รับสร้างบ้านหนุ่น สคบ.ออกสัญญามาตรฐาน แต่ต้องกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่า คุ้มครองใคร! เหตุสคบ.ไร้อำนาจชี้ขาด มีกฎหมายในมือแต่ไม่มีอำนาจ
นายสิทธิพร สุวรรณสุต ประธานกรรมการ บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด (พีดี เฮ้าส์) กล่าวว่ากรณีการจัดทำวิจัยจัดเก็บข้อมูล เพื่อจัดทำสัญญามาตรฐานใช้ควบคุมด้านสัญญาการก่อสร้างบ้านาของกลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้านว่า เห็นด้วยกับการจัดทำสัญญามาตรฐาน เพื่อยกระดับมาตรฐานธุรกิจรับสร้างบ้าน
อย่างไรก็ตาม ในการร่างสัญญานั้น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ควรมีการเขียนรายละเอียดที่ชัดเจน เช่น วงเงินที่ต้องจ่ายคืนในกรณีการทำผิดสัญญา หรือกรณีที่มีการก่อสร้างผิดแบบแปลนที่ขออนุญาตก่อสร้าง ควรมีการระบุที่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง เพื่อป้องกันกรณีที่มีการดำเนินคดีการก่อสร้างผิดแบบ ซึ่งบางครั้งเกิดจากการสมยอมของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง
ทั้งนี้ ในการจัดทำสัญญามาตรฐานนั้น สคบ.ต้องนำกรณีตัวอย่างเข้ามาร่วมในการพิจารณาจัดทำตัวสัญญา เพื่อสะท้อนความชัดเจนของเจตนาในการจัดทำสัญญาว่า ต้องการควบคุมผู้ประกอบการกลุ่มใด เนื่องจาก สคบ. เองไม่มีอำนาจในการตัดสินความผิดกับผู้ที่กระทำความผิดที่ถูกร้องเรียนเข้ามา โดยเฉพาะการเอาผิดกับบริษัทที่ตั้งใจเข้ามาทุจริต ซึ่งสัญญามาตรฐานไม่สามารถบังคับหรือเอาผิดกับบริษัทเหล่านั้นได้ เนื่องจากเป็นการตั้งใจเข้ามาทุจริตเมื่อมีปัญหาก็ปิดบริษัทหนี้ไปทำให้ สคบ.ไม่สามารถยื่นฟ้องได้เพราะหาผู้รับผิดชอบไม่ได้
เช่นกรณีของกลุ่มบริษัทภูธนแสงทองที่มีการทำผิดสัญญา ทิ้งงานไม่ก่อสร้างบ้านให้ลูกค้าให้แล้วเสร็จ ซึ่งเมื่อ สบค.ส่งหนังสือเรียกให้มาชีแจงแล้วแต่กลุ่มบริษัทดังกล่าวไม่ได้เข้ามาชี้แจง สคบ. ก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆได้ แต่กลับแนะนำให้ผู้บริโภคเข้าแจ้งความต่อเจ้าพนักงานแทน ในขณะที่สัญญาที่ออกมาจะใช้ได้ผลกับผู้ประกอบการที่ตั้งใจประกอบธุรกิจ ซึ่ง สคบ. สามารถบีบให้ผู้ประกอบการที่ตั้งใจประกอบธุรกิจอย่างสุจริตเหล่านี้ ต้องรับผิดชอบกับเรื่องร้องเรียนที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามา แม้บางกรณีลูกค้าเป็นผู้ผิดสัญญา แต่สคบ. ก็ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้เท่านั้น
นายสิทธิพร สุวรรณสุต ประธานกรรมการ บริษัท ปทุมดีไซน์ ดีเวลลอป จำกัด (พีดี เฮ้าส์) กล่าวว่ากรณีการจัดทำวิจัยจัดเก็บข้อมูล เพื่อจัดทำสัญญามาตรฐานใช้ควบคุมด้านสัญญาการก่อสร้างบ้านาของกลุ่มธุรกิจรับสร้างบ้านว่า เห็นด้วยกับการจัดทำสัญญามาตรฐาน เพื่อยกระดับมาตรฐานธุรกิจรับสร้างบ้าน
อย่างไรก็ตาม ในการร่างสัญญานั้น สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ควรมีการเขียนรายละเอียดที่ชัดเจน เช่น วงเงินที่ต้องจ่ายคืนในกรณีการทำผิดสัญญา หรือกรณีที่มีการก่อสร้างผิดแบบแปลนที่ขออนุญาตก่อสร้าง ควรมีการระบุที่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง เพื่อป้องกันกรณีที่มีการดำเนินคดีการก่อสร้างผิดแบบ ซึ่งบางครั้งเกิดจากการสมยอมของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง ซึ่งจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาในภายหลัง
ทั้งนี้ ในการจัดทำสัญญามาตรฐานนั้น สคบ.ต้องนำกรณีตัวอย่างเข้ามาร่วมในการพิจารณาจัดทำตัวสัญญา เพื่อสะท้อนความชัดเจนของเจตนาในการจัดทำสัญญาว่า ต้องการควบคุมผู้ประกอบการกลุ่มใด เนื่องจาก สคบ. เองไม่มีอำนาจในการตัดสินความผิดกับผู้ที่กระทำความผิดที่ถูกร้องเรียนเข้ามา โดยเฉพาะการเอาผิดกับบริษัทที่ตั้งใจเข้ามาทุจริต ซึ่งสัญญามาตรฐานไม่สามารถบังคับหรือเอาผิดกับบริษัทเหล่านั้นได้ เนื่องจากเป็นการตั้งใจเข้ามาทุจริตเมื่อมีปัญหาก็ปิดบริษัทหนี้ไปทำให้ สคบ.ไม่สามารถยื่นฟ้องได้เพราะหาผู้รับผิดชอบไม่ได้
เช่นกรณีของกลุ่มบริษัทภูธนแสงทองที่มีการทำผิดสัญญา ทิ้งงานไม่ก่อสร้างบ้านให้ลูกค้าให้แล้วเสร็จ ซึ่งเมื่อ สบค.ส่งหนังสือเรียกให้มาชีแจงแล้วแต่กลุ่มบริษัทดังกล่าวไม่ได้เข้ามาชี้แจง สคบ. ก็ไม่สามารถดำเนินการใดๆได้ แต่กลับแนะนำให้ผู้บริโภคเข้าแจ้งความต่อเจ้าพนักงานแทน ในขณะที่สัญญาที่ออกมาจะใช้ได้ผลกับผู้ประกอบการที่ตั้งใจประกอบธุรกิจ ซึ่ง สคบ. สามารถบีบให้ผู้ประกอบการที่ตั้งใจประกอบธุรกิจอย่างสุจริตเหล่านี้ ต้องรับผิดชอบกับเรื่องร้องเรียนที่ผู้บริโภคร้องเรียนเข้ามา แม้บางกรณีลูกค้าเป็นผู้ผิดสัญญา แต่สคบ. ก็ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้เท่านั้น