สกศ.ไฟเขียวปรับแผนการศึกษาชาติ ฉบับปรับปรุง ปี 52-59 พร้อมพิจารณา 6 ประเด็นเพิ่มเติม เน้นพัฒนาคนให้เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข และมีความภูมิใจในความเป็นไทย ศรัทธาเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย รังเกียจการทุจริต ซื้อสิทธิ์ขายเสียง พร้อมทั้งผลิตคนสอดรับภาคอุตสาหกรรม การมีส่วนร่วมภาครัฐ เอกชน เตรียมประเทศสู่การสร้างประชาคมอาเซียน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษา ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2552-2559 ซึ่งเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และเพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับแก้ไขใหม่ อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นอกจากนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 2 ที่กำลังจะผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า และสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลด้วย ฉะนั้นจึงนำมาซึ่งการที่จะมีการปรับแผนพัฒนาการศึกษาชาติ
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าให้คงปรัชญาหลักตามเดิม เช่น ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การบูรณาการร่วมกัน ในส่วนประเด็นที่แตกต่างและเพิ่มเติมจากแผนเดิม ได้แก่ 1.เรื่องคน โดยจะมีการมุ่งเน้นการพัฒนาคนให้เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข และมีความภูมิใจในความเป็นไทย ศรัทธาเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย รังเกียจการทุจริต ซื้อสิทธิ์ขายเสียง 2.เน้นพัฒนาครู เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา 3.เน้นการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมให้สังคมไทยเป็นสังคมคุณธรรมจริยธรรม ส่งเสริมเรียนรู้ตลอดชีวิต
4.เน้นพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ภาคอุตสาหกรรม บริการ เศรษฐกิจและสังคมต่างๆ โดยจะมีการกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 5.เน้นการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และ 6.มุ่งเน้นเตรียมประเทศไทยไปสู่ความพร้อมในการสร้างประชาคมอาเซียน
นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า อย่างน้อยที่สุดขณะนี้สิ่งที่ต้องทำคือ ควรเร่งรัดในการกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ในการศึกษาระดับต่างๆ ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการในระดับอุดมศึกษาแล้ว และต่อไปจะเน้นไปที่การอาชีวศึกษาด้วย ขณะเดียวกันก็จะต้องผลักดันให้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพที่เป็นมาตรฐานกลางของอาเซียนด้วย
“นอกจากประเด็นที่แตกต่างออกไป 6 ข้อข้างต้นแล้ว เพื่อให้มีการนำแผนไปสู่การปฏิบัติได้ จะต้องมีการบูรณาการแผนใน 3 ระดับ คือ แผนการศึกษาระดับชาติ แผนการศึกษาระดับกลุ่มจังหวัด และแผนการศึกษาจังหวัด ซึ่งจะต้องมีความสอดคล้องและบูรณาการร่วมกัน ทั้งนี้ ผลการหารือครั้งนี้จะได้นำเข้าสู่ที่ประชุม ครม.เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป” รมว.ศธ.กล่าว
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษา ที่สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาร่างแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2552-2559 ซึ่งเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน และเพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ฉบับแก้ไขใหม่ อีกทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นอกจากนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูปการศึกษารอบที่ 2 ที่กำลังจะผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า และสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลด้วย ฉะนั้นจึงนำมาซึ่งการที่จะมีการปรับแผนพัฒนาการศึกษาชาติ
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นว่าให้คงปรัชญาหลักตามเดิม เช่น ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การบูรณาการร่วมกัน ในส่วนประเด็นที่แตกต่างและเพิ่มเติมจากแผนเดิม ได้แก่ 1.เรื่องคน โดยจะมีการมุ่งเน้นการพัฒนาคนให้เป็นคนดี คนเก่ง มีความสุข และมีความภูมิใจในความเป็นไทย ศรัทธาเชื่อมั่นในระบอบประชาธิปไตย รังเกียจการทุจริต ซื้อสิทธิ์ขายเสียง 2.เน้นพัฒนาครู เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษา 3.เน้นการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมให้สังคมไทยเป็นสังคมคุณธรรมจริยธรรม ส่งเสริมเรียนรู้ตลอดชีวิต
4.เน้นพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ภาคอุตสาหกรรม บริการ เศรษฐกิจและสังคมต่างๆ โดยจะมีการกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 5.เน้นการมีส่วนร่วมของภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาคมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และ 6.มุ่งเน้นเตรียมประเทศไทยไปสู่ความพร้อมในการสร้างประชาคมอาเซียน
นายจุรินทร์ กล่าวด้วยว่า อย่างน้อยที่สุดขณะนี้สิ่งที่ต้องทำคือ ควรเร่งรัดในการกำหนดกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ในการศึกษาระดับต่างๆ ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการในระดับอุดมศึกษาแล้ว และต่อไปจะเน้นไปที่การอาชีวศึกษาด้วย ขณะเดียวกันก็จะต้องผลักดันให้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนมีเกณฑ์มาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพที่เป็นมาตรฐานกลางของอาเซียนด้วย
“นอกจากประเด็นที่แตกต่างออกไป 6 ข้อข้างต้นแล้ว เพื่อให้มีการนำแผนไปสู่การปฏิบัติได้ จะต้องมีการบูรณาการแผนใน 3 ระดับ คือ แผนการศึกษาระดับชาติ แผนการศึกษาระดับกลุ่มจังหวัด และแผนการศึกษาจังหวัด ซึ่งจะต้องมีความสอดคล้องและบูรณาการร่วมกัน ทั้งนี้ ผลการหารือครั้งนี้จะได้นำเข้าสู่ที่ประชุม ครม.เพื่อขอความเห็นชอบต่อไป” รมว.ศธ.กล่าว