พก.เดินเครื่องจัดทำร่างมาตรฐานองค์กรคนพิการครั้งแรก รอพิจารณาจากนายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน คกก.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ลงนามประกาศใช้ พร้อมเปิดให้องค์กรคนพิการยื่นรับรองมาตรฐานได้ตั้งแต่วันนี้-31 ก.ค.ใช้เวลาประเมินผล 90 วัน ก่อนทราบผล ก.ย.นี้ ระบุ หากองค์กรใดไม่ผ่านพร้อมชี้แจงจุดบกพร่อง เพื่อแก้ไขภายใต้กรอบเวลา ย้ำองค์กรใดผ่านแล้วทำงานแบบผักชีโรยหน้าอาจเจอเพิกถอนได้
วันนี้ (15 พ.ค.) นายสุพล บริสุทธิ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มกฏหมาย สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า มาตรา 6(10) ใน พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 บัญญัติให้มีการกำหนดมาตรฐานให้การรับรอง หรือเพิกถอนการรับรององค์กรด้านคนพิการหรือองค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการ เพื่อให้องค์กรด้านคนพิการมีโครงสร้างที่เป็นระบบอย่างชัดเจน มีกลไกเชื่อมโยงในการดำเนินการด้านคนพิการ และมีความเข้มแข็งสามารถคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิคนพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ พก.จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิรวมถึงคนพิการจัดทำร่าง ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการรับรองและเพิกถอนการรับรององค์กรด้านคนพิการหรือองค์กรอื่นที่ให้บริการแก่คนพิการ พ.ศ... แล้วเสร็จ และผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอนายกฯ ลงนามเพื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา
นายสุพล กล่าวว่า การรับรองมาตรฐานองค์กรด้านคนพิการถือเป็นนวัตกรรมใหม่ครั้งแรกของคนพิการ เป็นมาตรฐานส่งเสริมโดยสมัครใจ ไม่บังคับ เน้นการประเมินรับรองมาตรฐานเพื่อพัฒนา สร้างความเข้มแข็งให้คนพิการสามารถดูแลกันเอง โดยรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน ซึ่งองค์กรที่ผ่านการรับรองก็จะเป็นเหมือนประตูในการรับการสนับสนุนส่งเสริม และเกิดความเชื่อมั่นศรัทธาของหน่วยงาน ประชาชนมากยิ่งขึ้น ไม่เกิดข้อกังขาว่าเป็นองค์กรเพื่อผลประโยชน์ หรือองค์กรที่ผ่านการรับรองก็ไม่ใช่เป็นเครดิตในการหาประโยชน์เช่นกัน ที่สำคัญ เป็นการผลักดันเชิงนโยบายสาธารณะให้คนพิการได้มีส่วนร่วมในสังคมมากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ทำให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับคนพิการมากขึ้น ทั้งนี้โดยหลักการรับรองมาตรฐานจะเน้นประเมินการบริหารจัดการขององค์กรและการให้บริการที่มีคุณภาพ
สำหรับกรอบเวลาดำเนินการ ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด เผยแพร่ข้อมูลสร้างความเข้าใจ และเปิดให้องค์กรด้านคนพิการสามารถยื่นขอรับการรับรองมาตรฐาน โดยส่วนกลางติดต่อที่ พก.ส่วนภูมิภาคติดต่อที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการประเมินผลในระยะเวลา 90 วัน และประกาศผลภายในเดือนกันยายนนี้ คาดว่า ในระยะแรกจะมีผู้ผ่านการรับรองไม่น้อยกว่า 10 องค์กร ทั้งนี้การรับรองมาตรฐานนั้นเน้นการส่งเสริมและพัฒนา หากองค์กรไหนไม่ผ่านการประเมินจะมีการระบุชี้แจงถึงจุดบกพร่องเพื่อการแก้ไขภายใต้กรอบเวลา ส่วนองค์กรที่ผ่านการรับรองไปแล้วก็ต้องรักษามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง หากพบว่ามีองค์กรที่จัดทำแบบผักชีโรยหน้าเพื่อให้ผ่านการรับรองก็จะถูกตรวจสอบและมีสิทธิ์ถูกเพิกถอนการรับรองได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามองค์กรด้านคนพิการที่อยู่ในความดูแลของเอกชนที่ขึ้นทะเบียนไว้มีประมาณ 250 แห่ง ส่วนภาครัฐมีทั้งที่อยู่ในสังกัดอบต.และกระทรวงต่างๆ อีกไม่น้อย
“จุดตัดระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่ด้อยพัฒนาอยู่ที่การออกแบบแนวคิดการดำเนินงานรวมถึงสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นไปเพื่อคนส่วนใหญ่หรือเพื่อทุกคน ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วจะออกแบบแนวคิดเพื่อทุกคนเข้าถึงได้ ดังนั้นการรับรองมาตรฐานครั้งนี้ เราจึงคาดหวังว่า ทุกหน่วยงานจะออกแบบแนวคิดเพื่อคนทุกคนไม่ใช่เพียงเพื่อคนส่วนใหญ่เท่านั้น” นายสุพล กล่าว
วันนี้ (15 พ.ค.) นายสุพล บริสุทธิ์ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มกฏหมาย สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (พก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยว่า มาตรา 6(10) ใน พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 บัญญัติให้มีการกำหนดมาตรฐานให้การรับรอง หรือเพิกถอนการรับรององค์กรด้านคนพิการหรือองค์กรอื่นใดที่ให้บริการแก่คนพิการ เพื่อให้องค์กรด้านคนพิการมีโครงสร้างที่เป็นระบบอย่างชัดเจน มีกลไกเชื่อมโยงในการดำเนินการด้านคนพิการ และมีความเข้มแข็งสามารถคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิคนพิการได้อย่างมีประสิทธิภาพ พก.จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิรวมถึงคนพิการจัดทำร่าง ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานการรับรองและเพิกถอนการรับรององค์กรด้านคนพิการหรือองค์กรอื่นที่ให้บริการแก่คนพิการ พ.ศ... แล้วเสร็จ และผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างเสนอนายกฯ ลงนามเพื่อประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา
นายสุพล กล่าวว่า การรับรองมาตรฐานองค์กรด้านคนพิการถือเป็นนวัตกรรมใหม่ครั้งแรกของคนพิการ เป็นมาตรฐานส่งเสริมโดยสมัครใจ ไม่บังคับ เน้นการประเมินรับรองมาตรฐานเพื่อพัฒนา สร้างความเข้มแข็งให้คนพิการสามารถดูแลกันเอง โดยรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ส่งเสริม สนับสนุน ซึ่งองค์กรที่ผ่านการรับรองก็จะเป็นเหมือนประตูในการรับการสนับสนุนส่งเสริม และเกิดความเชื่อมั่นศรัทธาของหน่วยงาน ประชาชนมากยิ่งขึ้น ไม่เกิดข้อกังขาว่าเป็นองค์กรเพื่อผลประโยชน์ หรือองค์กรที่ผ่านการรับรองก็ไม่ใช่เป็นเครดิตในการหาประโยชน์เช่นกัน ที่สำคัญ เป็นการผลักดันเชิงนโยบายสาธารณะให้คนพิการได้มีส่วนร่วมในสังคมมากขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ทำให้ทุกหน่วยงานให้ความสำคัญกับคนพิการมากขึ้น ทั้งนี้โดยหลักการรับรองมาตรฐานจะเน้นประเมินการบริหารจัดการขององค์กรและการให้บริการที่มีคุณภาพ
สำหรับกรอบเวลาดำเนินการ ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด เผยแพร่ข้อมูลสร้างความเข้าใจ และเปิดให้องค์กรด้านคนพิการสามารถยื่นขอรับการรับรองมาตรฐาน โดยส่วนกลางติดต่อที่ พก.ส่วนภูมิภาคติดต่อที่พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2552 จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการประเมินผลในระยะเวลา 90 วัน และประกาศผลภายในเดือนกันยายนนี้ คาดว่า ในระยะแรกจะมีผู้ผ่านการรับรองไม่น้อยกว่า 10 องค์กร ทั้งนี้การรับรองมาตรฐานนั้นเน้นการส่งเสริมและพัฒนา หากองค์กรไหนไม่ผ่านการประเมินจะมีการระบุชี้แจงถึงจุดบกพร่องเพื่อการแก้ไขภายใต้กรอบเวลา ส่วนองค์กรที่ผ่านการรับรองไปแล้วก็ต้องรักษามาตรฐานอย่างต่อเนื่อง หากพบว่ามีองค์กรที่จัดทำแบบผักชีโรยหน้าเพื่อให้ผ่านการรับรองก็จะถูกตรวจสอบและมีสิทธิ์ถูกเพิกถอนการรับรองได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามองค์กรด้านคนพิการที่อยู่ในความดูแลของเอกชนที่ขึ้นทะเบียนไว้มีประมาณ 250 แห่ง ส่วนภาครัฐมีทั้งที่อยู่ในสังกัดอบต.และกระทรวงต่างๆ อีกไม่น้อย
“จุดตัดระหว่างประเทศที่พัฒนาแล้วกับประเทศที่ด้อยพัฒนาอยู่ที่การออกแบบแนวคิดการดำเนินงานรวมถึงสิ่งสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นไปเพื่อคนส่วนใหญ่หรือเพื่อทุกคน ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วจะออกแบบแนวคิดเพื่อทุกคนเข้าถึงได้ ดังนั้นการรับรองมาตรฐานครั้งนี้ เราจึงคาดหวังว่า ทุกหน่วยงานจะออกแบบแนวคิดเพื่อคนทุกคนไม่ใช่เพียงเพื่อคนส่วนใหญ่เท่านั้น” นายสุพล กล่าว