ปิดฉากประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน+3 ร่วมประกาศสู้ภัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชูข้อตกลงร่วมกัน 15 ข้อ มาตรการป้องกันควบคุมไข้หวัดใหญ่ระดับประเทศ 6 ข้อ มาตรการระดับภูมิภาค 4 ขอ พร้อมเสนอ 5 ข้อ เข้าที่ประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก 18-22 พ.ค.นี้ เน้นแบ่งปันเชื้อไวรัส สนับสนุนแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีผลิตยา วัคซีนให้ประเทศกำลังพัฒนาเท่าเทียม
วันที่ 8 พฤษภาคม ที่โรงแรมดุสิตธานี นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน พร้อมด้วยนพ.ฟรานซิสโก ที.ดูเก้ ที่ 3 รัฐมนตรีสาธารณสุขฟิลิปปินส์ ในฐานะประธานการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน+3 นายเปยิน ดาโต๊ะ สุยอย ออสมาน รัฐมนตรีสาธารณสุขบรูไน นพ.มัม บันเฮียง รัฐมนตรีสาธารณสุขกัมพูชา นายสุปารี สิติ ฟาดิลาห์ รัฐมนตรีสาธารณสุขอินโดนีเซีย นพ.ปอนเมฆ ดาลาลอย รัฐมนตรีสาธารณสุขลาว ดาโต๊ะ สรี เตียง ไลเลียว รัฐมนตรีสาธารณสุขมาเลเซีย นพ.บาลาจิ สาดาสิวัน รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ นายเตรีย ง็อก เหงียน รัฐมนตรีสาธารณสุขเวียดนาม นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.เฉิน จู รัฐมนตรีสาธารณสุขจีน นพ.ทาคาโอะ วาตานาเบ้ รัฐมนตรีช่วยสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น และ นพ.ลี ดุกยอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านนโยบายควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สวัสดิการและครอบครัว เกาหลีใต้
รวม 12 ประเทศ ร่วมกันแถลงผลการประชุมเพื่อควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ในภูมิภาคอาเซียน โดยประเทศพม่าไม่ได้ส่งรัฐมนตรีสาธารณสุขเข้าร่วมแต่ได้ส่งเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยเข้าร่วมประชุมแทนจึงไม่ได้ร่วมแถลงข่าวด้วย
นพ.ฟรานซิสโก ที.ดูเก้ ที่ 3 กล่าวสรุปผลการประชุมว่า การประชุมครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ ทุกฝ่ายเห็นสอดคล้องกันว่า โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช1เอ็น1 เป็นโรคระบาดที่เป็นภัยคุกคามสุขภาพของประชากรในภูมิภาค ที่มีรวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ซึ่งทุกประเทศต้องมีการตื่นตัว และมีมาตรการป้องกันเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองได้อย่างทันท่วงที ภายใต้กฎอนามัยระหว่างประเทศ ซึ่งจะเสริมความเข้มแข็งในการควบคุมการระบาด ซึ่งขณะนี้ทุกประเทศต่างมุ่งเน้นในเรื่องการให้ความรู้ประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องของสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น การใช้หน้ากากอนามัยเมื่อป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ การล้างมือ การจัดบ้านและสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ซึ่งจะช่วยลดการบาดของโรคนี้ได้อย่างดี
สำหรับมาตรการเฝ้าระวังการแพร่เชื้อจากการเดินทางระหว่างประเทศ จะต้องคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว หากพบผู้เดินทางที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ อาจต้องให้ชะลอการเดินทาง และได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมตามหลักมาตรฐานสากล โดยที่ประชุมมีมติทั้งสิ้น 15 ข้อ แบ่งเป็นมาตรการระดับประเทศ โดยให้แต่ละประเทศดำเนินมาตรการที่จะควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ใน 6 เรื่อง ดังนี้ 1.จัดเตรียมแผนระดับชาติเพื่อควบคุมเฝ้าระวังการติดต่อระหว่างคนสู่คน และในสัตว์ 2.ปฏิบัติตามมาตรการของกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ.2548 อย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะระบบการเฝ้าระวังที่รวดเร็วและตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพ 3.จัดซ้อมแผนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสื่อสาร เพื่อป้องกันความตื่นตระหนก และผลกระทบทางสังคม
4.จัดระบบตรวจคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางออกนอกประเทศในพื้นที่ที่พบการติดเชื้อ รวมทั้งตามแนวพรมแดนระหว่างประเทศ โดยใช้คำว่า “พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อ” แทนคำว่า “ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ” เพื่อลดผลกระทบการท่องเที่ยวและการค้า 5.ร่วมกันจัดตั้งระบบคลังยา เวชภัณฑ์ที่จำเป็นของภูมิภาคอาเซียน+3 ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน โดยขณะนี้อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ 6.จัดระบบการเข้าถึงยาต้านไวรัส รวมทั้งยาที่จำเป็น เวชภัณฑ์ต่างๆ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ในกรณีที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ ซึ่งจะทำให้ระบบการดูแลรักษามีประสิทธิภาพ
สำหรับความร่วมมือในระดับภูมิภาค 13 ประเทศ ได้มีมติร่วมมือกันใน 4 ข้อ ได้แก่ 1.การเปิดสายด่วนแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารสถานการณ์การระบาดระหว่างประเทศ เพื่อการตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 2.จัดตั้งทีมสอบสวนควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วระหว่างประเทศ สามารถเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือประเทศข้างเคียงได้ทันที หากมีการร้องขอ 3.การตรวจวินิจฉัยเพื่อการยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ การวิจัยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 4.การศึกษาวิจัยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ทางด้านสารพันธุกรรม อาการป่วย ระบบการดูแลรักษา เพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือในการรับมือโรคระบาดใหม่ เช่นเดียวกับโครงการเฝ้าระวังโรคประเทศลุ่มแม่น้ำโขง โครงการศูนย์ความร่วมมือวิจัยโรคติดเชื้อกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะทำให้ระบบการสาธารณสุขที่จะดูแลความปลอดภัยทางสุขภาพของประชากรในภูมิภาคมีความยั่งยืนและเข้มแข็ง
นอกจากนี้ ยังได้มีการเสนอให้นำเข้าสู่ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 62 ในวันที่ 18-22 พฤษภาคม 2552 นี้ เช่น เสนอให้องค์การอนามัยโลกจัดประชุมเรื่องการแบ่งปันเชื้อไวรัสไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีของการผลิตวัคซีนในระดับภูมิภาค เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเสมอภาค และขอให้องค์กรนานาชาติ เช่น องค์การอนามัยโลก องค์การสหประชาชาติ สนับสนุนด้านการเงินในกรณีที่มีความจำเป็นต้องสำรองคลังยา เวชภัณฑ์ต่างๆ ในภูมิภาค
รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคหวัดเม็กซิโกในประเทศไทย
รู้จัก “ไวรัสไข้หวัดหมู” มฤตยูสายพันธุ์ล่าสุด!
สธ.สั่งจับตาหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ในเม็กซิโกใกล้ชิด ยันไม่พบเชื้อนี้ในไทย ปชช.ไม่ต้องกังวล
คุมเข้ม! ตั้งด่านวัดอุณหภูมิ สนามบินสุวรรณภูมิสกัดหวัดหมู เน้นขาเข้าจากเม็กซิโก-อเมริกา
สธ.เปิดสายด่วนไข้หวัดหมู ป้องกันประชาชนตระหนก
สธ.รับมือ “หวัดหมู” กระจายยาสำหรับ 3 แสนคน WHO เผยติดจากคนสู่คน
แพทย์ระบุ “หวัดหมู” รุนแรงน้อยกว่าหวัดนก แต่กระจายได้มากกว่า
“สุวรรณภูมิ” จับตา 8 เที่ยวบินจากเม็กซิโก ยังไม่พบติดเชื้อหมูมรณะ
สธ.เตรียมใช้แผนรับหวัดนก หาก WHO เพิ่มความรุนแรง “หวัดหมู” เตรียมทำคู่มือแจกปชช.
รับมือ “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก” (ฉบับประชาชน)/เอมอร คชเสนี
WHO ยกระดับ “หวัดเม็กซิโก” ระดับ 4-สธ.ชง ครม.ตั้งกรรมการคุมระบาด
สธ.เฝ้าระวัง "หวัดเม็กซิโก"เข้มข้น คัดกรองทุกสนามบิน วอนคนไทยเลี่ยงไปพื้นที่ระบาด
ครม.ตั้ง “เสธ.หนั่น” นั่งประธานคุม “หวัดเม็กซิโก”
ด่วน! ไทยพบผู้ป่วยต้องสงสัยติดเชื้อ “หวัดเม็กซิโก” หลังกลับจากเมืองจังโก้ รพ.จุฬาฯ แถลง 4 โมงเย็นนี้
จุฬาฯ แถลงพบหญิงผู้ป่วยเฝ้าระวัง “หวัดจังโก” วัย 42 ปี ลุ้นผลแล็บคืนนี้
ไทยโล่ง! ผลตรวจผู้ป่วยต้องสงสัย แค่หวัดธรรมดา-สธ.ออกแถลงการณ์ ฉ.1
คำแนะนำ สธ.เรื่องโรคไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดในเม็กซิโก ฉบับที่ 1
จุฬาฯ แถลงชัดสาวใหญ่ป่วยหวัดใหญ่ธรรมดา ไม่ใช่หวัดเม็กซิโก
กรมการจัดหางานเตรียมพร้อมอพยพแรงงานไทยหาก “หวัดเม็กซิโก” คุมไม่อยู่
กทม.ร่อนสารแจ้งโรงแรมทั่วกรุงเฝ้าระวังหวัดเม็กซิโก หวั่นนักท่องเที่ยวนำเชื้อ
รับมือ “ไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก”/ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล ภาควิชาจุลชีววิทยา
สธ.ออกคำแนะนำเรื่อง “หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009” ฉบับที่ 2
แพทย์จุฬาฯ ปรับวิธีตรวจหาเชื้อไวรัสแค่ 4 ชม.รู้ผล - อเมริกาส่งเชื้อหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ให้วิจัยถึงไทยจันทร์นี้
สธ.เตรียมรับคนไทยกลุ่มแรกจากเม็กซิโก จัดทีมแพทย์ตรวจยิบ
ตื่นหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ 2009! อภ.เผยปชช.โทร.ซื้อ"โอเซลทามิเวียร์" เพียบ ระบุต้องหมอสั่ง ซื้อทั่วไปไม่ได้
สธ.เพิ่มมาตรการเข้มหลังหวัดใหญ่ 2009 ลามถึงฮ่องกง-เกาหลีใต้ ไทยเหลือผู้ป่วยเฝ้าระวัง 2 ราย
“เสธ.หนั่น” ตรวจด่านคุมโรคสุวรรณภูมิ เพิ่มเทอร์โมสแกนเต็มพิกัด 6 จุด เผยยังไม่พบหวัดใหญ่ 2009
ทูตเม็กซิโกประจำประเทศไทยทำหนังสือขอบคุณ สธ.ช่วยให้ข้อมูลหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ถูกต้อง
“มาร์ค” ยันไทยยังไม่ติดหวัด 2009 กทม.ระดมเขต-อสม.-อปพร.มอบนโยบายป้องกัน
ทูลกระหม่อมหญิงฯทรงแนะ สธ.เข้มมาตรการระวังสูง “หวัด 2009” ให้สูงกว่ามาตรฐานเพื่อความมั่นใจ
สธ.ยังไม่ห้ามคนไทยเข้า 16 พื้นที่ระบาด-จัดทีมแพทย์รับคนไทยจากเม็กซิโกถึงสนามบินคืนนี้
ยันคนไทยเฝ้าระวังปลอดหวัด 2009 แนะเดินทาง ตปท.ควรสังเกตอาการตัวเอง
“วิทยา” นำทีม สธ.รับครูและ นร.AFS จากเม็กซิโก-เผยผลตรวจ ด.ช.11 เดือนบุรีรัมย์ไม่ติดหวัด 2009
สธ.เผยผลตรวจ 14 นร.ไทยกลับจากเม็กซิโก มีไข้สูง 1 ราย เจ็บคอ มีน้ำมูก 2 ราย
“วิทยา” จวก ตม.สุวรรณภูมิควบคุมหวัด 2009 หละหลวม ไม่สวมหน้ากาก หวั่นเอาไม่อยู่
แนะเลิกเหล้า-บุหรี่ ป้องกันหวัดสายพันธุ์ใหม่ได้
ศิริราชเตือน! อย่ากินยาต้านหวัดใหญ่หากมีไข้ต่ำจะทำเชื้อดื้อยา
“สุขุมพันธุ์” แจกหน้ากากอนามัยให้วินมอเตอร์ไซค์ กันหวัดใหญ่ระบาด
“วิทยา” วอนเลี่ยงชุมนุมช่วงประชุม รมว.สธ.อาเซียน-เพิ่มเฝ้าระวังหวัด 2 จุดใต้
ผลตรวจ 14 คนไทยกลับจากเม็กซิโก ปลอดเชื้อหวัดพันธุ์ใหม่ 2009
ให้ 11 คนไทยกลับจากเม็กซิโกกลับบ้านวันนี้ ส่วนอีก 3 รายขอดูอาการต่อ
โล่ง! สธ.ยันผลผู้ป่วยเฝ้าระวัง 3 รายไม่ใช่หวัด 2009
แพทย์จุฬาฯ พัฒนาวิธีตรวจหวัดใหญ่พันธุ์ใหม่ 2009 รู้ผลใน 4 ชม.
ประชุม รมต.สธ.อาเซียน+3 ตอบรับมาครบ เตรียมวิดีโอลิงก์ฟังปัญหา-สถานการณ์หวัด 2009 จากเม็กซิโก-อเมริกา
สธ.ผนึกเครือข่ายเฝ้าระวังฯ ลุ่มน้ำโขง เข้มจุดผ่านแดนหยุดการระบาดหวัดใหญ่ 2009
เริ่มแล้วประชุม รมต.สธ.อาเซียน+3 สานพลังสกัดไข้หวัดพันธุ์ใหม่
“จีน” ลั่นพร้อมผลิตโอเซลทามิเวียร์ให้ “ไทย-อาเซียน” สู้หวัด 2009
สหรัฐฯ ห่วงผลิตวัคซีนหวัดใหญ่ 2009 สายพันธุ์เดียว กระทบวัคซีนหวัดใหญ่ตามฤดูกาล
WHO ยาหอมอาเซียนเฝ้าหวัดใหญ่ 2009 ดี
ญี่ปุ่นเสนอสำรองยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ประเทศละ 5 ล้านเม็ด
สรุป 13 ข้อเสนอ รมว.สธ.อาเซียน+3 ลงนามพรุ่งนี้
“มาร์ค” มั่นใจอาเซียนคุมไข้หวัดใหญ่ 2009 อยู่หมัด!
เมืองปลาดิบซูฮก อสม.ไทยเป็นทัพหน้าเฝ้าระวังโรค
“อภิสิทธิ์” หวังต่างชาติเชื่อมั่นไทยจัดอาเซียน+3+6 ที่ภูเก็ตราบรื่น
“สุรินทร์” ชี้ ไทยจัดประชุม รมต.สธ.อาเซียน+3 กู้ภาพลักษณ์ของประเทศได้
วันที่ 8 พฤษภาคม ที่โรงแรมดุสิตธานี นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน พร้อมด้วยนพ.ฟรานซิสโก ที.ดูเก้ ที่ 3 รัฐมนตรีสาธารณสุขฟิลิปปินส์ ในฐานะประธานการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขอาเซียน+3 นายเปยิน ดาโต๊ะ สุยอย ออสมาน รัฐมนตรีสาธารณสุขบรูไน นพ.มัม บันเฮียง รัฐมนตรีสาธารณสุขกัมพูชา นายสุปารี สิติ ฟาดิลาห์ รัฐมนตรีสาธารณสุขอินโดนีเซีย นพ.ปอนเมฆ ดาลาลอย รัฐมนตรีสาธารณสุขลาว ดาโต๊ะ สรี เตียง ไลเลียว รัฐมนตรีสาธารณสุขมาเลเซีย นพ.บาลาจิ สาดาสิวัน รัฐมนตรีต่างประเทศสิงคโปร์ นายเตรีย ง็อก เหงียน รัฐมนตรีสาธารณสุขเวียดนาม นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นพ.เฉิน จู รัฐมนตรีสาธารณสุขจีน นพ.ทาคาโอะ วาตานาเบ้ รัฐมนตรีช่วยสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น และ นพ.ลี ดุกยอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านนโยบายควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข สวัสดิการและครอบครัว เกาหลีใต้
รวม 12 ประเทศ ร่วมกันแถลงผลการประชุมเพื่อควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ ชนิดเอ เอช1เอ็น1 ในภูมิภาคอาเซียน โดยประเทศพม่าไม่ได้ส่งรัฐมนตรีสาธารณสุขเข้าร่วมแต่ได้ส่งเอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทยเข้าร่วมประชุมแทนจึงไม่ได้ร่วมแถลงข่าวด้วย
นพ.ฟรานซิสโก ที.ดูเก้ ที่ 3 กล่าวสรุปผลการประชุมว่า การประชุมครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ ทุกฝ่ายเห็นสอดคล้องกันว่า โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ เอช1เอ็น1 เป็นโรคระบาดที่เป็นภัยคุกคามสุขภาพของประชากรในภูมิภาค ที่มีรวมกันเกือบครึ่งหนึ่งของประชากรโลก ซึ่งทุกประเทศต้องมีการตื่นตัว และมีมาตรการป้องกันเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองได้อย่างทันท่วงที ภายใต้กฎอนามัยระหว่างประเทศ ซึ่งจะเสริมความเข้มแข็งในการควบคุมการระบาด ซึ่งขณะนี้ทุกประเทศต่างมุ่งเน้นในเรื่องการให้ความรู้ประชาชน โดยเฉพาะในเรื่องของสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น การใช้หน้ากากอนามัยเมื่อป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจ การล้างมือ การจัดบ้านและสิ่งแวดล้อมให้สะอาด ซึ่งจะช่วยลดการบาดของโรคนี้ได้อย่างดี
สำหรับมาตรการเฝ้าระวังการแพร่เชื้อจากการเดินทางระหว่างประเทศ จะต้องคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว หากพบผู้เดินทางที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ อาจต้องให้ชะลอการเดินทาง และได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมตามหลักมาตรฐานสากล โดยที่ประชุมมีมติทั้งสิ้น 15 ข้อ แบ่งเป็นมาตรการระดับประเทศ โดยให้แต่ละประเทศดำเนินมาตรการที่จะควบคุมป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ใน 6 เรื่อง ดังนี้ 1.จัดเตรียมแผนระดับชาติเพื่อควบคุมเฝ้าระวังการติดต่อระหว่างคนสู่คน และในสัตว์ 2.ปฏิบัติตามมาตรการของกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ.2548 อย่างเข้มแข็ง โดยเฉพาะระบบการเฝ้าระวังที่รวดเร็วและตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพ 3.จัดซ้อมแผนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสื่อสาร เพื่อป้องกันความตื่นตระหนก และผลกระทบทางสังคม
4.จัดระบบตรวจคัดกรองผู้โดยสารที่เดินทางออกนอกประเทศในพื้นที่ที่พบการติดเชื้อ รวมทั้งตามแนวพรมแดนระหว่างประเทศ โดยใช้คำว่า “พื้นที่ที่มีผู้ติดเชื้อ” แทนคำว่า “ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อ” เพื่อลดผลกระทบการท่องเที่ยวและการค้า 5.ร่วมกันจัดตั้งระบบคลังยา เวชภัณฑ์ที่จำเป็นของภูมิภาคอาเซียน+3 ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน โดยขณะนี้อยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ 6.จัดระบบการเข้าถึงยาต้านไวรัส รวมทั้งยาที่จำเป็น เวชภัณฑ์ต่างๆ อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ในกรณีที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อ ซึ่งจะทำให้ระบบการดูแลรักษามีประสิทธิภาพ
สำหรับความร่วมมือในระดับภูมิภาค 13 ประเทศ ได้มีมติร่วมมือกันใน 4 ข้อ ได้แก่ 1.การเปิดสายด่วนแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารสถานการณ์การระบาดระหว่างประเทศ เพื่อการตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ 2.จัดตั้งทีมสอบสวนควบคุมโรคเคลื่อนที่เร็วระหว่างประเทศ สามารถเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือประเทศข้างเคียงได้ทันที หากมีการร้องขอ 3.การตรวจวินิจฉัยเพื่อการยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ การวิจัยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 4.การศึกษาวิจัยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ทางด้านสารพันธุกรรม อาการป่วย ระบบการดูแลรักษา เพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือในการรับมือโรคระบาดใหม่ เช่นเดียวกับโครงการเฝ้าระวังโรคประเทศลุ่มแม่น้ำโขง โครงการศูนย์ความร่วมมือวิจัยโรคติดเชื้อกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งจะทำให้ระบบการสาธารณสุขที่จะดูแลความปลอดภัยทางสุขภาพของประชากรในภูมิภาคมีความยั่งยืนและเข้มแข็ง
นอกจากนี้ ยังได้มีการเสนอให้นำเข้าสู่ในการประชุมสมัชชาอนามัยโลก ครั้งที่ 62 ในวันที่ 18-22 พฤษภาคม 2552 นี้ เช่น เสนอให้องค์การอนามัยโลกจัดประชุมเรื่องการแบ่งปันเชื้อไวรัสไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ รวมถึงการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีของการผลิตวัคซีนในระดับภูมิภาค เพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงวัคซีนได้อย่างเสมอภาค และขอให้องค์กรนานาชาติ เช่น องค์การอนามัยโลก องค์การสหประชาชาติ สนับสนุนด้านการเงินในกรณีที่มีความจำเป็นต้องสำรองคลังยา เวชภัณฑ์ต่างๆ ในภูมิภาค
รวมข่าวเกี่ยวเนื่องโรคหวัดเม็กซิโกในประเทศไทย