รายงานพิเศษโดย....วรรณภา บูชา
หลายคนอาจคุ้นเคยกับภาพการขุดเจาะ สร้างถนน ทะนุบำรุงสาธารณูปโภคพื้นฐานขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม นอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจและขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็คือ “กองทุนสุขภาพชุมชน” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจุดประกายให้ผู้นำชุมชนหันมาสนใจมิติด้านสุขภาพ
กองทุนนี้ริเริ่มดำเนินการมาเป็นเวลา 4 ปีแล้ว โดยปัจจุบันมี อบต.และเทศบาลเข้าร่วมถึงกว่า 3,943 แห่งเลยทีเดียว
“เมื่อคนในชุมชนได้รับความเดือนร้อนจากปัญหาสุขภาพ ย่อมส่งผลกระทบทั้งร่างกาย จิตใจและการทำมาหากิน รวมไปถึงครอบครัว ดังนั้น การให้การช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้รับการบริการรักษาพยาบาลเพียง 1 คน ก็เท่ากับได้ดูแลสุขภาพจิตใจของคนในครอบครัวอีก 4-5 คน”ทวีป จูมั่น วัย 60 ปี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี บอกถึงแนวคิดในการก่อตั้ง “กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล” ขึ้นในชุมชน
ลุงทวีป อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า ปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของชุมชนคือ การบริการทางการแพทย์ไม่ทั่วถึง เพราะพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมือง ทำให้ลำบากในการเดินทาง ดังนั้น จึงให้ความสนใจในการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขณะที่ทาง อบต.หัวไผ่ เองก็ได้สบทบงบประมาณเพิ่มเติมอีกประมาณ 100,000 บาท หรือ 50% ของงบประมาณทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังมีเงินที่ได้รับบริจาคมาจากประชาชนในพื้นที่ที่เห็นความสำคัญของกองทุน เพราะก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนโดยตรง
“เราไม่ต้องรอให้ใครมาสั่ง เพราะรอให้สั่งอาจแก้ปัญหาไม่ทัน แต่เมื่อรู้ว่าเกิดปัญหาขึ้นก็จัดการได้ทันที เช่น หากมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ก็ทำการการปราบลูกน้ำยุงลายได้อย่างรวดเร็ว โดยล่าสุดเราได้มีการสร้างสระว่ายน้ำวารีบำบัดขึ้นเพื่อใช้สำหรับการออกกำลังกายของบรรดาผู้สูงอายุทั้งหลาย” ลุงทวีป แจกแจง
ไม่ต่างกันกับ “เสรี เนินพลับ วัย 74 ปี นายก อบต.เนินศาลา อ.โกรงพระ จ.นครสวรรค์ ที่เห็นว่า ถ้าจะทำอย่างอื่นให้ได้ดี สุขภาพต้องดีก่อน ดังนั้น เมื่อทางโรงพยาบาลประสานงานให้ทาง อบต.เนินศาลา ให้จัดตั้งกองทุนสุขภาพชุมชนขึ้นในปี 2549 จึงได้ตัดสินเข้าร่วมโครงการนำร่อง เพราะตรงกับต้องการของชุมชนอยู่แล้ว
ทั้งนี้ อบต.เนินศาลาได้ลงทุนสร้างอาคารสุขภาพ 1 หลัง เพื่อรวมตัวกันทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การพบปะพูดคุยพักผ่อน การออกกำลังกาย เป็นศูนย์กลางของชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีผู้สูงอายุประมาณ 443 ราย ผู้พิการ 37 ราย ได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าว
สำหรับผลสำเร็จที่ชุมชนได้รับนั้น ลุงเสรี บอกว่า การทำงานอย่างจริงจัง ส่งผลให้คนมีสุขภาพดี การเจ็บป่วยลดลง และทำให้คนมีจิตใจดีขึ้น มีเวลาในการนั่งสมาธิ ทำบุญ โดยเฉพาะตนเองรู้สึกภูมิใจมากที่ได้ริเริ่มตั้งกองทุนไว้ให้สำหรับลูกหลานในอนาคต ซึ่งงานที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เป็นภาระ เพราะไม่ได้ทำคนเดียวแต่ทุกคนมีส่วนร่วม
ด้าน ดร.เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ เครือข่ายวิจัยประเมินโครงการ และคณะดำเนินการวิจัยสังเคราะห์ และถอดบทเรียนในทุกจังหวัด จังหวัดละ 1-2 แห่ง พบว่า ความเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ที่ชัดเจน จากเดิมที่อบต.และเทศบาล จะเน้นการซ่อมถนน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ก็เห็นความสำคัญพัฒนาคุณภาพชีวิตมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่อยู่ไกลๆ หรือคนพิการ ที่อาจต้องค้นหา และช่วยให้เข้าถึงบริการมากยิ่งขึ้น
ขณะที่ นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช.มองอนาคตของกองทุนนี้ ว่า แม้กองทุนจะเริ่มจากภารกิจทางกฎหมายของ อปท.และ สปสช.แต่มีจุดเด่นในเรื่องการทำงานกระบวนการพัฒนาเริ่มจากให้มีการสำรวจข้อมูลและจัดทำแผนชุมชน หรือแผนที่ยุทธศาสตร์ นำปัญหามาเรียนรู้ร่วมกันเป็นการกระจายอำนาจและถอดบทเรียนโดยนำปัญหาของประชาชนมาเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันกองทุนกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
หลายคนอาจคุ้นเคยกับภาพการขุดเจาะ สร้างถนน ทะนุบำรุงสาธารณูปโภคพื้นฐานขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม นอกจากกิจกรรมดังกล่าวแล้ว ยังมีอีกกิจกรรมหนึ่งที่น่าสนใจและขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นก็คือ “กองทุนสุขภาพชุมชน” ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อจุดประกายให้ผู้นำชุมชนหันมาสนใจมิติด้านสุขภาพ
กองทุนนี้ริเริ่มดำเนินการมาเป็นเวลา 4 ปีแล้ว โดยปัจจุบันมี อบต.และเทศบาลเข้าร่วมถึงกว่า 3,943 แห่งเลยทีเดียว
“เมื่อคนในชุมชนได้รับความเดือนร้อนจากปัญหาสุขภาพ ย่อมส่งผลกระทบทั้งร่างกาย จิตใจและการทำมาหากิน รวมไปถึงครอบครัว ดังนั้น การให้การช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้รับการบริการรักษาพยาบาลเพียง 1 คน ก็เท่ากับได้ดูแลสุขภาพจิตใจของคนในครอบครัวอีก 4-5 คน”ทวีป จูมั่น วัย 60 ปี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหัวไผ่ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี บอกถึงแนวคิดในการก่อตั้ง “กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล” ขึ้นในชุมชน
ลุงทวีป อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า ปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของชุมชนคือ การบริการทางการแพทย์ไม่ทั่วถึง เพราะพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมือง ทำให้ลำบากในการเดินทาง ดังนั้น จึงให้ความสนใจในการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ขณะที่ทาง อบต.หัวไผ่ เองก็ได้สบทบงบประมาณเพิ่มเติมอีกประมาณ 100,000 บาท หรือ 50% ของงบประมาณทั้งหมด
นอกจากนี้ ยังมีเงินที่ได้รับบริจาคมาจากประชาชนในพื้นที่ที่เห็นความสำคัญของกองทุน เพราะก่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชนโดยตรง
“เราไม่ต้องรอให้ใครมาสั่ง เพราะรอให้สั่งอาจแก้ปัญหาไม่ทัน แต่เมื่อรู้ว่าเกิดปัญหาขึ้นก็จัดการได้ทันที เช่น หากมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก ก็ทำการการปราบลูกน้ำยุงลายได้อย่างรวดเร็ว โดยล่าสุดเราได้มีการสร้างสระว่ายน้ำวารีบำบัดขึ้นเพื่อใช้สำหรับการออกกำลังกายของบรรดาผู้สูงอายุทั้งหลาย” ลุงทวีป แจกแจง
ไม่ต่างกันกับ “เสรี เนินพลับ วัย 74 ปี นายก อบต.เนินศาลา อ.โกรงพระ จ.นครสวรรค์ ที่เห็นว่า ถ้าจะทำอย่างอื่นให้ได้ดี สุขภาพต้องดีก่อน ดังนั้น เมื่อทางโรงพยาบาลประสานงานให้ทาง อบต.เนินศาลา ให้จัดตั้งกองทุนสุขภาพชุมชนขึ้นในปี 2549 จึงได้ตัดสินเข้าร่วมโครงการนำร่อง เพราะตรงกับต้องการของชุมชนอยู่แล้ว
ทั้งนี้ อบต.เนินศาลาได้ลงทุนสร้างอาคารสุขภาพ 1 หลัง เพื่อรวมตัวกันทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การพบปะพูดคุยพักผ่อน การออกกำลังกาย เป็นศูนย์กลางของชุมชน ซึ่งปัจจุบันมีผู้สูงอายุประมาณ 443 ราย ผู้พิการ 37 ราย ได้ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าว
สำหรับผลสำเร็จที่ชุมชนได้รับนั้น ลุงเสรี บอกว่า การทำงานอย่างจริงจัง ส่งผลให้คนมีสุขภาพดี การเจ็บป่วยลดลง และทำให้คนมีจิตใจดีขึ้น มีเวลาในการนั่งสมาธิ ทำบุญ โดยเฉพาะตนเองรู้สึกภูมิใจมากที่ได้ริเริ่มตั้งกองทุนไว้ให้สำหรับลูกหลานในอนาคต ซึ่งงานที่เพิ่มขึ้นไม่ได้เป็นภาระ เพราะไม่ได้ทำคนเดียวแต่ทุกคนมีส่วนร่วม
ด้าน ดร.เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ เครือข่ายวิจัยประเมินโครงการ และคณะดำเนินการวิจัยสังเคราะห์ และถอดบทเรียนในทุกจังหวัด จังหวัดละ 1-2 แห่ง พบว่า ความเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ที่ชัดเจน จากเดิมที่อบต.และเทศบาล จะเน้นการซ่อมถนน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ก็เห็นความสำคัญพัฒนาคุณภาพชีวิตมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่อยู่ไกลๆ หรือคนพิการ ที่อาจต้องค้นหา และช่วยให้เข้าถึงบริการมากยิ่งขึ้น
ขณะที่ นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช.มองอนาคตของกองทุนนี้ ว่า แม้กองทุนจะเริ่มจากภารกิจทางกฎหมายของ อปท.และ สปสช.แต่มีจุดเด่นในเรื่องการทำงานกระบวนการพัฒนาเริ่มจากให้มีการสำรวจข้อมูลและจัดทำแผนชุมชน หรือแผนที่ยุทธศาสตร์ นำปัญหามาเรียนรู้ร่วมกันเป็นการกระจายอำนาจและถอดบทเรียนโดยนำปัญหาของประชาชนมาเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันกองทุนกำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ