“อภิสิทธิ์” หวังทั่วโลกเชื่อมั่นไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมอาเซียนบวก 3 บวก 6ที่ภูเก็ต ดูแลความปลอดภัยได้ดี หลังไทยจัดประชุม รมว.สธ.อาเซียนบวก 3 ราบรื่น ขณะที่ “ฮู” ชี้นานาประเทศพร้อมรับมือโรคระบาดเต็มที่แต่อย่าหย่อนมาตรการเฝ้าระวัง ชะลอการเดินทางหากไม่จำเป็น และหากเกิดระบาดฮูก็พร้อมให้ความช่วยเหลือเต็มที่
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังกล่าวเปิดงานการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวก 3 ว่า ขณะนี้ยังคงต้องติดตามแนวโน้มการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 เพราะแม้ตัวเลขในประเทศเม็กซิโกอาจจะคงที่ แต่โดยธรรมชาติของโรคเหล่านี้จะไปปรากฏในประเทศต่างๆ แต่หากมีมาตรการควบคุมดูแลการขยายตัวจะทำให้เกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจในระดับหนึ่งเท่านั้น ส่วนในการประชุมครั้งนี้จะสามารถลดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจของประเทศได้แค่ไหนนั้น ตนคิดว่ามาตรการที่จะตกลงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตามตรวจสอบผู้เดินทางเข้าประเทศ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจ อย่างน้อยที่สุดหากมีการระบาดเกิดขึ้นในภูมิภาคน่าจะช่วยจำกัดวงในการระบาดได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถตอบได้ว่า ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบมากที่สุดในภูมิภาคตามที่มีการวิเคราะห์กันหรือไม่ หรือได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน แต่ประเทศที่มีการพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวก็ย่อมจะได้รับผลกระทบมากกว่า อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการประชุมแล้วก็จะมีแถลงการณ์เพื่อกำหนดมาตรการต่างๆ ให้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนปฏิบัติตาม ซึ่งรัฐบาลจะติดตามหารือเรื่องนี้อีกครั้งในการประชุมอาเซียนบวกสามบวกหกในเดือนหน้า
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนการดูแลรักษาความปลอดภัยในครั้งนี้ หวังว่าจะสร้างความเชื่อมั่นกับการประชุมอาเซียนบวก 3บวก6ได้ โดยแสดงให้ทั่วโลกเห็นว่ารัฐบาลได้นำภาวะต่างๆ กลับเข้าสู่ปกติ และดูแลความปลอดภัยความสะดวกของผู้เข้าร่วมประชุมได้อย่างดี
ขณะเดียวกัน ในการประชุม รมว.สาธารณสุขอาเซียนบวก 3 นางมากาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าวผ่านการประชุมทางไกลผ่านดาวเทียมร่วมว่า ช่วงระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา ภูมิภาคอาเซียนต้องเผชิญกับการระบาดของเชื้อโรคโดยเฉพาะ ไข้หวัดนก ซึ่งการเกิดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ H1N1 ในอีกซีกโลกหนึ่ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะระบาดในภูมิภาคนี้เช่นกัน ได้ส่งสัญญาณว่ามาตรการการเตือนภัยเริ่มทำงานเป็นระบบมากขึ้น การเฝ้าระวัง การเตือนภัยมีการวางแผนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เคยมีครั้งไหนที่นานาประเทศจะสามารถรับมือกับการระบาดของโรคได้ดีเท่าครั้งนี้ ร่วมทั้งศักยภาพขีดความสามารถของประเทศต่างๆ ในการผลิตวัคซีนมามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ขอเรียกร้องให้นานาชาติอย่าลดหย่อนมาตรการในการเฝ้าระวัง และระดมความสามารถในการป้องกันโรคทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ เช่น การระดมทุนเพื่อป้องกันโรค
“มาตรการที่ประเทศเม็กซิโก ทำเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดโรค ถือเป็นบรรทัดฐานที่ดีที่เกิดขึ้น แต่เห็นได้ว่ายังไม่เพียงพอจำเป็นต้องมีมาตรการอื่นควบคู่ไปด้วย ขณะนี้ทุประเทศต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน ที่ต้องรับมือกับการระบาดของเชื้อที่ไม่สามารถบอกได้ว่ารุนแรงเพียงใด เพื่อทำให้เชื้อที่มีแนวโน้มจะระบาดใหญ่ไปทั่วโลก แพร่ระบาดช้าที่สุด หมายความว่า หากต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม ให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ก็จำเป็นต้องทำ และจะเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่งหากชะลอการเดินทางไว้ หากไม่จำเป็น” นางมากาเร็ต ชาน กล่าว
ด้านนพ.ริชาร์ด เบซเซอร์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา (CDC) กล่าวถึงสถานการณ์และการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีความเป็นไปได้ H1N1 จะแพร่กระจายลุกลามไปทั่วโลก คาดว่าจะมีผู้เจ็บป่วยมากขึ้นไปกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าตัวเชื้อโรคจะไม่รุนแรง แต่จะเห็นคนติดเชื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งอเมริกากำลังทำงานอย่างเต็มที่ไม่ให้แพร่กระจายลุกลาม มีการเพิ่มมาตรการเฝ้าระวัง ควบคุมปัจจัยเสี่ยง สาเหตุของการแพร่ระบาด ส่วนในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทำงานร่วม จีน เกาหลีในการพัฒนา
รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคหวัดเม็กซิโกในประเทศไทย
รู้จัก “ไวรัสไข้หวัดหมู” มฤตยูสายพันธุ์ล่าสุด!
สธ.สั่งจับตาหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ในเม็กซิโกใกล้ชิด ยันไม่พบเชื้อนี้ในไทย ปชช.ไม่ต้องกังวล
คุมเข้ม! ตั้งด่านวัดอุณหภูมิ สนามบินสุวรรณภูมิสกัดหวัดหมู เน้นขาเข้าจากเม็กซิโก-อเมริกา
สธ.เปิดสายด่วนไข้หวัดหมู ป้องกันประชาชนตระหนก
สธ.รับมือ “หวัดหมู” กระจายยาสำหรับ 3 แสนคน WHO เผยติดจากคนสู่คน
แพทย์ระบุ “หวัดหมู” รุนแรงน้อยกว่าหวัดนก แต่กระจายได้มากกว่า
“สุวรรณภูมิ” จับตา 8 เที่ยวบินจากเม็กซิโก ยังไม่พบติดเชื้อหมูมรณะ
สธ.เตรียมใช้แผนรับหวัดนก หาก WHO เพิ่มความรุนแรง “หวัดหมู” เตรียมทำคู่มือแจกปชช.
รับมือ “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก” (ฉบับประชาชน)/เอมอร คชเสนี
WHO ยกระดับ “หวัดเม็กซิโก” ระดับ 4-สธ.ชง ครม.ตั้งกรรมการคุมระบาด
สธ.เฝ้าระวัง "หวัดเม็กซิโก"เข้มข้น คัดกรองทุกสนามบิน วอนคนไทยเลี่ยงไปพื้นที่ระบาด
ครม.ตั้ง “เสธ.หนั่น” นั่งประธานคุม “หวัดเม็กซิโก”
ด่วน! ไทยพบผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อ “หวัดเม็กซิโก” หลังกลับจากเมืองจังโก้ รพ.จุฬาฯ แถลง 4 โมงเย็นนี้
จุฬาฯ แถลงพบหญิงผู้ป่วยเฝ้าระวัง “หวัดจังโก” วัย 42 ปี ลุ้นผลแล็บคืนนี้
ไทยโล่ง! ผลตรวจผู้ป่วยต้องสงสัย แค่หวัดธรรมดา-สธ.ออกแถลงการณ์ ฉ.1
คำแนะนำ สธ.เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก ฉบับที่ 1
จุฬาฯ แถลงชัดสาวใหญ่ป่วยหวัดใหญ่ธรรมดา ไม่ใช่หวัดเม็กซิโก
กรมการจัดหางานเตรียมพร้อมอพยพแรงงานไทยหาก “หวัดเม็กซิโก” คุมไม่อยู่
กทม.ร่อนสารแจ้งโรงแรมทั่วกรุงเฝ้าระวังหวัดเม็กซิโก หวั่นนักท่องเที่ยวนำเชื้อ
รับมือ “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก”/ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล ภาควิชาจุลชีววิทยา
สธ.ออกคำแนะนำเรื่อง “หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” ฉบับที่ 2
แพทย์จุฬาฯ ปรับวิธีตรวจหาเชื้อไวรัสแค่ 4 ชม.รู้ผล - อเมริกาส่งเชื้อหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ให้วิจัยถึงไทยจันทร์นี้
สธ.เตรียมรับคนไทยกลุ่มแรกจากเม็กซิโก จัดทีมแพทย์ตรวจยิบ
ตื่นหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ 2009! อภ.เผยปชช.โทร.ซื้อ"โอเซลทามิเวียร์" เพียบ ระบุต้องหมอสั่ง ซื้อทั่วไปไม่ได้
สธ.เพิ่มมาตรการเข้มหลังหวัดใหญ่ 2009 ลามถึงฮ่องกง-เกาหลีใต้ ไทยเหลือผู้ป่วยเฝ้าระวัง 2 ราย
“เสธ.หนั่น” ตรวจด่านคุมโรคสุวรรณภูมิ เพิ่มเทอร์โมสแกนเต็มพิกัด 6 จุด เผยยังไม่พบหวัดใหญ่ 2009
ทูตเม็กซิโกประจำประเทศไทยทำหนังสือขอบคุณ สธ.ช่วยให้ข้อมูลหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ถูกต้อง
“มาร์ค” ยันไทยยังไม่ติดหวัด 2009 กทม.ระดมเขต-อสม.-อปพร.มอบนโยบายป้องกัน
ทูลกระหม่อมหญิงฯทรงแนะ สธ.เข้มมาตรการระวังสูง “หวัด 2009” ให้สูงกว่ามาตรฐานเพื่อความมั่นใจ
สธ.ยังไม่ห้ามคนไทยเข้า 16 พื้นที่ระบาด-จัดทีมแพทย์รับคนไทยจากเม็กซิโกถึงสนามบินคืนนี้
ยันคนไทยเฝ้าระวังปลอดหวัด 2009 แนะเดินทาง ตปท.ควรสังเกตอาการตัวเอง
“วิทยา” นำทีม สธ.รับครูและ นร.AFS จากเม็กซิโก-เผยผลตรวจ ด.ช.11 เดือนบุรีรัมย์ไม่ติดหวัด 2009
สธ.เผยผลตรวจ 14 นร.ไทยกลับจากเม็กซิโก มีไข้สูง 1 ราย เจ็บคอ มีน้ำมูก 2 ราย
“วิทยา” จวก ตม.สุวรรณภูมิควบคุมหวัด 2009 หละหลวม ไม่สวมหน้ากาก หวั่นเอาไม่อยู่
แนะเลิกเหล้า-บุหรี่ ป้องกันหวัดสายพันธุ์ใหม่ได้
ศิริราชเตือน! อย่ากินยาต้านหวัดใหญ่หากมีไข้ต่ำจะทำเชื้อดื้อยา
“สุขุมพันธุ์” แจกหน้ากากอนามัยให้วินมอเตอร์ไซค์ กันหวัดใหญ่ระบาด
“วิทยา” วอนเลี่ยงชุมนุมช่วงประชุม รมว.สธ.อาเซียน-เพิ่มเฝ้าระวังหวัด 2 จุดใต้
ผลตรวจ 14 คนไทยกลับจากเม็กซิโก ปลอดเชื้อหวัดพันธุ์ใหม่ 2009
ให้ 11 คนไทยกลับจากเม็กซิโกกลับบ้านวันนี้ ส่วนอีก 3 รายขอดูอาการต่อ
โล่ง! สธ.ยันผลผู้ป่วยเฝ้าระวัง 3 รายไม่ใช่หวัด 2009
แพทย์จุฬาฯ พัฒนาวิธีตรวจหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ 2009 รู้ผลใน 4 ชม.
ประชุม รมต.สธ.อาเซียน+3 ตอบรับมาครบ เตรียมวิดีโอลิงก์ฟังปัญหา-สถานการณ์หวัด 2009 จากเม็กซิโก-อเมริกา
สธ.ผนึกเครือข่ายเฝ้าระวังฯ ลุ่มน้ำโขง เข้มจุดผ่านแดนหยุดการระบาดหวัดใหญ่ 2009
เริ่มแล้วประชุม รมต.สธ.อาเซียน+3 สานพลังสกัดไข้หวัดพันธุ์ใหม่
“จีน” ลั่นพร้อมผลิตโอเซลทามิเวียร์ให้ “ไทย-อาเซียน” สู้หวัด 2009
สหรัฐฯ ห่วงผลิตวัคซีนหวัดใหญ่ 2009 สายพันธุ์เดียว กระทบวัคซีนหวัดใหญ่ตามฤดูกาล
WHO ยาหอมอาเซียนเฝ้าหวัดใหญ่ 2009 ดี
ญี่ปุ่นเสนอสำรองยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ประเทศละ 5 ล้านเม็ด
สรุป 13 ข้อเสนอ รมว.สธ.อาเซียน+3 ลงนามพรุ่งนี้
“มาร์ค” มั่นใจอาเซียนคุมไข้หวัดใหญ่ 2009 อยู่หมัด!
เมืองปลาดิบซูฮก อสม.ไทยเป็นทัพหน้าเฝ้าระวังโรค
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังกล่าวเปิดงานการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียนบวก 3 ว่า ขณะนี้ยังคงต้องติดตามแนวโน้มการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 เพราะแม้ตัวเลขในประเทศเม็กซิโกอาจจะคงที่ แต่โดยธรรมชาติของโรคเหล่านี้จะไปปรากฏในประเทศต่างๆ แต่หากมีมาตรการควบคุมดูแลการขยายตัวจะทำให้เกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจในระดับหนึ่งเท่านั้น ส่วนในการประชุมครั้งนี้จะสามารถลดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจของประเทศได้แค่ไหนนั้น ตนคิดว่ามาตรการที่จะตกลงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการติดตามตรวจสอบผู้เดินทางเข้าประเทศ จะช่วยเพิ่มความมั่นใจ อย่างน้อยที่สุดหากมีการระบาดเกิดขึ้นในภูมิภาคน่าจะช่วยจำกัดวงในการระบาดได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถตอบได้ว่า ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบมากที่สุดในภูมิภาคตามที่มีการวิเคราะห์กันหรือไม่ หรือได้รับผลกระทบมากน้อยแค่ไหน แต่ประเทศที่มีการพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวก็ย่อมจะได้รับผลกระทบมากกว่า อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการประชุมแล้วก็จะมีแถลงการณ์เพื่อกำหนดมาตรการต่างๆ ให้ประเทศในภูมิภาคอาเซียนปฏิบัติตาม ซึ่งรัฐบาลจะติดตามหารือเรื่องนี้อีกครั้งในการประชุมอาเซียนบวกสามบวกหกในเดือนหน้า
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนการดูแลรักษาความปลอดภัยในครั้งนี้ หวังว่าจะสร้างความเชื่อมั่นกับการประชุมอาเซียนบวก 3บวก6ได้ โดยแสดงให้ทั่วโลกเห็นว่ารัฐบาลได้นำภาวะต่างๆ กลับเข้าสู่ปกติ และดูแลความปลอดภัยความสะดวกของผู้เข้าร่วมประชุมได้อย่างดี
ขณะเดียวกัน ในการประชุม รมว.สาธารณสุขอาเซียนบวก 3 นางมากาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าวผ่านการประชุมทางไกลผ่านดาวเทียมร่วมว่า ช่วงระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา ภูมิภาคอาเซียนต้องเผชิญกับการระบาดของเชื้อโรคโดยเฉพาะ ไข้หวัดนก ซึ่งการเกิดเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ H1N1 ในอีกซีกโลกหนึ่ง ซึ่งมีแนวโน้มที่จะระบาดในภูมิภาคนี้เช่นกัน ได้ส่งสัญญาณว่ามาตรการการเตือนภัยเริ่มทำงานเป็นระบบมากขึ้น การเฝ้าระวัง การเตือนภัยมีการวางแผนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เคยมีครั้งไหนที่นานาประเทศจะสามารถรับมือกับการระบาดของโรคได้ดีเท่าครั้งนี้ ร่วมทั้งศักยภาพขีดความสามารถของประเทศต่างๆ ในการผลิตวัคซีนมามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ขอเรียกร้องให้นานาชาติอย่าลดหย่อนมาตรการในการเฝ้าระวัง และระดมความสามารถในการป้องกันโรคทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ เช่น การระดมทุนเพื่อป้องกันโรค
“มาตรการที่ประเทศเม็กซิโก ทำเพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดโรค ถือเป็นบรรทัดฐานที่ดีที่เกิดขึ้น แต่เห็นได้ว่ายังไม่เพียงพอจำเป็นต้องมีมาตรการอื่นควบคู่ไปด้วย ขณะนี้ทุประเทศต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน ที่ต้องรับมือกับการระบาดของเชื้อที่ไม่สามารถบอกได้ว่ารุนแรงเพียงใด เพื่อทำให้เชื้อที่มีแนวโน้มจะระบาดใหญ่ไปทั่วโลก แพร่ระบาดช้าที่สุด หมายความว่า หากต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคม ให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ ก็จำเป็นต้องทำ และจะเป็นเรื่องที่ดีอย่างยิ่งหากชะลอการเดินทางไว้ หากไม่จำเป็น” นางมากาเร็ต ชาน กล่าว
ด้านนพ.ริชาร์ด เบซเซอร์ รักษาการผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา (CDC) กล่าวถึงสถานการณ์และการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีความเป็นไปได้ H1N1 จะแพร่กระจายลุกลามไปทั่วโลก คาดว่าจะมีผู้เจ็บป่วยมากขึ้นไปกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน แม้ว่าตัวเชื้อโรคจะไม่รุนแรง แต่จะเห็นคนติดเชื้อเพิ่มขึ้น ซึ่งอเมริกากำลังทำงานอย่างเต็มที่ไม่ให้แพร่กระจายลุกลาม มีการเพิ่มมาตรการเฝ้าระวัง ควบคุมปัจจัยเสี่ยง สาเหตุของการแพร่ระบาด ส่วนในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทำงานร่วม จีน เกาหลีในการพัฒนา
รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคหวัดเม็กซิโกในประเทศไทย