ครูภูมิปัญญาจี้รัฐบรรจุและส่งเสริมการเรียนการสอนเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทยต่อเนื่อง ตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐานจนถึงมหาวิทยาลัย เผยที่ผ่านมามีโอกาสเข้าไปสอนแค่เด็กระดับประถมเท่านั้น ทำให้เด็กที่มีความแววบางคนขาดการเรียนรู้และพัฒนาฝีมืออย่างต่อเนื่อง หากส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้ถึงอุดมศึกษา จะช่วยอนุรักษ์ศิลปะท้องถิ่นได้ด้วย
นายดิเรก สิทธิการ ครูภูมิปัญญาไทยของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) รุ่นที่ 5 ด้านศิลปกรรม การดุนสลักเงินและโลหะ จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้รับเชิญให้เข้าไปสอนการดุนสลักเงินและโลหะในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง พบว่านักเรียนโดยเฉพาะในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสนใจที่จะสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเท่าที่ควร เมื่อเด็กเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น สถาบันการศึกษาจะไม่ได้จัดชั่วโมงเรียนหรือกิจกรรมที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาฝีมืออย่างต่อเนื่อง ทำให้ความรู้ที่ได้เรียนมาขาดช่วง จึงอยากให้มีการบรรจุชั่วโมงเรียนเรื่องเกี่ยวกับการสืบทอดภูมิปัญญาเข้าไปในหลักสูตรท้องถิ่นอย่างจริงจังมากกว่าเป็นเพียงความสนใจของสถานศึกษาที่เชิญครูภูมิปัญหาเข้าไปสอนเป็นครั้งคราว
“เด็กบางคนมีทักษะฝีมือและมีแววว่าจะเป็นช่างฝีมือที่ดี แต่เมื่อเด็กศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และไม่ได้เรียนรู้งานช่างอย่างต่อเนื่องก็ทำให้ความรู้ขาดช่วง รวมทั้งทำให้เด็กหมดความสนใจ นอกจากนี้การเรียนในสถานศึกษาหากเน้นวิชาการมากเกินไปก็จะทำให้เด็กขาดความอ่อนโยนละเมียดละมัย ซึ่งครูมองว่างานศิลปะสามารถช่วยได้ จึงอยากให้ภาครัฐหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องจนถึงระดับอุดมศึกษาให้มากขึ้น”นายดิเรกกล่าว
ด้าน นายคำจันทร์ ยาโน ครูภูมิปัญญาไทย ของ สกศ.รุ่นที่ 5 ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม(แกะสลักไม้) กล่าวว่า อยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยดูแลสนับสนุนให้นำกิจกรรมภูมิปัญญาไทยเข้าไปไว้ในหลักสูตรการศึกษาเพื่อไม่ให้สูญหาย โดยอยากให้ส่งเสริมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปจนถึงระดับอุดมศึกษา เพราะที่เป็นอยู่ภาครัฐยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นเท่าที่ควร ส่วนใหญ่เด็กที่สนใจจะออกมาแสวงหาความรู้จากครูภูมิปัญญากันเอง นอกจากนี้ควรมีการยกย่องผู้ที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่นเดียวกับที่ สกศ.คัดเลือกให้เป็นครูภูมิปัญญาไทยอย่างแพร่หลาย เพื่อให้มีสืบทอดองค์ความรู้ต่อไป
นายดิเรก สิทธิการ ครูภูมิปัญญาไทยของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา(สกศ.) รุ่นที่ 5 ด้านศิลปกรรม การดุนสลักเงินและโลหะ จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้รับเชิญให้เข้าไปสอนการดุนสลักเงินและโลหะในโรงเรียนและสถาบันการศึกษาหลายแห่ง พบว่านักเรียนโดยเฉพาะในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความสนใจที่จะสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าไม่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเท่าที่ควร เมื่อเด็กเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น สถาบันการศึกษาจะไม่ได้จัดชั่วโมงเรียนหรือกิจกรรมที่จะทำให้เด็กได้เรียนรู้และพัฒนาฝีมืออย่างต่อเนื่อง ทำให้ความรู้ที่ได้เรียนมาขาดช่วง จึงอยากให้มีการบรรจุชั่วโมงเรียนเรื่องเกี่ยวกับการสืบทอดภูมิปัญญาเข้าไปในหลักสูตรท้องถิ่นอย่างจริงจังมากกว่าเป็นเพียงความสนใจของสถานศึกษาที่เชิญครูภูมิปัญหาเข้าไปสอนเป็นครั้งคราว
“เด็กบางคนมีทักษะฝีมือและมีแววว่าจะเป็นช่างฝีมือที่ดี แต่เมื่อเด็กศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และไม่ได้เรียนรู้งานช่างอย่างต่อเนื่องก็ทำให้ความรู้ขาดช่วง รวมทั้งทำให้เด็กหมดความสนใจ นอกจากนี้การเรียนในสถานศึกษาหากเน้นวิชาการมากเกินไปก็จะทำให้เด็กขาดความอ่อนโยนละเมียดละมัย ซึ่งครูมองว่างานศิลปะสามารถช่วยได้ จึงอยากให้ภาครัฐหันมาให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และสนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่องจนถึงระดับอุดมศึกษาให้มากขึ้น”นายดิเรกกล่าว
ด้าน นายคำจันทร์ ยาโน ครูภูมิปัญญาไทย ของ สกศ.รุ่นที่ 5 ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม(แกะสลักไม้) กล่าวว่า อยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยดูแลสนับสนุนให้นำกิจกรรมภูมิปัญญาไทยเข้าไปไว้ในหลักสูตรการศึกษาเพื่อไม่ให้สูญหาย โดยอยากให้ส่งเสริมอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานไปจนถึงระดับอุดมศึกษา เพราะที่เป็นอยู่ภาครัฐยังไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนภูมิปัญญาท้องถิ่นเท่าที่ควร ส่วนใหญ่เด็กที่สนใจจะออกมาแสวงหาความรู้จากครูภูมิปัญญากันเอง นอกจากนี้ควรมีการยกย่องผู้ที่มีภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่นเดียวกับที่ สกศ.คัดเลือกให้เป็นครูภูมิปัญญาไทยอย่างแพร่หลาย เพื่อให้มีสืบทอดองค์ความรู้ต่อไป