สธ.สรุปการทบทวนรายการพัฒนาในโครงการไทยเข้มแข็ง ให้คงรายการจัดซื้อรถพยาบาลฉุกเฉิน และรถกระบะวงเงินเท่าเดิมแต่กำหนดให้มีอุปกรณ์ติดรถ 2 ชิ้น และคงรายการครุภัณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเท่าเดิม 46 รายการ วงเงินแห่งละ 1.35 ล้านบาท โดยจะสรุปผลโครงการไทยเข้มแข็งที่อยู่ในวงเงินตามพระราชกำหนดในวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน
วันนี้ (10 พ.ย.) นพ.สถาพร วงษ์เจริญ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมและแก้ไขปัญหาโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมสรุปการทบทวนโครงการของคณะอนุกรรมการแต่ละด้าน ว่า การทบทวนรายการต่างๆ ในครั้งนี้ ดำเนินการภายใต้วงเงินที่กระทรวงสาธารณสุขได้รับการจัดสรร 86,685 ล้านบาท ซึ่งมีงบ 2 ส่วน ได้แก่ งบประมาณตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ที่ได้รับอนุมัติงบวงเงินแล้ว 11,515 ล้านบาทเศษ จะใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 วงเงินกว่า 8,227 ล้านบาท พ.ศ.2554 วงเงิน 2,902 ล้านกว่าบาท และ พ.ศ.2555 วงเงินกว่า 384 ล้านบาท ในหลักการหากรายการใดที่ไม่มีปัญหาจะเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุขและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อไฟเขียวดำเนินการได้เลย เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนเร็วที่สุด รายการใดที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งวงเงิน รายการ และสถานที่ จะดำเนินการทบทวนหาข้อสรุป เพื่อเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หากเห็นชอบจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณา และส่งเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
นพ.สถาพร กล่าวต่อว่า สำหรับเงินงบประมาณในพระราชกำหนด มีรายการลงทุนทั้งหมด 3 สาขา ได้แก่ สาขาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถานบริการทุกระดับ 7 รายการ วงเงินกว่า 9,949 ล้านบาท สาขาพัฒนาบุคลากร 3 รายการ วงเงินกว่า 494 ล้านบาท สาขาการลงทุนระดับชุมชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา สงขลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล 8 รายการ มีทั้งการสร้างที่พักรองรับพยาบาลในโครงการผลิตพยาบาลเพิ่ม 3,000 คน รวมกว่า 1,070 ล้านบาท
ในปีงบประมาณ 2553 ในวงเงินจากพระราชกำหนด ซึ่งมีรายการจัดซื้อรถพยาบาลและอุปกรณ์ช่วยชีวิตฉุกเฉิน ให้โรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศจำนวน 829 คัน วงเงินคันละ 1.8 ล้านบาท วงเงิน 1,492.2 ล้านบาท เพื่อใช้สำหรับรับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และซื้อรถกระบะวงเงินเท่าเดิม แต่ต้องติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าส พร้อมอุปกรณ์การแพทย์ให้สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติจำนวน 63 คัน คันละ 6.7 แสนบาท รวม 42.195 ล้านบาท โดยให้จังหวัดจัดซื้อจัดจ้างและกำหนดคุณสมบัติของรถเอง
นพ.สถาพร กล่าวต่อว่า ส่วนรายการอื่น ๆ ที่อยู่ในพระราชกำหนดที่ได้วงเงินตามพระราชกำหนดนั้น คณะอนุกรรมการทุกชุดจะทำรายละเอียด และจะสรุปได้ว่ารายการที่จะต้องขอทบทวนไปตามขั้นตอนของระเบียบว่าด้วยการบริหารโครงการไทยเข้มแข็งนั้น จะมีรายละเอียดอย่างไร และนัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่จะถึง ซึ่งคาดว่าน่าจะได้ข้อยุติในเรื่องโครงการไทยเข้มแข็งที่อยู่ในวงเงินตามพระราชกำหนดทั้งหมด ส่วนรายการที่อยู่ในพระราชบัญญัติเงินกู้ จะเร่งทำรายละเอียดคู่ขนานกันไปอย่างเร็วที่สุด
วันนี้ (10 พ.ย.) นพ.สถาพร วงษ์เจริญ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมและแก้ไขปัญหาโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมสรุปการทบทวนโครงการของคณะอนุกรรมการแต่ละด้าน ว่า การทบทวนรายการต่างๆ ในครั้งนี้ ดำเนินการภายใต้วงเงินที่กระทรวงสาธารณสุขได้รับการจัดสรร 86,685 ล้านบาท ซึ่งมีงบ 2 ส่วน ได้แก่ งบประมาณตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) ที่ได้รับอนุมัติงบวงเงินแล้ว 11,515 ล้านบาทเศษ จะใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 วงเงินกว่า 8,227 ล้านบาท พ.ศ.2554 วงเงิน 2,902 ล้านกว่าบาท และ พ.ศ.2555 วงเงินกว่า 384 ล้านบาท ในหลักการหากรายการใดที่ไม่มีปัญหาจะเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุขและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อไฟเขียวดำเนินการได้เลย เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนเร็วที่สุด รายการใดที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งวงเงิน รายการ และสถานที่ จะดำเนินการทบทวนหาข้อสรุป เพื่อเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข หากเห็นชอบจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการกลั่นกรองพิจารณา และส่งเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไป
นพ.สถาพร กล่าวต่อว่า สำหรับเงินงบประมาณในพระราชกำหนด มีรายการลงทุนทั้งหมด 3 สาขา ได้แก่ สาขาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของสถานบริการทุกระดับ 7 รายการ วงเงินกว่า 9,949 ล้านบาท สาขาพัฒนาบุคลากร 3 รายการ วงเงินกว่า 494 ล้านบาท สาขาการลงทุนระดับชุมชนในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา สงขลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล 8 รายการ มีทั้งการสร้างที่พักรองรับพยาบาลในโครงการผลิตพยาบาลเพิ่ม 3,000 คน รวมกว่า 1,070 ล้านบาท
ในปีงบประมาณ 2553 ในวงเงินจากพระราชกำหนด ซึ่งมีรายการจัดซื้อรถพยาบาลและอุปกรณ์ช่วยชีวิตฉุกเฉิน ให้โรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศจำนวน 829 คัน วงเงินคันละ 1.8 ล้านบาท วงเงิน 1,492.2 ล้านบาท เพื่อใช้สำหรับรับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และซื้อรถกระบะวงเงินเท่าเดิม แต่ต้องติดตั้งหลังคาไฟเบอร์กล๊าส พร้อมอุปกรณ์การแพทย์ให้สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติจำนวน 63 คัน คันละ 6.7 แสนบาท รวม 42.195 ล้านบาท โดยให้จังหวัดจัดซื้อจัดจ้างและกำหนดคุณสมบัติของรถเอง
นพ.สถาพร กล่าวต่อว่า ส่วนรายการอื่น ๆ ที่อยู่ในพระราชกำหนดที่ได้วงเงินตามพระราชกำหนดนั้น คณะอนุกรรมการทุกชุดจะทำรายละเอียด และจะสรุปได้ว่ารายการที่จะต้องขอทบทวนไปตามขั้นตอนของระเบียบว่าด้วยการบริหารโครงการไทยเข้มแข็งนั้น จะมีรายละเอียดอย่างไร และนัดประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 18 พฤศจิกายน ที่จะถึง ซึ่งคาดว่าน่าจะได้ข้อยุติในเรื่องโครงการไทยเข้มแข็งที่อยู่ในวงเงินตามพระราชกำหนดทั้งหมด ส่วนรายการที่อยู่ในพระราชบัญญัติเงินกู้ จะเร่งทำรายละเอียดคู่ขนานกันไปอย่างเร็วที่สุด