“จุรินทร์” ฝากนายกสภามหาวิทยาลัย เน้นคุณภาพเป็นหลัก เตือนให้ดูแลคุณภาพการเปิดสอนนอกที่ตั้ง หวั่น ก.พ.ไม่รับรองวุฒิ กยศ.ไม่ให้กู้กองทุน สั่งนายกสภาฯ ดูแลการสรรหาอธิการบดีให้ถูกต้องโปร่งใส
โรงแรมสุโขทัย วันนี้ (21 ต.ค.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับ สถาบันคลังสมองของชาติ จัดประชุมนายกสภามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 โดยมี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นประธานการประชุม และนายกสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมด้วยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นอกจากนี้ ยังมี นายกสภามหาวิทยาลัย จากกลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏ วิทยาลัย/มหาวิทยาลัยเอกชน และวิทยาลัยชุมชน จำนวน 68 คน ร่วมประชุม
นายจุรินทร์ กล่าวปาฐกถาพิเศษในพิธีเปิดการประชุม ว่า การประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการริเริ่มการพบปะทำความรู้จักและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนายกสภามหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จะได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นการพัฒนาองค์กรตามหลักธรรมาภิบาลและกำหนดแนวทางการบริหารจัดการอุดมศึกษา เพื่อเป็นกลไกและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการอุดมศึกษาของประเทศ
นับจากนี้ การศึกษาไทยจะเดินไปในทิศทางเดียวกัน โดยยึดแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ทำให้คนไทยเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ มี “3 เสาหลัก” คือ การเน้นคุณภาพ การขยายโอกาส และการแสวงหาการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน สร้างคนตามนโยบาย 3 ดี 4 ใหม่
และขอให้มหาวิทยาลัยต้องเร่งรัดดำเนินการด้านคุณภาพ เนื่องจากผลการประเมินของสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ที่พบว่า มี 15 สถาบันอุดมศึกษายังไม่ผ่านการประเมินคุณภาพ และอย่างน้อย 50 สาขาวิชายังต่ำกว่ามาตรฐาน โดยขอให้ยึดตามกรอบมาตรฐานคุณภาพอุดมศึกษา (TQF) รื้อฟื้นการสร้างบัณฑิตในอุดมคติ ให้ครบทุกสาขาวิชาภายในปี 2553
จากนั้น นายจุรินทร์ ฝากผ่านนายกสภามหาวิทยาลัยว่า การจัดการศึกษานอกที่ตั้งของมหาวิทยาลัย เป็นประเด็นที่มีปัญหาแต่ไม่ได้เกิดทุกมหาวิทยาลัย เกิดบางมหาวิทยาลัย เพราะช่วงหลังๆ จะเน้นจัดการศึกษาเชิงพาณิชย์ จัดความต้องการมากกว่าความพร้อมของมหาวิทยาลัย เรื่องนี้ต้องปรับ ศธ.มีประกาศกระทรวง เรื่อง การจัดนอกสถานที่ตั้ง และมีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่ง ศธ.สนับสนุนแต่ต้องมีความพร้อมเช่นเดียวกันกับมหาวิทยาลัยแม่
“การจัดการศึกษาแบบไม่พร้อม ผมเกรงว่าจะนำไปสู่ปัญหา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) อาจไม่รับรองวุฒิ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) อาจกำหนดเงื่อนไขไม่ให้กู้แก่ผู้เรียนนอกสถานที่ตั้ง ทั้งนี้ อาจต้องมีการเปิดเผยคุณภาพสู่สาธารณชน เพื่อประกันคุณภาพสถานที่เรียน”
นายจุรินทร์ กล่าวถึงเรื่องการสรรหาอธิการบดี ว่า ช่วงปี 2551-2552 ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการสรรหาอธิการบดี สูงถึง 16 แห่ง มีทั้งเรื่องคุณสมบัติของอธิการบดี ความประพฤติของผู้บริหารระดับสูง การสรรหาไม่เป็นไปตามข้อบังคับ เป็นต้น เรื่องร้องเรียนส่งมาที่ตน ตนก็ต้องส่งกลับไปยัง สกอ.และส่งต่อไปที่สภามหาวิทยาลัย เพราะอำนาจทั้งหมดอยู่ที่สภามหาวิทยาลัย ในขณะนี้มีเรื่องค้างอยู่ 5 แห่ง กำลังตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่ศาลปกครองสั่งทุเลาโปรดเกล้าฯ จนกว่าจะมีคำสั่งศาล อย่างไรก็ตาม ปัญหาการสรรหาอธิการบดีที่เกิดขึ้น กระทบการบริหารงานของมหาวิทยาลัยด้วย
“การบริหารงานของบางมหาวิทยาลัย หากมีปัญหาเกิดขึ้น รวมถึงเรื่องวินัย ตรงนี้เป็นอำนาจของสภามหาวิทยาลัย ไม่ใช่ สกอ.หรือ รัฐมนตรี ต้องส่งเรื่องกลับไปให้สภามหาวิทยาลัยดำเนินการ เพียงแต่มหาวิทยาลัยอยู่ภายใต้ รมว.ศธ.เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น มักจะมีการตั้งกระทู้ถาม ก็ไม่พ้น รมว.ศธ. รมช.ศธ.ต้องชี้แจงในรัฐสภา ขอฝากนายกสภามหาวิทยาลัย ดูแลปัญหาเหล่านี้อย่างเคร่งครัด”
จากนั้น นายจุรินทร์ กล่าวถึงการตั้งคุรุศึกษาแห่งชาติ ว่า มีข้อเสนอจัดตั้งคุรุศึกษาแห่งชาติ ตนเคยตั้งคำถามว่า ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่ผลิตครูหรือไม่ ก็ได้คำตอบว่า “ไม่ซ้ำซ้อน” ทุกเรื่องตนรับฟัง ไม่ได้แข็งทื่อ หรือตายตัว เพียงแต่ขอให้มีผู้รับผิดชอบ ครูคือหัวใจสำคัญในการพัฒนาเด็ก เด็กจะเป็นอย่างไร คำตอบชัดในตัวเอง อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ตนมอบให้สำนักงานสภาการศึกษา (สกศ.) ไปรับฟังความคิดเห็นเมื่อวันที่ 20 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป จึงให้ไปประชุมกันอีกครั้ง และอะไรดีที่สุดในการพัฒนาการศึกษาของชาติ ตนจะตัดสินตามนั้น
โรงแรมสุโขทัย วันนี้ (21 ต.ค.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมกับ สถาบันคลังสมองของชาติ จัดประชุมนายกสภามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 โดยมี พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ องคมนตรี เป็นประธานการประชุม และนายกสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี พร้อมด้วยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา นอกจากนี้ ยังมี นายกสภามหาวิทยาลัย จากกลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐ มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มหาวิทยาลัยราชภัฏ วิทยาลัย/มหาวิทยาลัยเอกชน และวิทยาลัยชุมชน จำนวน 68 คน ร่วมประชุม
นายจุรินทร์ กล่าวปาฐกถาพิเศษในพิธีเปิดการประชุม ว่า การประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการริเริ่มการพบปะทำความรู้จักและสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนายกสภามหาวิทยาลัยทั่วประเทศ จะได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นการพัฒนาองค์กรตามหลักธรรมาภิบาลและกำหนดแนวทางการบริหารจัดการอุดมศึกษา เพื่อเป็นกลไกและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการอุดมศึกษาของประเทศ
นับจากนี้ การศึกษาไทยจะเดินไปในทิศทางเดียวกัน โดยยึดแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง ทำให้คนไทยเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ มี “3 เสาหลัก” คือ การเน้นคุณภาพ การขยายโอกาส และการแสวงหาการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน สร้างคนตามนโยบาย 3 ดี 4 ใหม่
และขอให้มหาวิทยาลัยต้องเร่งรัดดำเนินการด้านคุณภาพ เนื่องจากผลการประเมินของสำนักรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) ที่พบว่า มี 15 สถาบันอุดมศึกษายังไม่ผ่านการประเมินคุณภาพ และอย่างน้อย 50 สาขาวิชายังต่ำกว่ามาตรฐาน โดยขอให้ยึดตามกรอบมาตรฐานคุณภาพอุดมศึกษา (TQF) รื้อฟื้นการสร้างบัณฑิตในอุดมคติ ให้ครบทุกสาขาวิชาภายในปี 2553
จากนั้น นายจุรินทร์ ฝากผ่านนายกสภามหาวิทยาลัยว่า การจัดการศึกษานอกที่ตั้งของมหาวิทยาลัย เป็นประเด็นที่มีปัญหาแต่ไม่ได้เกิดทุกมหาวิทยาลัย เกิดบางมหาวิทยาลัย เพราะช่วงหลังๆ จะเน้นจัดการศึกษาเชิงพาณิชย์ จัดความต้องการมากกว่าความพร้อมของมหาวิทยาลัย เรื่องนี้ต้องปรับ ศธ.มีประกาศกระทรวง เรื่อง การจัดนอกสถานที่ตั้ง และมีผลบังคับใช้แล้ว ซึ่ง ศธ.สนับสนุนแต่ต้องมีความพร้อมเช่นเดียวกันกับมหาวิทยาลัยแม่
“การจัดการศึกษาแบบไม่พร้อม ผมเกรงว่าจะนำไปสู่ปัญหา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) อาจไม่รับรองวุฒิ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) อาจกำหนดเงื่อนไขไม่ให้กู้แก่ผู้เรียนนอกสถานที่ตั้ง ทั้งนี้ อาจต้องมีการเปิดเผยคุณภาพสู่สาธารณชน เพื่อประกันคุณภาพสถานที่เรียน”
นายจุรินทร์ กล่าวถึงเรื่องการสรรหาอธิการบดี ว่า ช่วงปี 2551-2552 ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการสรรหาอธิการบดี สูงถึง 16 แห่ง มีทั้งเรื่องคุณสมบัติของอธิการบดี ความประพฤติของผู้บริหารระดับสูง การสรรหาไม่เป็นไปตามข้อบังคับ เป็นต้น เรื่องร้องเรียนส่งมาที่ตน ตนก็ต้องส่งกลับไปยัง สกอ.และส่งต่อไปที่สภามหาวิทยาลัย เพราะอำนาจทั้งหมดอยู่ที่สภามหาวิทยาลัย ในขณะนี้มีเรื่องค้างอยู่ 5 แห่ง กำลังตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่ศาลปกครองสั่งทุเลาโปรดเกล้าฯ จนกว่าจะมีคำสั่งศาล อย่างไรก็ตาม ปัญหาการสรรหาอธิการบดีที่เกิดขึ้น กระทบการบริหารงานของมหาวิทยาลัยด้วย
“การบริหารงานของบางมหาวิทยาลัย หากมีปัญหาเกิดขึ้น รวมถึงเรื่องวินัย ตรงนี้เป็นอำนาจของสภามหาวิทยาลัย ไม่ใช่ สกอ.หรือ รัฐมนตรี ต้องส่งเรื่องกลับไปให้สภามหาวิทยาลัยดำเนินการ เพียงแต่มหาวิทยาลัยอยู่ภายใต้ รมว.ศธ.เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น มักจะมีการตั้งกระทู้ถาม ก็ไม่พ้น รมว.ศธ. รมช.ศธ.ต้องชี้แจงในรัฐสภา ขอฝากนายกสภามหาวิทยาลัย ดูแลปัญหาเหล่านี้อย่างเคร่งครัด”
จากนั้น นายจุรินทร์ กล่าวถึงการตั้งคุรุศึกษาแห่งชาติ ว่า มีข้อเสนอจัดตั้งคุรุศึกษาแห่งชาติ ตนเคยตั้งคำถามว่า ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานที่ผลิตครูหรือไม่ ก็ได้คำตอบว่า “ไม่ซ้ำซ้อน” ทุกเรื่องตนรับฟัง ไม่ได้แข็งทื่อ หรือตายตัว เพียงแต่ขอให้มีผู้รับผิดชอบ ครูคือหัวใจสำคัญในการพัฒนาเด็ก เด็กจะเป็นอย่างไร คำตอบชัดในตัวเอง อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ตนมอบให้สำนักงานสภาการศึกษา (สกศ.) ไปรับฟังความคิดเห็นเมื่อวันที่ 20 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุป จึงให้ไปประชุมกันอีกครั้ง และอะไรดีที่สุดในการพัฒนาการศึกษาของชาติ ตนจะตัดสินตามนั้น