“ปธ.สมาพันธ์ครู 3 จชต.” รับเหตุความไม่สงบยังคงรุนแรง แต่ครูกลับได้รับผลกระทบน้อยลง เหตุผู้ก่อการเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมาย ยันไม่มีมติให้หยุดเรียน เผย อัตราครูขอย้ายอยู่ในเกณฑ์ปกติ เห็นดีตั้งคณะกรรมการบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้ แต่ต้องเน้นเรื่องความปลอดภัยครู นักเรียน คุณภาพการศึกษา ฝากทำงานแบบบูรณาการ ดึงศักยภาพคนในพื้นที่ ช่วยจัดการศึกษา เชื่อทำได้ส่งผลดีระยะยาว
วันนี้ (13 ต.ค.) ที่หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวถึงสถานการณ์การก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า สถานการณ์การก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงรุนแรงเหมือนเดิม เพียงแต่เป้าหมายการก่อเหตุอาจจะเปลี่ยนไปโดยมุ่งไปที่คนกลุ่มใหญ่ จึงทำให้ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้รับผลกระทบน้อยลง อย่างไรก็ตามทุกคนก็ไม่ได้ประมาท ขณะเดียวกัน ณ วันนี้ สมาพันธ์ครูฯ เอง ก็ไม่ได้มีมติให้หยุดเรียน ทุกโรงเรียนจะยังคงเปิดสอนตามปกติ เพียงแต่ในช่วงเดือน ต.ค.นี้อยู่ระหว่างการปิดภาคเรียนที่ 1 เท่านั้น
นายบุญสม กล่าวต่อว่า สำหรับตัวเลขของครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยื่นเรื่องขอย้ายนั้น เท่าที่ทราบข้อมูลในเบื้องต้นยังมีไม่มาก และถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ถึงแม้จะมีครูขอย้ายออกแต่ก็ไม่มีผลกระทบกับจำนวนครูผู้สอน ทุกโรงเรียนมีครูผู้สอนเพียงพอ เพราะมีการจ้างครูอัตราจ้างเข้ามาช่วยสอนทดแทนในโรงเรียนที่ขาด
ส่วนกรณีที่มีผู้แสดงความเป็นห่วงว่าในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมไปถึงอาคารเรียนในโรงเรียนต่างๆในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มักจะเป็นเป้าหมายสำคัญในการก่อเหตุความรุนแรงนั้น นายบุญสม กล่าวว่า เข้าใจว่าเรื่องนี้ทางหน่วยงานด้านความมั่นคงก็พอจะทราบข้อมูลอยู่บ้างว่าผู้ก่อความไม่สงบมักจะใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการก่อเหตุ ดังนั้นคงจะได้เตรียมการวางแผนในการป้องกันปัญหาไว้แล้ว และในส่วนของสมาพันธ์ครูฯ ก็จะมีการประชุมหารือเรื่องนี้กัน หากมีการวิเคราะห์กันแล้วว่ามีจุดไหนที่จะให้ทางฝ่ายความมั่นคงเข้ามาช่วยดูแลก็จะแจ้งให้ทราบต่อไป
เมื่อถามว่า ศธ.มีการตั้งคณะกรรมการบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น คิดว่าสถานการณ์ด้านการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะดีขึ้นหรือไม่นั้น นายบุญสม กล่าวว่า ปกติสถานการณ์จากที่อดีตเคยมีผู้บริหารระดับสูง ศธ.หลายคนเข้ามาดูแลการทำงานก็เดินหน้าได้ ซึ่งคณะกรรมการฯ ชุดนี้ที่มี นายนิวัตร นาคะเวช รองปลัด ศธ. เป็นประธาน และมี ดร.กมล รอดคล้าย ผู้ตรวจราชการ ศธ. เป็นรองประธานนั้น คิดว่าน่าจะทำงานได้ด้วยดี แต่ต้องให้ความสำคัญ เช่น เรื่องการดูแลความปลอดภัยของครู นักเรียน คุณภาพการศึกษา ตนคาดหวังว่าคณะกรรมการฯ ชุดนี้ รู้ปัญหาดี ว่าจะแก้ปัญหาส่วนไหน ทำอย่างไรให้ให้เกิดความปลอดภัย ให้พื้นที่มีคุณภาพการศึกษาที่ดีขึ้น ซึ่งการทำงานในพื้นที่ที่ดีนั้น ต้องมีการทำงานแบบบูรณาการ ไม่ใช่ทำงานแบบความคิดคนเดียว ทำคนเดียว และสามารถดึงศักยภาพของคนในพื้นที่ เข้ามาจัดการศึกษา ซึ่งคณะกรรมการฯ ชุดนี้น่าจะทำงานเข้ากับครูในพื้นที่ได้ดี และส่งผลดีในระยะยาวต่อไป
“ปัจจุบันขวัญและกำลังใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ยังดี ทุกคนยังใจสู้ และไม่มีใครอยากจะหยุดทำการสอน เพราะเป็นห่วงนักเรียน และไม่ต้องการซ้ำเติมปัญหาทางการศึกษาให้กับนักเรียน เพราะแค่ปัญหาที่มีอยู่ในขณะนี้ก็ส่งผลต่อเรื่องคุณภาพการศึกษาของนักเรียนไม่น้อย ทุกคนต่างคาดหวังให้สถานการณ์ดีขึ้น รัฐบาลแก้ปัญหาถูกทาง ครูมีกำลังใจมากขึ้น ถ้าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ การบริหาร ขับเคลื่อนก็จะมีผลดีตามไปด้วย ทั้งนี้รัฐบาลต้องดูแลคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ด้วย เพราะการศึกษาไม่สามารถขับเคลื่อนฝ่ายเดียวได้ แต่ประชาชนต้องมีความพร้อมในเรื่องของสถานะทางเศรษฐกิจ การมีงานทำ ซึ่งทุกเรื่องถือเป็นความคาดหวังของครู และประชาชนในพื้นที่” ปธ.สมาพันธ์ครู 3 จชต.กล่าว
เมื่อถามว่า คนมีฐานะในพื้นที่ต่างส่งลูก หลานไปเรียนในประเทศตะวันออกนั้น นายบุญสม กล่าวว่า ก็ยังมีอยู่บ้างบางส่วน ทั้งนี้ รัฐเองดึงทรัพยากรคนเหล่านี้กลับมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ต้องนำคนเหล่านี้มาเป็นโลโก้ ช่วยชูธงให้แก่การศึกษาในพื้นที่ ซึ่งรัฐเองก็ต้องดูแลคุณภาพการศึกษาทุกสังกัดให้มีคุณภาพด้วย
วันนี้ (13 ต.ค.) ที่หอประชุมคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นายบุญสม ทองศรีพราย ประธานสมาพันธ์ครู 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวถึงสถานการณ์การก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า สถานการณ์การก่อเหตุความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังคงรุนแรงเหมือนเดิม เพียงแต่เป้าหมายการก่อเหตุอาจจะเปลี่ยนไปโดยมุ่งไปที่คนกลุ่มใหญ่ จึงทำให้ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้รับผลกระทบน้อยลง อย่างไรก็ตามทุกคนก็ไม่ได้ประมาท ขณะเดียวกัน ณ วันนี้ สมาพันธ์ครูฯ เอง ก็ไม่ได้มีมติให้หยุดเรียน ทุกโรงเรียนจะยังคงเปิดสอนตามปกติ เพียงแต่ในช่วงเดือน ต.ค.นี้อยู่ระหว่างการปิดภาคเรียนที่ 1 เท่านั้น
นายบุญสม กล่าวต่อว่า สำหรับตัวเลขของครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยื่นเรื่องขอย้ายนั้น เท่าที่ทราบข้อมูลในเบื้องต้นยังมีไม่มาก และถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ถึงแม้จะมีครูขอย้ายออกแต่ก็ไม่มีผลกระทบกับจำนวนครูผู้สอน ทุกโรงเรียนมีครูผู้สอนเพียงพอ เพราะมีการจ้างครูอัตราจ้างเข้ามาช่วยสอนทดแทนในโรงเรียนที่ขาด
ส่วนกรณีที่มีผู้แสดงความเป็นห่วงว่าในช่วงเปิดภาคเรียนใหม่ครูและบุคลากรทางการศึกษา รวมไปถึงอาคารเรียนในโรงเรียนต่างๆในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มักจะเป็นเป้าหมายสำคัญในการก่อเหตุความรุนแรงนั้น นายบุญสม กล่าวว่า เข้าใจว่าเรื่องนี้ทางหน่วยงานด้านความมั่นคงก็พอจะทราบข้อมูลอยู่บ้างว่าผู้ก่อความไม่สงบมักจะใช้ช่วงเวลาดังกล่าวในการก่อเหตุ ดังนั้นคงจะได้เตรียมการวางแผนในการป้องกันปัญหาไว้แล้ว และในส่วนของสมาพันธ์ครูฯ ก็จะมีการประชุมหารือเรื่องนี้กัน หากมีการวิเคราะห์กันแล้วว่ามีจุดไหนที่จะให้ทางฝ่ายความมั่นคงเข้ามาช่วยดูแลก็จะแจ้งให้ทราบต่อไป
เมื่อถามว่า ศธ.มีการตั้งคณะกรรมการบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น คิดว่าสถานการณ์ด้านการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะดีขึ้นหรือไม่นั้น นายบุญสม กล่าวว่า ปกติสถานการณ์จากที่อดีตเคยมีผู้บริหารระดับสูง ศธ.หลายคนเข้ามาดูแลการทำงานก็เดินหน้าได้ ซึ่งคณะกรรมการฯ ชุดนี้ที่มี นายนิวัตร นาคะเวช รองปลัด ศธ. เป็นประธาน และมี ดร.กมล รอดคล้าย ผู้ตรวจราชการ ศธ. เป็นรองประธานนั้น คิดว่าน่าจะทำงานได้ด้วยดี แต่ต้องให้ความสำคัญ เช่น เรื่องการดูแลความปลอดภัยของครู นักเรียน คุณภาพการศึกษา ตนคาดหวังว่าคณะกรรมการฯ ชุดนี้ รู้ปัญหาดี ว่าจะแก้ปัญหาส่วนไหน ทำอย่างไรให้ให้เกิดความปลอดภัย ให้พื้นที่มีคุณภาพการศึกษาที่ดีขึ้น ซึ่งการทำงานในพื้นที่ที่ดีนั้น ต้องมีการทำงานแบบบูรณาการ ไม่ใช่ทำงานแบบความคิดคนเดียว ทำคนเดียว และสามารถดึงศักยภาพของคนในพื้นที่ เข้ามาจัดการศึกษา ซึ่งคณะกรรมการฯ ชุดนี้น่าจะทำงานเข้ากับครูในพื้นที่ได้ดี และส่งผลดีในระยะยาวต่อไป
“ปัจจุบันขวัญและกำลังใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาในพื้นที่ยังดี ทุกคนยังใจสู้ และไม่มีใครอยากจะหยุดทำการสอน เพราะเป็นห่วงนักเรียน และไม่ต้องการซ้ำเติมปัญหาทางการศึกษาให้กับนักเรียน เพราะแค่ปัญหาที่มีอยู่ในขณะนี้ก็ส่งผลต่อเรื่องคุณภาพการศึกษาของนักเรียนไม่น้อย ทุกคนต่างคาดหวังให้สถานการณ์ดีขึ้น รัฐบาลแก้ปัญหาถูกทาง ครูมีกำลังใจมากขึ้น ถ้าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ การบริหาร ขับเคลื่อนก็จะมีผลดีตามไปด้วย ทั้งนี้รัฐบาลต้องดูแลคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ด้วย เพราะการศึกษาไม่สามารถขับเคลื่อนฝ่ายเดียวได้ แต่ประชาชนต้องมีความพร้อมในเรื่องของสถานะทางเศรษฐกิจ การมีงานทำ ซึ่งทุกเรื่องถือเป็นความคาดหวังของครู และประชาชนในพื้นที่” ปธ.สมาพันธ์ครู 3 จชต.กล่าว
เมื่อถามว่า คนมีฐานะในพื้นที่ต่างส่งลูก หลานไปเรียนในประเทศตะวันออกนั้น นายบุญสม กล่าวว่า ก็ยังมีอยู่บ้างบางส่วน ทั้งนี้ รัฐเองดึงทรัพยากรคนเหล่านี้กลับมาใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ต้องนำคนเหล่านี้มาเป็นโลโก้ ช่วยชูธงให้แก่การศึกษาในพื้นที่ ซึ่งรัฐเองก็ต้องดูแลคุณภาพการศึกษาทุกสังกัดให้มีคุณภาพด้วย