งร่วมกัน ไม่ใช่เป็นการเหวี่ยงแหครอบคลุมเหมือนกันหมดทุกมหาวิทยาลัย และมีข้อยกเว้นสำหรับร้านที่ปฏิบัติตามกฎหมายไม่ทำผิดกติกาที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม การจัดโซนนิ่งเป็นเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนมาก จึงต้องทำอย่างรอบคอบ
“ขั้นตอนต่อจากนี้ หากคณะกรรมการนโยบายฯ เห็นชอบตามร่างประกาศทั้ง 4 ฉบับ จึงจะนำส่งให้นายกรัฐมนตรีลงนาม และมีผลบังคับใช้ ซึ่งแม้ว่าจะไม่ทันนำมาใช้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ แต่คาดหวังว่า มาตรการในการห้ามดื่มบนรถในสถานที่สาธารณะ จะนำมาใช้ทันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ในปีหน้า” นายมานิต กล่าว
นายมานิต กล่าวด้วยว่า ส่วนกรณีที่ผู้ประกอบการทำหนังสือร้องเรียนมายังกระทรวงสาธารณสุข ระบุ นพ.สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สธ.ว่ามีการกระทำที่เกินกว่าอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานหรือไม่นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือกับกลุ่มกฎหมายเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ที่ผู้ประกอบการร้องเรียนมา อย่างไรก็ตามต้องให้กำลังใจ นพ.สมาน ในการทำงานและสนับสนุนให้ทำตามหน้าที่ตามปกติต่อไป ซึ่งในหลักการไม่ผิด แต่เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายลูกในการควบคุมการโฆษณา ซึ่งมาตรา 32 ตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ครอบจักวาลเกินไป ซึ่งขณะนี้ร่างกฎกระทรวง ว่าด้วยการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ...ที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งนพ.สมานยืนยันว่า ทำหน้าที่ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมาย
“นพ.สมานตั้งใจทำงานมากแต่ก็ต้องทำงานที่มีแรงต้านมาก จึงให้ใช้ความยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้น อะไรที่ผ่อนผันได้ก็ให้ทำ โดยให้ร้านค้าต่างๆ มีเวลาปรับตัวบ้าง เพราะเป็นเรื่องที่มีผลกระทบกับหลายฝ่าย ขณะที่ผู้ประกอบการเองมียอดขายตกก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นมาตรการที่สธ.ก็ต้องงาน จะให้ทุกอย่างเป็นดังใจทุกคนไม่ได้” รมช.สธ. กล่าว