ผลตรวจสอบเบื้องต้นโครงการไทยเข้มแข็ง สธ.สาวไม่ถึงตัวการใหญ่ บิ๊ก สธ.มีเอี่ยว อ้างไม่มีอำนาจแต่มีมูลทุจริตจริง สอดไส้ “ยูวีแฟน-ออโตเมด” รพ.ไม่ขอแต่ได้ ส่วน “เครื่องช่วยหายใจ-เครื่องดมยาสลบ-เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจ” จัดสรรไม่เหมาะสม “หอพยาบาล” ราคาสูงเกินจริง แต่ไม่เปิดชื่อข้าราชการระดับผู้อำนวยการสำนักเอี่ยว ตั้งคณะกรรมการสอบเชิงลึก 16 ต.ค.
วันที่ 13 ตุลาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.เสรี หงษ์หยก ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงรายการครุภัณฑ์ตามที่มีการร้องเรียน นพ.ชูวิทย์ ลิขิตยิ่งวรา ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย สาธารณสุขนิเทศก์ นพ.คำรณ ไชยศิริ ผู้อำนวยการโครงการไทยเข้มแข็ง และนพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษก สธ.ร่วมกันแถลงข่าวผลการตรวจสอบเบื้องต้นโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (เอสพี2) หรือไทยเข้มแข็ง 2555
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงรายการครุภัณฑ์ตามที่มีการร้องเรียนการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ 7 รายการ ได้แก่ 1.เครื่องช่วยหายใจ 2.เครื่องทำลายเชื้อโรคด้วยระบบแสงอัลตราไวโอเลตระบบปิด หรือยูวีแฟน 3.เครื่องดมยาสลบ 4.เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด หรือเซ็นทรัลมอนิเตอร์ 5.เครื่องตรวจสารชีวเคมีในเลือด หรือออโตเมด 6 เครื่องตรวจปริมาณเม็ดเลือด หรือ ซีบีซี ออโต เมด และ 7.รถพยาบาล จากรายการครุภัณฑ์ทั้งหมด 7,400 รายการ มีการสรุปผลการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า มีความบกพร่องและไม่เหมาะสมในการจัดสรรรายการครุภัณฑ์ใน 2.ประเด็นหลัก คือ 1.มีการจัดสรรครุภัณฑ์บางรายการไปให้กับสถานพยาบาลโดยที่ไม่มีการร้องขอจริง เช่น เครื่องยูวีแฟน มีการจัดสรรให้ไป 800 ตัว เครื่องตรวจสารชีวเคมีในเลือดและเครื่องตรวจปริมาณเม็ดเลือดรวม 40 ตัว ราคาเครื่องละ 3 ล้านบาท
2.มีการจัดสรรไม่เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ของขนาดสถานพยาบาล ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น เช่น เครื่องดมยาสลบ เครื่องช่วยหายใจ และเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจ เนื่องจากบางครุภัณฑ์ไม่จำเป็นต้องซื้อ เพราะการบริการคุ้มค่ากว่าการจัดซื้อและไม่ต้องใช้งบประมาณในการดูแลรักษาเครื่อง
“ในส่วนของสิ่งก่อสร้างที่มีการร้องเรียน โดยเฉพาะหอพักพยาบาล ขนาด 24 ห้อง ราคาตั้งงบประมาณ 9.7 ล้านบาท พบว่า มีการตั้งราคาสูงจริง จึงเสนอให้ทบทวนและหามาตรการในการคำนวณอย่างสมเหตุสมผล โดยอาจจะมีหน่วยงานภายนอก เช่น วิศวกรรมสถาน ในการคิดราคาตั้งงบประมาณร่วมกับกองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.)” นพ.ไพจิตร์กล่าว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ผลการสอบขณะนี้บอกได้แต่เพียงว่า มีข้าราชการที่ยังรับราชการอยู่ในระดับผู้อำนวยการสำนักมีส่วนเกี่ยวข้อง และได้อ้างว่ามีข้าราชการเกษียณเกี่ยวข้องเช่นกัน แต่ไม่สามารถระบุชื่อได้ เพราะจะทำให้เกิดความเสียหาย มีการฟ้องร้องได้ เนื่องจากเป็นเพียงผลตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นเท่านั้น ว่า มีผู้เกี่ยวข้องกี่คน และเกี่ยวข้องในประเด็นใด จะต้องสอบลงลึกในรายละเอียดต่อ ซึ่งผลการสอบอาจจะไม่มีความผิดก็ได้ หากมีการสอบสวนลงรายละเอียดเชิงลึก
16 ต.ค.ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเชิงลึก
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ความบกพร่องดังกล่าว อาจดำเนินการโดยเจตนาหรือความไม่รอบคอบ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงจำเป็นต้องมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบต่อไป โดยในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ จะเรียก นพ.เสรี และ นายเรืองรัตน์ บัวสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรมมาหารือ เพื่อพิจารณารายละเอียดข้อเท็จจริงทั้งหมดก่อนที่จะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเชิงลึกถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดว่ามีผู้เกี่ยวข้องกี่คนและใครบ้าง โดยจะดำเนินการแต่งตั้งภายในวันที่ 16 ตุลาคมนี้
“ขณะนี้การตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า มีบุคคลเกี่ยวข้องหลายคน แต่เพื่อให้ความเป็นธรรม ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายและวินัย ผมในฐานะผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็ว ยุติธรรม ปราศจากอคติ โดยจะให้โอกาสผู้เกี่ยวข้องชี้แจงเหตุผล ก่อนที่คณะกรรมการจะสรุปความเห็น จึงจะสามารถเปิดเผยรายชื่อบุคคลเหล่านั้นได้ ยืนยันว่า จะดำเนินต่ออย่างโปร่งใส ขอให้ทุกคนสบายใจ เชื่อว่า การทำงานของคณะกรรมการสอบสวนจะใช้เวลาไม่ถึง 1-2 เดือนให้รวดเร็วที่สุด” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
ยันยังไม่ก่อหนี้ผูกพัน จัดซื้อจัดจ้างยังไม่เซ็นสัญญายกเลิกได้
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า ส่วนคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมและแก้ไขโครงการไทยเข้มแข็ง ซึ่งดูภาพรวมรายการครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างในส่วนของสธ.ที่คาดว่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณราว 86,000 ล้านบาทนั้น ยังไม่มีรายการใดที่เป็นการก่อหนี้ผูกพัน ด้วยการเซ็นสัญญากับบริษัท ซึ่งในระบบการจัดซื้อจัดจ้างจะดำเนินการด้วยวิธีการใด เช่น การประกวดราคาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือการเปิดซองประกวดราคาขึ้นอยู่กับวงเงิน และจะถือว่าก่อหนี้ผูกพัน หรือสามารถเซ็นสัญญากับบริษัทได้เมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว แต่บางพื้นที่มีการเตรียมการจัดซื้อจัดจ้างจนได้บริษัทที่ชนะการประกวดราคา รอเพียงการเซ็นสัญญาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบทางราชการเอื้อว่าหากยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสามารถยกเลิกการประกวดราคาดังกล่าวได้ตลอดเวลาและไม่ต้องกลัวมีความผิด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้ยังไม่มีการตรวจสอบว่านักการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยใช่หรือไม่ นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า โดยอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ จะได้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นเท่านั้น ดังนั้น จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพิ่มเติม และข้อมูลที่คณะกรรมการได้รับก็เป็นไปตามข้อมูลที่มีการเปิดเผยต่อคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีการบันทึกรายละเอียดการประชุมไว้เป็นหลักฐานว่ามีผู้เกี่ยวข้องโทรศัพท์ถึงผู้อำนวยการที่รับผิดชอบโครงการจริง
ต่อข้อถามว่า หากผลการสอบสวน พบว่า มีนักการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้อง สธ.จะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งหมด
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับผลการตรวจสอบของคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสม ได้ตรวจสอบไปแล้วประมาณร้อยละ 30 เนื่องจากมีรายการคำขอจำนวนมากถึง 7,400 รายการ ผลการตรวจ พบว่า บางรายการมีราคาสูงเกินความจำเป็น ต้องมีการปรับลดวงเงิน โดยเฉพาะครุภัณฑ์บางรายการ
ชี้เอาผิดนักการเมือง-คนนอก ต้องแจ้ง ป. ป.ช.-ป.ป.ท.
นายเรืองรัตน์ กล่าวว่า ตามระเบียบราชการคณะกรรมการสอบสวนเชิงลึก จะต้องเป็นข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ส่วนบุคคลภายนอกไม่สามารถแต่งตั้งมาสอบสวนได้ และมีอำนาจในการเรียกข้าราชการที่ยังอยู่ในราชการสังกัดสธ.มาให้ข้อมูลเท่านั้น จะเรียกบุคคลภายนอกมาดำเนินการสอบถามข้อมูลได้ต่อเมื่อ มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าคณะกรรมการสอบสวนจะเป็นระดับร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง และถ้าดำเนินการสอบสวนเสร็จ หากพบว่าบุคคลภายนอกมีส่วนเกี่ยวข้อง สธ.ไม่สามารถลงโทษได้ ถ้ามีการชี้มูลว่าเกี่ยวข้องกับคดีทางอาญาก็จะต้องแจ้งต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)
“เท่าที่มีประสบการณ์จากกรณีทุจริตยา รถพยาบาลฉุกเฉินระดับสูง และคอมพิวเตอร์ ระยะเวลาการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพียง 7 วันตามที่คณะกรรมการชุด นพ.เสรี ดำเนินการ จะชี้มูลเพียงวินัยไม่ร้ายแรง แต่หากตรวจสอบเพิ่มเติมก็สามารถชี้มูลวินัยร้ายแรงได้ในภายหลัง”นายเรืองรัตน์กล่าว
วันที่ 13 ตุลาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.เสรี หงษ์หยก ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงรายการครุภัณฑ์ตามที่มีการร้องเรียน นพ.ชูวิทย์ ลิขิตยิ่งวรา ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย สาธารณสุขนิเทศก์ นพ.คำรณ ไชยศิริ ผู้อำนวยการโครงการไทยเข้มแข็ง และนพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษก สธ.ร่วมกันแถลงข่าวผลการตรวจสอบเบื้องต้นโครงการภายใต้แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะที่ 2 (เอสพี2) หรือไทยเข้มแข็ง 2555
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงรายการครุภัณฑ์ตามที่มีการร้องเรียนการจัดซื้อจัดจ้างครุภัณฑ์ 7 รายการ ได้แก่ 1.เครื่องช่วยหายใจ 2.เครื่องทำลายเชื้อโรคด้วยระบบแสงอัลตราไวโอเลตระบบปิด หรือยูวีแฟน 3.เครื่องดมยาสลบ 4.เครื่องติดตามการทำงานของหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด หรือเซ็นทรัลมอนิเตอร์ 5.เครื่องตรวจสารชีวเคมีในเลือด หรือออโตเมด 6 เครื่องตรวจปริมาณเม็ดเลือด หรือ ซีบีซี ออโต เมด และ 7.รถพยาบาล จากรายการครุภัณฑ์ทั้งหมด 7,400 รายการ มีการสรุปผลการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า มีความบกพร่องและไม่เหมาะสมในการจัดสรรรายการครุภัณฑ์ใน 2.ประเด็นหลัก คือ 1.มีการจัดสรรครุภัณฑ์บางรายการไปให้กับสถานพยาบาลโดยที่ไม่มีการร้องขอจริง เช่น เครื่องยูวีแฟน มีการจัดสรรให้ไป 800 ตัว เครื่องตรวจสารชีวเคมีในเลือดและเครื่องตรวจปริมาณเม็ดเลือดรวม 40 ตัว ราคาเครื่องละ 3 ล้านบาท
2.มีการจัดสรรไม่เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ของขนาดสถานพยาบาล ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น เช่น เครื่องดมยาสลบ เครื่องช่วยหายใจ และเครื่องติดตามการทำงานของหัวใจ เนื่องจากบางครุภัณฑ์ไม่จำเป็นต้องซื้อ เพราะการบริการคุ้มค่ากว่าการจัดซื้อและไม่ต้องใช้งบประมาณในการดูแลรักษาเครื่อง
“ในส่วนของสิ่งก่อสร้างที่มีการร้องเรียน โดยเฉพาะหอพักพยาบาล ขนาด 24 ห้อง ราคาตั้งงบประมาณ 9.7 ล้านบาท พบว่า มีการตั้งราคาสูงจริง จึงเสนอให้ทบทวนและหามาตรการในการคำนวณอย่างสมเหตุสมผล โดยอาจจะมีหน่วยงานภายนอก เช่น วิศวกรรมสถาน ในการคิดราคาตั้งงบประมาณร่วมกับกองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.)” นพ.ไพจิตร์กล่าว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ผลการสอบขณะนี้บอกได้แต่เพียงว่า มีข้าราชการที่ยังรับราชการอยู่ในระดับผู้อำนวยการสำนักมีส่วนเกี่ยวข้อง และได้อ้างว่ามีข้าราชการเกษียณเกี่ยวข้องเช่นกัน แต่ไม่สามารถระบุชื่อได้ เพราะจะทำให้เกิดความเสียหาย มีการฟ้องร้องได้ เนื่องจากเป็นเพียงผลตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นเท่านั้น ว่า มีผู้เกี่ยวข้องกี่คน และเกี่ยวข้องในประเด็นใด จะต้องสอบลงลึกในรายละเอียดต่อ ซึ่งผลการสอบอาจจะไม่มีความผิดก็ได้ หากมีการสอบสวนลงรายละเอียดเชิงลึก
16 ต.ค.ตั้งคณะกรรมการสอบสวนเชิงลึก
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ความบกพร่องดังกล่าว อาจดำเนินการโดยเจตนาหรือความไม่รอบคอบ หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จึงจำเป็นต้องมีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบต่อไป โดยในวันที่ 14 ตุลาคมนี้ จะเรียก นพ.เสรี และ นายเรืองรัตน์ บัวสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการกลุ่มเสริมสร้างวินัยและระบบคุณธรรมมาหารือ เพื่อพิจารณารายละเอียดข้อเท็จจริงทั้งหมดก่อนที่จะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเชิงลึกถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดว่ามีผู้เกี่ยวข้องกี่คนและใครบ้าง โดยจะดำเนินการแต่งตั้งภายในวันที่ 16 ตุลาคมนี้
“ขณะนี้การตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า มีบุคคลเกี่ยวข้องหลายคน แต่เพื่อให้ความเป็นธรรม ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายและวินัย ผมในฐานะผู้บังคับบัญชาต้องดำเนินการด้วยความรวดเร็ว ยุติธรรม ปราศจากอคติ โดยจะให้โอกาสผู้เกี่ยวข้องชี้แจงเหตุผล ก่อนที่คณะกรรมการจะสรุปความเห็น จึงจะสามารถเปิดเผยรายชื่อบุคคลเหล่านั้นได้ ยืนยันว่า จะดำเนินต่ออย่างโปร่งใส ขอให้ทุกคนสบายใจ เชื่อว่า การทำงานของคณะกรรมการสอบสวนจะใช้เวลาไม่ถึง 1-2 เดือนให้รวดเร็วที่สุด” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
ยันยังไม่ก่อหนี้ผูกพัน จัดซื้อจัดจ้างยังไม่เซ็นสัญญายกเลิกได้
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า ส่วนคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมและแก้ไขโครงการไทยเข้มแข็ง ซึ่งดูภาพรวมรายการครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างในส่วนของสธ.ที่คาดว่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณราว 86,000 ล้านบาทนั้น ยังไม่มีรายการใดที่เป็นการก่อหนี้ผูกพัน ด้วยการเซ็นสัญญากับบริษัท ซึ่งในระบบการจัดซื้อจัดจ้างจะดำเนินการด้วยวิธีการใด เช่น การประกวดราคาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือการเปิดซองประกวดราคาขึ้นอยู่กับวงเงิน และจะถือว่าก่อหนี้ผูกพัน หรือสามารถเซ็นสัญญากับบริษัทได้เมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณแล้ว แต่บางพื้นที่มีการเตรียมการจัดซื้อจัดจ้างจนได้บริษัทที่ชนะการประกวดราคา รอเพียงการเซ็นสัญญาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบทางราชการเอื้อว่าหากยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสามารถยกเลิกการประกวดราคาดังกล่าวได้ตลอดเวลาและไม่ต้องกลัวมีความผิด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้ยังไม่มีการตรวจสอบว่านักการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยใช่หรือไม่ นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า โดยอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบ จะได้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นเท่านั้น ดังนั้น จะต้องมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเพิ่มเติม และข้อมูลที่คณะกรรมการได้รับก็เป็นไปตามข้อมูลที่มีการเปิดเผยต่อคณะกรรมาธิการสาธารณสุข สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งมีการบันทึกรายละเอียดการประชุมไว้เป็นหลักฐานว่ามีผู้เกี่ยวข้องโทรศัพท์ถึงผู้อำนวยการที่รับผิดชอบโครงการจริง
ต่อข้อถามว่า หากผลการสอบสวน พบว่า มีนักการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้อง สธ.จะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งหมด
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับผลการตรวจสอบของคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสม ได้ตรวจสอบไปแล้วประมาณร้อยละ 30 เนื่องจากมีรายการคำขอจำนวนมากถึง 7,400 รายการ ผลการตรวจ พบว่า บางรายการมีราคาสูงเกินความจำเป็น ต้องมีการปรับลดวงเงิน โดยเฉพาะครุภัณฑ์บางรายการ
ชี้เอาผิดนักการเมือง-คนนอก ต้องแจ้ง ป. ป.ช.-ป.ป.ท.
นายเรืองรัตน์ กล่าวว่า ตามระเบียบราชการคณะกรรมการสอบสวนเชิงลึก จะต้องเป็นข้าราชการในกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ส่วนบุคคลภายนอกไม่สามารถแต่งตั้งมาสอบสวนได้ และมีอำนาจในการเรียกข้าราชการที่ยังอยู่ในราชการสังกัดสธ.มาให้ข้อมูลเท่านั้น จะเรียกบุคคลภายนอกมาดำเนินการสอบถามข้อมูลได้ต่อเมื่อ มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง ซึ่งขณะนี้ยังไม่แน่ชัดว่าคณะกรรมการสอบสวนจะเป็นระดับร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง และถ้าดำเนินการสอบสวนเสร็จ หากพบว่าบุคคลภายนอกมีส่วนเกี่ยวข้อง สธ.ไม่สามารถลงโทษได้ ถ้ามีการชี้มูลว่าเกี่ยวข้องกับคดีทางอาญาก็จะต้องแจ้งต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)
“เท่าที่มีประสบการณ์จากกรณีทุจริตยา รถพยาบาลฉุกเฉินระดับสูง และคอมพิวเตอร์ ระยะเวลาการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพียง 7 วันตามที่คณะกรรมการชุด นพ.เสรี ดำเนินการ จะชี้มูลเพียงวินัยไม่ร้ายแรง แต่หากตรวจสอบเพิ่มเติมก็สามารถชี้มูลวินัยร้ายแรงได้ในภายหลัง”นายเรืองรัตน์กล่าว