ASTVผู้จัดการรายวัน – สคบ. เผยธุรกิจอสังหาฯครองแชมป์ ผู้บริโภคร้องเรียนทำผิดสัญญาสูงสุด 12ปีรวด แจงตัวเลขร้องเรียนเฉพาะ ต.ค.51 - ต.ค.25 กว่า 2,600 ราย ขณะที่ปี40 ยอดร้องเรียนกว่า20,000ราย ย้ำแม้จำนวนลดแต่ยังรั้งอับดับ1ต่อเนื่อง ด้าน สคบ. เล็งออกสัญญามาตรฐาน ดึงธุรกิจรับสร้างบ้านเป็นธุรกิจควบคุม หลังกลุ่มบริษัทภูธนแสงทอง โจรใส่สูท ลวงลูกค้าเซ็นสัญญาไม่เป็นธรรม
นายนิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานประชุมสัมมนา หัวข้อเรื่อง “การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ” ว่า นับจากหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี2540 เป็นต้นมา ปัญหาการร้องเรียนการกระทำผิดสัญญาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ยังคงเป็นธุรกิจอับดับ1 ที่มีผู้บริโภคเข้ายื่นเรื่องร้องเรียนมากที่สุด แม้ว่าในช่วงที่ผ่าน จำนวนการร้องเรียนของผู้บริโภคต่อธุรกิจอสังหาฯจะมีจำนวนลดลงค่อนข้างมาก
โดยในปี 2540 มีผู้บริโภคยื่นเรื่องร้องเรียน ให้สคบ.ช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ย และดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหาย หรือบังคับคดีให้ผู้ประกอบการที่ผิดสัญญา ดำเนินการก่อสร้างที่อยู่อาศัย รวมถึงการฟ้องบังคับคดีให้ผู้ประกอบการ มอบโอนสิทธิ์การถือครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้บริโภคจำนวนกว่า 20,000 ราย ซึ่งในปัจจุบันแม้ว่าจำนวนผู้บริโภคที่เข้ามาร้องเรียนต่อ สคบ.จะลดลงไปมากแล้ว แต่ธุรกิจอสังหาฯยังคงเป็นธุรกิจที่มีจำนวนการร้องเรียนสูงสุดเป็นอันดับ 1 อยู่
ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา (1 ต.ค.51- 1 ต.ค.52) ธุรกิจอสังหาฯ มียอดการร้องเรียนเป็นอับดับ1 เหมือนช่วงที่ผ่านมา โดยมีจำนวนผู้เสียหาย 2,600 ราย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการที่ถูกร้องเรียน ทั้งโครงการบ้านจัดสรร อาคารชุด การขายที่ดินเปล่า และผู้ประกอบการรับสร้างบ้าน
“ ปัญหาที่พบเป็นอันดับแรกคือ การไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงไว้ ไม่ก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา และไม่ส่งมอบหรือโอนบ้านตามกำหนดเวลาที่ตกลงไว้ ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการรับสร้างบ้าน มีจำนวนบริษัทที่ถูกร้องเรียนอยู่ประมาณ 10กว่าราย ส่วนใหญ่เป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาการก่อสร้างผิดแบบแปลน และการก่อสร้างบ้านไม่แล้วเสร็จตามกำหนด ”นายนิโรธกล่าว
ส่วนปัญหาการร้องเรียนเรื่อง การไม่ก่อสร้างบ้านให้แก่ลูกค้าให้แล้วเสร็จ และทิ้งงานก่อสร้างนั้น มีจำนวนค่อนข้างน้อย โดยในกรณีของบริษัทที่มีการเซ็นสัญญาก่อสร้างบ้านาและรับรับเงินค่าก่อสร้างจากผู้บริโภคไปแล้ว ไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จ
ทางสคบ.ได้ทำการส่งหนังสือเรียกให้บริษัทดังกล่าวมาชี้แจงหลายครั้งแล้ว แต่กลับไม่มีการตอบรับจากผู้แทนหรือเจ้าของบริษัทดังกล่าว
“ หากดูจากเจตนาการและพฤติกรรมของบริษัทดังกล่าวแล้ว น่าจะปิดบริษัทหนีไป ซึ่งในกรณีนี้ สคบ.ได้แนะนำให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนเข้าแจ้งความดำเนินคดี ข้อหาฉ้อโกงประชาชนต่อเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อดำเนินคดีต่อไป แต่หากบริษัทดังกล่าวยังเปิดดำเนินกิจการอยู่ สคบ.จะดำเนินการฟ้องแทนผู้บริโภค เพื่อบังคับคดีให้ผู้ประกอบการที่ทำผิดสัญญาก่อสร้างบ้านให้เสร็จ หรือฟ้องเรียกเงินค่าเสียหายจากบริษัทดังกล่าวให้ผู้บริโภค ”
ด้านนายพิฆเนศ ต๊ะปวง ผู้อำนวยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา กล่าวว่า เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและป้องกันมิให้ผู้บริโภค ถูกเอารัดเอาเปรียบในการทำสัญญากับผู้ประกอบธุรกิจ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2544 จึงได้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่2) พ.ศ.2551 เพื่อกำหนดสิทธิ์ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น คือ สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
โดยสคบ.ได้จัดทำรายละเอียดในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน การทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และการทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดเพิ่มเติม เพื่อครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เช่น การเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิที่ลูกค้าจะได้รับการคุ้มครองในกรณีที่ ผู้ประกอบการไม่ดำเนินการตามสัญญาต่างๆ เช่น ไม่กำหนดวัน เวลา โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ไม่ระบุราคาปรับกรณีผิดนัด ให้ผู้บริโภคชำระภาษีในวันโอนกรรมสิทธิ์ ก็ไม่ผ่าน ไม่รับผิดชอบเรื่องความชำรุดบกพร่อง ก่อสร้างล่าช้า ไม่ใช้สัญญาตามที่ราชการกำหนด
นอกจากนี้ สคบ. ยังเตรียมจัดทำวิจัยปัญหาการรับจ้างก่อสร้างบ้านบนที่ดิน เพื่อจัดเตรียมข้อมูลในการร่างสัญญามาตรฐาน ที่จะบังคับใช้กับผู้ประกอบการธุรกิจรับสร้างบ้านด้วย เนื่องจากปัจจุบัน ธุรกิจรับสร้างบ้านถูกร้องเรียนเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยคาดว่าในปี53 นี้ สคบ.จะสามารถจัดเก็บข้อมูลและร่างสัญญามาตรฐานที่ครอบคลุมทั้งในส่วนของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้บริโภค และหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบได้ภายในปีหน้า รวมถึงจะสามารถออกเป็นประกาศบังคับใช้ตามกฎหมายของสคบ.ได้ภายในปีหน้านี้.
นายนิโรธ เจริญประกอบ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดงานประชุมสัมมนา หัวข้อเรื่อง “การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ” ว่า นับจากหลังวิกฤตเศรษฐกิจปี2540 เป็นต้นมา ปัญหาการร้องเรียนการกระทำผิดสัญญาในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ยังคงเป็นธุรกิจอับดับ1 ที่มีผู้บริโภคเข้ายื่นเรื่องร้องเรียนมากที่สุด แม้ว่าในช่วงที่ผ่าน จำนวนการร้องเรียนของผู้บริโภคต่อธุรกิจอสังหาฯจะมีจำนวนลดลงค่อนข้างมาก
โดยในปี 2540 มีผู้บริโภคยื่นเรื่องร้องเรียน ให้สคบ.ช่วยดำเนินการไกล่เกลี่ย และดำเนินการฟ้องเรียกค่าเสียหาย หรือบังคับคดีให้ผู้ประกอบการที่ผิดสัญญา ดำเนินการก่อสร้างที่อยู่อาศัย รวมถึงการฟ้องบังคับคดีให้ผู้ประกอบการ มอบโอนสิทธิ์การถือครองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้บริโภคจำนวนกว่า 20,000 ราย ซึ่งในปัจจุบันแม้ว่าจำนวนผู้บริโภคที่เข้ามาร้องเรียนต่อ สคบ.จะลดลงไปมากแล้ว แต่ธุรกิจอสังหาฯยังคงเป็นธุรกิจที่มีจำนวนการร้องเรียนสูงสุดเป็นอันดับ 1 อยู่
ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมา (1 ต.ค.51- 1 ต.ค.52) ธุรกิจอสังหาฯ มียอดการร้องเรียนเป็นอับดับ1 เหมือนช่วงที่ผ่านมา โดยมีจำนวนผู้เสียหาย 2,600 ราย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการที่ถูกร้องเรียน ทั้งโครงการบ้านจัดสรร อาคารชุด การขายที่ดินเปล่า และผู้ประกอบการรับสร้างบ้าน
“ ปัญหาที่พบเป็นอันดับแรกคือ การไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ตกลงไว้ ไม่ก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จตามกำหนดเวลา และไม่ส่งมอบหรือโอนบ้านตามกำหนดเวลาที่ตกลงไว้ ส่วนกลุ่มผู้ประกอบการรับสร้างบ้าน มีจำนวนบริษัทที่ถูกร้องเรียนอยู่ประมาณ 10กว่าราย ส่วนใหญ่เป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาการก่อสร้างผิดแบบแปลน และการก่อสร้างบ้านไม่แล้วเสร็จตามกำหนด ”นายนิโรธกล่าว
ส่วนปัญหาการร้องเรียนเรื่อง การไม่ก่อสร้างบ้านให้แก่ลูกค้าให้แล้วเสร็จ และทิ้งงานก่อสร้างนั้น มีจำนวนค่อนข้างน้อย โดยในกรณีของบริษัทที่มีการเซ็นสัญญาก่อสร้างบ้านาและรับรับเงินค่าก่อสร้างจากผู้บริโภคไปแล้ว ไม่ดำเนินการให้แล้วเสร็จ
ทางสคบ.ได้ทำการส่งหนังสือเรียกให้บริษัทดังกล่าวมาชี้แจงหลายครั้งแล้ว แต่กลับไม่มีการตอบรับจากผู้แทนหรือเจ้าของบริษัทดังกล่าว
“ หากดูจากเจตนาการและพฤติกรรมของบริษัทดังกล่าวแล้ว น่าจะปิดบริษัทหนีไป ซึ่งในกรณีนี้ สคบ.ได้แนะนำให้ผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อนเข้าแจ้งความดำเนินคดี ข้อหาฉ้อโกงประชาชนต่อเจ้าพนักงานตำรวจ เพื่อดำเนินคดีต่อไป แต่หากบริษัทดังกล่าวยังเปิดดำเนินกิจการอยู่ สคบ.จะดำเนินการฟ้องแทนผู้บริโภค เพื่อบังคับคดีให้ผู้ประกอบการที่ทำผิดสัญญาก่อสร้างบ้านให้เสร็จ หรือฟ้องเรียกเงินค่าเสียหายจากบริษัทดังกล่าวให้ผู้บริโภค ”
ด้านนายพิฆเนศ ต๊ะปวง ผู้อำนวยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา กล่าวว่า เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและป้องกันมิให้ผู้บริโภค ถูกเอารัดเอาเปรียบในการทำสัญญากับผู้ประกอบธุรกิจ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2544 จึงได้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่2) พ.ศ.2551 เพื่อกำหนดสิทธิ์ของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น คือ สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
โดยสคบ.ได้จัดทำรายละเอียดในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน การทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และการทำสัญญาจะซื้อจะขายห้องชุดเพิ่มเติม เพื่อครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เช่น การเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิที่ลูกค้าจะได้รับการคุ้มครองในกรณีที่ ผู้ประกอบการไม่ดำเนินการตามสัญญาต่างๆ เช่น ไม่กำหนดวัน เวลา โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ไม่ระบุราคาปรับกรณีผิดนัด ให้ผู้บริโภคชำระภาษีในวันโอนกรรมสิทธิ์ ก็ไม่ผ่าน ไม่รับผิดชอบเรื่องความชำรุดบกพร่อง ก่อสร้างล่าช้า ไม่ใช้สัญญาตามที่ราชการกำหนด
นอกจากนี้ สคบ. ยังเตรียมจัดทำวิจัยปัญหาการรับจ้างก่อสร้างบ้านบนที่ดิน เพื่อจัดเตรียมข้อมูลในการร่างสัญญามาตรฐาน ที่จะบังคับใช้กับผู้ประกอบการธุรกิจรับสร้างบ้านด้วย เนื่องจากปัจจุบัน ธุรกิจรับสร้างบ้านถูกร้องเรียนเพิ่มสูงขึ้นมาก โดยคาดว่าในปี53 นี้ สคบ.จะสามารถจัดเก็บข้อมูลและร่างสัญญามาตรฐานที่ครอบคลุมทั้งในส่วนของผู้ประกอบธุรกิจ ผู้บริโภค และหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบได้ภายในปีหน้า รวมถึงจะสามารถออกเป็นประกาศบังคับใช้ตามกฎหมายของสคบ.ได้ภายในปีหน้านี้.