ปธ.คณะอนุกรรมาธิการติดตามและตรวจสอบการบริหารงบฯสาธารณสุขเผย ข้าราชการไทยใช้จ่ายเบิกงบรักษาพยาบาล 5.49 หมื่นล้านบาท เผยกว่า 80%ของค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกคือค่าใช้จ่ายด้านยา
นายเจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามและตรวจสอบการบริหารงบประมาณด้านสาธารณสุข ในคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา เปิดเผยว่า ค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในระบบข้าราชการมีแนวโน้มที่จะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยปี 2551 ตั้งงบประมาณไว้ 3.87 หมื่นล้านบาทแต่กลับมีการใช้งบประมาณทั้งสิ้น 5.49 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยนอกจำนวน 3.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่ผู้ป่วยในใช้เพียง 1.6 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้กว่า 80%ของค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกคือค่าใช้จ่ายด้านยา
ดังนั้น จึงเสนอทางออกให้มีการเบิกค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกตรงกับสถานพยาบาลโดยที่ข้าราชการไม่ต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อน ควรมีการเลือกจ่ายเฉพาะบางกลุ่ม บางโรค อาทิ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ยาแพงบางชนิด ฯลฯ แต่ไม่ได้ให้กับทุกกลุ่มเหมือนเช่นปัจจุบัน แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับที่จะยกเลิกสิทธิที่ดีมีประโยชน์ สิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้ที่ควรได้สิทธิ แต่อาจเลือกให้เฉพาะกลุ่ม มิฉะนั้นงบประมาณในส่วนนี้จะเป็นภาระของรัฐบาล
นายเจตน์ กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงนอกจากนี้คือ เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกว่า 3 ล้านคนทั่วประเทศ ที่ไม่ได้เบิกจ่ายงบประมาณด้านการรักษาพยาบาลจากรมบัญชีกลาง แต่ใช้งบประมาณจากท้องถิ่น ซึ่งไม่มีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวเลย ดังนั้นหากต้องการพิจารณางบประมาณค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขทั้งหมด จำเป็นต้องมีข้อมูลในส่วนนี้ด้วย
ส่วนระบบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แม้ว่าจะได้รับงบประมาณรายหัวเพิ่มเป็น 2,406 บาท แต่ปัญหาคือ ต้นทุนทางการแพทย์ก็เพิ่มขึ้นด้วย อาทิ เงินเดือนบุคลากรที่เพิ่มทุกปี ปีละ 6% ซึ่งงบประมาณรายหัว 40%จะถูกกันให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นงบเงินเดือนบุคลากร เหลือ 60%เป็นค่าดำเนินการ ดังนั้นการที่รัฐบาลจะเพิ่มงบประมาณรายหัวในแต่ละปีจะต้องเพิ่มงบประมาณมากกว่า 6% หากน้อยกว่านี้ถือว่าไม่ได้เพิ่มอะไรเลย
นายเจตน์ ศิรธรานนท์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการติดตามและตรวจสอบการบริหารงบประมาณด้านสาธารณสุข ในคณะกรรมาธิการสาธารณสุข วุฒิสภา เปิดเผยว่า ค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในระบบข้าราชการมีแนวโน้มที่จะใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นทุกปี เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยปี 2551 ตั้งงบประมาณไว้ 3.87 หมื่นล้านบาทแต่กลับมีการใช้งบประมาณทั้งสิ้น 5.49 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยนอกจำนวน 3.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่ผู้ป่วยในใช้เพียง 1.6 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้กว่า 80%ของค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกคือค่าใช้จ่ายด้านยา
ดังนั้น จึงเสนอทางออกให้มีการเบิกค่าใช้จ่ายผู้ป่วยนอกตรงกับสถานพยาบาลโดยที่ข้าราชการไม่ต้องสำรองจ่ายเงินไปก่อน ควรมีการเลือกจ่ายเฉพาะบางกลุ่ม บางโรค อาทิ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ยาแพงบางชนิด ฯลฯ แต่ไม่ได้ให้กับทุกกลุ่มเหมือนเช่นปัจจุบัน แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับที่จะยกเลิกสิทธิที่ดีมีประโยชน์ สิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้ที่ควรได้สิทธิ แต่อาจเลือกให้เฉพาะกลุ่ม มิฉะนั้นงบประมาณในส่วนนี้จะเป็นภาระของรัฐบาล
นายเจตน์ กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงนอกจากนี้คือ เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีกว่า 3 ล้านคนทั่วประเทศ ที่ไม่ได้เบิกจ่ายงบประมาณด้านการรักษาพยาบาลจากรมบัญชีกลาง แต่ใช้งบประมาณจากท้องถิ่น ซึ่งไม่มีการรวบรวมข้อมูลดังกล่าวเลย ดังนั้นหากต้องการพิจารณางบประมาณค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขทั้งหมด จำเป็นต้องมีข้อมูลในส่วนนี้ด้วย
ส่วนระบบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แม้ว่าจะได้รับงบประมาณรายหัวเพิ่มเป็น 2,406 บาท แต่ปัญหาคือ ต้นทุนทางการแพทย์ก็เพิ่มขึ้นด้วย อาทิ เงินเดือนบุคลากรที่เพิ่มทุกปี ปีละ 6% ซึ่งงบประมาณรายหัว 40%จะถูกกันให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นงบเงินเดือนบุคลากร เหลือ 60%เป็นค่าดำเนินการ ดังนั้นการที่รัฐบาลจะเพิ่มงบประมาณรายหัวในแต่ละปีจะต้องเพิ่มงบประมาณมากกว่า 6% หากน้อยกว่านี้ถือว่าไม่ได้เพิ่มอะไรเลย