สธ.พบหญิงตั้งครรภ์เป็นชิคุนกุนยาเฉพาะ จ.ตรัง รวม 9 ราย คลอดแล้ว 3 ยังอยู่ในครรภ์ 6 ราย ต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด เตรียมประกาศยุทธศาสตร์ปราบยุงลายยุติแพร่ระบาดภายใน 3 เดือน ตัดวงจรชิคุนกุนยา เปิดรับริจาคสารกำจัดยุงลาย ทรายอะเบทจากภาคเอกชน ทำใจไม่ของบเพิ่มเข้าใจรัฐบาลไม่มีเงิน พร้อมประสานโรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัด เปิดช่องทางด่วนตรวจผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย
วันที่ 2 มิถุนายน นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในวันที่ 6 มิถุนายนนี้ เตรียมลงพื้นที่ภาคใต้ที่ จ.ตรัง เพื่อร่วมประชุมยุทธศาสตร์แก้ปัญหาโรคชิคุนกุนยา โดยตั้งเป้ายุติการแพร่ระบาดของโรคปราบปรามให้เด็ดขาดภายในเวลา 3 เดือน โดยเน้นรณรงค์ให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่มีการระบาดสวมเสื้อผ้าแต่งกายมิดชิด หลีกเลี่ยงป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด รักษาผู้ป่วยให้หายขาด เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย ซึ่งหากสามารถทำได้ในระยะเวลา 3 เดือน จะเป็นการตัดวงจรของโรคชิคุนกุนยาได้ ส่วนจะประกาศให้เป็นพื้นที่มีการระบาดของโรคชิคุนกุนยาเป็นพื้นที่ภัยพิบัติด้วยหรือไม่ ยังต้องรอผลสรุปการประชุมในครั้งนี้ก่อน
“ได้เดินทางลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี พบว่ามีผู้ป่วยชิคุนกุนยา 2 ราย ซึ่งติดเชื้อมาหลังจากเดินทางไปพื้นที่ภาคใต้ จ.ยะลา จึงกังวลเนื่องจากมียุงลายในพื้นที่มีอยู่แล้วอาจจะกัดผู้ป่วยรับเชื้อชิคุนกุนยาและแพร่ระบาดได้ ซึ่งต้องป้องกันการระบาด อย่างไรก็ตามยังไม่พบว่ามีการระบาดจากในพื้นที่”นายวิทยากล่าว
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากบริษัทเอกชนมอบทรายอะเบทเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และน้ำยาฆ่ายุงและแมลง มูลค่า 17 ล้านบาท จากบริษัทเอกชน โดยจะนำไปใช้ในการปราบปรามยุงลายสวนในพื้นที่ภาคใต้ โดยจะไม่เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของบประมาณเพิ่มเติม เนื่องจากเข้าใจสถานะของรัฐบาล แต่จะพยายามใช้งบของกระทรวงสาธารณสุขแทน ซึ่งขณะนี้ สธ.ยินดีรับบริจาคทรายอะเบทและสารกำจัดยุงลายด้วย
ด้าน นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ระบาดของโรคชิคุนกุนยาในหญิงตั้งครรภ์ ขณะนี้พบในพื้นที่ จ.ตรัง มากที่สุด โดยได้รับรายงานมีหญิงตั้งครรภ์ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยารวมทั้งหมด 9 ราย เป็นหญิงที่ตั้งครรภ์ที่เป็นชิคุนกุนยาและและคลอดบุตรแล้ว จำนวน 3 ราย ซึ่งรวมถึงทารกที่เกิดจากมารดาป่วยชิคุนกุยาแล้วเสียชีวิตด้วยการสำลักน้ำคร่ำด้วย ส่วนอีก 6 ราย ยังอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ สถานการณ์ของโรคในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ยังคงน่าเป็นห่วง เนื่องจากในประเทศไทยยังไม่เคยพบกรณีเช่นนี้มาก่อน จึงต้องมีการเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อชิคุนกุนยาเป็นพิเศษ
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ยืนยันว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมตัวเลขของหญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยาทั้งหมด รวมถึงผู้ที่ตั้งครรภ์ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม การที่ทารกที่ได้รับเชื้อชิคุนกุนยาจากแม่สู่ลูกนั้น จะได้รับผลกระทบการพัฒนาการทางสมองล่าช้าหรือไม่นั้น อยู่ที่ระยะเวลาที่ได้รับเชื้อ ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลเพราะเป็นเชื้อโรคที่เพิ่งมีการแพร่ระบาด
วันเดียวกัน นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวมอบนโยบายอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศผ่านระบบออนไลน์ ว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยา ทั่วประเทศกว่า 22,000 ราย ใน 28 จังหวัด ไม่มีรายงานเสียชีวิต ขอให้ อสม.เป็นแกนนำรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งในบ้านและในสวนทุก 7 วัน และให้ความรู้ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเข้าไปกรีดยาง ให้แต่งตัวมิดชิด สวมหมวกที่มีผ้าปิดหูและคออย่างมิดชิดไม่ให้ยุงกัดได้ และให้ทายากันยุงที่หน้า แขนขา หรือส่วนที่พ้นจากเสื้อผ้า เพื่อลดความเสี่ยงถูกยุงลายกัดขณะทำงาน ได้มอบหมายให้ สปสช. จัดหายาทากันยุงเพื่อส่งให้ อสม.ในพื้นที่ที่มีโรคระบาด นำไปแจกประชาชน ขณะเดียวกัน ให้ อสม. ค้นหาผู้ป่วยที่มีไข้ ปวดข้อ หรือมีผื่นภายใน 14 วัน และรีบรายงานสถานีอนามัย เพื่อส่งหน่วยเคลื่อนที่เร็วลงไปควบคุมป้องกันโรคอย่างรวดเร็ว และประสานให้อบต. ฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวแก่
ด้าน นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้สั่งการให้โรงพยาบาลทุกระดับในสังกัดทั่วประเทศ เปิดช่องทางด่วนสำหรับให้การดูแลผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายที่แผนกตรวจรักษาผู้ป่วยนอก เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวังโรค พร้อมทั้งจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รุกถึงหมู่บ้าน บริการทั้งการรักษาและป้องกันไป
วันที่ 2 มิถุนายน นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในวันที่ 6 มิถุนายนนี้ เตรียมลงพื้นที่ภาคใต้ที่ จ.ตรัง เพื่อร่วมประชุมยุทธศาสตร์แก้ปัญหาโรคชิคุนกุนยา โดยตั้งเป้ายุติการแพร่ระบาดของโรคปราบปรามให้เด็ดขาดภายในเวลา 3 เดือน โดยเน้นรณรงค์ให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่มีการระบาดสวมเสื้อผ้าแต่งกายมิดชิด หลีกเลี่ยงป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด รักษาผู้ป่วยให้หายขาด เพื่อไม่ให้เชื้อแพร่กระจาย ซึ่งหากสามารถทำได้ในระยะเวลา 3 เดือน จะเป็นการตัดวงจรของโรคชิคุนกุนยาได้ ส่วนจะประกาศให้เป็นพื้นที่มีการระบาดของโรคชิคุนกุนยาเป็นพื้นที่ภัยพิบัติด้วยหรือไม่ ยังต้องรอผลสรุปการประชุมในครั้งนี้ก่อน
“ได้เดินทางลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี พบว่ามีผู้ป่วยชิคุนกุนยา 2 ราย ซึ่งติดเชื้อมาหลังจากเดินทางไปพื้นที่ภาคใต้ จ.ยะลา จึงกังวลเนื่องจากมียุงลายในพื้นที่มีอยู่แล้วอาจจะกัดผู้ป่วยรับเชื้อชิคุนกุนยาและแพร่ระบาดได้ ซึ่งต้องป้องกันการระบาด อย่างไรก็ตามยังไม่พบว่ามีการระบาดจากในพื้นที่”นายวิทยากล่าว
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากบริษัทเอกชนมอบทรายอะเบทเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย และน้ำยาฆ่ายุงและแมลง มูลค่า 17 ล้านบาท จากบริษัทเอกชน โดยจะนำไปใช้ในการปราบปรามยุงลายสวนในพื้นที่ภาคใต้ โดยจะไม่เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ของบประมาณเพิ่มเติม เนื่องจากเข้าใจสถานะของรัฐบาล แต่จะพยายามใช้งบของกระทรวงสาธารณสุขแทน ซึ่งขณะนี้ สธ.ยินดีรับบริจาคทรายอะเบทและสารกำจัดยุงลายด้วย
ด้าน นพ.มล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์ระบาดของโรคชิคุนกุนยาในหญิงตั้งครรภ์ ขณะนี้พบในพื้นที่ จ.ตรัง มากที่สุด โดยได้รับรายงานมีหญิงตั้งครรภ์ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยารวมทั้งหมด 9 ราย เป็นหญิงที่ตั้งครรภ์ที่เป็นชิคุนกุนยาและและคลอดบุตรแล้ว จำนวน 3 ราย ซึ่งรวมถึงทารกที่เกิดจากมารดาป่วยชิคุนกุยาแล้วเสียชีวิตด้วยการสำลักน้ำคร่ำด้วย ส่วนอีก 6 ราย ยังอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ สถานการณ์ของโรคในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ยังคงน่าเป็นห่วง เนื่องจากในประเทศไทยยังไม่เคยพบกรณีเช่นนี้มาก่อน จึงต้องมีการเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้หญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อชิคุนกุนยาเป็นพิเศษ
นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ยืนยันว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวมตัวเลขของหญิงตั้งครรภ์ที่ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยาทั้งหมด รวมถึงผู้ที่ตั้งครรภ์ซึ่งอยู่ในพื้นที่ที่มีการระบาด เนื่องจากเป็นกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม การที่ทารกที่ได้รับเชื้อชิคุนกุนยาจากแม่สู่ลูกนั้น จะได้รับผลกระทบการพัฒนาการทางสมองล่าช้าหรือไม่นั้น อยู่ที่ระยะเวลาที่ได้รับเชื้อ ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีข้อมูลเพราะเป็นเชื้อโรคที่เพิ่งมีการแพร่ระบาด
วันเดียวกัน นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวมอบนโยบายอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ทั่วประเทศผ่านระบบออนไลน์ ว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยา ทั่วประเทศกว่า 22,000 ราย ใน 28 จังหวัด ไม่มีรายงานเสียชีวิต ขอให้ อสม.เป็นแกนนำรณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งในบ้านและในสวนทุก 7 วัน และให้ความรู้ประชาชน โดยเฉพาะผู้ที่ต้องเข้าไปกรีดยาง ให้แต่งตัวมิดชิด สวมหมวกที่มีผ้าปิดหูและคออย่างมิดชิดไม่ให้ยุงกัดได้ และให้ทายากันยุงที่หน้า แขนขา หรือส่วนที่พ้นจากเสื้อผ้า เพื่อลดความเสี่ยงถูกยุงลายกัดขณะทำงาน ได้มอบหมายให้ สปสช. จัดหายาทากันยุงเพื่อส่งให้ อสม.ในพื้นที่ที่มีโรคระบาด นำไปแจกประชาชน ขณะเดียวกัน ให้ อสม. ค้นหาผู้ป่วยที่มีไข้ ปวดข้อ หรือมีผื่นภายใน 14 วัน และรีบรายงานสถานีอนามัย เพื่อส่งหน่วยเคลื่อนที่เร็วลงไปควบคุมป้องกันโรคอย่างรวดเร็ว และประสานให้อบต. ฉีดพ่นหมอกควันกำจัดยุงตัวแก่
ด้าน นพ.ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้สั่งการให้โรงพยาบาลทุกระดับในสังกัดทั่วประเทศ เปิดช่องทางด่วนสำหรับให้การดูแลผู้ป่วยโรคไข้ปวดข้อยุงลายที่แผนกตรวจรักษาผู้ป่วยนอก เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวังโรค พร้อมทั้งจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่รุกถึงหมู่บ้าน บริการทั้งการรักษาและป้องกันไป