คลินิกเอกชนใน กทม.ไม่สนรับยาโอเซลทามิเวียร์ สมัครเข้าโครงการแค่ 31 แห่ง อธิบดีกรมสนับสนุนฯ ชี้ตัวเลขยังไม่นิ่ง รอรับสมัครอีก 3 วัน ระบุคลินิกเข้าร่วมโครงการน้อย เหตุส่วนใหญ่เป็นคลินิกเฉพาะทาง คลินิกตรวจรักษาโรคทั่วไปมีแค่ 1 ใน 3 ของคลินิกทั้งหมดใน กทม.
วันที่ 2 สิงหาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เป็นประธานในการประชุมการกระจายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์และจัดอบรมความรู้ในการวินิจฉัยโรคและการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ให้แก่คลินิกเอกชนต่างๆ ใน กทม. ซึ่งมีคลินิกลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการและรับการอบรมครั้งจำนวน 181 แห่ง จากคลินิกในกทม.ทั้งหมดจำนวน 3,805 แห่ง
นพ.สมยศ กล่าวว่า ได้มีการชี้แจงให้คลินิกรับทราบเงื่อนไขต่างๆ ในการเข้าร่วมภาคีเครือข่ายโครงการเพิ่มศักยภาพสร้างแนวทางการรักษาและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ตามที่คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กำหนดขึ้น 8 ข้อ คือ 1.คลินิกต้องมีแพทย์เป็นผู้ดูแลและการสั่งจ่ายยาต้านไวรัสต้องทำโดยแพทย์เท่านั้น 2.มีบันทึกทางการแพทย์และรายงานอาการข้างเคียงจากการใช้ยา 3.มีการส่งต่อผู้ป่วยในรายที่มีอาการรุนแรงเกินกว่าจะดูแลรักษา 4.มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงโรคของผู้ป่วยที่ดูแลรักษา 5.มีการป้องกันการติดเชื้อในสถานที่ตรวจ
6.แพทย์ต้องได้รับการอบรม และผ่านการประเมินความรู้ความเข้าใจ 7.แพทย์ต้องให้การดูแลรักษาตามแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย (Clinical Practice Guideline) และ 8.มีการติดตาม ตรวจสอบ หารือเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาเป็นประจำทุกเดือน โดยให้กรอกใบสมัครเข้าร่วมโครงการฯ และหากคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์กองประกอบโรคศิลปะ จะจ่ายยาต้านไวรัสให้ทันทีจำนวน 50 เม็ด รักษาผู้ป่วยได้ 5 คน โดยพร้อมที่จะใช้รักษาประชาชนตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.เป็นต้นไป
“สธ.ที่มีให้เลือก 2 แนวทาง คือ 1.เข้าร่วมเฉพาะการคัดกรองผู้ป่วย และส่งต่อในโรงพยาบาลแม่ข่ายที่กำหนด 2.เข้าร่วมโครงการ และพร้อมจ่ายยาต้านไวรัสตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด พบว่า มีคลินิกลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเป็นเครือข่ายคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วย จำนวน 39 แห่งจากทั้งหมด 181 แห่ง ในจำนวนนี้มีคลินิกเพียง 31 แห่ง ที่สมัครใจรับยาต้านไวรัสสำรองในคลินิก แต่ตัวเลขดังกล่าวยังไม่นิ่งต้องรอให้ครบกำหนดคือวันที่ 5 สิงหาคมนี้เป็นวันสุดท้าย แต่ต้องยอมรับว่ามีคลินิกที่สมัครรับยาต้านไวรัสน้อย เพราะคลินิกทั้ง 181 แห่ง ประมาณ 2 ใน 3 เป็นคลินิกรักษาโรคเฉพาะทาง เช่น คลินิกผิวหนัง โรคหัวใจ หู คอ จมูก เป็นต้น แต่เป็นคลินิกตรวจรักษาโรคทั่วไป เพียง 1 ใน 3 ของคลินิกทั้งหมดในเขต กทม.”นพ.สมยศกล่าว
ชี้รักษาคลินิกฟรีเฉพาะค่ายา ค่ารักษาบริการจ่ายตามปกติ
นพ.สมยศ กล่าวต่อว่า สำหรับประชาชนที่เข้าใช้บริการที่คลินิกที่ร่วมโครงการฯ จะได้รับการยกเว้นค่ายาเฉพาะยาต้านไวรัสโอเซลทาเวียร์อย่างเดียวเท่านั้น แต่บริการอื่นๆ คงต้องจ่ายตามปกติ เช่น ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก หรือยาแก้อักเสบ และอื่นๆ เป็นต้น โดยให้คลินิกจัดทำสรุปหลักฐานการจ่ายยา ส่งกองการประกอบโรคศิลปะทุกสัปดาห์ หรือหากยาหมดก่อนก็สามารถแจ้งรายงานการใช้ก่อนได้
นพ.สมยศ กล่าวอีกว่า หากแพทย์คลินิกพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่มีอาการรุนแรง ให้ส่งตัวผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยมีแบบฟอร์มการบันทึกประวัติการรักษาผู้ป่วยที่คลินิกควบคู่ไปด้วย เพื่อการดูแลรักษาต่อของแพทย์โรงพยาบาล โดยให้ส่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลในสังกัด สธ.ใน กทม.และปริมณฑล 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเลิดสิน สถาบันโรคทรวงอก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี และสถาบันบำราศนราดูร ตลอด 24 ชั่วโมง
สธ.เตือนคลินิกฝากท้อง-รักษาโรคเรื้อรัง ตั้งจุดคัดกรองแยกผู้ป่วยหวัด 2009
นพ.ธารา ชินะกาญจน์ ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ กล่าวว่า สธ.ได้จัดเอกสารทำแนวทางการป้องกันการการแพร่กระจายเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ในคลินิก โดยให้คลินิกจัดสถานที่ตรวจผู้ป่วยที่สงสัยไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ร่วมกับอาการไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ เป็นต้น ให้ผู้ป่วยทุกรายสวมหน้ากากอนามัยระหว่างรอตรวจ ต้องจัดให้มีจุดล้างมือด้วยน้ำ และสบู่หรือเจลล้างมือ รวมถึงถังขยะติดเชื้อ โดยได้จัดส่งแนวทางดังกล่าวให้คลินิกทั่วประเทศเพื่อปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันแล้ว
“คลินิกเอกชนที่รับฝากครรภ์ หรือรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่นโรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน อาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ ควรแยกจุดบริการผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ออกจากผู้ป่วยอื่นๆ ตั้งแต่การทำบัตร คัดกรอง ตรวจรักษา จ่ายเงินและรับยา โดยบุคลากรในคลินิกต้องได้รับการอบรมความรู้เรื่องไข้หวัดใหญ่ และการควบคุมการติดเชื้อในคลินิก และมีการดูแลความสะอาดคลินิกตามมาตรฐาน” นพ.ธารา
วันที่ 2 สิงหาคม ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เป็นประธานในการประชุมการกระจายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์และจัดอบรมความรู้ในการวินิจฉัยโรคและการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ชนิดเอ เอช 1 เอ็น 1 ให้แก่คลินิกเอกชนต่างๆ ใน กทม. ซึ่งมีคลินิกลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการและรับการอบรมครั้งจำนวน 181 แห่ง จากคลินิกในกทม.ทั้งหมดจำนวน 3,805 แห่ง
นพ.สมยศ กล่าวว่า ได้มีการชี้แจงให้คลินิกรับทราบเงื่อนไขต่างๆ ในการเข้าร่วมภาคีเครือข่ายโครงการเพิ่มศักยภาพสร้างแนวทางการรักษาและควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ตามที่คณะอนุกรรมการที่ปรึกษาวิชาการและยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์และสาธารณสุข กำหนดขึ้น 8 ข้อ คือ 1.คลินิกต้องมีแพทย์เป็นผู้ดูแลและการสั่งจ่ายยาต้านไวรัสต้องทำโดยแพทย์เท่านั้น 2.มีบันทึกทางการแพทย์และรายงานอาการข้างเคียงจากการใช้ยา 3.มีการส่งต่อผู้ป่วยในรายที่มีอาการรุนแรงเกินกว่าจะดูแลรักษา 4.มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงโรคของผู้ป่วยที่ดูแลรักษา 5.มีการป้องกันการติดเชื้อในสถานที่ตรวจ
6.แพทย์ต้องได้รับการอบรม และผ่านการประเมินความรู้ความเข้าใจ 7.แพทย์ต้องให้การดูแลรักษาตามแนวทางปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย (Clinical Practice Guideline) และ 8.มีการติดตาม ตรวจสอบ หารือเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาเป็นประจำทุกเดือน โดยให้กรอกใบสมัครเข้าร่วมโครงการฯ และหากคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์กองประกอบโรคศิลปะ จะจ่ายยาต้านไวรัสให้ทันทีจำนวน 50 เม็ด รักษาผู้ป่วยได้ 5 คน โดยพร้อมที่จะใช้รักษาประชาชนตั้งแต่วันที่ 3 ส.ค.เป็นต้นไป
“สธ.ที่มีให้เลือก 2 แนวทาง คือ 1.เข้าร่วมเฉพาะการคัดกรองผู้ป่วย และส่งต่อในโรงพยาบาลแม่ข่ายที่กำหนด 2.เข้าร่วมโครงการ และพร้อมจ่ายยาต้านไวรัสตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด พบว่า มีคลินิกลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเป็นเครือข่ายคัดกรองและส่งต่อผู้ป่วย จำนวน 39 แห่งจากทั้งหมด 181 แห่ง ในจำนวนนี้มีคลินิกเพียง 31 แห่ง ที่สมัครใจรับยาต้านไวรัสสำรองในคลินิก แต่ตัวเลขดังกล่าวยังไม่นิ่งต้องรอให้ครบกำหนดคือวันที่ 5 สิงหาคมนี้เป็นวันสุดท้าย แต่ต้องยอมรับว่ามีคลินิกที่สมัครรับยาต้านไวรัสน้อย เพราะคลินิกทั้ง 181 แห่ง ประมาณ 2 ใน 3 เป็นคลินิกรักษาโรคเฉพาะทาง เช่น คลินิกผิวหนัง โรคหัวใจ หู คอ จมูก เป็นต้น แต่เป็นคลินิกตรวจรักษาโรคทั่วไป เพียง 1 ใน 3 ของคลินิกทั้งหมดในเขต กทม.”นพ.สมยศกล่าว
ชี้รักษาคลินิกฟรีเฉพาะค่ายา ค่ารักษาบริการจ่ายตามปกติ
นพ.สมยศ กล่าวต่อว่า สำหรับประชาชนที่เข้าใช้บริการที่คลินิกที่ร่วมโครงการฯ จะได้รับการยกเว้นค่ายาเฉพาะยาต้านไวรัสโอเซลทาเวียร์อย่างเดียวเท่านั้น แต่บริการอื่นๆ คงต้องจ่ายตามปกติ เช่น ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก หรือยาแก้อักเสบ และอื่นๆ เป็นต้น โดยให้คลินิกจัดทำสรุปหลักฐานการจ่ายยา ส่งกองการประกอบโรคศิลปะทุกสัปดาห์ หรือหากยาหมดก่อนก็สามารถแจ้งรายงานการใช้ก่อนได้
นพ.สมยศ กล่าวอีกว่า หากแพทย์คลินิกพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่มีอาการรุนแรง ให้ส่งตัวผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาล โดยมีแบบฟอร์มการบันทึกประวัติการรักษาผู้ป่วยที่คลินิกควบคู่ไปด้วย เพื่อการดูแลรักษาต่อของแพทย์โรงพยาบาล โดยให้ส่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลในสังกัด สธ.ใน กทม.และปริมณฑล 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเลิดสิน สถาบันโรคทรวงอก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี และสถาบันบำราศนราดูร ตลอด 24 ชั่วโมง
สธ.เตือนคลินิกฝากท้อง-รักษาโรคเรื้อรัง ตั้งจุดคัดกรองแยกผู้ป่วยหวัด 2009
นพ.ธารา ชินะกาญจน์ ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะ กล่าวว่า สธ.ได้จัดเอกสารทำแนวทางการป้องกันการการแพร่กระจายเชื้อโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ในคลินิก โดยให้คลินิกจัดสถานที่ตรวจผู้ป่วยที่สงสัยไข้หวัดใหญ่ คือ มีไข้ ร่วมกับอาการไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล เจ็บคอ เป็นต้น ให้ผู้ป่วยทุกรายสวมหน้ากากอนามัยระหว่างรอตรวจ ต้องจัดให้มีจุดล้างมือด้วยน้ำ และสบู่หรือเจลล้างมือ รวมถึงถังขยะติดเชื้อ โดยได้จัดส่งแนวทางดังกล่าวให้คลินิกทั่วประเทศเพื่อปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกันแล้ว
“คลินิกเอกชนที่รับฝากครรภ์ หรือรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่นโรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน อาจมีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อ ควรแยกจุดบริการผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ออกจากผู้ป่วยอื่นๆ ตั้งแต่การทำบัตร คัดกรอง ตรวจรักษา จ่ายเงินและรับยา โดยบุคลากรในคลินิกต้องได้รับการอบรมความรู้เรื่องไข้หวัดใหญ่ และการควบคุมการติดเชื้อในคลินิก และมีการดูแลความสะอาดคลินิกตามมาตรฐาน” นพ.ธารา