แพทย์ระบุ กระเบื้อง ท่อซีเมนต์ ผ้าเบรก มีส่วนประกอบแร่ใยหิน เสี่ยงสารก่อมะเร็ง ปอดอักเสบ เตือนเจือปนในฝุ่นก่อสร้างสูงสุด นักวิชาการ สธ. วอนหยุดใช้สารนี้ผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง ชี้อเมริกาเลิกใช้มากว่า 30 ปีแล้ว แย้มบริษัทก่อสร้างบิ๊ก 3 แห่งยังใช้อยู่ ด้านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เตรียมเรียกร้อง ก.อุตฯ ยับยั้งนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหิน
นพ.พรชัย สิทธิศรันย์กุล อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ปัจจุบันแร่ใยหิน หรือ เอสเบสตอส ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างกว่า 90% เช่น การผลิตกระเบื้องมุงหลังคา ท่อซีเมนต์ ผ้าเบรค - คลัตช์ กระเบื้องปูพื้น วัสดุกันไฟหรือความร้อน ซึ่งบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากแร่ใยหินโดยตรงกลุ่มแรกก็คือพนักงานที่ผลิตอุปกรณ์เหล่านี้ หากอยู่กับการผลิตที่ต้องใช้ส่วนผสมของแร่เอสเบสตอสเป็นระยะเวลานานจะก่อให้เกิดโรคหลายอย่างตามมา เช่น โรคปอดอักเสบ โรคความผิดปรกติของเยื้อหุ้มปอด หรือเป็นเนื้องอกของเยื้อหุ้มปอด โรคมะเร็งกล่องเสียงและโรคมะเร็งปอด ซึ่งในประเทศไทยได้พบผู้ที่ป่วยจากสารแอสเบสตอสแล้ว1 ราย
“สิ่งที่อันตรายที่สุดคือตอนนี้แร่ใยหินถูกทำให้กระจายอยู่ในอากาศจากการก่อสร้าง หากสูดควันหรือฝุ่นที่มีแร่ใยหินเจือปนอยู่จะส่งผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผลักดันให้มีการติดป้ายฉลากบอกว่าสินค้าชนิดใดบ้างที่มีส่วนผสมของแร่ชนิดนี้ และต้องเรียกร้องให้ผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างให้หันมาตระหนักถึงผลกระทบที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตคนหมู่มาก”นพ.พรชัย กล่าว
นางมาลี พงษ์โสภณ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการพิเศษ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การฟุ้งกระจายของฝุ่นที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินถือเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก เพราะสามารถกระจายอยู่ได้ในทุกที่ ซึ่งในแต่ละปีมีผู้ป่วยอย่างน้อย 90,000 คนทั่วโลก ที่เสียชีวิตจากมะเร็งเยื่อหุ้มปอด มะเร็งปอด หรือโรคปอดอักเสบ จากแร่ใยหินที่เกิดจากการทำงาน และมีผู้ป่วยอีกหลายพันคนที่ป่วยโดยไม่ได้สัมผัสแร่ชนิดนี้โดยตรงจากการทำงาน ดังนั้นประเทศไทยจึงควรประกาศให้หยุดใช้แร่ชนิดนี้ในการผลิตวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง เพราะในสหรัฐอเมริกาได้เลิกใช้สารชนิดนี้มาแล้ว30 ปี โดยใช้วัตถุดิบทางเลือกอื่นมาทดแทน ซึ่งขณะนี้มีบางบริษัทในประเทศไทยได้นำวิธีการผลิตอุปกรณ์ก่อสร้างที่ปลอดภัยมาใช้แล้ว แต่ก็ยังมีบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ถึง 3 แห่งที่ยังใช้แร่ใยหินอยู่ในปริมาณมาก
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขานุการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้จัดการประชุมผู้แทนองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศเพื่อระดมความเห็นเกี่ยวกับการประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก (ฉบับที่27) พ.ศ. 2552 ที่กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก เมื่อวันที่ 26 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งได้ข้อสรุปว่า จะมีการทำหนังสือไปยังกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อขอความร่วมมือยับยั้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหิน พร้อมกับสนับสนุนให้ติดฉลากสินค้าที่ปลอดจากการใช้แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ
นพ.พรชัย สิทธิศรันย์กุล อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ปัจจุบันแร่ใยหิน หรือ เอสเบสตอส ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้างกว่า 90% เช่น การผลิตกระเบื้องมุงหลังคา ท่อซีเมนต์ ผ้าเบรค - คลัตช์ กระเบื้องปูพื้น วัสดุกันไฟหรือความร้อน ซึ่งบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากแร่ใยหินโดยตรงกลุ่มแรกก็คือพนักงานที่ผลิตอุปกรณ์เหล่านี้ หากอยู่กับการผลิตที่ต้องใช้ส่วนผสมของแร่เอสเบสตอสเป็นระยะเวลานานจะก่อให้เกิดโรคหลายอย่างตามมา เช่น โรคปอดอักเสบ โรคความผิดปรกติของเยื้อหุ้มปอด หรือเป็นเนื้องอกของเยื้อหุ้มปอด โรคมะเร็งกล่องเสียงและโรคมะเร็งปอด ซึ่งในประเทศไทยได้พบผู้ที่ป่วยจากสารแอสเบสตอสแล้ว1 ราย
“สิ่งที่อันตรายที่สุดคือตอนนี้แร่ใยหินถูกทำให้กระจายอยู่ในอากาศจากการก่อสร้าง หากสูดควันหรือฝุ่นที่มีแร่ใยหินเจือปนอยู่จะส่งผลกระทบต่อร่างกายในระยะยาว จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผลักดันให้มีการติดป้ายฉลากบอกว่าสินค้าชนิดใดบ้างที่มีส่วนผสมของแร่ชนิดนี้ และต้องเรียกร้องให้ผู้ประกอบการธุรกิจก่อสร้างให้หันมาตระหนักถึงผลกระทบที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตคนหมู่มาก”นพ.พรชัย กล่าว
นางมาลี พงษ์โสภณ นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการพิเศษ สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การฟุ้งกระจายของฝุ่นที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินถือเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก เพราะสามารถกระจายอยู่ได้ในทุกที่ ซึ่งในแต่ละปีมีผู้ป่วยอย่างน้อย 90,000 คนทั่วโลก ที่เสียชีวิตจากมะเร็งเยื่อหุ้มปอด มะเร็งปอด หรือโรคปอดอักเสบ จากแร่ใยหินที่เกิดจากการทำงาน และมีผู้ป่วยอีกหลายพันคนที่ป่วยโดยไม่ได้สัมผัสแร่ชนิดนี้โดยตรงจากการทำงาน ดังนั้นประเทศไทยจึงควรประกาศให้หยุดใช้แร่ชนิดนี้ในการผลิตวัสดุอุปกรณ์ก่อสร้าง เพราะในสหรัฐอเมริกาได้เลิกใช้สารชนิดนี้มาแล้ว30 ปี โดยใช้วัตถุดิบทางเลือกอื่นมาทดแทน ซึ่งขณะนี้มีบางบริษัทในประเทศไทยได้นำวิธีการผลิตอุปกรณ์ก่อสร้างที่ปลอดภัยมาใช้แล้ว แต่ก็ยังมีบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ถึง 3 แห่งที่ยังใช้แร่ใยหินอยู่ในปริมาณมาก
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขานุการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้จัดการประชุมผู้แทนองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศเพื่อระดมความเห็นเกี่ยวกับการประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก (ฉบับที่27) พ.ศ. 2552 ที่กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของแร่ใยหินเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก เมื่อวันที่ 26 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งได้ข้อสรุปว่า จะมีการทำหนังสือไปยังกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อขอความร่วมมือยับยั้งการนำเข้าผลิตภัณฑ์ที่มีแร่ใยหิน พร้อมกับสนับสนุนให้ติดฉลากสินค้าที่ปลอดจากการใช้แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบ