“นพ.เกษม” องคมนตรี แฉองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กินกระทั่งทุนการศึกษาเด็กกระเหรี่ยง เผยส่งเรื่องให้ให้ ศธ.จัดการแล้ว แนะผู้บริหารกระทรวงศึกษาฯ ยึดหลักทรงงาน “ในหลวง” ปฏิรูปการศึกษา ปลอดคอร์รัปชัน และต้องมีระบบธรรมาภิบาลอย่างเข้มงวด
วานนี้ (17 ก.ค.)ที่วังสวนผักกาด พญาไท นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานมอบรางวัลสิปปนนท์ สำหรับผู้ทำคะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) สาขาวิทยาศาสตร์ สูงสุดของประเทศ พร้อมทั้งกล่าวปาฐกถา เรื่องการปฏิรูปการศึกษาไทย 2 ทศวรรษว่า การปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ผ่านมา เป็นการปฏิรูปแต่โครงสร้างทำให้มีผู้บริหารระดับสูงเกิดขึ้นมาก แต่ในทางตรงกันข้าม เด็กนักเรียนที่จบ ป.6 กลับยังอ่านหนังสือไม่ออก ขณะที่บางเขตพื้นที่การศึกษาก็มีรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามากกว่า 10 คน แต่เมื่อมองไปที่การประเมินผลทางการศึกษากลับยังไม่ลงตัว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการทั้ง 5 แท่ง จะต้องหารือร่วมกัน เพราะสิ่งที่บ่งบอกได้อย่างชัดเจนคือผลการสอบโอเน็ตใน 4 ปีที่ผ่านมาไม่ดีขึ้น
องคมนตรี กล่าวต่อไปว่า ในช่วงการปฏิรูปการศึกษารอบสอง หรือ 10 ปีต่อจากนี้ ตนขอเสนอให้ยึดแนวทางในการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ “ประหยัด เรียบง่าย ประโยชน์สูงสุด” โดยการบริหารการศึกษา จะต้องทำให้เกิดความกะทัดรัด มีเอกภาพ ไปในทางเดียวกัน มีการใช้ระบบธรรมาภิบาลอย่างเข้มงวด จะต้องไม่มีการคอร์รัปชันในระบบการศึกษาไทย ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ
“ที่ผ่านมา ผมเคยขอร้องผู้บริหารการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะมีข่าวว่ากินทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตำราเรียน เครื่องแบบนักเรียน นมโรงเรียน ได้ขอร้องไปว่ากินอะไรก็กินไป แต่อย่ามาโกงกินกับระบบการศึกษา ซึ่งผมเจอมาหมดกระทั่งผู้อำนวยการโรงเรียนบนดอยแห่งหนึ่ง ก็มีการโกงกินเงินทุนการศึกษาของเด็กกะเหรี่ยงที่มูลนิธิศุภนิมิตให้ทุนมาปีละ 500 บาท แต่เด็กกลับได้แค่ 300 บาท อีก 200 บาทไม่ทราบว่าหายไปไหน ผมก็ทำเรื่องแจ้งกระทรวงศึกษาธิการให้สอบสวนข้อเท็จจริงไปแล้ว”
นพ.เกษม กล่าวอีกว่า กระทรวงศึกษาธิการ จำเป็นจะต้องกระจายการจัดการศึกษาไปให้องค์กรอื่น และกระทรวงคอยควบคุม ดูแลคุณภาพมาตรฐานการศึกษา รวมทั้งต้องกระจายไปทั่วทุกชุมชน ทุกกลุ่มประชาชนด้วย ต้องยกเครื่องการผลิตและพัฒนาครู สร้างระบบที่จูงใจให้คนเก่ง คนดี มาเรียนรู้และเป็นครู หลักสูตรผลิตครู และพัฒนาครูต้องปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ผู้บริหารสถานศึกษาละครูต้องร่วมกันออกแบบและกำกับดูแลการบริหารหลักสูตรและรายวิชาเรียนในทุกชั่วโมงเรียน ยกเครื่องระบบวัดและประเมินผล โดยใช้คณะผู้วัดผลร่วมจากภายนอก จัดการวัดผลให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน การตกซ้ำชั้นจะต้องมี และต้องหาทางพัฒนาการเรียนการสอนไม่ให้เด็กตกซ้ำชั้น เพราะที่ผ่านมาให้เด็กทุกคนไม่ต้องตกซ้ำชั้นซึ่งผลก็แสดงให้เห็นแล้วว่าเชื่อมโยงต่อคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้อยากให้ทุกฝ่ายทำให้เรื่องการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติที่แท้จริงและถาวร
วานนี้ (17 ก.ค.)ที่วังสวนผักกาด พญาไท นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานมอบรางวัลสิปปนนท์ สำหรับผู้ทำคะแนนการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) สาขาวิทยาศาสตร์ สูงสุดของประเทศ พร้อมทั้งกล่าวปาฐกถา เรื่องการปฏิรูปการศึกษาไทย 2 ทศวรรษว่า การปฏิรูปการศึกษาครั้งที่ผ่านมา เป็นการปฏิรูปแต่โครงสร้างทำให้มีผู้บริหารระดับสูงเกิดขึ้นมาก แต่ในทางตรงกันข้าม เด็กนักเรียนที่จบ ป.6 กลับยังอ่านหนังสือไม่ออก ขณะที่บางเขตพื้นที่การศึกษาก็มีรองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามากกว่า 10 คน แต่เมื่อมองไปที่การประเมินผลทางการศึกษากลับยังไม่ลงตัว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการทั้ง 5 แท่ง จะต้องหารือร่วมกัน เพราะสิ่งที่บ่งบอกได้อย่างชัดเจนคือผลการสอบโอเน็ตใน 4 ปีที่ผ่านมาไม่ดีขึ้น
องคมนตรี กล่าวต่อไปว่า ในช่วงการปฏิรูปการศึกษารอบสอง หรือ 10 ปีต่อจากนี้ ตนขอเสนอให้ยึดแนวทางในการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ “ประหยัด เรียบง่าย ประโยชน์สูงสุด” โดยการบริหารการศึกษา จะต้องทำให้เกิดความกะทัดรัด มีเอกภาพ ไปในทางเดียวกัน มีการใช้ระบบธรรมาภิบาลอย่างเข้มงวด จะต้องไม่มีการคอร์รัปชันในระบบการศึกษาไทย ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ
“ที่ผ่านมา ผมเคยขอร้องผู้บริหารการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพราะมีข่าวว่ากินทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นตำราเรียน เครื่องแบบนักเรียน นมโรงเรียน ได้ขอร้องไปว่ากินอะไรก็กินไป แต่อย่ามาโกงกินกับระบบการศึกษา ซึ่งผมเจอมาหมดกระทั่งผู้อำนวยการโรงเรียนบนดอยแห่งหนึ่ง ก็มีการโกงกินเงินทุนการศึกษาของเด็กกะเหรี่ยงที่มูลนิธิศุภนิมิตให้ทุนมาปีละ 500 บาท แต่เด็กกลับได้แค่ 300 บาท อีก 200 บาทไม่ทราบว่าหายไปไหน ผมก็ทำเรื่องแจ้งกระทรวงศึกษาธิการให้สอบสวนข้อเท็จจริงไปแล้ว”
นพ.เกษม กล่าวอีกว่า กระทรวงศึกษาธิการ จำเป็นจะต้องกระจายการจัดการศึกษาไปให้องค์กรอื่น และกระทรวงคอยควบคุม ดูแลคุณภาพมาตรฐานการศึกษา รวมทั้งต้องกระจายไปทั่วทุกชุมชน ทุกกลุ่มประชาชนด้วย ต้องยกเครื่องการผลิตและพัฒนาครู สร้างระบบที่จูงใจให้คนเก่ง คนดี มาเรียนรู้และเป็นครู หลักสูตรผลิตครู และพัฒนาครูต้องปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา ผู้บริหารสถานศึกษาละครูต้องร่วมกันออกแบบและกำกับดูแลการบริหารหลักสูตรและรายวิชาเรียนในทุกชั่วโมงเรียน ยกเครื่องระบบวัดและประเมินผล โดยใช้คณะผู้วัดผลร่วมจากภายนอก จัดการวัดผลให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน การตกซ้ำชั้นจะต้องมี และต้องหาทางพัฒนาการเรียนการสอนไม่ให้เด็กตกซ้ำชั้น เพราะที่ผ่านมาให้เด็กทุกคนไม่ต้องตกซ้ำชั้นซึ่งผลก็แสดงให้เห็นแล้วว่าเชื่อมโยงต่อคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้อยากให้ทุกฝ่ายทำให้เรื่องการศึกษาเป็นวาระแห่งชาติที่แท้จริงและถาวร