สธ.คลอด 4 มาตรการป้องกันโรค เฝ้าระวังเชื้อกลายพันธุ์-ผสมข้ามสายพันธุ์ สกัดการระบาดในชนบท หอพัก โรงเรียน พร้อมกระตุ้นการท่องเที่ยว ดึง 16 หน่วยงานรัฐร่วมเป็นเจ้าภาพดูแล ยันยังไม่พบเชื้อไวรัสติดต่อจากคนสู่สัตว์ สัตว์สู่คน ขณะที่จัดอบรมบุคลากรทางการแพทย์ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างรับมือการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่
วันที่ 3 กันยายน ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ โดยมีรองปลัดกระทรวงต่างๆ และ กทม.รวม 16 หน่วยงาน เข้าร่วมประชุม เพื่อให้ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการรณรงค์ป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 อย่างต่อเนื่อง
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ยังคงมีต่อเนื่อง และขยายตัวไปสู่พื้นที่ชนบทมากขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา คาดว่ามีคนไทยติดเชื้อแล้ว ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ โดยกลุ่มที่มีอัตราการติดเชื้อมากที่สุดคือ กลุ่มนักเรียนและวัยแรงงาน แต่ยังมีคนไทยอีก ร้อยละ 80 ที่ยังไม่ติดเชื้อจึงมีความเสี่ยงที่อาจจะติดเชื้อได้ตลอดเวลา จึงต้องเพิ่มความเข้มแข็งในมาตรการป้องกันทุกหน่วยงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการป่วยในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้แก่ เด็กนักเรียน กลุ่มคนทำงานในสถานบันเทิง กลุ่มเรือนจำ หอพักนักศึกษา กลุ่มหอพักที่จดและไม่จดทะเบียน โรงงาน ค่ายทหาร
“ยอมรับว่าการรณรงค์ป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 สธ. ไม่สามารถทำงานเพียงหน่วยงานเดียวได้ ซึ่งขณะนี้เห็นได้ชัดเจนแล้วว่า ไวรัสเริ่มระบาดลงพื้นที่ระดับชุมชนโดยเฉพาะในเขตชนบทแล้ว ดังนั้นจำเป็นต้องให้กระทรวงต่างๆ มาร่วมรับผิดชอบด้วย” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
ผนึกกำลังหน่วยงานอื่นต้านหวัด 2009
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้หารือมาตรการความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ โดยมีมติใน 4 ประเด็นหลัก คือ1.การเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์เชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ทั้งในสัตว์โดยเฉพาะสุกร และในคน เพื่อป้องกันเชื้อผสมข้ามสายพันธุ์ รวมทั้งการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา ซึ่งอาจจะทำให้สถานการณ์การะบาดรุนแรงยิ่งขึ้น โดยที่ประชุมได้ตั้งคณะทำงานประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันอุดมศึกษา และกระทรวงสาธารณสุข โดยให้กระทรวงเกษตรฯ เป็นเจ้าภาพหลัก
“กรมปศุสัตว์ได้รายงานในที่ประชุมว่า ยังไม่พบการกลายพันธุ์ของไวรัสในสัตว์ รวมถึงการติดเชื้อไวรัสจากสัตว์สู่คน และติดจากคนสู่สัตว์ เบื้องต้นกรมปศุสัตว์มีมาตรการป้องกันโรคอยู่แล้ว โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์บังคับใช้กับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะฟาร์มสุกร ห้ามคนที่ป่วยเป็นไข้หวัดเข้าไปในฟาร์มเลี้ยงสุกร เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้กับสัตว์” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ส่วนปัญหาการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์เก่า กับสายพันธุ์ใหม่ 2009 นั้น จากระบบเฝ้าระวังโรคของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังไม่พบว่ามีการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์เช่นกัน ซึ่งตามปกติโอกาสที่เชื้อไวรัสจะผสมพันธุ์กันเกิดขึ้นได้น้อยมาก เพราะระบบร่างกายมนุษย์ หากติดเชื้อไวรัสเพียงชนิดเดียว และต้องเป็นเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงมากกว่า และจะไม่ติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นที่รุนแรงน้อยกว่า
หวัดใหญ่ตามฤดูกาลดื้อยาต้านไม่เป็นปัญหา
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ส่วนปัญหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่ดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์แล้วนั้น ถือว่าไม่เป็นปัญหา เพราะเชื้อไวรัสชนิดนี้ไม่รุนแรงเท่ากับไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หากผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงไปโรงพยาบาลแพทย์จะวินิจฉัยให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ทันที แต่หากอาการไม่ดีขึ้นแพทย์ก็จะให้ยาต้านไวรัสซานามิเวียร์ควบคู่กัน โดยไม่รอผลตรวจเชื้อจากห้องปฏิบัติการเพราะล่าช้าเกินไป อาจทำให้ผู้ป่วยอาการทรุดลงได้
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า 2.การเฝ้าระวังโรคในชุมชน คือ การสร้างชุมชน อบต.ตัวอย่างที่มีระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคในพื้นที่อย่างเข้มแข็ง เพื่อให้มีรูปแบบการทำงานที่ชัดเจน และขยายผลไปทุกพื้นที่ ซึ่งขณะนี้มีแล้วที่ชุมชนในเขตกทม. โดยให้ตั้งคณะทำงานบูรณาการร่วม โดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นแกนหลัก ประกอบด้วย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ ซึ่งหากทุกพื้นที่มีการตื่นตัวป้องกันอย่างเข้มแข็ง เชื่อว่าจะสามารถลดการป่วยและการเสียชีวิตลงได้มาก
ตั้ง คกก.คุมเข้มร้านเกม-ราชทัณฑ์-หอพัก
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า 3.การตั้งคณะทำงานบูรณาการการจัดการเฉพาะกลุ่มเป้าหมายหลักๆ เช่น ร้านเกม ราชทัณฑ์ หอพัก โรงเรียน ค่ายทหาร โรงงาน โดยให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นแกนหลัก ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่ดูแลหอพักและร้านอินเตอร์เน็ต ร้านเกม ทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงวัฒนธรรม
4.มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของประเทศไทย เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความมั่นใจ ไม่ตื่นตระหนก โดยมีกระทรวงกีฬาและการท่องเที่ยวเป็นแกนหลัก ทำงานร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และสธ. เช่น ต่อไปจะมีมาตรการดูแลนักท่องเที่ยว โดยจัดจุดเจลล้างมือให้กับนักท่องเที่ยวทันทีที่ลงสนามบินก่อนถึงด่านตรวจคนเข้าเมือง ทั้งนี้ ให้เวลาทุกระทรวงเวลากลับไปวางแนวทางการทำงานด้านต่างๆ ให้เวลาเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ เพื่อนำแผนการทำงานมาหารือร่วมกันอีกครั้ง และจะนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีต่อไป
วันเดียวกัน ที่โรงแรมท็อปแลนด์ จ.พิษณุโลก นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธานเปิดการอบรมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข ใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง เพื่อพร้อมรับมือโรคไข้หวัดใหญ่และโรคติดต่ออุบัติใหม่ และเพื่อเพิ่มศักยภาพการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย รวมทั้งการป้องกันควบคุมโรคของบุคลากรทางแพทย์ และสาธารณสุข จำนวน 250 คน ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ของประเทศไทย พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งต้องเร่งชะลอการระบาดในพื้นที่ต่างจังหวัดอย่างเข็มแข็ง
วันที่ 3 กันยายน ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ป้องกันและควบคุมแก้ไขสถานการณ์การระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ โดยมีรองปลัดกระทรวงต่างๆ และ กทม.รวม 16 หน่วยงาน เข้าร่วมประชุม เพื่อให้ทุกหน่วยงานมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการรณรงค์ป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 อย่างต่อเนื่อง
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ยังคงมีต่อเนื่อง และขยายตัวไปสู่พื้นที่ชนบทมากขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลทางระบาดวิทยา คาดว่ามีคนไทยติดเชื้อแล้ว ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ โดยกลุ่มที่มีอัตราการติดเชื้อมากที่สุดคือ กลุ่มนักเรียนและวัยแรงงาน แต่ยังมีคนไทยอีก ร้อยละ 80 ที่ยังไม่ติดเชื้อจึงมีความเสี่ยงที่อาจจะติดเชื้อได้ตลอดเวลา จึงต้องเพิ่มความเข้มแข็งในมาตรการป้องกันทุกหน่วยงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการป่วยในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ ได้แก่ เด็กนักเรียน กลุ่มคนทำงานในสถานบันเทิง กลุ่มเรือนจำ หอพักนักศึกษา กลุ่มหอพักที่จดและไม่จดทะเบียน โรงงาน ค่ายทหาร
“ยอมรับว่าการรณรงค์ป้องกันไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 สธ. ไม่สามารถทำงานเพียงหน่วยงานเดียวได้ ซึ่งขณะนี้เห็นได้ชัดเจนแล้วว่า ไวรัสเริ่มระบาดลงพื้นที่ระดับชุมชนโดยเฉพาะในเขตชนบทแล้ว ดังนั้นจำเป็นต้องให้กระทรวงต่างๆ มาร่วมรับผิดชอบด้วย” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
ผนึกกำลังหน่วยงานอื่นต้านหวัด 2009
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ที่ประชุมได้หารือมาตรการความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆ โดยมีมติใน 4 ประเด็นหลัก คือ1.การเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์เชื้อไข้หวัดใหญ่ 2009 ทั้งในสัตว์โดยเฉพาะสุกร และในคน เพื่อป้องกันเชื้อผสมข้ามสายพันธุ์ รวมทั้งการเฝ้าระวังเชื้อดื้อยา ซึ่งอาจจะทำให้สถานการณ์การะบาดรุนแรงยิ่งขึ้น โดยที่ประชุมได้ตั้งคณะทำงานประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถาบันอุดมศึกษา และกระทรวงสาธารณสุข โดยให้กระทรวงเกษตรฯ เป็นเจ้าภาพหลัก
“กรมปศุสัตว์ได้รายงานในที่ประชุมว่า ยังไม่พบการกลายพันธุ์ของไวรัสในสัตว์ รวมถึงการติดเชื้อไวรัสจากสัตว์สู่คน และติดจากคนสู่สัตว์ เบื้องต้นกรมปศุสัตว์มีมาตรการป้องกันโรคอยู่แล้ว โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์บังคับใช้กับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะฟาร์มสุกร ห้ามคนที่ป่วยเป็นไข้หวัดเข้าไปในฟาร์มเลี้ยงสุกร เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อให้กับสัตว์” นพ.ไพจิตร์ กล่าว
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า ส่วนปัญหาการเฝ้าระวังเชื้อไวรัสผสมพันธุ์ระหว่างสายพันธุ์เก่า กับสายพันธุ์ใหม่ 2009 นั้น จากระบบเฝ้าระวังโรคของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยังไม่พบว่ามีการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์เช่นกัน ซึ่งตามปกติโอกาสที่เชื้อไวรัสจะผสมพันธุ์กันเกิดขึ้นได้น้อยมาก เพราะระบบร่างกายมนุษย์ หากติดเชื้อไวรัสเพียงชนิดเดียว และต้องเป็นเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงมากกว่า และจะไม่ติดเชื้อไวรัสชนิดอื่นที่รุนแรงน้อยกว่า
หวัดใหญ่ตามฤดูกาลดื้อยาต้านไม่เป็นปัญหา
นพ.ไพจิตร์ กล่าวด้วยว่า ส่วนปัญหาเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลที่ดื้อยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์แล้วนั้น ถือว่าไม่เป็นปัญหา เพราะเชื้อไวรัสชนิดนี้ไม่รุนแรงเท่ากับไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 หากผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงไปโรงพยาบาลแพทย์จะวินิจฉัยให้ยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ทันที แต่หากอาการไม่ดีขึ้นแพทย์ก็จะให้ยาต้านไวรัสซานามิเวียร์ควบคู่กัน โดยไม่รอผลตรวจเชื้อจากห้องปฏิบัติการเพราะล่าช้าเกินไป อาจทำให้ผู้ป่วยอาการทรุดลงได้
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า 2.การเฝ้าระวังโรคในชุมชน คือ การสร้างชุมชน อบต.ตัวอย่างที่มีระบบการเฝ้าระวังป้องกันโรคในพื้นที่อย่างเข้มแข็ง เพื่อให้มีรูปแบบการทำงานที่ชัดเจน และขยายผลไปทุกพื้นที่ ซึ่งขณะนี้มีแล้วที่ชุมชนในเขตกทม. โดยให้ตั้งคณะทำงานบูรณาการร่วม โดยมีกระทรวงมหาดไทยเป็นแกนหลัก ประกอบด้วย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดในพื้นที่ ซึ่งหากทุกพื้นที่มีการตื่นตัวป้องกันอย่างเข้มแข็ง เชื่อว่าจะสามารถลดการป่วยและการเสียชีวิตลงได้มาก
ตั้ง คกก.คุมเข้มร้านเกม-ราชทัณฑ์-หอพัก
นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า 3.การตั้งคณะทำงานบูรณาการการจัดการเฉพาะกลุ่มเป้าหมายหลักๆ เช่น ร้านเกม ราชทัณฑ์ หอพัก โรงเรียน ค่ายทหาร โรงงาน โดยให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นแกนหลัก ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่ดูแลหอพักและร้านอินเตอร์เน็ต ร้านเกม ทั้งกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และกระทรวงวัฒนธรรม
4.มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวของประเทศไทย เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีความมั่นใจ ไม่ตื่นตระหนก โดยมีกระทรวงกีฬาและการท่องเที่ยวเป็นแกนหลัก ทำงานร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ และสธ. เช่น ต่อไปจะมีมาตรการดูแลนักท่องเที่ยว โดยจัดจุดเจลล้างมือให้กับนักท่องเที่ยวทันทีที่ลงสนามบินก่อนถึงด่านตรวจคนเข้าเมือง ทั้งนี้ ให้เวลาทุกระทรวงเวลากลับไปวางแนวทางการทำงานด้านต่างๆ ให้เวลาเสร็จภายใน 1 สัปดาห์ เพื่อนำแผนการทำงานมาหารือร่วมกันอีกครั้ง และจะนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และพลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรีต่อไป
วันเดียวกัน ที่โรงแรมท็อปแลนด์ จ.พิษณุโลก นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เป็นประธานเปิดการอบรมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิดเอ (H1N1) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข ใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง เพื่อพร้อมรับมือโรคไข้หวัดใหญ่และโรคติดต่ออุบัติใหม่ และเพื่อเพิ่มศักยภาพการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วย รวมทั้งการป้องกันควบคุมโรคของบุคลากรทางแพทย์ และสาธารณสุข จำนวน 250 คน ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ของประเทศไทย พบจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งต้องเร่งชะลอการระบาดในพื้นที่ต่างจังหวัดอย่างเข็มแข็ง