รายงานพิเศษโดย คีตฌาณ์ ลอยเลิศ
การสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในภูมิภาค เครื่องมือสำคัญประการหนึ่ง คือ “การศึกษา” เนื่องจากการศึกษาถือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ได้เดินทางไปเยือนประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ในฐานะประธานสภารัฐมนตรีแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การสร้างความร่วมมือทางการศึกษาร่วมกัน
การเยือนประเทศบรูไนครั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการของไทย ได้ลงนามความร่วมมือทางการศึกษาร่วมกับ นายเปฮิน อับดุล ราห์มาน ทาอิบ รมว.ศึกษาธิการของประเทศบรูไน โดยกรอบความร่วมมือของทั้ง 2 ประเทศ จะเกี่ยวเนื่องกับเรื่องหลักสูตร การอบรม การวิจัย การพัฒนาครู ตลอดจนการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่าง 2 ประเทศ
หลังการลงนามความร่วมมือแล้ว ได้จะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อดำเนินการตามบันทึกความร่วมมือดังกล่าว โดยในการประชุมครั้งแรกที่จะเกิดขึ้นภายใน เดือน 2 เดือนนี้ ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งแรก
“ประเทศบรูไน อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับประเทศไทยของเราที่กำลังเข้าสู่ช่วงปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2 ด้วยเช่นกัน อีกทั้งลักษณะปัญหาของเขากับของเราก็คล้ายคลึงกัน เช่น ปัญหาการขาดแคลนครู หรือ ครูไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะว่าไปแล้วถือเป็นปัญหาที่หลายๆ ประเทศกำลังประสบอยู่ ก็จะเป็นโอกาสที่เราจะได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน” นายจุรินทร์ กล่าว
สำหรับระบบการศึกษาของประเทศบรูไน แบ่งออกเป็นระดับก่อนประถมศึกษา 1 ปี ระดับประถมศึกษา 6 ปี ระดับมัธยมศึกษา 7 ปี โดยจะแบ่งเป็นระดับมัธยมศึกษา 1-5 ปี และระดับเตรียมอุดมศึกษา 2 ปี ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากระบบการศึกษาของไทย หลังจากนั้นจะเข้าสู่ระดับปริญญาตรี 3-4 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละสาขา
ส่วนภาษาที่ใช้ ระบบการศึกษาของบรูไนกำหนดให้ใช้ภาษาอังกฤษและภาษามาเลย์(มลายู)ในการสอน โดยตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นไป โรงเรียนจะใช้ทั้งภาษาอังกฤษสอนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ส่วนภาษามาเลย์จะใช้สอนวิชาที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม หน้าที่พลเมือง เป็นต้น ทำให้นักเรียนของบรูไนสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ค่อนข้างดี
“ตอนนี้ประเทศบรูไนมีปัญหาว่า เด็กของเขานิยมเรียนต่อแค่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่ไม่เข้าสู่ระดับปริญญาตรี เนื่องจากวุฒิการศึกษา ม.ปลาย เขาก็สามารถหางานทำได้แล้ว ดังนั้น บรูไนจึงตั้งเป้าว่า ภายในระยะเวลา 5 ปี นักเรียนของเขาจะต้องเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 30% จาก 13% ในปัจจุบัน ซึ่งเขาก็ได้หารือกับเราว่า นักเรียนของเขาที่เรียนระดับเตรียมอุดมศึกษา จะสามารถมาเทียบโอนเพื่อเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีของเราได้หรือไม่ ซึ่งก็ต้องพูดคุยถึงรายละเอียดกันต่อไป”
นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า สำหรับสิ่งที่ประเทศไทยให้ความสนใจ คือ การจัดอิสลามศึกษาของบรูไน เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของบรูไน นับถือศาสนาอิสลาม และพูดภาษามลายูซึ่งเป็นภาษาเดียวกับที่ชาวไทยมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ใช้ ซึ่งในอนาคตเราอาจส่งนักเรียน นักศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศบรูไน ซึ่งอาจจะช่วยแก้ปัญหาความไม่สงบได้ทางหนึ่ง
ตบท้าย รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า ที่ประเทศบรูไน มีนโยบายเรียนฟรีเช่นเดียวกับประเทศไทย โดยให้การอุดหนุนในระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา จัดอุปกรณ์การเรียนการสอนให้ฟรี ค่าใช้จ้ายในส่วนของกิจกรรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีการเรียกเก็บในบางกิจกรรมคล้ายๆ กัน แต่ที่แตกต่างคือ ของไทยเราจัดชุดนักเรียนให้ฟรี 2 ชุดต่อคนต่อปี ขณะที่บรูไนจะจำหน่ายผ้าให้นักเรียนนำไปตัดเย็บเป็นชุดนักเรียนเอง
“ประเทศไทยถือว่าดำเนินนโยบายเรียนฟรีได้ดีและให้การอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่อนข้างครอบคลุม ซึ่งยูเนสโกก็ให้การยกย่องว่านโยบายเรียนฟรีของไทย ถือเป็นต้นแบบในการจัดการศึกษาสำหรับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน”
การสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในภูมิภาค เครื่องมือสำคัญประการหนึ่ง คือ “การศึกษา” เนื่องจากการศึกษาถือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) ได้เดินทางไปเยือนประเทศบรูไน ดารุสซาลาม ในฐานะประธานสภารัฐมนตรีแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การสร้างความร่วมมือทางการศึกษาร่วมกัน
การเยือนประเทศบรูไนครั้งนี้ รมว.ศึกษาธิการของไทย ได้ลงนามความร่วมมือทางการศึกษาร่วมกับ นายเปฮิน อับดุล ราห์มาน ทาอิบ รมว.ศึกษาธิการของประเทศบรูไน โดยกรอบความร่วมมือของทั้ง 2 ประเทศ จะเกี่ยวเนื่องกับเรื่องหลักสูตร การอบรม การวิจัย การพัฒนาครู ตลอดจนการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่าง 2 ประเทศ
หลังการลงนามความร่วมมือแล้ว ได้จะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อดำเนินการตามบันทึกความร่วมมือดังกล่าว โดยในการประชุมครั้งแรกที่จะเกิดขึ้นภายใน เดือน 2 เดือนนี้ ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมครั้งแรก
“ประเทศบรูไน อยู่ระหว่างการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาของตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับประเทศไทยของเราที่กำลังเข้าสู่ช่วงปฏิรูปการศึกษาทศวรรษที่ 2 ด้วยเช่นกัน อีกทั้งลักษณะปัญหาของเขากับของเราก็คล้ายคลึงกัน เช่น ปัญหาการขาดแคลนครู หรือ ครูไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะว่าไปแล้วถือเป็นปัญหาที่หลายๆ ประเทศกำลังประสบอยู่ ก็จะเป็นโอกาสที่เราจะได้หาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน” นายจุรินทร์ กล่าว
สำหรับระบบการศึกษาของประเทศบรูไน แบ่งออกเป็นระดับก่อนประถมศึกษา 1 ปี ระดับประถมศึกษา 6 ปี ระดับมัธยมศึกษา 7 ปี โดยจะแบ่งเป็นระดับมัธยมศึกษา 1-5 ปี และระดับเตรียมอุดมศึกษา 2 ปี ซึ่งเป็นข้อแตกต่างจากระบบการศึกษาของไทย หลังจากนั้นจะเข้าสู่ระดับปริญญาตรี 3-4 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละสาขา
ส่วนภาษาที่ใช้ ระบบการศึกษาของบรูไนกำหนดให้ใช้ภาษาอังกฤษและภาษามาเลย์(มลายู)ในการสอน โดยตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ขึ้นไป โรงเรียนจะใช้ทั้งภาษาอังกฤษสอนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ส่วนภาษามาเลย์จะใช้สอนวิชาที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลาม หน้าที่พลเมือง เป็นต้น ทำให้นักเรียนของบรูไนสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ค่อนข้างดี
“ตอนนี้ประเทศบรูไนมีปัญหาว่า เด็กของเขานิยมเรียนต่อแค่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แต่ไม่เข้าสู่ระดับปริญญาตรี เนื่องจากวุฒิการศึกษา ม.ปลาย เขาก็สามารถหางานทำได้แล้ว ดังนั้น บรูไนจึงตั้งเป้าว่า ภายในระยะเวลา 5 ปี นักเรียนของเขาจะต้องเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 30% จาก 13% ในปัจจุบัน ซึ่งเขาก็ได้หารือกับเราว่า นักเรียนของเขาที่เรียนระดับเตรียมอุดมศึกษา จะสามารถมาเทียบโอนเพื่อเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีของเราได้หรือไม่ ซึ่งก็ต้องพูดคุยถึงรายละเอียดกันต่อไป”
นายจุรินทร์ กล่าวอีกว่า สำหรับสิ่งที่ประเทศไทยให้ความสนใจ คือ การจัดอิสลามศึกษาของบรูไน เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ของบรูไน นับถือศาสนาอิสลาม และพูดภาษามลายูซึ่งเป็นภาษาเดียวกับที่ชาวไทยมุสลิมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ใช้ ซึ่งในอนาคตเราอาจส่งนักเรียน นักศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ได้ไปศึกษาต่อที่ประเทศบรูไน ซึ่งอาจจะช่วยแก้ปัญหาความไม่สงบได้ทางหนึ่ง
ตบท้าย รมว.ศึกษาธิการ กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า ที่ประเทศบรูไน มีนโยบายเรียนฟรีเช่นเดียวกับประเทศไทย โดยให้การอุดหนุนในระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษา จัดอุปกรณ์การเรียนการสอนให้ฟรี ค่าใช้จ้ายในส่วนของกิจกรรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนที่มีการเรียกเก็บในบางกิจกรรมคล้ายๆ กัน แต่ที่แตกต่างคือ ของไทยเราจัดชุดนักเรียนให้ฟรี 2 ชุดต่อคนต่อปี ขณะที่บรูไนจะจำหน่ายผ้าให้นักเรียนนำไปตัดเย็บเป็นชุดนักเรียนเอง
“ประเทศไทยถือว่าดำเนินนโยบายเรียนฟรีได้ดีและให้การอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่างๆ ค่อนข้างครอบคลุม ซึ่งยูเนสโกก็ให้การยกย่องว่านโยบายเรียนฟรีของไทย ถือเป็นต้นแบบในการจัดการศึกษาสำหรับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน”