ผู้ป่วยบัตรทองใช้บริการแพทย์แผนไทยพุ่งพรวด ปีเดียวกว่า 1.5 แสนครั้ง จาก 1,200 หน่วยบริการ ปี 2553 สปสช.เพิ่มงบกว่า 94 ล้านบาทพัฒนาภูมิปัญญาไทย
นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช.เน้นการให้บริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกบรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์หนึ่งในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเริ่มมีมติให้จัดเป็นงบเฉพาะซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2551 เป็นปีแรก ในอัตรา 1 บาทต่อประชากร ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับปี 2552 และในปี 2553 ได้ปรับเพิ่มเป็น 2 บาทต่อประชากร รวมเป็นเงิน 94.4 ล้านบาท เน้นการนวดเพื่อการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ ซึ่งผู้มีสิทธิ์บัตรทองจะใช้บริการได้ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้น
“สถานพยาบาลที่ไม่มีบริการแพทย์แผนไทย ก็จะไม่ได้รับงบ เพราะต้องการสร้างแรงจูงใจในการให้บริการแพทย์แผนไทยนั่นเอง เป้าหมายเพื่อพัฒนาการบริการแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือกให้ทั่วถึงและครอบคลุมประชากร เป็นการบูรณาการบริการร่วมกับระบบการแพทย์กระแสหลักให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งเป็นการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพด้วย” นพ.วีระวัฒน์กล่าว
รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวต่อว่า สำหรับผลการให้บริการในรอบปีที่ผ่านมา พบว่า มีการใช้บริการ 154,281 ครั้ง โดยมีอัตราการใช้บริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับจำนวนหน่วยบริการที่เพิ่มจำนวนขึ้น โดยมีหน่วยบริการทั้งโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัย และศูนย์สุขภาพชุมชน 1,210 แห่งให้บริการพทย์แผนไทย ที่เกี่ยวกับการนวด ประคบ อบสมุนไพร เพื่อการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ
“สะท้อนให้เห็นว่าการจัดงบแยกให้เฉพาะสามารถสร้างแรงจูงใจให้หน่วยบริการสนใจให้บริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกได้ ทั้งยังก่อให้เกิดผลลัพธ์ต่อเนื่อง คือ จัดบริการเชิงรุกในชุมชน ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุ เช่น การดูแลเท้าในผู้ป่วยเรื้อรัง สมุนไพรแช่เท้า ดูแลหญิงหลังคลอด มีการสร้างการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชน มีการใช้สมุนไพรในชุมชน สอนการพึ่งตนเอง การสร้างนวตกรรมในพื้นที่ เช่น แผ่นประคบร้อนสมุนไพร และหน่วยบริการจำนวนมากได้ให้บริการรักษาผู้ป่วยเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายทางในการใช้ยาแผนปัจจุบันหรือ รักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันและนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ป่วยในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” นายแพทย์วีระวัฒน์กล่าว
นพ.วีระวัฒน์ พันธ์ครุฑ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า สปสช.เน้นการให้บริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกบรรจุอยู่ในชุดสิทธิประโยชน์หนึ่งในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเริ่มมีมติให้จัดเป็นงบเฉพาะซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2551 เป็นปีแรก ในอัตรา 1 บาทต่อประชากร ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับปี 2552 และในปี 2553 ได้ปรับเพิ่มเป็น 2 บาทต่อประชากร รวมเป็นเงิน 94.4 ล้านบาท เน้นการนวดเพื่อการรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสภาพ ซึ่งผู้มีสิทธิ์บัตรทองจะใช้บริการได้ขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยของแพทย์เท่านั้น
“สถานพยาบาลที่ไม่มีบริการแพทย์แผนไทย ก็จะไม่ได้รับงบ เพราะต้องการสร้างแรงจูงใจในการให้บริการแพทย์แผนไทยนั่นเอง เป้าหมายเพื่อพัฒนาการบริการแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือกให้ทั่วถึงและครอบคลุมประชากร เป็นการบูรณาการบริการร่วมกับระบบการแพทย์กระแสหลักให้สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งเป็นการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพด้วย” นพ.วีระวัฒน์กล่าว
รองเลขาธิการ สปสช.กล่าวต่อว่า สำหรับผลการให้บริการในรอบปีที่ผ่านมา พบว่า มีการใช้บริการ 154,281 ครั้ง โดยมีอัตราการใช้บริการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกับจำนวนหน่วยบริการที่เพิ่มจำนวนขึ้น โดยมีหน่วยบริการทั้งโรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สถานีอนามัย และศูนย์สุขภาพชุมชน 1,210 แห่งให้บริการพทย์แผนไทย ที่เกี่ยวกับการนวด ประคบ อบสมุนไพร เพื่อการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ
“สะท้อนให้เห็นว่าการจัดงบแยกให้เฉพาะสามารถสร้างแรงจูงใจให้หน่วยบริการสนใจให้บริการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกได้ ทั้งยังก่อให้เกิดผลลัพธ์ต่อเนื่อง คือ จัดบริการเชิงรุกในชุมชน ดูแลผู้พิการ ผู้สูงอายุ เช่น การดูแลเท้าในผู้ป่วยเรื้อรัง สมุนไพรแช่เท้า ดูแลหญิงหลังคลอด มีการสร้างการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นและชุมชน มีการใช้สมุนไพรในชุมชน สอนการพึ่งตนเอง การสร้างนวตกรรมในพื้นที่ เช่น แผ่นประคบร้อนสมุนไพร และหน่วยบริการจำนวนมากได้ให้บริการรักษาผู้ป่วยเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายทางในการใช้ยาแผนปัจจุบันหรือ รักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันและนับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้กับผู้ป่วยในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” นายแพทย์วีระวัฒน์กล่าว