“วิทยา” ลงพื้นที่จริง “มาบตาพุด” เตรียมพร้อมพัฒนาโรงพยาบาล 4 แห่งในระยองเป็นโรงพยาบาลอาชีวเวชศาสตร์ ในเขตมาบตาพุด เริ่มออกตรวจคัดกรองสุขภาพประชาชนในพื้นที่เสี่ยง 15 ม.ค.นี้
นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมร่วมกับนายแพทย์สาธารณสุข จ.ระยอง ผอ.รพ.มาบตาพุด เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพการให้บริการของโรงพยาบาล ที่ให้บริการในเขตควบคุมมลพิษ และโครงการตรวจสุขภาพและเฝ้าระวังโรคของประชาชน ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง
นายวิทยากล่าวว่า การแก้ไขปัญหาผลกระทบสุขภาพประชาชนที่มาบตาพุดและเขตควบคุมมลพิษดังกล่าว สธ.ได้เสนอของบประมาณจากงบกลาง วงเงิน 294 ล้านบาทเศษเป็นงบผูกพัน 3 ปีระหว่าง พ.ศ.2553-2555 ใน 2 โครงการได้แก่โครงการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาล 4 แห่ง ที่อยู่ใกล้เคียงเขตควบคุมมลพิษ สามารถตรวจรักษาโรคจากการประกอบอาชีพ โรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อม โรคหรืออุบัติภัยเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายวงเงิน 235 ล้านบาท และโครงการตรวจสุขภาพเฝ้าระวังโรคประชาชนในเขตควบคุมมลพิษอีก 58 ล้านบาทเศษ โดยจะมีการคัดกรองประชาชนในปีแรกจำนวน 1 หมื่นราย ใน 31 ชุมชนที่อยู่รอบนิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้มีฐานข้อมูลทางสุขภาพของประชาชนเปรียบเทียบก่อนและหลังที่จะดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมนิคมอุตสาหกรรม โดยจะสามารถเริ่มการตรวจคัดกรองประชาชนได้ประมาณวันที่ 15 ม.ค.2553โดยมีแพทย์จากส่วนกลางหมุนเวียนมาร่วมคัดกรองด้วย
นายวิทยากล่าวว่า การคัดกรองสุขภาพในปีแรกจะใช้วงเงิน 24 ล้านบาท ปี 2554-2555 ปีละ 17 ล้านบาทเศษ โดยจะตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ดูการทำงานของตับไต ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด ประเมินความเสี่ยงการสัมผัสสารเคมี ทั้งโลหะหนัก และมลพิษอื่นๆ จากสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่อาศัยบริเวณรอบบ่อน้ำที่พบสารโลหะหนักได้แก่ ตะกั่ว สารหนู ปรอท ประมาณ 500 คน โดยจัดรถตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ 2 คัน นอกจากนี้ยังมีโครงการเตรียมความพร้อมสำหรับประชาชนเพื่อรองรับอุบัติภัยจากสารเคมีด้วย
นายวิทยากล่าวอีกว่า ตามโครงการนี้จะพัฒนาโรงพยาบาลระยอง ให้เป็นศูนย์กลางรักษาโรคด้านอาชีวเวชศาสตร์ ตรวจรักษาโรคจากการประกอบอาชีพและรักษาพิษสารเคมีประจำภาคตะวันออก และโรงพยาบาลชุมชนอีก 3 แห่งคือ รพ.บ้านฉาง รพ.พัฒนานิคมและรพ.มาบตาพุด ให้มีขีดความสามารถรักษาโรคจากการประกอบอาชีพ โดยขยาย รพ.มาบตาพุดจาก 30 เตียงเป็น 200 เตียง มีประชาชนในเขตมาบตาพุดและใกล้เคียงมาใช้บริการเฉลี่ยวันละ 300 คน ส่วนใหญ่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง โดยในปีงบประมาณ 2553 ได้รับการจัดสรรแล้ว 196 ล้านบาท และในปี 2554 -2555 จะจัดสรรอีก 97 ล้านบาท
นายวิทยากล่าวว่า ปัญหามลพิษในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดจังหวัดระยอง เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องและยาวนาน ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า 1,700 โรง มีประชาชนอาศัยประมาณ 1 ล้านคน ประกอบด้วยประชาชนนอกพื้นที่ที่อพยพเข้ามาใช้แรงงานหรือประกอบอาชีพประมาณ 3 แสนคน ที่เหลือเป็นประชาชนตามทะเบียนราษฎร์ กระทรวงสาธารณสุขต้องจัดบริการดูแลสุขภาพประชาชนแตกต่างจากพื้นที่ทั่วไป โดยนอกจากจะตรวจรักษาการเจ็บป่วยทั่วๆไปแล้ว ยังต้องพัฒนาบริการด้านอาชีวเวชศาสตร์ ตรวจรักษาโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพรวมทั้งโรคที่เกิดจากสารเคมี มลพิษที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในอนาคตอาจจะพัฒนายกระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไปรองรับประชากรมากขึ้น เจ้าหน้าที่ต้องรับภาระดูแลประชาชนมากเกินกำลัง โดยแพทย์ 1คนต้องดูแลประชาชนเฉลี่ย 8,085 คน สูงกว่ามาตรฐานกำหนดเกือบ 3 เท่า
นายวิทยากล่าวว่า ขณะนี้ทราบว่ารพ.มาบตาพุด มีความต้องการแพทย์เฉพาะทางเชี่ยวชาญใน 5 สาขา หากเป็นการจัดสรรในระบบปกติจะจัดสรรได้เพียงปีละ 1 คน จึงได้มอบหมายให้ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ. พิจารณาจัดสรรแพทย์เฉพาะทางให้เป็นกรณีพิเศษโดยพิจารณาตามความจำเป็นเร่งด่วน และให้เร่งรัดในการจัดสรรแพทย์ในรอบเดือน เม.ย.ปี พิจารณาตามความจำเป็นเร่งด่วน และให้เร่งรัดในการจัดสรรแพทย์ในรอบเดือน เม.ย.ปี 53
นพ.สุรทิน มาลีหวล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมาบตาพุด กล่าวว่า ปัจจุบันแพทย์มีภาระในการดูแลประชากร 1 ต่อ 100 ราย การขยายโรงพยาบาล 200 เตียง จำเป็นต้องเพิ่มบุคลากรแพทย์ ซึ่งต้องการแพทย์ด้านศัยกรรม อายุรกรรม สูตินรีเวช กุมารแพทย์ อาชีวเวชศาสตร์ สาขาละ 2 อัตรา ซึ่งจำเป็นต้องเร่งรัดการเพิ่มอัตราบุคลากรให้เร็วกว่าปกติด้วย
นายวิทยา แก้วภราดัย รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมร่วมกับนายแพทย์สาธารณสุข จ.ระยอง ผอ.รพ.มาบตาพุด เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพการให้บริการของโรงพยาบาล ที่ให้บริการในเขตควบคุมมลพิษ และโครงการตรวจสุขภาพและเฝ้าระวังโรคของประชาชน ในเขตควบคุมมลพิษ จังหวัดระยอง
นายวิทยากล่าวว่า การแก้ไขปัญหาผลกระทบสุขภาพประชาชนที่มาบตาพุดและเขตควบคุมมลพิษดังกล่าว สธ.ได้เสนอของบประมาณจากงบกลาง วงเงิน 294 ล้านบาทเศษเป็นงบผูกพัน 3 ปีระหว่าง พ.ศ.2553-2555 ใน 2 โครงการได้แก่โครงการพัฒนาศักยภาพโรงพยาบาล 4 แห่ง ที่อยู่ใกล้เคียงเขตควบคุมมลพิษ สามารถตรวจรักษาโรคจากการประกอบอาชีพ โรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อม โรคหรืออุบัติภัยเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายวงเงิน 235 ล้านบาท และโครงการตรวจสุขภาพเฝ้าระวังโรคประชาชนในเขตควบคุมมลพิษอีก 58 ล้านบาทเศษ โดยจะมีการคัดกรองประชาชนในปีแรกจำนวน 1 หมื่นราย ใน 31 ชุมชนที่อยู่รอบนิคมอุตสาหกรรม เพื่อให้มีฐานข้อมูลทางสุขภาพของประชาชนเปรียบเทียบก่อนและหลังที่จะดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมนิคมอุตสาหกรรม โดยจะสามารถเริ่มการตรวจคัดกรองประชาชนได้ประมาณวันที่ 15 ม.ค.2553โดยมีแพทย์จากส่วนกลางหมุนเวียนมาร่วมคัดกรองด้วย
นายวิทยากล่าวว่า การคัดกรองสุขภาพในปีแรกจะใช้วงเงิน 24 ล้านบาท ปี 2554-2555 ปีละ 17 ล้านบาทเศษ โดยจะตรวจร่างกาย ตรวจเลือด ดูการทำงานของตับไต ตรวจปัสสาวะ เอกซเรย์ปอด ประเมินความเสี่ยงการสัมผัสสารเคมี ทั้งโลหะหนัก และมลพิษอื่นๆ จากสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่อาศัยบริเวณรอบบ่อน้ำที่พบสารโลหะหนักได้แก่ ตะกั่ว สารหนู ปรอท ประมาณ 500 คน โดยจัดรถตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ 2 คัน นอกจากนี้ยังมีโครงการเตรียมความพร้อมสำหรับประชาชนเพื่อรองรับอุบัติภัยจากสารเคมีด้วย
นายวิทยากล่าวอีกว่า ตามโครงการนี้จะพัฒนาโรงพยาบาลระยอง ให้เป็นศูนย์กลางรักษาโรคด้านอาชีวเวชศาสตร์ ตรวจรักษาโรคจากการประกอบอาชีพและรักษาพิษสารเคมีประจำภาคตะวันออก และโรงพยาบาลชุมชนอีก 3 แห่งคือ รพ.บ้านฉาง รพ.พัฒนานิคมและรพ.มาบตาพุด ให้มีขีดความสามารถรักษาโรคจากการประกอบอาชีพ โดยขยาย รพ.มาบตาพุดจาก 30 เตียงเป็น 200 เตียง มีประชาชนในเขตมาบตาพุดและใกล้เคียงมาใช้บริการเฉลี่ยวันละ 300 คน ส่วนใหญ่เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ผิวหนัง โดยในปีงบประมาณ 2553 ได้รับการจัดสรรแล้ว 196 ล้านบาท และในปี 2554 -2555 จะจัดสรรอีก 97 ล้านบาท
นายวิทยากล่าวว่า ปัญหามลพิษในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดจังหวัดระยอง เป็นปัญหาที่ต่อเนื่องและยาวนาน ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมมากกว่า 1,700 โรง มีประชาชนอาศัยประมาณ 1 ล้านคน ประกอบด้วยประชาชนนอกพื้นที่ที่อพยพเข้ามาใช้แรงงานหรือประกอบอาชีพประมาณ 3 แสนคน ที่เหลือเป็นประชาชนตามทะเบียนราษฎร์ กระทรวงสาธารณสุขต้องจัดบริการดูแลสุขภาพประชาชนแตกต่างจากพื้นที่ทั่วไป โดยนอกจากจะตรวจรักษาการเจ็บป่วยทั่วๆไปแล้ว ยังต้องพัฒนาบริการด้านอาชีวเวชศาสตร์ ตรวจรักษาโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพรวมทั้งโรคที่เกิดจากสารเคมี มลพิษที่เกิดจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งในอนาคตอาจจะพัฒนายกระดับเป็นโรงพยาบาลทั่วไปรองรับประชากรมากขึ้น เจ้าหน้าที่ต้องรับภาระดูแลประชาชนมากเกินกำลัง โดยแพทย์ 1คนต้องดูแลประชาชนเฉลี่ย 8,085 คน สูงกว่ามาตรฐานกำหนดเกือบ 3 เท่า
นายวิทยากล่าวว่า ขณะนี้ทราบว่ารพ.มาบตาพุด มีความต้องการแพทย์เฉพาะทางเชี่ยวชาญใน 5 สาขา หากเป็นการจัดสรรในระบบปกติจะจัดสรรได้เพียงปีละ 1 คน จึงได้มอบหมายให้ นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ. พิจารณาจัดสรรแพทย์เฉพาะทางให้เป็นกรณีพิเศษโดยพิจารณาตามความจำเป็นเร่งด่วน และให้เร่งรัดในการจัดสรรแพทย์ในรอบเดือน เม.ย.ปี พิจารณาตามความจำเป็นเร่งด่วน และให้เร่งรัดในการจัดสรรแพทย์ในรอบเดือน เม.ย.ปี 53
นพ.สุรทิน มาลีหวล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมาบตาพุด กล่าวว่า ปัจจุบันแพทย์มีภาระในการดูแลประชากร 1 ต่อ 100 ราย การขยายโรงพยาบาล 200 เตียง จำเป็นต้องเพิ่มบุคลากรแพทย์ ซึ่งต้องการแพทย์ด้านศัยกรรม อายุรกรรม สูตินรีเวช กุมารแพทย์ อาชีวเวชศาสตร์ สาขาละ 2 อัตรา ซึ่งจำเป็นต้องเร่งรัดการเพิ่มอัตราบุคลากรให้เร็วกว่าปกติด้วย