ปัตตานี – ครูจ้างเขต 2 ที่มาแทนครูที่ย้ายออกในพื้นที่เสี่ยง ทั้งปัตตานี กับนราธิวาส รวมตัวที่ปัตตานีเดินทางเข้ากรุงเทพฯ หลังจากที่เลิกจ้างทั้งๆ ที่ครูขาดแคลน ขณะที่เขตอื่นกลับยังมีการจ้างต่อ ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรม
วันนี้ (29 ต.ค.) ครูจ้างรายเดือน (ครูโมบาย) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 จำนวน 24 คนมาจากหลายอำเภอในจังหวัดปัตตานี ได้รวมตัวเก็บเงินเหมารถตู้เพื่อเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องความช่วยเหลือให้กับครูจ้างรายเดือนที่ถูกเลิกจ้าง โดยไม่เป็นธรรม ที่กระทรวงศึกษาธืการ
ทั้งนี้ เนื่องจากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดสรรงบประมาณปี 2550-2552 เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้จัดสรรค่าตอบแทนครูจ้างรายเดือนปฏิบัติหน้าที่ทำการสอนในสถานศึกษาที่ขาดแคลนครูและบุคลากรทางการศึกษาจากเหตุการณ์ความไม่สงบ
ต่อมามีการเลิกจ้างครูอัตราจ้างรายเดือน (ครูโมบาย) ในปี 2553 อย่างกระทันหัน ทำให้เกิดผลกระทบต่อครูอัตราจ้างรายเดือนที่ต้องขาดรายได้ในการเลี้ยงดูครอบครัว และเสียขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำงานอย่างเต็มที่และแต่ละพื้นที่ล้วนเป็นพื้นที่สีแดง นอกจากนั้น เงินเดือนสามารถเบิกได้ 3 เดือน/ครั้ง แต่ครูก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่นี่เป็นการเลิกจ้างทั้งๆ ที่ครูตามโรงเรียนก็ไม่เพียงพอ เมื่อเลิกจ้าง ครูก็ขาดแคลนอีก
ทั้งๆ ที่มีหนังสือของกระทรวงว่า ปี 2553 ไม่มีงบประมาณจ้างต่อ แต่ให้ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในพื้นที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูรายเดือน (โมบาย) ที่มีอยู่สามารถปรับเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆ เนื่องจากครูเหล่านี้มีความสำคัญ เพราะเป็นคนพื้นที่และมีความกล้าเพราะโรงเรียนที่ครูโมบายสังกัด ล้วนแล้วเป็นพื้นที่สีแดง มีความเสี่ยง เนื่องจากขณะนี้พื้นที่ขังหวัดชายแดนใต้ยังอยู่ในสถานการณ์ความไม่สงบ มีข้าราชการครูถูกทำร้ายบาดเจ็บและบางรายถึงแก่ชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้ข้าราชการครูขาดขัวญกำลังใจและได้ขอย้ายออก ทำให้สถานศึกษาบางแห่งขาดครูทำการสอน
ในขณะเดียวกัน ครูโมบายในเขตพื้นที่ 1 กับเขต 3 ในจังหวัดปัตตานีไม่ถูกเลิกจ้าง แต่เลิกจ้างเฉพาะเขต 2 เท่านั้นรวมทั้งจังหวัดนราธิวาสบางส่วน ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมกัน ทางครูโมบายที่เดือดร้อน จึงขอเรียกร้องให้มีการต่อสัญญาต่อไป และปรับเปลี่ยนสถานะเป็นพนักงานราชการ การสอบคัดเลือกให้เข้ารับราชการเหมือนกับอัตรจ้างหรือพนักงานราชการและพิจารณาค่าตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงชายแดนใต้ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ยังมีครูอีก 50 คนในพื้นที่นราธิวาสที่มีปัญหาเช่นเดียวกันจะร่วมเดินทางไปสมทบเพื่อร้องเรียนต่อกระทรวงเช่นกัน
วันนี้ (29 ต.ค.) ครูจ้างรายเดือน (ครูโมบาย) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปัตตานี เขต 2 จำนวน 24 คนมาจากหลายอำเภอในจังหวัดปัตตานี ได้รวมตัวเก็บเงินเหมารถตู้เพื่อเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อยื่นหนังสือเรียกร้องความช่วยเหลือให้กับครูจ้างรายเดือนที่ถูกเลิกจ้าง โดยไม่เป็นธรรม ที่กระทรวงศึกษาธืการ
ทั้งนี้ เนื่องจากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดสรรงบประมาณปี 2550-2552 เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้จัดสรรค่าตอบแทนครูจ้างรายเดือนปฏิบัติหน้าที่ทำการสอนในสถานศึกษาที่ขาดแคลนครูและบุคลากรทางการศึกษาจากเหตุการณ์ความไม่สงบ
ต่อมามีการเลิกจ้างครูอัตราจ้างรายเดือน (ครูโมบาย) ในปี 2553 อย่างกระทันหัน ทำให้เกิดผลกระทบต่อครูอัตราจ้างรายเดือนที่ต้องขาดรายได้ในการเลี้ยงดูครอบครัว และเสียขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำงานอย่างเต็มที่และแต่ละพื้นที่ล้วนเป็นพื้นที่สีแดง นอกจากนั้น เงินเดือนสามารถเบิกได้ 3 เดือน/ครั้ง แต่ครูก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่นี่เป็นการเลิกจ้างทั้งๆ ที่ครูตามโรงเรียนก็ไม่เพียงพอ เมื่อเลิกจ้าง ครูก็ขาดแคลนอีก
ทั้งๆ ที่มีหนังสือของกระทรวงว่า ปี 2553 ไม่มีงบประมาณจ้างต่อ แต่ให้ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในพื้นที่ส่งเสริมสนับสนุนให้ครูรายเดือน (โมบาย) ที่มีอยู่สามารถปรับเข้าสู่ตำแหน่งต่างๆ เนื่องจากครูเหล่านี้มีความสำคัญ เพราะเป็นคนพื้นที่และมีความกล้าเพราะโรงเรียนที่ครูโมบายสังกัด ล้วนแล้วเป็นพื้นที่สีแดง มีความเสี่ยง เนื่องจากขณะนี้พื้นที่ขังหวัดชายแดนใต้ยังอยู่ในสถานการณ์ความไม่สงบ มีข้าราชการครูถูกทำร้ายบาดเจ็บและบางรายถึงแก่ชีวิตเป็นจำนวนมาก ทำให้ข้าราชการครูขาดขัวญกำลังใจและได้ขอย้ายออก ทำให้สถานศึกษาบางแห่งขาดครูทำการสอน
ในขณะเดียวกัน ครูโมบายในเขตพื้นที่ 1 กับเขต 3 ในจังหวัดปัตตานีไม่ถูกเลิกจ้าง แต่เลิกจ้างเฉพาะเขต 2 เท่านั้นรวมทั้งจังหวัดนราธิวาสบางส่วน ทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมกัน ทางครูโมบายที่เดือดร้อน จึงขอเรียกร้องให้มีการต่อสัญญาต่อไป และปรับเปลี่ยนสถานะเป็นพนักงานราชการ การสอบคัดเลือกให้เข้ารับราชการเหมือนกับอัตรจ้างหรือพนักงานราชการและพิจารณาค่าตอบแทนในการปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยงชายแดนใต้ด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ยังมีครูอีก 50 คนในพื้นที่นราธิวาสที่มีปัญหาเช่นเดียวกันจะร่วมเดินทางไปสมทบเพื่อร้องเรียนต่อกระทรวงเช่นกัน