“วิทยา” เดินสายแจง ใช้งบไทยเข้มแข็ง 8.6 หมื่นล้านบาท ย้ำ ให้เจ้าของเงินงบประมาณ ร่วมเป็นคณะกรรมการจัดซื้อจัดจ้างทุกรายการ อย่าให้มีการทุจริตเกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด ยืนยันการก่อสร้าง รพ.มหาราชนครราชสีมา ไม่ได้ล็อกสเปก
วันนี้ (9 ต.ค.) ที่โรงแรมสีมาธานี จ.นครราชสีมา นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่อยู่ใน 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมประมาณ 1,000 คน เพื่อชี้แจงแนวทางดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาสาธารณสุขภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง พ.ศ.2553-2555
**แจงใช้งบ sp2 ส่งเสริมสุขภาพ ปชช.
นายวิทยา กล่าวว่า โครงการไทยเข้มแข็งนี้ จะมีการพัฒนาสถานบริการทุกระดับ ทั้งการก่อสร้างพัฒนาอาคารสถานที่ จัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เครื่องมือแพทย์ งบรวมกว่า 86,000 ล้านบาท จะสร้างความเข้มแข็งในการบริการประชาชนมากขึ้น โดยโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปจะมีขีดความสามารถรักษาโรคเฉพาะทาง มีความเชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เหมือนทบวงมหาวิทยาลัย
ที่สำคัญ จะพัฒนาปรับเปลี่ยนบริการของสถานีอนามัย ซึ่งเป็นฐานรากของการสาธารณสุขมาแต่อดีต ซึ่งมีทั้งหมด 9,762 แห่ง ให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ทำหน้าที่เป็นปราการของการรณรงค์ส่งเสริมการมีสุขภาพดีแก่ประชาชน ป้องกันการเจ็บป่วย และประชาชนในชนบทจะมีโอกาสได้พบแพทย์ทั้งโดยตรง และพบผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ สามารถซักถามอาการ พูดคุยได้เช่นกัน ในปีงบประมาณ 2553 นี้ มีเป้าหมายดำเนินการ จำนวน 2,151 แห่ง ใช้งบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็งทั้งหมด 4,449 ล้านบาท โดยงบร้อยละ 25 จะใช้ปรับปรุงอาคารสถานที่ ที่เหลืออีกร้อยละ 75 เป็นงบจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ และจะครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2553 ใช้งบกว่า 14,000 ล้านบาท ซึ่งในโครงการนี้จะซื้อรถพยาบาล 1,000 คัน ให้โรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ เพื่อใช้รับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยเฉพาะด้วย
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างทุกรายการ มีนโยบายให้พื้นที่ที่เป็นเจ้าของงบประมาณ ร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินการ ไม่มีการจัดจ้างหรือสั่งการจากส่วนกลาง และขอให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกันตรวจสอบการใช้งบประมาณ ให้โปร่งใส ไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด
**สั่งทุก รพ.ทบทวนรายการครุภัณฑ์
ทางด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้สั่งการให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขทุกเขต เรียกประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ หัวหน้าสถานีอนามัยที่มีคำขอรายการลงทุนในโครงการไทยเข้มแข็ง เพื่อทบทวนความเหมาะสมรายการ ราคา ความจำเป็น จำนวน และสถานที่จะใช้ ให้สรุปผลเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุขในวันอังคารที่ 13 ตุลาคม 2552 และขอย้ำว่าขณะนี้ยังไม่มีการจ่ายเงินงบประมาณแต่อย่างใด สำหรับการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นอาคาร 8 ชั้น มีชั้นใต้ดินเพื่อเก็บยาและเวชภัณฑ์ ฟิล์มเอกซเรย์ เก็บประวัติผู้ป่วย และเป็นที่จอดรถบุคลากร 155 คัน งบ 715 ล้านบาทนั้น
นายไพจิตร์ กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบแล้วไม่ใช่เป็นการล็อกสเปก เนื่องจากโรงพยาบาลมหาราชมีน้ำท่วมเป็นประจำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจึงได้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับจ้างก่อสร้าง ที่มีผลงานเคยรับจ้างแล้วไม่มีการรั่วซึมของน้ำ ซึ่งการจัดจ้างจะมี 2 ด้าน คือ ด้านผู้ใช้ต้องการใช้ของดี เป็นประโยชน์การใช้งาน ไม่ทำให้สิ่งของเสียหาย อีกฝ่ายจึงคิดว่าเป็นกึ่งล็อกสเปก ยืนยันว่า ขณะนี้ไม่มีข้าราชการคนใดกล้าเสี่ยงที่จะทำ
“แม้แต่ผมเองขอยืนยันความบริสุทธิ์ใจ เพราะแพทย์ผู้อำนวยการซึ่งจะเกษียณอายุราชการปีหน้า และเป็นแพทย์ชนบทดีเด่นมาตลอด อีกทั้งในการก่อสร้างครั้งนี้ราคาต่อพื้นที่ตารางเมตร ต่ำกว่าปกติ ขณะนี้ได้ให้จังหวัดเสนอข้อเท็จจริงเรื่องนี้แก่สังคมแล้ว เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องถึงความสุจริตในก่อสร้างครั้งนี้ หากมีประเด็นใดที่ยังไม่กระจ่าง และไม่สบายใจ กระทรวงสาธารณสุขจะขอให้ สตง.มาร่วมตรวจสอบด้วย เพื่อความโปร่งใสโครงการ
วันนี้ (9 ต.ค.) ที่โรงแรมสีมาธานี จ.นครราชสีมา นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน สาธารณสุขอำเภอ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่อยู่ใน 19 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมประมาณ 1,000 คน เพื่อชี้แจงแนวทางดำเนินงานขับเคลื่อนการพัฒนาสาธารณสุขภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง พ.ศ.2553-2555
**แจงใช้งบ sp2 ส่งเสริมสุขภาพ ปชช.
นายวิทยา กล่าวว่า โครงการไทยเข้มแข็งนี้ จะมีการพัฒนาสถานบริการทุกระดับ ทั้งการก่อสร้างพัฒนาอาคารสถานที่ จัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เครื่องมือแพทย์ งบรวมกว่า 86,000 ล้านบาท จะสร้างความเข้มแข็งในการบริการประชาชนมากขึ้น โดยโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไปจะมีขีดความสามารถรักษาโรคเฉพาะทาง มีความเชี่ยวชาญสาขาต่างๆ เหมือนทบวงมหาวิทยาลัย
ที่สำคัญ จะพัฒนาปรับเปลี่ยนบริการของสถานีอนามัย ซึ่งเป็นฐานรากของการสาธารณสุขมาแต่อดีต ซึ่งมีทั้งหมด 9,762 แห่ง ให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ทำหน้าที่เป็นปราการของการรณรงค์ส่งเสริมการมีสุขภาพดีแก่ประชาชน ป้องกันการเจ็บป่วย และประชาชนในชนบทจะมีโอกาสได้พบแพทย์ทั้งโดยตรง และพบผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ สามารถซักถามอาการ พูดคุยได้เช่นกัน ในปีงบประมาณ 2553 นี้ มีเป้าหมายดำเนินการ จำนวน 2,151 แห่ง ใช้งบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็งทั้งหมด 4,449 ล้านบาท โดยงบร้อยละ 25 จะใช้ปรับปรุงอาคารสถานที่ ที่เหลืออีกร้อยละ 75 เป็นงบจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ และจะครบ 100 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2553 ใช้งบกว่า 14,000 ล้านบาท ซึ่งในโครงการนี้จะซื้อรถพยาบาล 1,000 คัน ให้โรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ เพื่อใช้รับส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโดยเฉพาะด้วย
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างทุกรายการ มีนโยบายให้พื้นที่ที่เป็นเจ้าของงบประมาณ ร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินการ ไม่มีการจัดจ้างหรือสั่งการจากส่วนกลาง และขอให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ร่วมกันตรวจสอบการใช้งบประมาณ ให้โปร่งใส ไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด
**สั่งทุก รพ.ทบทวนรายการครุภัณฑ์
ทางด้าน นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้สั่งการให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขทุกเขต เรียกประชุมนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ หัวหน้าสถานีอนามัยที่มีคำขอรายการลงทุนในโครงการไทยเข้มแข็ง เพื่อทบทวนความเหมาะสมรายการ ราคา ความจำเป็น จำนวน และสถานที่จะใช้ ให้สรุปผลเสนอปลัดกระทรวงสาธารณสุขในวันอังคารที่ 13 ตุลาคม 2552 และขอย้ำว่าขณะนี้ยังไม่มีการจ่ายเงินงบประมาณแต่อย่างใด สำหรับการก่อสร้างอาคารโรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นอาคาร 8 ชั้น มีชั้นใต้ดินเพื่อเก็บยาและเวชภัณฑ์ ฟิล์มเอกซเรย์ เก็บประวัติผู้ป่วย และเป็นที่จอดรถบุคลากร 155 คัน งบ 715 ล้านบาทนั้น
นายไพจิตร์ กล่าวต่อว่า จากการตรวจสอบแล้วไม่ใช่เป็นการล็อกสเปก เนื่องจากโรงพยาบาลมหาราชมีน้ำท่วมเป็นประจำ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจึงได้กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับจ้างก่อสร้าง ที่มีผลงานเคยรับจ้างแล้วไม่มีการรั่วซึมของน้ำ ซึ่งการจัดจ้างจะมี 2 ด้าน คือ ด้านผู้ใช้ต้องการใช้ของดี เป็นประโยชน์การใช้งาน ไม่ทำให้สิ่งของเสียหาย อีกฝ่ายจึงคิดว่าเป็นกึ่งล็อกสเปก ยืนยันว่า ขณะนี้ไม่มีข้าราชการคนใดกล้าเสี่ยงที่จะทำ
“แม้แต่ผมเองขอยืนยันความบริสุทธิ์ใจ เพราะแพทย์ผู้อำนวยการซึ่งจะเกษียณอายุราชการปีหน้า และเป็นแพทย์ชนบทดีเด่นมาตลอด อีกทั้งในการก่อสร้างครั้งนี้ราคาต่อพื้นที่ตารางเมตร ต่ำกว่าปกติ ขณะนี้ได้ให้จังหวัดเสนอข้อเท็จจริงเรื่องนี้แก่สังคมแล้ว เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องถึงความสุจริตในก่อสร้างครั้งนี้ หากมีประเด็นใดที่ยังไม่กระจ่าง และไม่สบายใจ กระทรวงสาธารณสุขจะขอให้ สตง.มาร่วมตรวจสอบด้วย เพื่อความโปร่งใสโครงการ