นพ.ศิริวัฒน์ ทิพย์ธราดล ประธานคณะทำงานต่อรองราคายาและเวชภัณฑ์ที่จำเป็นและมีปัญหาการเข้าถึงประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ กล่าวภายหลังการเจรจาต่อรองราคายากับบริษัทผู้ผลิตยารักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Rituximab) ของบริษัท โรช จำกัด(ประเทศไทย) ยารักษาโรครูมาตอยด์ (Etanercept) ของบริษัท ไวเอท และยารักษาโรครูมาตอยด์ (Infliximab) ของบริษัท เชอริง พราวด์ จำนวน 3 แห่ง ซึ่งเป็นการเจรจาครั้งที่ 2 ว่า บริษัทยาทั้ง 3 แห่ง ได้เสนอลดราคายาลด ร้อยละ 13-25 ของราคายาที่จำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ลดลงไม่มาก เมื่อเทียบกับรายได้มวลรวมประชาชาติ(GDP) ของคนไทย และเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก กำหนดดัชนีสุขภาพของประชาชนทั่วโลก ว่า ราคายาของแต่ละประเทศไม่ควรเกิน 1 GDP
ดังนั้น คณะทำงานต่อรองราคายาฯ จึงได้มีมติให้บริษัทยาทั้ง 3 แห่ง กลับไปทบทวนและเสนอราคายาใหม่ โดยขอให้ลดราคายาลงอีก ร้อยละ 50-60 โดยได้เสนอเงื่อนไขคือ หาก 1 ใน 3 บริษัท มีการเสนอลดราคาให้มากที่สุด และเป็นไปตามราคาที่ได้กำหนดไว้ คณะทำงานเจรจาต่อรองราคายาฯ จะคัดเลือกยาดังกล่าวเข้าบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 47 ล้านคน และผู้ป่วยในระบบประกันสังคมอีก 8 ล้านคนสามารถใช้ยาดังกล่าวได้
“มั่นใจว่า บริษัทยาจะสนใจ เงื่อนไขดังกล่าว เพราะปัจจุบันยาทั้ง 3 รายการดังกล่าว มีปริมาณการใช้น้อยมาก คือมีผู้ป่วยเพียง ปีละ 300-400 รายที่ใช้ยาทั้ง 3 รายการ ขณะที่สมาคมโรครูมาตอยด์ ได้ประมาณการ พบว่า มีผู้ป่วยโรคนี้มากถึง 4 แสนคนทั่วประเทศ และมีผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยามากถึงปีละ 4,000 ราย ยังไม่นับรวมกับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ดังนั้นการลดราคายาลงแม้จะทำให้กำไรลดลงแต่ก็ไม่ถึงกับขาดทุน ที่สำคัญยังทำให้มียอดขายมากขึ้นด้วย” นพ.ศิริวัฒน์ กล่าว
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวว่า ในประเทศไทยราคายาทั้ง 3 รายการดังกล่าวมีราคาแพงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับ GDP ของไทย กล่าวคือคนไทยจ่ายค่ายารักษาโรคกลุ่มนี้คิดเป็น 3 เท่าของ GDP ขณะที่คนยุโรปบางประเทศจ่ายเพียง 0.5-0.8 เท่าของ GDP เมื่อเทียบรายได้แล้ว คนยุโรป ซื้อยาได้ใสนราคาที่ถูกกว่าคนไทย ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมี GDP เฉลี่ยเพียง 1.3 แสนคน/ปี ทางคณะทำงานเจรจาต่อรองราคาฯ ยังได้เสนอให้บริษัททั้ง 3 แห่ง ใช้นโยบายราคายาแตกต่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนาด้วย ทั้งนี้ จะนัดหารืออีกครั้งในปลายเดือนเมษายนนี้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นการประชุมครั้งสุดท้าย หากเจรจาไม่สำเร็จก็จะสรุปผลการประชุมเสนอไปยังคณะอนุกรรมการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่มีความจำเป็นและมีปัญหาการเข้าถึงของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งมี ภญ.สำลี ใจดี เป็นประธาน พิจารณาตัดสินใจทันที
ทั้งนี้ มูลค่าการใช้ยาของทั้ง 3 รายการ มีดังนี้ 1.ยารักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ป่วยต้องจ่ายค่ายา 4.3 แสนบาท/คน/ปี 2.ยารักษาโรครูมาตอยด์ ผู้ป่วยต้องจ่ายค่ายา 2.3-6 แสนบาท/คน/ปี ในภาพรวมมีมูลค่าการใช้ถึง 1,200 ล้านบาท/ปี
ดังนั้น คณะทำงานต่อรองราคายาฯ จึงได้มีมติให้บริษัทยาทั้ง 3 แห่ง กลับไปทบทวนและเสนอราคายาใหม่ โดยขอให้ลดราคายาลงอีก ร้อยละ 50-60 โดยได้เสนอเงื่อนไขคือ หาก 1 ใน 3 บริษัท มีการเสนอลดราคาให้มากที่สุด และเป็นไปตามราคาที่ได้กำหนดไว้ คณะทำงานเจรจาต่อรองราคายาฯ จะคัดเลือกยาดังกล่าวเข้าบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 47 ล้านคน และผู้ป่วยในระบบประกันสังคมอีก 8 ล้านคนสามารถใช้ยาดังกล่าวได้
“มั่นใจว่า บริษัทยาจะสนใจ เงื่อนไขดังกล่าว เพราะปัจจุบันยาทั้ง 3 รายการดังกล่าว มีปริมาณการใช้น้อยมาก คือมีผู้ป่วยเพียง ปีละ 300-400 รายที่ใช้ยาทั้ง 3 รายการ ขณะที่สมาคมโรครูมาตอยด์ ได้ประมาณการ พบว่า มีผู้ป่วยโรคนี้มากถึง 4 แสนคนทั่วประเทศ และมีผู้ป่วยที่จำเป็นต้องใช้ยามากถึงปีละ 4,000 ราย ยังไม่นับรวมกับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ดังนั้นการลดราคายาลงแม้จะทำให้กำไรลดลงแต่ก็ไม่ถึงกับขาดทุน ที่สำคัญยังทำให้มียอดขายมากขึ้นด้วย” นพ.ศิริวัฒน์ กล่าว
นพ.ศิริวัฒน์ กล่าวว่า ในประเทศไทยราคายาทั้ง 3 รายการดังกล่าวมีราคาแพงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับ GDP ของไทย กล่าวคือคนไทยจ่ายค่ายารักษาโรคกลุ่มนี้คิดเป็น 3 เท่าของ GDP ขณะที่คนยุโรปบางประเทศจ่ายเพียง 0.5-0.8 เท่าของ GDP เมื่อเทียบรายได้แล้ว คนยุโรป ซื้อยาได้ใสนราคาที่ถูกกว่าคนไทย ซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมี GDP เฉลี่ยเพียง 1.3 แสนคน/ปี ทางคณะทำงานเจรจาต่อรองราคาฯ ยังได้เสนอให้บริษัททั้ง 3 แห่ง ใช้นโยบายราคายาแตกต่างสำหรับประเทศกำลังพัฒนาด้วย ทั้งนี้ จะนัดหารืออีกครั้งในปลายเดือนเมษายนนี้ ซึ่งคาดว่าจะเป็นการประชุมครั้งสุดท้าย หากเจรจาไม่สำเร็จก็จะสรุปผลการประชุมเสนอไปยังคณะอนุกรรมการคัดเลือกยาและเวชภัณฑ์ที่มีความจำเป็นและมีปัญหาการเข้าถึงของประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งมี ภญ.สำลี ใจดี เป็นประธาน พิจารณาตัดสินใจทันที
ทั้งนี้ มูลค่าการใช้ยาของทั้ง 3 รายการ มีดังนี้ 1.ยารักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว ผู้ป่วยต้องจ่ายค่ายา 4.3 แสนบาท/คน/ปี 2.ยารักษาโรครูมาตอยด์ ผู้ป่วยต้องจ่ายค่ายา 2.3-6 แสนบาท/คน/ปี ในภาพรวมมีมูลค่าการใช้ถึง 1,200 ล้านบาท/ปี