รองปลัด สธ.ขู่สสจ.เจ้าของพื้นที่ต้องรับผิดชอบ หากเกิดทุจริต โครงการไทยเข้มแข็ง ขณะที่ สป.สธ.เตรียมตั้งสำนักงานกลางดูแลงบเฉพาะกิจ มีนพ.คำรณ ไชยศิริ เป็น ผอ.สำนักงาน ด้าน “หมอเกรียงศักดิ์” เตือน ผู้ว่าฯ สสจ.ข้าราชการผู้น้อย มีส่วนทำผิดทุจริตโดยไม่รู้ตัว
วันที่ 16 กันยายน พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีที่ประธานชมรมแพทย์ชนบทออกมาท้วงติงเรื่องโครงการไทยเข้มแข็ง ที่ สธ.ได้รับการจัดสรรมูลค่ารวมกว่า 86,000 ล้านบาท ที่เริ่มมีกระแสว่าจะมีการทุจริตล็อกสเปก ฮั้วประมูลการจัดซื้อจัดจ้าง ว่า
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ได้รับงบประมาณ งบลงทุนเป็นค่าครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 รอบที่ 1 สำหรับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัยในระยะเวลา 3 ปีระหว่าง พ.ศ.2553-2555 จำนวน 67,607 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 5 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพประจำตำบล 14,763 ล้านบาท 2.โครงการพัฒนาระบบบริการระดับทุติยภูมิ 13,499 ล้านบาท 3.โครงการพัฒนาระบบบริการตติยภูมิ 17,250 ล้านบาท 4.โครงการพัฒนาบริการตติยภูมิ ศูนย์โรคหัวใจ มะเร็งและเครือข่ายการบาดเจ็บแห่งชาติ 7,469 ล้านบาท และ 5.โครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานและเครือข่ายการบริการทุกระดับ 14,625 ล้านบาท
พญ.ศิริพร กล่าวต่อว่า การจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมดจะให้โรงพยาบาล และ สสจ.ดำเนินการเองทั้งหมด แต่ส่วนกลางจำเป็นต้องจัดทำราคากลางของรายการที่จะซื้อ มีประมาณ 7,400 รายการ เพราะต้องนำราคาดังกล่าวไปดำเนินการของบประมาณจากสำนักงบประมาณ เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจะต้องส่งรายการดังกล่าวมาให้กับสำนักงานโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่จะมีการจัดตั้งหน่วยงานกลางขึ้นเป็นการเฉพาะกิจ เพื่อบริหารจัดการงบประมาณของโครงการนี้ โดยมี นพ.คำรณ ไชยศิริ สาธารณสุขนิเทศ เป็นผู้อำนวยการ ถ้าไม่มีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างสามารถอนุมัติงบประมาณในการจัดซื้อได้
“สธ.ให้หน่วยงานในระดับภูมิภาคดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเอง แต่ไม่ได้มอบเงินไปให้ โดยเงินงบประมาณจะอยู่ที่สำนักงานฯที่จัดตั้งขึ้นเฉพาะ เพื่อไม่ให้เงินไปกระจุกตัวอยู่ในจังหวัด ซึ่งโรงพยาบาลบางแห่งอาจจะซื้อตามรายการในราคาที่ต่ำกว่าราคากลางก็ได้ ส่วนเงินที่เหลือก็คืนคลัง เท่ากับหน่วยใดจัดซื้อจัดจ้างได้ในราคาเท่าไหร่ก็มาเบิกเงินเท่านั้น แต่สำนักงานฯจะทำการตรวจสอบก่อนว่าไม่มีผู้ร้องเรียนความไม่โปร่งใสของขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง จึงจะจัดสรรงบประมาณให้ สสจ.จึงเหมือนผู้จัดการโครงการในระดับพื้นที่ หากมีการทุจริตเกิดขึ้นก็ต้องรับผิดชอบ” พญ.ศิริพร กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า เป็นห่วงว่าโครงการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ ในโครงการไทยเข้มแข็ง จะสร้างปัญหาให้กับพื้นที่โดยเฉพาะผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สสจ.และโรงพยาบาล ที่อาจจะมีส่วนพัวพันกับการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างโดยไม่มีเจตนาที่จะทุจริต แต่ทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะต้องยอมรับว่าอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นเรื่องเฉพาะทางแม้แต่แพทย์ทั่วไปบางครั้งก็ไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่จะตรวจสอบได้เองว่าอุปกรณ์ที่ซื้อถูกล็อกสเปกหรือไม่
“ขณะนี้เครือข่ายแพทย์ชนบท จับตาโครงการจัดซื้อจัดจ้างไทยเข้มแข็งอย่างใกล้ชิด แต่ยังกังวลว่าหากเปิดโปงกระบวนการทุจริตต่างๆ ออกไปแล้วทำให้คนที่อยู่เบื้องหลังอาจจะรู้ตัวและแก้เกมได้ทัน เพราะขณะนี้เป็นเพียงการเตรียมการจะทุจริตเท่านั้น ยังไม่มีหลักฐานเอาผิดได้ชัดเจน จึงต้องออกมาเตือนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อไม่ให้หลงผิดตกเป็นเหยื่อได้ แต่หากปล่อยให้เรื่องเงียบหรือปล่อยให้มีการทำผิด ทำสัญญาจัดซื้อ จัดจ้างแล้ว คือให้รัฐเสียหายก่อนแล้วค่อยจับผิด แต่หากเป็นอย่างหลังอาจทำให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยเดือดร้อน มีความผิดโดยไม่มีส่วนรู้เห็นก็ได้ อย่างไรก็ตาม ความไม่ชอบมาพากลในโครงการนี้ผมได้ให้ข้อมูลกับนายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งท่านบอกว่าหากมีอะไรก็ให้ส่งข้อมูลมา ช่วยกันดู ช่วยกันเตือนอย่าให้เกิดเรื่องไม่ดีขึ้น” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
วันที่ 16 กันยายน พญ.ศิริพร กัญชนะ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีที่ประธานชมรมแพทย์ชนบทออกมาท้วงติงเรื่องโครงการไทยเข้มแข็ง ที่ สธ.ได้รับการจัดสรรมูลค่ารวมกว่า 86,000 ล้านบาท ที่เริ่มมีกระแสว่าจะมีการทุจริตล็อกสเปก ฮั้วประมูลการจัดซื้อจัดจ้าง ว่า
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ได้รับงบประมาณ งบลงทุนเป็นค่าครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 รอบที่ 1 สำหรับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ (สสอ.) โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัยในระยะเวลา 3 ปีระหว่าง พ.ศ.2553-2555 จำนวน 67,607 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 5 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการโรงพยาบาลสร้างเสริมสุขภาพประจำตำบล 14,763 ล้านบาท 2.โครงการพัฒนาระบบบริการระดับทุติยภูมิ 13,499 ล้านบาท 3.โครงการพัฒนาระบบบริการตติยภูมิ 17,250 ล้านบาท 4.โครงการพัฒนาบริการตติยภูมิ ศูนย์โรคหัวใจ มะเร็งและเครือข่ายการบาดเจ็บแห่งชาติ 7,469 ล้านบาท และ 5.โครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานและเครือข่ายการบริการทุกระดับ 14,625 ล้านบาท
พญ.ศิริพร กล่าวต่อว่า การจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมดจะให้โรงพยาบาล และ สสจ.ดำเนินการเองทั้งหมด แต่ส่วนกลางจำเป็นต้องจัดทำราคากลางของรายการที่จะซื้อ มีประมาณ 7,400 รายการ เพราะต้องนำราคาดังกล่าวไปดำเนินการของบประมาณจากสำนักงบประมาณ เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างจะต้องส่งรายการดังกล่าวมาให้กับสำนักงานโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่จะมีการจัดตั้งหน่วยงานกลางขึ้นเป็นการเฉพาะกิจ เพื่อบริหารจัดการงบประมาณของโครงการนี้ โดยมี นพ.คำรณ ไชยศิริ สาธารณสุขนิเทศ เป็นผู้อำนวยการ ถ้าไม่มีผู้ร้องเรียนเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างสามารถอนุมัติงบประมาณในการจัดซื้อได้
“สธ.ให้หน่วยงานในระดับภูมิภาคดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเอง แต่ไม่ได้มอบเงินไปให้ โดยเงินงบประมาณจะอยู่ที่สำนักงานฯที่จัดตั้งขึ้นเฉพาะ เพื่อไม่ให้เงินไปกระจุกตัวอยู่ในจังหวัด ซึ่งโรงพยาบาลบางแห่งอาจจะซื้อตามรายการในราคาที่ต่ำกว่าราคากลางก็ได้ ส่วนเงินที่เหลือก็คืนคลัง เท่ากับหน่วยใดจัดซื้อจัดจ้างได้ในราคาเท่าไหร่ก็มาเบิกเงินเท่านั้น แต่สำนักงานฯจะทำการตรวจสอบก่อนว่าไม่มีผู้ร้องเรียนความไม่โปร่งใสของขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง จึงจะจัดสรรงบประมาณให้ สสจ.จึงเหมือนผู้จัดการโครงการในระดับพื้นที่ หากมีการทุจริตเกิดขึ้นก็ต้องรับผิดชอบ” พญ.ศิริพร กล่าว
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า เป็นห่วงว่าโครงการจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ ในโครงการไทยเข้มแข็ง จะสร้างปัญหาให้กับพื้นที่โดยเฉพาะผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สสจ.และโรงพยาบาล ที่อาจจะมีส่วนพัวพันกับการทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างโดยไม่มีเจตนาที่จะทุจริต แต่ทำไปด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะต้องยอมรับว่าอุปกรณ์ทางการแพทย์เป็นเรื่องเฉพาะทางแม้แต่แพทย์ทั่วไปบางครั้งก็ไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญที่จะตรวจสอบได้เองว่าอุปกรณ์ที่ซื้อถูกล็อกสเปกหรือไม่
“ขณะนี้เครือข่ายแพทย์ชนบท จับตาโครงการจัดซื้อจัดจ้างไทยเข้มแข็งอย่างใกล้ชิด แต่ยังกังวลว่าหากเปิดโปงกระบวนการทุจริตต่างๆ ออกไปแล้วทำให้คนที่อยู่เบื้องหลังอาจจะรู้ตัวและแก้เกมได้ทัน เพราะขณะนี้เป็นเพียงการเตรียมการจะทุจริตเท่านั้น ยังไม่มีหลักฐานเอาผิดได้ชัดเจน จึงต้องออกมาเตือนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อไม่ให้หลงผิดตกเป็นเหยื่อได้ แต่หากปล่อยให้เรื่องเงียบหรือปล่อยให้มีการทำผิด ทำสัญญาจัดซื้อ จัดจ้างแล้ว คือให้รัฐเสียหายก่อนแล้วค่อยจับผิด แต่หากเป็นอย่างหลังอาจทำให้ข้าราชการชั้นผู้น้อยเดือดร้อน มีความผิดโดยไม่มีส่วนรู้เห็นก็ได้ อย่างไรก็ตาม ความไม่ชอบมาพากลในโครงการนี้ผมได้ให้ข้อมูลกับนายกรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งท่านบอกว่าหากมีอะไรก็ให้ส่งข้อมูลมา ช่วยกันดู ช่วยกันเตือนอย่าให้เกิดเรื่องไม่ดีขึ้น” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว