โพลหนุนคนดูค้านแนวทาง สคบ.อุ้มโฆษณาแฝงให้ถูกกฎหมาย นับเวลาจริงเกิน 12.30 นาที แถมเห็นโฆษณาแฝงละเมิดสิทธิ เอ็นจีโอแฉ สคบ.ใช้นิยามการปรากฏของสินค้าไม่นับรวมโฆษณาแฝงทำได้เต็มที่ หวั่นถูกใช้เป็นบรรทัดฐานออกกฎหมายในอนาคต เตรียมยื่นฟ้องหากโฆษณาเกินเวลาที่กฎหมายเดิมคุม
นางอัญญาอร พานิชพึ่งรัถ ประธานเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า จากแบบสำรวจความคิดเห็น “ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อโฆษณาแฝง” กับกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 12-70 ปีระหว่างวันที่ 13-14 พ.ย. จำนวน 232 คน พบว่า ส่วนใหญ่กว่า 72% ไม่เห็นด้วยกับร่างแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กำลังพิจารณาที่มีเนื้อหาระบุให้การปรากฎเห็นสินค้าในรายการโทรทัศน์ไม่ถือว่าเป็นการโฆษณาแฝง ทำให้มีโฆษณาแฝงเกิน 12.30 นาทีต่อชั่วโมงตามที่กฎหมายระบุไว้ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเพียง 37.1% เท่านั้นที่ทราบว่ามีกฎหมายคุมปริมาณโฆษณาแฝงดังกล่าว
“กลุ่มตัวอย่าง 72.8% เคยเห็นโฆษณาแฝงในละคร, 72.4% เคยเห็นโฆษณาแฝงในซิตคอม, 69.4% เคยเห็นโฆษณาแฝงในเกมโชว์, 53.9% เคยเห็นโฆษณาแฝงในข่าว, 23.3% เคยเห็นโฆษณาแฝงในสารคดี, 35.8 % เคยเห็นโฆษณาแฝงในรายการเด็ก และ 3.0% เคยเห็นโฆษณาแฝงในรายการอื่นๆ” นางอัญญาอร กล่าว
นางอัญญาอรกล่าวว่า ทั้งนี้เกือบ 2 ใน 3 หรือ 65.1% คิดว่าโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์ต่างรุกล้ำสิทธิของผู้บริโภค เหตุผลเพราะ 97.0% คิดว่าโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการโทรทัศน์ หวังผลประโยชน์ทางธุรกิจ และ 86.2% ยอมรับว่าโฆษณาแฝงเป็นปัญหาและคิดว่าควรเปิดเผยข้อมูลรายได้จากโฆษณาแฝง และการตรวจสอบทางการเงิน ตลอดจนระบบการเสียภาษีให้หน่วยงานรัฐ
“มองเห็นความพยายามและตั้งใจดีของนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ที่กล้าเข้ามาดูแลปัญหาเรื่องนี้ แต่เมื่อเห็นร่างแนวทางการปรากฏของสินค้าในรายการโทรทัศน์ที่ออกมาโดย สคบ. คิดว่าไม่ได้สอดคล้องกับความพยายามแก้ไขปัญหาเลย ในทางกลับกันจะยิ่งทำให้โฆษณาแฝงนี้มีความถูกต้อง ชอบธรรมตามกฏหมาย และยังจะทำให้มีโฆษณาแฝงมากขึ้นกว่าที่เคยมี” นางอัญญาอร กล่าว
น.ส.ทัศนีย์ แน่นอุดร หัวหน้าฝ่ายเผยแพร่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตัวแทนฝ่ายภาคประชาชนในคณะอนุกรรมการพิจารณาร่างแนวทางฯ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับร่างแนวทางดังกล่าว เพราะเป็นการทำให้สิ่งที่ผิดกฎหมายอย่างการโฆษณาแฝงเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย จากการที่ร่างแนวทางระบุให้การปรากฏของสินค้าในรายการโทรทัศน์ อาทิ การที่ตัวแสดงใส่เสื้อโลโก้สินค้า การหยิบจับสินค้า ฯลฯ ไม่ถือว่าเป็นการโฆษณาแฝง แต่ต้องดำเนินการตามที่กำหนด อย่างเทปบันทึกภาพโฆษณาสินค้าที่ปรากฏสามารถแพร่ภาพได้ โดยไม่ถือว่าเป็นโฆษณาแฝง แต่ต้องแพร่ภาพ 1 ชั่วโมงไม่เกิน 1 นาที และแต่ครั้งละ ไม่เกิน 5 วินาที
“นอกจากนี้ สคบ.พยายามทำสิ่งผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมายแล้ว ยังถือว่าไม่ได้เป็นการบรรเทาปัญหาในเรื่องการโฆษณาแฝงที่มี ปัจจุบันนี้ ในไทยมี 12.30 นาที ถือว่ามากเกินไปแล้ว ซึ่งไม่มีที่ใดในโลกทำ แนวทางดังกล่าวแม้จะไม่ใช่กฎหมายแต่อาจถูกนำไปใช้เป็นบรรทัดฐานในการออกกฎหมายในอนาคตได้ ซึ่งความจริงแล้วควรจะจำกัดให้ทั้งโฆษณาปกติและโฆษณาแฝงรวมเวลาอยู่ในระยะเวลานี้” น.ส.ทัศนีย์ กล่าว
น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ในการประชุมครั้งล่าสุดตนเองได้เสนอให้แนบท้ายข้อความในร่างแนวทางฯที่จะต้องเสนอให้นายสาทิตย์ลงนามว่า ร่างแนวทางฯจะต้องไม่มีผลผูกพันกับกฎหมายใดๆ ในอนาคตทั้งสิ้น เพราะเกรงว่าจะถูกใช้เป็นบรรทัดฐานในการออกกฎหมายควบคุมโฆษณาแฝงในอนาคต ซึ่งเท่ากับว่าโฆษณาแฝงจะใช้เวลามากกว่า 12.30 นาที
“นอกจากนี้ยังให้ระบุว่า ผู้บริโภคสามารถฟ้องร้องได้ หากมีการโฆษณาแฝงเกินกว่าเวลาที่กฎหมายระบุ ซึ่งขณะนี้ทางภาคประชาชนกำลังหารือทางประเด็นกฎหมายเพื่อดำเนินการฟ้องร้องต่อไป เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องผิดกฎหมายชัดเจน แต่ สคบ.พยายามทำให้เป็นเรื่องถูกกฎหมาย” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว
นางอัญญาอร พานิชพึ่งรัถ ประธานเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า จากแบบสำรวจความคิดเห็น “ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อโฆษณาแฝง” กับกลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 12-70 ปีระหว่างวันที่ 13-14 พ.ย. จำนวน 232 คน พบว่า ส่วนใหญ่กว่า 72% ไม่เห็นด้วยกับร่างแนวทางที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กำลังพิจารณาที่มีเนื้อหาระบุให้การปรากฎเห็นสินค้าในรายการโทรทัศน์ไม่ถือว่าเป็นการโฆษณาแฝง ทำให้มีโฆษณาแฝงเกิน 12.30 นาทีต่อชั่วโมงตามที่กฎหมายระบุไว้ ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเพียง 37.1% เท่านั้นที่ทราบว่ามีกฎหมายคุมปริมาณโฆษณาแฝงดังกล่าว
“กลุ่มตัวอย่าง 72.8% เคยเห็นโฆษณาแฝงในละคร, 72.4% เคยเห็นโฆษณาแฝงในซิตคอม, 69.4% เคยเห็นโฆษณาแฝงในเกมโชว์, 53.9% เคยเห็นโฆษณาแฝงในข่าว, 23.3% เคยเห็นโฆษณาแฝงในสารคดี, 35.8 % เคยเห็นโฆษณาแฝงในรายการเด็ก และ 3.0% เคยเห็นโฆษณาแฝงในรายการอื่นๆ” นางอัญญาอร กล่าว
นางอัญญาอรกล่าวว่า ทั้งนี้เกือบ 2 ใน 3 หรือ 65.1% คิดว่าโฆษณาแฝงในรายการโทรทัศน์ต่างรุกล้ำสิทธิของผู้บริโภค เหตุผลเพราะ 97.0% คิดว่าโฆษณาแฝงในเนื้อหารายการโทรทัศน์ หวังผลประโยชน์ทางธุรกิจ และ 86.2% ยอมรับว่าโฆษณาแฝงเป็นปัญหาและคิดว่าควรเปิดเผยข้อมูลรายได้จากโฆษณาแฝง และการตรวจสอบทางการเงิน ตลอดจนระบบการเสียภาษีให้หน่วยงานรัฐ
“มองเห็นความพยายามและตั้งใจดีของนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ที่กล้าเข้ามาดูแลปัญหาเรื่องนี้ แต่เมื่อเห็นร่างแนวทางการปรากฏของสินค้าในรายการโทรทัศน์ที่ออกมาโดย สคบ. คิดว่าไม่ได้สอดคล้องกับความพยายามแก้ไขปัญหาเลย ในทางกลับกันจะยิ่งทำให้โฆษณาแฝงนี้มีความถูกต้อง ชอบธรรมตามกฏหมาย และยังจะทำให้มีโฆษณาแฝงมากขึ้นกว่าที่เคยมี” นางอัญญาอร กล่าว
น.ส.ทัศนีย์ แน่นอุดร หัวหน้าฝ่ายเผยแพร่ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ตัวแทนฝ่ายภาคประชาชนในคณะอนุกรรมการพิจารณาร่างแนวทางฯ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับร่างแนวทางดังกล่าว เพราะเป็นการทำให้สิ่งที่ผิดกฎหมายอย่างการโฆษณาแฝงเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย จากการที่ร่างแนวทางระบุให้การปรากฏของสินค้าในรายการโทรทัศน์ อาทิ การที่ตัวแสดงใส่เสื้อโลโก้สินค้า การหยิบจับสินค้า ฯลฯ ไม่ถือว่าเป็นการโฆษณาแฝง แต่ต้องดำเนินการตามที่กำหนด อย่างเทปบันทึกภาพโฆษณาสินค้าที่ปรากฏสามารถแพร่ภาพได้ โดยไม่ถือว่าเป็นโฆษณาแฝง แต่ต้องแพร่ภาพ 1 ชั่วโมงไม่เกิน 1 นาที และแต่ครั้งละ ไม่เกิน 5 วินาที
“นอกจากนี้ สคบ.พยายามทำสิ่งผิดกฎหมายให้ถูกกฎหมายแล้ว ยังถือว่าไม่ได้เป็นการบรรเทาปัญหาในเรื่องการโฆษณาแฝงที่มี ปัจจุบันนี้ ในไทยมี 12.30 นาที ถือว่ามากเกินไปแล้ว ซึ่งไม่มีที่ใดในโลกทำ แนวทางดังกล่าวแม้จะไม่ใช่กฎหมายแต่อาจถูกนำไปใช้เป็นบรรทัดฐานในการออกกฎหมายในอนาคตได้ ซึ่งความจริงแล้วควรจะจำกัดให้ทั้งโฆษณาปกติและโฆษณาแฝงรวมเวลาอยู่ในระยะเวลานี้” น.ส.ทัศนีย์ กล่าว
น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ในการประชุมครั้งล่าสุดตนเองได้เสนอให้แนบท้ายข้อความในร่างแนวทางฯที่จะต้องเสนอให้นายสาทิตย์ลงนามว่า ร่างแนวทางฯจะต้องไม่มีผลผูกพันกับกฎหมายใดๆ ในอนาคตทั้งสิ้น เพราะเกรงว่าจะถูกใช้เป็นบรรทัดฐานในการออกกฎหมายควบคุมโฆษณาแฝงในอนาคต ซึ่งเท่ากับว่าโฆษณาแฝงจะใช้เวลามากกว่า 12.30 นาที
“นอกจากนี้ยังให้ระบุว่า ผู้บริโภคสามารถฟ้องร้องได้ หากมีการโฆษณาแฝงเกินกว่าเวลาที่กฎหมายระบุ ซึ่งขณะนี้ทางภาคประชาชนกำลังหารือทางประเด็นกฎหมายเพื่อดำเนินการฟ้องร้องต่อไป เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องผิดกฎหมายชัดเจน แต่ สคบ.พยายามทำให้เป็นเรื่องถูกกฎหมาย” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว