(ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว)
...ในทำนองเดียวกัน ถึงแม้กว่าร้อยละ 60ของคนที่อยู่ในวัยทำงานในสหราชอาณาจักรจะมีการสะสมเงินออมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญ และกว่าร้อยละ 75 มีสิทธิได้รับผลตอบแทนจากกองทุนเหล่านี้ สหราชอาณาจักรก็ยังคงมีความกังวลที่ว่า ครัวเรือนในปัจจุบันมีเงินออมไม่เพียงพอหลังเกษียณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสถิติของประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ครัวเรือนเกิดความอัตคัดและมีความจำเป็นที่ต้องทำงานต่อหลังจากอายุเกษียณ นอกจากนี้ ครัวเรือนในสหราชอาณาจักรจะจัดสรรรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประมาณร้อยละ 14.23เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ่ายเบี้ยประกันสังคม และเงินออมที่สะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญ ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเป็นอันดับหนึ่งในสามของค่าใช้จ่ายทั้งหมด และยังสูงกว่าค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในสหรัฐอเมริกาอีก แต่ในขณะเดียวกัน การออมเงินของครัวเรือนก็ได้ลดลงอย่างมากเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ว่าครัวเรือนใน สหราชอาณาจักรเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สินมากที่สุดในช่วง2-3ปีที่ผ่านมา และตามผลสำรวจสถิติการออมเงินของครัวเรือนในกลุ่ม OECDในปี2551 ครัวเรือนในสหราชอาณาจักรมีเงินออมลดลงจากร้อยละ 8ในปี2533 เหลือเพียงร้อยละ 2.93 ในปี 2550 ดังนั้น พฤติกรรมการออมของครัวเรือนในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีความคล้ายคลึงกัน โดยให้ความสำคัญของการออมในระดับครัวเรือนลดลงเมื่อมีโอกาสที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม และกองทุนบำเหน็จบำนาญที่มากขึ้น
นอกจากนี้ ตามผลการศึกษาของสำนักงานสถิติประกันภัยในประเทศแคนาดา มีเพียงร้อยละ33ของชาวแคนาดาที่คาดว่าจะเกษียณอายุในปี 2573 มีเงินออมที่เพียงพอต่อการดำรงชีพในวัยเกษียณ ส่วนชาวแคนาดาในกลุ่มที่เหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในวัยทำงานในช่วงอายุ 40ปีขึ้นไป จะต้องมีการเร่งเพิ่มสัดส่วนการออม หรือต้องทำงานต่อหลังอายุเกษียณเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในอนาคต ซึ่งครัวเรือนที่สามารถออมเงินได้เพียงพอกับความต้องการส่วนใหญ่จะมีการออมเงินในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญ การทำประกัน และการออมเงินส่วนบุคคล เพื่อเป็นการกระจายและป้องกันความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงในวัยสูงอายุ แต่ในทางกลับกัน ครัวเรือนที่มีการออมเงินในผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพียงรูปแบบเดียว ส่วนใหญ่จะรวมอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีเงินออมไม่เพียงพอ และจะต้องเพิ่มสัดส่วนการออมหรือต้องทำงานต่อหลังอายุเกษียณ โดยเฉลี่ย ครัวเรือนชาวแคนาดาจะจัดสรรประมาณร้อยละ 7.93 ของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ่ายเบี้ยประกันสังคม และเงินออมที่สะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเป็นอันดับ 5ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยรายได้ส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 40 จะถูกจัดสรรไปในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้าน ที่อยู่อาศัย
นอกจากนี้ตามสำนักงานสถิติแห่งชาติของแคนาดาในปี 2548 ร้อยละ70 ของครัวเรือน หรือ ประมาณ9.4ล้านครัวเรือน มีการลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญ ซึ่งถึงแม้ว่าการออมเงินในกองทุนบำเหน็จบำนาญในแคนาดาจะไม่สูงเท่าในสหรัฐอเมริกา หรือ สหราชอาณาจักร แต่การออมเงินของครัวเรือนของชาวแคนาดาก็ไม่ได้ลดลงมากเท่าเช่นกัน ในปี 2550 สัดส่วนการออมของครัวเรือนอยู่ที่ ร้อยละ 1.51 ซึ่งลดลงประมาณ ร้อยละ 10จากในปี 2533 อย่างไรก็ตาม ด้วยพฤติกรรมการออมของครัวเรือนที่ลดลง หลายฝ่ายจึงมีความเป็นห่วงว่าครัวเรือนจะมีเงินออมที่เพียงพอหรือไม่ในการคงมาตรฐานดำรงชีวิตหลังวัยเกษียณ ซึ่งถ้าครัวเรือนมีการออมที่ไม่เพียงพอ ผลกระทบอาจกระจายไปถึงวงกว้าง ในระดับประเทศก็เป็นได้
ในทางกลับกัน ประเทศในภูมิภาคเอเชียซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา อาทิเช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และไทย ซึ่งถึงแม้จะมีรูปแบบการออมที่เหมือนกับในประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นประกันสังคม หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญ แต่รูปแบบการออมเหล่านี้ก็ไม่ยังไม่มีประสิทธิภาพในการครอบคลุมถึงประชากรทั้งหมดของประเทศได้ เนื่องจากประเทศที่กำลังพัฒนานั้นมักประสบปัญหาในเรื่องของผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย กลุ่มแรงงานนอกระบบ และความแตกต่างระหว่างรายได้ของแต่ละครัวเรือนที่มีค่อนข้างมาก ดังนั้น ครัวเรือนในประเทศเหล่านี้มีโอกาสเสี่ยงมากกว่าในการมีเงินออมที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการในวัยเกษียณ
แม้อายุเกษียณจะใกล้เข้ามา หลายครัวเรือนในประเทศสิงค์โปร์ก็ยังขาดความพร้อมในการรับมือและมีการเตรียมตัวที่ไม่เพียงพอเพื่อรักษามาตรฐานชีวิตการดำรงชีพหลังเกษียณให้เหมือนกับก่อนการเกษียณได้ ซึ่งเหตุผลส่วนหนึ่งก็มาจากการออมของครัวเรือนส่วนมากอยู่ในรูปแบบของเงินฝากที่ได้ผลตอบแทนที่ต่ำ ผลตอบแทนที่ได้รับจึงไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย และถึงแม้ว่าจะมีการช่วยเหลือจากภาครัฐมาบ้างในรูปแบบของประกันสังคม และกองทุนบำเหน็จบำนาญ เงินออมก็คงยังไม่เพียงพอที่คงมาตรฐานการครองชีพ แต่อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนที่มีรายได้อยู่ในระดับกลางถึงสูงมีโอกาสและความสามารถที่จะนำเงินบางส่วนไปลงทุนในหุ้นหรือกองทุนรวม ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า แต่ ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยไม่สามารถเข้าถึงช่องทางเหล่านี้ได้ เพราะในบางครั้งแค่รายได้ต่อเดือนก็ยังคงไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายต่อเดือนด้วยซ้ำ แล้วการออมจะเป็นไปได้อย่างไร
ตามสถิติของผลการสำรวจจากธนาคาร OCBC ของสิงค์โปร์ ร้อยละ74ของชาวสิงค์โปร์คาดหวังที่จะได้เกษียณก่อนอายุเกษียณที่กำหนดไว้ 62ปี แต่อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนส่วนใหญ่ยังคงขาดความพร้อม และขาดเงินออมที่เพียงพอที่จะมีมาตรฐานชีวิตที่ดีในวัยเกษียณ ดังนั้นการออมเพื่อวัยเกษียณในช่วงวัยทำงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งจากผลสำรวจพบว่า ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่มีการบริหารเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพเพราะคนส่วนใหญ่มักถือรายได้ที่ได้จากการทำงานเป็นรายได้หลักในการดำรงชีวิตและสร้างความมั่งคั่ง โดยมีสัดส่วนการลงทุนที่ค่อนข้างน้อยหรือลงทุนเมื่อสายเกินไปที่จะมีชีวิตในวัยเกษียณตามที่หวังไว้ อันที่จริงแล้ว คนทำงานที่อยู่ในช่วงอายุประมาณ 55ปี มีทรัพย์สินสภาพคล่องเพียง 40,000 ดอลล่าร์ สิงคโปร์ และเพียง 20,000 ดอลล่าร์สิงคโปร์ ในสินทรัพย์ประเภททุนเพื่อเป็นทุนเอาไว้ใช้ในตอนเกษียณ ซึ่งไม่น่าจะเพียงพอต่อการมีมาตรฐานชีวิตที่ดี
นอกจากนี้ ครัวเรือนที่มีโอกาสจะประสบปัญหาทางการเงินมากที่สุด ก็น่าจะเป็นครัวเรือนระดับล่าง เพราะครัวเรือนเหล่านี้มีสัดส่วนการออมที่น้อยและอยู่ในรูปแบบการออมที่ให้ผลตอบแทนที่ต่ำ และกว่าร้อยละ 37ของครัวเรือนไม่มีการออมเงินเป็นประจำ ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาที่หนักกว่าในระยะยาว เนื่องจากการออมในปัจจุบันไม่มีประสิทธิผลที่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสถิติของประชากรในผู้สูงอายุจะมีเพิ่มมากขึ้น
สำหรับฮ่องกง...หากเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา ประชากรฮ่องกงส่วนใหญ่ที่ยังอยู่ในวัยทำงานถือว่าขาดการวางแผนเงินออมที่ดีเพื่อวัยเกษียณที่มั่นคง โดยมีการลงทุนและการสะสมเงินออมสัดส่วนที่น้อยเกินไป พร้อมทั้งเลือกช่องทางการออมที่ไม่เหมาะสม สมาคมบริษัทจัดการลงทุนแห่งหนึ่งในฮ่องกง กล่าวว่า ร้อยละ 41ของผู้เกษียณและร้อยละ23 ของผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน ไม่เคยมีการประเมินว่าชีวิตในวัยเกษียณ ครัวเรือนควรมีเงินออมเท่าไหร่ถึงจะพอเพียง แต่ถึงกระนั้น ครัวที่มีอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีการวางแผนการออมเงิน กว่าร้อยละ 74 ก็ยังคิดว่าการออมในปัจจุบันยังไม่คงเพียงพอที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังเกษียณ นอกจากคนฮ่องกงจะมีการออมที่ไม่เพียงพอ คนเหล่านี้ยังขาดความสามารถในการดูแล บริหารการลงทุนที่มีอยู่แล้วให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด
สมาคมบริษัทจัดการลงทุนในฮ่องกงยังเสริมอีกว่า ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานและมีการลงทุนในกองทุนประเภทต่างๆเพื่อการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ กว่าร้อยละ 59 ไม่เคยหรือน้อยครั้งที่จะมีการตรวจสอบการลงทุนของตนเอง นอกจากนี้ จากทั้งหมด 800ครัวเรือน ร้อยละ 68 ไม่เคยให้ความสนใจในการมองหาผลิตภัณฑ์ทางการออมรูปแบบต่างๆและไม่เคยได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางการเงินในการวางแผนการออม อีกทั้ง ตามผลสำรวจของสหรัฐอเมริกาในเรื่องของความมั่นใจก่อนวัยเกษียณ ในปี 2549 พบว่า ประมาณร้อยละ90ของผู้ที่ยังอยู่ในวัยทำงานในสหรัฐฯ มีการประเมินที่ชัดเจนว่าครัวเรือนควรมีเงินออมเท่าไหร่จึงพอเพียงเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดในวัยสูงอายุ ขณะที่มีเพียงร้อยละ 69ของผู้ที่ยังอยู่ในวัยทำงานในฮ่องกงที่มีการวางแผนดังกล่าว จากนั้น ร้อยละ 19ของผู้ที่ยังอยู่ในวัยทำงานในสหรัฐฯได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสัดส่วนการออมที่จำเป็น ในทางกลับกันมีเพียงร้อยละ4เท่านั้นสำหรับผู้ที่ยังอยู่ในวัยทำงานในฮ่องกง อีกหนึ่งข้อแตกต่างก็คือ ร้อยละ68 ของผู้ที่ยังอยู่ในวัยทำงานในสหรัฐฯมีความมั่นใจว่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยเกษียณ ซึ่งมีเพียงร้อยละ 56สำหรับในฮ่องกง
ประชากรฮ่องกงส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ มักนิยมการออมในรูปแบบของเงินฝากเพราะมีความเสี่ยงต่ำมากกว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบอื่น อย่างเช่น กองทุนหรือตราสารหนี้ประเภทต่างๆ ถึงแม้ตราสารเหล่านั้นอาจเป็นทางเลือกของการออมที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ซึ่งการออมเงินส่วนใหญ่จะเป็นการฝากประจำ และตามมาด้วย ร้อยละ25 ของครัวเรือนที่ลงทุนในหุ้นและกองทุน โดยผลกระทบที่ตามมาก็คือ กว่าร้อยละ 40ของผู้ที่เกษียณอายุในฮ่องกงยังคงต้องพึ่งพาอาศัยความช่วยเหลือจากลูกหลานในการดำรงชีพในวัยเกษียณ ซึ่งเป็นเหตุผลที่สำคัญที่อธิบายว่าเหตุใดฮ่องกงยังไม่สามารถพัฒนาไปเทียบเท่าประเทศที่พัฒนาแล้วในการวางแผนการออมเงิน....(อ่านต่อสัปดาห์หน้า)
ที่มา : สมาคมบริษัทจัดการลงทุน
...ในทำนองเดียวกัน ถึงแม้กว่าร้อยละ 60ของคนที่อยู่ในวัยทำงานในสหราชอาณาจักรจะมีการสะสมเงินออมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญ และกว่าร้อยละ 75 มีสิทธิได้รับผลตอบแทนจากกองทุนเหล่านี้ สหราชอาณาจักรก็ยังคงมีความกังวลที่ว่า ครัวเรือนในปัจจุบันมีเงินออมไม่เพียงพอหลังเกษียณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสถิติของประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ครัวเรือนเกิดความอัตคัดและมีความจำเป็นที่ต้องทำงานต่อหลังจากอายุเกษียณ นอกจากนี้ ครัวเรือนในสหราชอาณาจักรจะจัดสรรรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประมาณร้อยละ 14.23เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ่ายเบี้ยประกันสังคม และเงินออมที่สะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญ ซึ่งถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเป็นอันดับหนึ่งในสามของค่าใช้จ่ายทั้งหมด และยังสูงกว่าค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในสหรัฐอเมริกาอีก แต่ในขณะเดียวกัน การออมเงินของครัวเรือนก็ได้ลดลงอย่างมากเช่นกัน ซึ่งสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ว่าครัวเรือนใน สหราชอาณาจักรเป็นครัวเรือนที่มีหนี้สินมากที่สุดในช่วง2-3ปีที่ผ่านมา และตามผลสำรวจสถิติการออมเงินของครัวเรือนในกลุ่ม OECDในปี2551 ครัวเรือนในสหราชอาณาจักรมีเงินออมลดลงจากร้อยละ 8ในปี2533 เหลือเพียงร้อยละ 2.93 ในปี 2550 ดังนั้น พฤติกรรมการออมของครัวเรือนในประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีความคล้ายคลึงกัน โดยให้ความสำคัญของการออมในระดับครัวเรือนลดลงเมื่อมีโอกาสที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม และกองทุนบำเหน็จบำนาญที่มากขึ้น
นอกจากนี้ ตามผลการศึกษาของสำนักงานสถิติประกันภัยในประเทศแคนาดา มีเพียงร้อยละ33ของชาวแคนาดาที่คาดว่าจะเกษียณอายุในปี 2573 มีเงินออมที่เพียงพอต่อการดำรงชีพในวัยเกษียณ ส่วนชาวแคนาดาในกลุ่มที่เหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในวัยทำงานในช่วงอายุ 40ปีขึ้นไป จะต้องมีการเร่งเพิ่มสัดส่วนการออม หรือต้องทำงานต่อหลังอายุเกษียณเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสภาพคล่องทางการเงินในอนาคต ซึ่งครัวเรือนที่สามารถออมเงินได้เพียงพอกับความต้องการส่วนใหญ่จะมีการออมเงินในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญ การทำประกัน และการออมเงินส่วนบุคคล เพื่อเป็นการกระจายและป้องกันความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงในวัยสูงอายุ แต่ในทางกลับกัน ครัวเรือนที่มีการออมเงินในผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพียงรูปแบบเดียว ส่วนใหญ่จะรวมอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีเงินออมไม่เพียงพอ และจะต้องเพิ่มสัดส่วนการออมหรือต้องทำงานต่อหลังอายุเกษียณ โดยเฉลี่ย ครัวเรือนชาวแคนาดาจะจัดสรรประมาณร้อยละ 7.93 ของรายได้เฉลี่ยต่อเดือนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ่ายเบี้ยประกันสังคม และเงินออมที่สะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญ ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเป็นอันดับ 5ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยรายได้ส่วนใหญ่ ประมาณร้อยละ 40 จะถูกจัดสรรไปในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้าน ที่อยู่อาศัย
นอกจากนี้ตามสำนักงานสถิติแห่งชาติของแคนาดาในปี 2548 ร้อยละ70 ของครัวเรือน หรือ ประมาณ9.4ล้านครัวเรือน มีการลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญ ซึ่งถึงแม้ว่าการออมเงินในกองทุนบำเหน็จบำนาญในแคนาดาจะไม่สูงเท่าในสหรัฐอเมริกา หรือ สหราชอาณาจักร แต่การออมเงินของครัวเรือนของชาวแคนาดาก็ไม่ได้ลดลงมากเท่าเช่นกัน ในปี 2550 สัดส่วนการออมของครัวเรือนอยู่ที่ ร้อยละ 1.51 ซึ่งลดลงประมาณ ร้อยละ 10จากในปี 2533 อย่างไรก็ตาม ด้วยพฤติกรรมการออมของครัวเรือนที่ลดลง หลายฝ่ายจึงมีความเป็นห่วงว่าครัวเรือนจะมีเงินออมที่เพียงพอหรือไม่ในการคงมาตรฐานดำรงชีวิตหลังวัยเกษียณ ซึ่งถ้าครัวเรือนมีการออมที่ไม่เพียงพอ ผลกระทบอาจกระจายไปถึงวงกว้าง ในระดับประเทศก็เป็นได้
ในทางกลับกัน ประเทศในภูมิภาคเอเชียซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา อาทิเช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และไทย ซึ่งถึงแม้จะมีรูปแบบการออมที่เหมือนกับในประเทศที่พัฒนาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นประกันสังคม หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญ แต่รูปแบบการออมเหล่านี้ก็ไม่ยังไม่มีประสิทธิภาพในการครอบคลุมถึงประชากรทั้งหมดของประเทศได้ เนื่องจากประเทศที่กำลังพัฒนานั้นมักประสบปัญหาในเรื่องของผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย กลุ่มแรงงานนอกระบบ และความแตกต่างระหว่างรายได้ของแต่ละครัวเรือนที่มีค่อนข้างมาก ดังนั้น ครัวเรือนในประเทศเหล่านี้มีโอกาสเสี่ยงมากกว่าในการมีเงินออมที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการในวัยเกษียณ
แม้อายุเกษียณจะใกล้เข้ามา หลายครัวเรือนในประเทศสิงค์โปร์ก็ยังขาดความพร้อมในการรับมือและมีการเตรียมตัวที่ไม่เพียงพอเพื่อรักษามาตรฐานชีวิตการดำรงชีพหลังเกษียณให้เหมือนกับก่อนการเกษียณได้ ซึ่งเหตุผลส่วนหนึ่งก็มาจากการออมของครัวเรือนส่วนมากอยู่ในรูปแบบของเงินฝากที่ได้ผลตอบแทนที่ต่ำ ผลตอบแทนที่ได้รับจึงไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตโดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย และถึงแม้ว่าจะมีการช่วยเหลือจากภาครัฐมาบ้างในรูปแบบของประกันสังคม และกองทุนบำเหน็จบำนาญ เงินออมก็คงยังไม่เพียงพอที่คงมาตรฐานการครองชีพ แต่อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนที่มีรายได้อยู่ในระดับกลางถึงสูงมีโอกาสและความสามารถที่จะนำเงินบางส่วนไปลงทุนในหุ้นหรือกองทุนรวม ที่ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า แต่ ครัวเรือนที่มีรายได้น้อยไม่สามารถเข้าถึงช่องทางเหล่านี้ได้ เพราะในบางครั้งแค่รายได้ต่อเดือนก็ยังคงไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายต่อเดือนด้วยซ้ำ แล้วการออมจะเป็นไปได้อย่างไร
ตามสถิติของผลการสำรวจจากธนาคาร OCBC ของสิงค์โปร์ ร้อยละ74ของชาวสิงค์โปร์คาดหวังที่จะได้เกษียณก่อนอายุเกษียณที่กำหนดไว้ 62ปี แต่อย่างไรก็ตาม ครัวเรือนส่วนใหญ่ยังคงขาดความพร้อม และขาดเงินออมที่เพียงพอที่จะมีมาตรฐานชีวิตที่ดีในวัยเกษียณ ดังนั้นการออมเพื่อวัยเกษียณในช่วงวัยทำงานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งจากผลสำรวจพบว่า ชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่มีการบริหารเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพเพราะคนส่วนใหญ่มักถือรายได้ที่ได้จากการทำงานเป็นรายได้หลักในการดำรงชีวิตและสร้างความมั่งคั่ง โดยมีสัดส่วนการลงทุนที่ค่อนข้างน้อยหรือลงทุนเมื่อสายเกินไปที่จะมีชีวิตในวัยเกษียณตามที่หวังไว้ อันที่จริงแล้ว คนทำงานที่อยู่ในช่วงอายุประมาณ 55ปี มีทรัพย์สินสภาพคล่องเพียง 40,000 ดอลล่าร์ สิงคโปร์ และเพียง 20,000 ดอลล่าร์สิงคโปร์ ในสินทรัพย์ประเภททุนเพื่อเป็นทุนเอาไว้ใช้ในตอนเกษียณ ซึ่งไม่น่าจะเพียงพอต่อการมีมาตรฐานชีวิตที่ดี
นอกจากนี้ ครัวเรือนที่มีโอกาสจะประสบปัญหาทางการเงินมากที่สุด ก็น่าจะเป็นครัวเรือนระดับล่าง เพราะครัวเรือนเหล่านี้มีสัดส่วนการออมที่น้อยและอยู่ในรูปแบบการออมที่ให้ผลตอบแทนที่ต่ำ และกว่าร้อยละ 37ของครัวเรือนไม่มีการออมเงินเป็นประจำ ทำให้ต้องเผชิญกับปัญหาที่หนักกว่าในระยะยาว เนื่องจากการออมในปัจจุบันไม่มีประสิทธิผลที่เพียงพอต่อความต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสถิติของประชากรในผู้สูงอายุจะมีเพิ่มมากขึ้น
สำหรับฮ่องกง...หากเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา ประชากรฮ่องกงส่วนใหญ่ที่ยังอยู่ในวัยทำงานถือว่าขาดการวางแผนเงินออมที่ดีเพื่อวัยเกษียณที่มั่นคง โดยมีการลงทุนและการสะสมเงินออมสัดส่วนที่น้อยเกินไป พร้อมทั้งเลือกช่องทางการออมที่ไม่เหมาะสม สมาคมบริษัทจัดการลงทุนแห่งหนึ่งในฮ่องกง กล่าวว่า ร้อยละ 41ของผู้เกษียณและร้อยละ23 ของผู้ที่อยู่ในวัยทำงาน ไม่เคยมีการประเมินว่าชีวิตในวัยเกษียณ ครัวเรือนควรมีเงินออมเท่าไหร่ถึงจะพอเพียง แต่ถึงกระนั้น ครัวที่มีอยู่ในกลุ่มของผู้ที่มีการวางแผนการออมเงิน กว่าร้อยละ 74 ก็ยังคิดว่าการออมในปัจจุบันยังไม่คงเพียงพอที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังเกษียณ นอกจากคนฮ่องกงจะมีการออมที่ไม่เพียงพอ คนเหล่านี้ยังขาดความสามารถในการดูแล บริหารการลงทุนที่มีอยู่แล้วให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด
สมาคมบริษัทจัดการลงทุนในฮ่องกงยังเสริมอีกว่า ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานและมีการลงทุนในกองทุนประเภทต่างๆเพื่อการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ กว่าร้อยละ 59 ไม่เคยหรือน้อยครั้งที่จะมีการตรวจสอบการลงทุนของตนเอง นอกจากนี้ จากทั้งหมด 800ครัวเรือน ร้อยละ 68 ไม่เคยให้ความสนใจในการมองหาผลิตภัณฑ์ทางการออมรูปแบบต่างๆและไม่เคยได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญทางการเงินในการวางแผนการออม อีกทั้ง ตามผลสำรวจของสหรัฐอเมริกาในเรื่องของความมั่นใจก่อนวัยเกษียณ ในปี 2549 พบว่า ประมาณร้อยละ90ของผู้ที่ยังอยู่ในวัยทำงานในสหรัฐฯ มีการประเมินที่ชัดเจนว่าครัวเรือนควรมีเงินออมเท่าไหร่จึงพอเพียงเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดในวัยสูงอายุ ขณะที่มีเพียงร้อยละ 69ของผู้ที่ยังอยู่ในวัยทำงานในฮ่องกงที่มีการวางแผนดังกล่าว จากนั้น ร้อยละ 19ของผู้ที่ยังอยู่ในวัยทำงานในสหรัฐฯได้รับการปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินสัดส่วนการออมที่จำเป็น ในทางกลับกันมีเพียงร้อยละ4เท่านั้นสำหรับผู้ที่ยังอยู่ในวัยทำงานในฮ่องกง อีกหนึ่งข้อแตกต่างก็คือ ร้อยละ68 ของผู้ที่ยังอยู่ในวัยทำงานในสหรัฐฯมีความมั่นใจว่าจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยเกษียณ ซึ่งมีเพียงร้อยละ 56สำหรับในฮ่องกง
ประชากรฮ่องกงส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ มักนิยมการออมในรูปแบบของเงินฝากเพราะมีความเสี่ยงต่ำมากกว่าผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบอื่น อย่างเช่น กองทุนหรือตราสารหนี้ประเภทต่างๆ ถึงแม้ตราสารเหล่านั้นอาจเป็นทางเลือกของการออมที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ซึ่งการออมเงินส่วนใหญ่จะเป็นการฝากประจำ และตามมาด้วย ร้อยละ25 ของครัวเรือนที่ลงทุนในหุ้นและกองทุน โดยผลกระทบที่ตามมาก็คือ กว่าร้อยละ 40ของผู้ที่เกษียณอายุในฮ่องกงยังคงต้องพึ่งพาอาศัยความช่วยเหลือจากลูกหลานในการดำรงชีพในวัยเกษียณ ซึ่งเป็นเหตุผลที่สำคัญที่อธิบายว่าเหตุใดฮ่องกงยังไม่สามารถพัฒนาไปเทียบเท่าประเทศที่พัฒนาแล้วในการวางแผนการออมเงิน....(อ่านต่อสัปดาห์หน้า)
ที่มา : สมาคมบริษัทจัดการลงทุน