นายแพทย์สมยศ ดีรัศมี อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงความคืบหน้าของการกระจายยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์รักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ว่า ในวันนี้ ) กรมสนับสนุนบริการฯได้ประชุมและจัดอบรมความรู้ในการวินิจฉัยโรคและการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ให้แพทย์จากคลินิกต่างๆ ใน กทม.ที่ไม่ได้อยู่ในโครงการคลินิกอบอุ่นของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยมีคลินิกลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการและรับการอบรมครั้งนี้ 177 แห่ง ส่วนใหญ่เป็นคลินิกตรวจรักษาโรคทั่วไป ซึ่งมีประมาณ 1 ใน 3 ของคลินิกทั้งหมดในเขต กทม. โดยหลังจากคลินิกรับทราบเงื่อนไขต่างๆ จะให้กรอกใบสมัครเข้าร่วมโครงการ และหากคุณสมบัติได้ตามหลักเกณฑ์ กองประกอบโรคศิลปะจะจ่ายยาต้านไวรัสให้ทันที แห่งละ 50 เม็ด พร้อมที่จะใช้รักษาประชาชนตั้งแต่วันพรุ่งนี้เป็นต้นไป ซึ่งยาต้านไวรัสนี้จะให้ฟรี คลินิกไม่สามารถคิดเงินค่ายาส่วนนี้ ดังนั้นประชาชนที่เข้าใช้บริการที่คลินิกที่ร่วมโครงการ จะได้รับการยกเว้นค่ายาเฉพาะยาต้านไวรัสโอเซลทาเวียร์อย่างเดียวเท่านั้น แต่บริการอื่นๆ คงต้องจ่ายตามปกติ เช่น ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก หรือยาแก้อักเสบ และอื่นๆเป็นต้น โดยให้คลินิกจัดทำสรุปหลักฐานการจ่ายยา ส่งกองการประกอบโรคศิลปะทุกสัปดาห์ หรือหากยาหมดก่อนก็สามารถแจ้งรายงานการใช้ก่อนได้
นายแพทย์สมยศ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากแพทย์คลินิกพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่มีอาการรุนแรง ขอให้ส่งตัวผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งใน กทม.และปริมณฑล 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเลิดสิน สถาบันโรคทรวงอก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี และสถาบันบำราศนราดูร ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีแบบฟอร์มการบันทึกประวัติการรักษาผู้ป่วยที่คลินิกควบคู่ไปด้วย
สำหรับคลินิกที่มารับการอบรมครั้งนี้ไม่ได้เนื่องจากมีแพทย์ประจำเพียง 1 คน สามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการกับกองการประกอบโรคศิลปะได้ในภายหลัง
นายแพทย์สมยศ กล่าวเพิ่มเติมว่า หากแพทย์คลินิกพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่มีอาการรุนแรง ขอให้ส่งตัวผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งใน กทม.และปริมณฑล 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเลิดสิน สถาบันโรคทรวงอก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี และสถาบันบำราศนราดูร ได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีแบบฟอร์มการบันทึกประวัติการรักษาผู้ป่วยที่คลินิกควบคู่ไปด้วย
สำหรับคลินิกที่มารับการอบรมครั้งนี้ไม่ได้เนื่องจากมีแพทย์ประจำเพียง 1 คน สามารถแจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการกับกองการประกอบโรคศิลปะได้ในภายหลัง